เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์

การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว

การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว เทคนิค วิธีการ การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว การทำวิทยานิพนธ์ให้เสร็จทันเวลา การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว หรือเสร็จทันเวลา มีเทคนิคที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ 5 เทคนิคการทำวิจัยให้เสร็จเร็ว วางแผนการทำงาน : การทำวิจัย รวมไปถึงผลงานวิชาการประเภทอื่นๆ เช่น การทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) มีเนื้อหาและองค์ประกอบสำคัญ หรือองค์ประกอบจำเป็นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องมากมาย โดยเฉพาะ เนื้อหาที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ พื้นฐานความรู้ แนวคิด ทฤษฎี สถิติ แบบจำลอง โมเดล และโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติที่จำเป็นต้องใช้ รวมไปถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และ การสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งในแต่ละส่วน แต่ละขั้นตอน จะมีความยากง่ายและระยะเวลาในการดำเนินการแตกต่างกันไป ผู้วิจัย นักศึกษา จำเป็นที่จะต้องวางแผนการทำงานในแต่ละส่วนไว้อย่างมีแบบแผน และดำเนินการในแต่ละขั้นตอนให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เลือกหัวข้อวิจัยที่ตนถนัดและสนใจ : การทำวิจัยเป็นการทำงานที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างนานพอสมควรเมื่อเทียบกับการเรียนการศึกษาทั่วไป กล่าวคือ วิจัย 1 เล่ม อาจใช้เวลาอย่างน้อย เดือน ไปจนถึง […]

การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว Read More »

คู่มือวิทยานิพนธ์

คู่มือทำวิทยานิพนธ์ หลักการ แนวคิดพื้นฐาน คู่มือวิทยานิพนธ์ คู่มือวิทยานิพนธ์   10 หัวข้อสำคัญของการทำวิทยานิพนธ์ ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์ หรือ งานวิจัย โดยทั่วไปจะมี เนื้อหาสำคัญ 10 หัวข้อ ดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ / หัวข้อวิทยานิพนธ์ วัตถุประสงค์ของการศึกษา (objectives) ประโยชน์ของการศึกษา (Benefit of research) ขอบเขตของการศึกษา (Scope of research) นิยามศัพท์เฉพาะ หรือ นิยามศัพท์ปฏิบัติการ (Definition) กรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย (Conceptual Framework) การทบทวนวรรณกรรม หรือ ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) วิธีดำเนินการวิจัย (Research  Methodology) ผลการศึกษา (Result) สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลการศึกษา และข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษา ทั้งนี้  วิทยานิพนธ์ จะมีส่วนของแบบสอบถาม (Questionnaire) ในกรณีที่เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

คู่มือวิทยานิพนธ์ Read More »

การทำงานวิทยานิพนธ์

การทำงานวิทยานิพนธ์ หรือ วิจัยปริญญาโท  วิจัยระดับมหาบัณฑิต การสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือ มหาบัณฑิต จำเป็นต้องผ่าน การทำงานวิทยานิพนธ์ หรือ วิจัยระดับปริญญาโท  และอาจเรียกชื่อต่างกันไปตามโครงสร้างหลักสูตรที่คณะและสถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนด เช่น ภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์  โปรเจค  ค้นคว้าอิสระ (Independent Study : IS) ปัญหาพิเศษ หรือ  ปริญญานิพนธ์  เป็นต้น ความหมายการทำวิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ มีกระบวนการหรือรูปแบบการทำงานไม่แตกต่างจากการทำวิจัยทั่วไป  วิทยานิพนธ์ (Thesis หรือ Dissertation) หมายถึง เรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างละเอียดและรอบคอบ โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ตามแบบแผนและลําดับ  ขั้นตอน ของวิธีการวิจัยนั้น ๆ ประกอบด้วย ความคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะอย่างมีเหตุผลและมีหลักเกณฑ์ โดยมุ่งให้ผู้ทําวิทยานิพนธ์ รู้จักวิธีการศึกษาค้นคว้าอย่างมีเหตุผล มีระบบและสามารถรายงานผลของการศึกษาได้โดยใช้ภาษาที่ถูกต้องและรัดกุม เป็นการทําวิจัยเพื่อเสนอรับปริญญาในลำดับต่อไป เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ ขั้นตอนต่างๆ  สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ที่นำเสนอนี้  เป็นขั้นตอนสำคัญ ซึ่งหากผู้ทำวิทยานิพนธ์  มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน และมีระบบระเบียบ 

การทำงานวิทยานิพนธ์ Read More »

ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์

ขั้นตอนของการทำวิทยานิพนธ์   แนวคิด เทคนิค วิธีการ ขั้นตอนของการทำวิทยานิพนธ์ ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis)  รวมไปถึง ดุษฎีนิพนธ์  สารนิพนธ์  ภาคนิพนธ์  การค้นคว้าอิสระ (Independenะ Study : IS) มีกระบวนการ หรือ ขั้นตอนที่สำคัญๆ คล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้ สำรวจความสนใจ กำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ สำรวจ หรือ ทบทวนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สร้างกรอบแนวคิดวิทยานิพนธ์ เขียนระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง เลือกสถิติ แบบจำลอง และโปรแกรมวิเคราะห์สถิติและเศรษฐมิติที่เหมาะสม เขียนผลการศึกษา 7 ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ ที่ถูกต้อง สำหรับรายละเอียด ตั้่งแต่ขั้นตอนที่ 1 จนถึง ขั้นตอนที่ 7 มีดังนี้ 1.  สำรวจความสนใจ นักศึกษาปริญญาโทที่อยู่ใน ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ โดยทั่วไปจะเลือกหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ศึกษาอยู่ เช่น ศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ หรือ

ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ Read More »

วิทยานิพนธ์ และ ค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์/ภาคนิพนธ์ เลือกอะไรดี

ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์  มีนักศึกษาจำนวนมาก ที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการศึกษาในระดับปริญญาโท เกี่ยวกับการเลือกเรียนระหว่างแผน ก กับ แผน ข  ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับ การทำ วิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระ ซึ่งไม่เข้าใจว่าการเรียนทั้งสองอย่างนี้  มีความแตกต่างกันอย่างไร และแผนไหนจะตรงกับวัตถุประสงค์ที่นักศึกษาต้องการ หรือเหมาะสมกับตัวเองมากกว่า ดังนั้น บทความนี้เราขอนำความประมวลความรู้และความคิดเห็น จากหลายๆ แหล่ง เพื่อให้ผู้สนใจได้อ่านและพิจารณาถึงความเหมือน และความแตกต่างของการเรียนในทั้งสองหลักสูตรนี้  เพื่อใช้เป็นเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น สำหรับการวางแผนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือ ระดับมหาบัณฑิต ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ เป็นอย่างไร วิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระ  แผน ก. (วิทยานิพนธ์) และ แผน ข (ค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์/ภาคนิพนธ์/ปัญหาพิเศษ) ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ สำหรับการเรียน หลักสูตรในแผน ก เป็นการเรียนการศึกษาสำหรับหลักสูตรที่มี การทำงานวิจัย เป็น “วิทยานิพนธ์” (12 หน่วยกิต) โดยมุ่งเน้นทักษะของการทำวิจัยเต็มรูปแบบ  ซึ่งเหมาะสำหรับนักศึกษาที่มีความประสงค์ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่   รวมถึงเพื่อเตรียมตัวสำหรับการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นหรือในระดับดุษฎีบัณฑิต หรือ

วิทยานิพนธ์ และ ค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์/ภาคนิพนธ์ เลือกอะไรดี Read More »

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ แนวคิดพื้นฐาน เคล็ดลับ เทคนิคการทำวิทยาินพนธ์ การทำวิจัยปริญญาโท และผลงานวิชาการ ให้สำเร็จทันเวลา การทำเอกสารทางวิชาการมีอยู่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายประเภท  เป็นไปตามรูปแบบและลักษณะของการจัดแบ่งผลงานทางวิชาการของแต่ละแห่ง  แต่หากทำการแบ่งประเภทของการเขียนผลงานวิชาการ  สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์  รายงาน และ บทความเอกสารทางวิชาการ ซึ่งแต่ละประเภท จะมี เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์  เคล็ดลับการทำวิจัย ที่มีความเหมือนและแตกต่างกันบางประการ “การทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์  ผู้ทำงานจะต้องทราบว่าเรากำลังทำงานในสิ่งที่ผู้อ่านหรือผู้ตรวจงาน/กรรมการ มองว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์งานชิ้นนั้น” ประโยคนี้เป็นสิ่งที่สามารถระบุ “แก่นแท้” ของการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ที่ผู้ทำ จะต้องตระหนักและเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การทำวิทยานิพนธ์  การทำดุษฎีนิพนธ์ รวมไปถึง การทำสารนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ  ล้วนแล้วแต่ต้องยึดหลักการดังกล่าวนี้เช่นกัน  นั่นคือ  เราต้องแสดงด้วยการเขียนหรือทำงานวิจัยทั้งฉบับนั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจ เกี่ยวกับหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ นั้นๆ อย่างแท้จริง  ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ  และได้มาด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเท และกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง ตรงตามหลักวิชาการ

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ Read More »

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบในการทำวิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์  และวิธีการแก้ไข จากการทำงานเป็นผู้ช่วยทำวิจัย ผู้ช่วยและที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ และ วิจัยปริญญาเอก หรือดุษฎีนิพนธ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ติดต่อให้เป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์มักจะเป็นประเด็น พบว่า การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์  เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์   พอสรุปได้ดังนี้ 1. การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ : หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์    1.1. อ่านชื่อเรื่องแล้วไม่เข้าใจว่านักศึกษากำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัยไม่ชัดเจน คลุมเครือและไม่ระบุตัวแปรหรือคำหลักที่สำคัญในหัวข้อวิจัย  เช่น “ องค์กรนวัตกรรมของบริษัท……………………………………………………………………………….” หัวข้อวิจัยที่ยกตัวอย่างนี้ ในข้อ ก.  ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนว่าผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไรขององค์กรนวัติกรรมของบริษัท เพราะไม่มีการระบุลักษณะหรือตัวแปรอยู่ด้านหน้าคำนาม ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าจะวัดค่าอย่างไร กรณีการวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงสำรวจ การตั้งชื่อของหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัย นักวิจัยจะต้องระบุตัวแปรไว้หน้าคำนามเสมอ เช่น การสร้างรูปแบบองค์กรนวัตกรรมของบริษัท ……………………………………………………………………. สำหรับการวิจัยเชิงทดลองหรือการพัฒนา การกำหนดหัวข้อวิจัยชื่อเรื่องต้องระบุสิ่งที่จะทดลองหรือสิ่งที่จะพัฒนา  โดยมีการกำหนดไว้ในชื่อเรื่อง เช่น “การสร้างชุดกิจกรรมการสอนออนไลน์สำหรับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน…………………………………………………………………………………….” หรือ “การสร้างชุดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชี บริษัท  …………………………………………………………………………………….” สำหรับงานวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดให้มีตัวแปรหลายตัวที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร   ผู้วิจัยจะต้องหาคำหรือข้อความที่เป็นตัวแทนของตัวแปรเหล่านั้น ไม่ใช่การระบุชื่อตัวแปรทุกตัวในหัวข้อวิจัยหรือชื่อเรื่อง  ซึ่งเป็นการทำให้ชื่อเรื่องยาวหลายบรรทัด

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข Read More »