การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบในการทำวิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์  และวิธีการแก้ไข

จากการทำงานเป็นผู้ช่วยทำวิจัย ผู้ช่วยและที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ และ วิจัยปริญญาเอก หรือดุษฎีนิพนธ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ติดต่อให้เป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์มักจะเป็นประเด็น พบว่า การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์  เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์   พอสรุปได้ดังนี้

1. การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ : หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์   

1.1. อ่านชื่อเรื่องแล้วไม่เข้าใจว่านักศึกษากำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัยไม่ชัดเจน คลุมเครือและไม่ระบุตัวแปรหรือคำหลักที่สำคัญในหัวข้อวิจัย  เช่น

“ องค์กรนวัตกรรมของบริษัท……………………………………………………………………………….”

หัวข้อวิจัยที่ยกตัวอย่างนี้ ในข้อ ก.  ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนว่าผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไรขององค์กรนวัติกรรมของบริษัท เพราะไม่มีการระบุลักษณะหรือตัวแปรอยู่ด้านหน้าคำนาม ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าจะวัดค่าอย่างไร

กรณีการวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงสำรวจ การตั้งชื่อของหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัย นักวิจัยจะต้องระบุตัวแปรไว้หน้าคำนามเสมอ

เช่น การสร้างรูปแบบองค์กรนวัตกรรมของบริษัท …………………………………………………………………….

สำหรับการวิจัยเชิงทดลองหรือการพัฒนา การกำหนดหัวข้อวิจัยชื่อเรื่องต้องระบุสิ่งที่จะทดลองหรือสิ่งที่จะพัฒนา  โดยมีการกำหนดไว้ในชื่อเรื่อง เช่น

“การสร้างชุดกิจกรรมการสอนออนไลน์สำหรับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน…………………………………………………………………………………….”

หรือ

“การสร้างชุดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชี บริษัท  …………………………………………………………………………………….”

สำหรับงานวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดให้มีตัวแปรหลายตัวที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร   ผู้วิจัยจะต้องหาคำหรือข้อความที่เป็นตัวแทนของตัวแปรเหล่านั้น ไม่ใช่การระบุชื่อตัวแปรทุกตัวในหัวข้อวิจัยหรือชื่อเรื่อง  ซึ่งเป็นการทำให้ชื่อเรื่องยาวหลายบรรทัด จับจด และไม่กระชับ

1.2. ชื่อเรื่องไม่ระบุประชากรในการวิจัย หรือ population ทำให้ไม่รู้ว่าผู้วิจัยจะศึกษาตัวแปรของประชากรใด หรือจะพัฒนาใคร

1.3. ถ้าเป็นการวิจัยตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป เพื่อทดสอบสมมติฐานหรือหาความสัมพันธ์ระหว่างกัน นักวิจัยจะต้องเขียนบอกว่าจะศึกษาหาความสัมพันธ์กันอย่างไร เช่น

ก. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับจำนวนชั่วโมงการเข้าฝึกอบรมกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีบริษัท………………………………….

ข. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลน จังหวัดสมุทรสงคราม

1.4. ถ้าชื่อเรื่องเป็นการวิจัยเชิงทดลองหรือพัฒนา ชื่อเรื่องจะต้องเขียนระบุวิธีการทดลองหรือวิธีการพัฒนาไปด้วย เช่น

– การสร้างกิจกรรมการจัดการความขัดแย้งของพนักงานธนาคารแห่ง

– การออกแบบชุดฝึกเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่ง

2. การเขียนหรือเรียบเรียงหลักการและเหตุผล หรือความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยปัญหาที่พบไม่ชัดเจน

2.1. อ่านข้อความที่เขียนแล้ว  ไม่ตอบคำถามว่า  เหตุใดจึงสนใจที่จะทำวิจัยเรื่องนี้ หรือการวิจัยเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร ผู้เขียนมักจะเขียนวกไปเวียนมา ยืดยาว ร่ายยาว  หรือเขียนแบบกว้างเกินไป ไม่สามารถหาข้อสรุปปัญหาของการทำวิจัยได้    เช่น มีแนวทางที่จะทำวิจัยเรื่องนั้นๆหรือไม่ อย่างไร  และมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรืองานวิจัยที่ใกล้เคียงกับเรื่องนั้นมากน้อยเพียงใด

2.2. ไม่สามารถสรุปในตอนท้าย  กล่าวคือ    ผู้วิจัย มีความสนใจจะทำวิจัยเรื่องนี้เพราะอะไร  ไม่สามารถสรุปได้ หรือสรุปได้ไม่ชัดเจน รวมถึงการเขียนบทสรุปท้ายที่ไม่ตรงกับหัวข้อเรื่อง เป็นต้น

2.3. การเขียนงานไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา   ที่เห็นบ่อยที่สุดคือ การนำข้อมูล สถิติ หรือตาราง รูปภาพ กราฟ ต่างๆ  เขียนแปะไว้เฉยๆ โดยไม่ระบุที่มาที่ไปให้ชัดเจน

3.การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย

3.1. มักนำประโยชน์ของการทำวิจัยมาเขียนไว้เป็นวัตถุประสงค์  เช่น

– เพื่อใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ……………..

– เพื่อสามารถนำเสนอรูปแบบของการพัฒนา………………

3.2. เขียนเป็นคำถาม โดยท้ายข้อความจะเขียนคำว่า เพียงใด อย่างไร หรือไม่

3.3. เขียนชื่อตัวแปรไม่เหมือนในหัวข้อหรือชื่อเรื่อง

3.4. ข้อความที่เขียนไม่ระบุให้ชัดเจนว่าผลการวิจัยที่ได้จะมีลักษณะอย่างไร

3.5. วัตถุประสงค์บางข้อเขียนไม่สอดคล้องกับชื่อเรื่องหรือหัวข้อวิจัย เช่น ชื่อเรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัด………” แต่ในวัตถุประสงค์ของการวิจัยเขียนแบบเปรียบเทียบกัน

4. สมมติฐานการวิจัย ปัญหาที่พบ

4.1. สมมติฐานการวิจัยจะเขียนขึ้นมาลอย ๆ ขาดการให้เหตุผลสนับสนุน ทั้ง ๆ ที่ได้ศึกษาวรรณกรรมไว้แล้วมากมายในบทที่ 2

4.2. จะตั้งสมมติฐานแบบไม่มีทิศทางกันมากทั้ง ๆ ที่ได้ศึกษาวรรณกรรมไว้แล้ว

4.3. เขียนสมมติฐานการวิจัยไม่ชัดเจน อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าผลการวิจัยจะออกมาเป็นแบบใด

4.4. วัตถุประสงค์ของการวิจัยบางข้อเป็นการวิจัยตัวแปรเดียว ใช้วิธีการประมาณค่าไม่ต้องมีการทดสอบสมมติฐาน แต่นักศึกษาก็ยังจะเขียน

5. ขอบเขตของการวิจัย ปัญหาที่พบ

5.1. นักศึกษาจะเขียนละเอียดโดยเฉพาะหัวข้อประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจะไปซ้ำซ้อนกับบทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

5.2. ระบุตัวแปรไม่ถูกต้อง การวิจัยบางเรื่องไม่สามารถบอกได้ว่าตัวแปรไหนเป็นตัวแปรต้นหรือตัวแปรตาม

5.3. นักศึกษาบางคนเขียนเนื้อหาหรือทฤษฎีละเอียดมากไปในขอบเขตของการวิจัย ซึ่งจะซ้ำซ้อนกับบทที่ 2

6. คำนิยามศัพท์เฉพาะ ปัญหาที่พบ

6.1. นิยามไม่ครบทุกตัวแปร

6.2. เอาคำอื่นๆที่ไม่ใช่ตัวแปรมานิยามมากเกินไป

6.3. นักศึกษาจะนิยามตัวแปรเองโดยไม่นำเอาความหมายมาจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 มานิยาม

6.4. นิยามที่เขียนจะเป็นนิยามเชิงทั่วไปเป็นส่วนมากแทนที่จะเขียนเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ

6.5. นักศึกษาเขียนนิยามเชิงปฏิบัติการไม่เป็น

7. ประโยชน์ที่ได้รับ ปัญหาที่พบ

7.1. นักศึกษาจะเขียนล้อตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกข้อ

7.2. ประโยชน์ที่เขียนไกลเกินกว่าที่ผลของการวิจัยจะนำไปใช้ได้ ซึ่งดูแล้วเลื่อนลอย

7.3. เขียนมากข้อ ซึ่งบางข้อก็ไม่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ได้จริง

8. บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ปัญหาที่พบมีดังนี้

8.1. เขียนแบบตัดต่อมากเช่น ความหมายของการจัดการความรู้มีนักวิชาการได้ให้ความหมายดังนี้

บุญมี พันธุ์ไทย(2545 หน้า 4)          กล่าวว่า………………………………………………………….

สุวิมล ติรกานันท์(2547,หน้า 7)      กล่าวว่า…………………………………………………………..

ดุษฎี โยเหลา(2549,หน้า 6)              กล่าวว่า………………………………………………………….

รูบิน(Rubin 2002, p.12)                   กล่าวว่า……………..

8.2. ไม่สรุปตอนท้ายหลังจากจบข้อความที่ลอกมาของแต่ละคน

8.3. ไม่เขียนแบบสรุปความหรือสังเคราะห์ความ เขียนแบบตัดแปะมากไป

8.4. ไม่เรียงลำดับปี พ.ศ. หรือ ค.ศ.

8.5. ข้อความที่นำมาอ้างเก่ามาก

8.6. ข้อความที่นำมาอ้างอิงไม่ตรงกับตัวแปรที่วิจัย

8.7. การเขียนไม่โยงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม แต่จะเขียนแยกบรรยายตัวแปรแต่ละตัว

8.8. ใช้แหล่งข้อมูลทุติยภูมิมากเกินไป ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ จะเห็นได้จากตรงเชิงอรรถมีคำว่าอ้างอิงใน

8.9. กรณีภาษาต่างประเทศมาแปลเป็นภาษาไทยแล้วอ่านไม่เข้าใจหรืออ่านไม่รู้เรื่อง

8.10. บางเนื้อหาเช่น ระเบียบ กฎ หลักสูตร ยกเอามาทั้งหมดแทนที่จะสรุปมา ส่วนรายละ

เอียดน่าจะเอาไว้ภาคผนวก

8.11. ข้อความต่างๆที่จะนำมาเขียนควรมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือก่อนว่าขัดแย้งกับของคนอื่นหรือไม่ ผู้เขียนเป็นที่ยอมรับในศาสตร์นั้นหรือไม่

8.12. ควรใช้คำหรือข้อความที่นักวิชาการในศาสตร์นั้นๆยอมรับ

8.13. ใช้คำให้คงเส้นคงวา หรือเหมือนกันตลอดทั้งเล่ม โดยเฉพาะคำภาษาอังกฤษที่แปรเป็นภาษาไทยที่แปรไม่เหมือนก็ควรวงเล็บภาษาอังกฤษไว้ด้วย

8.14. เรื่องหรือข้อความที่นำมาเขียนไม่ควรจะขัดแย้งกัน ควรจะไปในทิศทางเดียวกัน

8.15. งานวิจัยที่นำมาเขียนควรจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำจริงๆเช่น ตัวแปรเหมือนกันประชากรต่างกัน เนื้อหาวิชาต่างกัน

8.16. งานวิจัยก็ควรเป็นระดับปริญญาเอกให้มากกว่าในระดับปริญญาโทหรือไม่มีเลยก็ยิ่งดี

8.17. ตรงหัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรสรุปด้วยว่าได้วิจัยตัวแปรอะไรมาบ้างแล้ว หรือวิจัยในลักษณะอย่างไรบ้าง ยังขาดอะไร และที่กำลังจะทำวิจัยอยู่นี้ไม่เหมือนคนอื่นที่ทำตรงไหนบ้างหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน

8.18. ตอนสุดท้ายของบทที่ 2 อาจจะใส่กรอบแนวคิดในการวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการวิจัยที่เรากำลังจะทำ หรือขั้นตอนในการทดลอง

9. วิธีดำเนินการวิจัย ปัญหาที่พบมีดังนี้

9.1. ประชากร เขียนบรรยายไม่ละเอียดพอหรือเขียนไม่ชัดเจนว่าเป็นใคร เพศ อายุ ที่อยู่ อาชีพ เป็นต้น ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลอยู่ในแบบสอบถาม

9.2. กลุ่มตัวอย่าง บรรยายขั้นตอนการสุ่มไม่ละเอียด หรือไม่ชัดเจนเช่น

– การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างไม่บอกที่มาว่ากำหนดมาอย่างไร

– ใช้สูตรกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างผิด

– เขียนบอกว่าใช้เทคนิคการสุ่มแบบนี้ แต่อธิบายขั้นตอนการสุ่มไม่ถูกต้องตามเทคนิคที่บอก

– อธิบายขั้นตอนการสุ่มไม่ครบเช่น บอกว่าใช้เทคนิคการสุ่มแบบเชิงช่วงชั้นแต่ขั้นตอนสุดท้ายไม่บอกว่าแต่ละชั้นสุ่มอย่างไร

– การวิจัยที่ใช้ประชากรขนาดใหญ่ หรือพื้นที่กว้างมากแต่บอกว่าใช้เทคนิคการสุ่มอย่างง่ายซึ่งเป็นไปไม่ได้

9.3. กรณีการวิจัยเชิงทดลอง ผู้วิจัยไม่อธิบายว่าทดลองอย่างไร กลุ่มทดลองทำอย่างไร กลุ่มควบคุมทำอย่างไร บางคนเขียนแผนภาพการทดลองแต่ไม่อธิบายสัญลักษณ์ต่างๆในภาพว่าแต่ละตัวคืออะไร

9.4. การใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลไม่บรรยายส่วนประกอบของแบบสอบก่อนว่ามีกี่ตอนอะไรบ้างอยู่ ๆ ก็บรรยายขั้นตอนการสร้างเลย

9.5. บรรยายขั้นตอนการสร้างไม่ละเอียด ควรระบุเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน

9.6. ไม่ระบุในขั้นตอนการสร้างว่าสร้างให้สอดคล้องกับคำนิยามศัพท์เฉพาะซึ่งเป็นหลักการของการสร้างเครื่องมือวิจัยที่สำคัญ

9.7. ไม่ระบุการหาคุณภาพรายข้อว่าหาอย่างไรบ้างเช่น ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก บอกเฉพาะค่าความเชื่อมั่นอย่างเดียว

9.8. การใช้แบบสอบถามปลายเปิดก็ต้องบรรยายขั้นตอนการสร้างที่ยืนยันว่ามีคุณภาพเช่น

– ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

– ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ

– อาจจะหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

9.9. ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงร่างในการเก็บข้อมูลผู้วิจัยบรรยายขั้นตอนการสร้างแบบสัมภาษณ์ไม่ละเอียดว่าสร้างอย่างไร จึงเป็นที่เชื่อถือว่ามีคุณภาพเช่น

– ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา

– ปรับปรุง แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

– การทดลองเพื่อตรวจสอบความเป็นปรนัยของข้อคำถาม

– ปรับปรุง ข้อคำถามหลังการทดลองพบว่าบกพร่อง

– อาจจะหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา

9.10. กรณีใช้ผู้สัมภาษณ์หลายคน ไม่บรรยายว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้การสัมภาษณ์เป็นไปในแนวทางเดียวกันเช่น

– สร้างคู่มือการสัมภาษณ์

– อบรมเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน

9.11. การเก็บรวบรวมข้อมูลก็ต้องบรรยายขั้นตอนการเก็บให้ละเอียด โดยเฉพาะการสัมภาษณ์ การสังเกตหรือเก็บข้อมูลจากร่องรอยหลักฐาน ว่าได้ใช้อุปกรณ์อะไรบ้างมาใช้ทำอะไรเช่น เทปบันทึกเสียง กล่องวีดีโอ เป็นต้น

9.12. การวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาที่พบมีดังนี้

– การวิจัยเชิงปริมาณจะใช้วิธีการทางสถิติผิดซึ่งจะพบมาก

– บางคนบอกวิธีการถูกแต่เขียนสูตรสถิติผิด

– ไม่ตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางสถิติที่จะนำมาใช้ก่อน

– วิธีการทางสถิติบางวิธีควรจะศึกษาหรือทบทวนและเขียนไว้ในบทที่ 2 ด้วย เพื่อให้ผู้วิจัยมีความเข้าใจมากขึ้น

10.การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์   ถ้าเป็นการวิจัยเชิงปริมาณในบทนี้จะประกอบด้วยตารางแสดงค่าสถิติต่างๆมาก ปัญหาที่พบมีดังนี้

10.1. ไม่จัดตอนในการนำเสนอตารางให้สะดวกในการอ่าน

10.2.ไม่จัดเรียงตารางตามวัตถุประสงค์การวิจัย

10.3. การเขียนหัวตารางไม่ชัดเจนว่าจะนาเสนอค่าสถิติอะไรบ้าง ของตัวแปรการวิจัย

10.4. ระบุชื่อตัวแปรหลังวิธีการทางสถิติไม่ชัดเจนว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง

10.5. กำหนดสัญลักษณ์ของสูตรสถิติในตารางไม่เหมาะสม

10.6. การแปลผลตารางที่แสดงค่าเฉลี่ย ผู้วิจัยจะแปลความหมายทุกค่าเฉลี่ยซึ่งไม่น่าอ่าน ควรจะแปลเฉพาะค่าเฉลี่ยมากอันดับต้นๆ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

10.7. การเสนอตารางผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัยต้องระบุนัยสำคัญทางสถิติ ( α ) ที่ระดับใดระดับหนึ่ง (.05หรือ.01) ไม่ใช่ 2 ระดับ

10.8. ถ้าผลการทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติให้ใส่เครื่องหมาย * กรณีใช้ α เท่ากับ .05 และ ** กรณีใช้ α .01 ค่าใดค่าหนึ่งตรงค่าสถิติที่ใช้ทดสอบ

10.9. ถ้าผลการทดสอบไม่มีนัยสำคัญทางสถิติก็ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย * แต่ท้ายตารางจะแปลผลใส่ค่านัยสำคัญทางสถิติลงไปด้วยที่ระดับใดระดับหนึ่ง

10.10. การแปลผลตารางทดสอบสมมุติฐานการวิจัยจะแปลผลที่ α ระดับเดียวกันตลอดทั้งเรื่อง จะไม่แปลผลที่ α 2 ระดับ

10.11. การแปลผลท้ายตารางจะแปลตามข้อมูลที่ปรากฏเท่านั้นจะไม่ใส่ความคิดเห็นลงไปด้วย

10.12. ตอนท้ายของการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ อาจจะมีการเสนอผลการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งได้จากแบบสอบถามปลายเปิด จะสรุปรวมเป็นข้อ ๆ และมีค่าความถี่หรือร้อยละ แปลผลเฉพาะข้อความที่มีความถี่สูงๆประมาณ 3-4 ข้อ จะไม่แปลผลทุกข้อ

10.13.การแปลผลท้ายตารางทดสอบสมมติฐานควรใช้สำนวนหรือข้อความเหมือนกันตลอดทั้งเล่ม เช่นแตกกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

11. การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์  เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับ การเขียนหัวข้อสรุปผล อภิปลายผลและข้อเสนอแนะ

11.1.สรุปผลการวิจัย ปัญหาที่พบมีดังนี้

– ไม่สรุปปัญหา และวิธีดำเนินการก่อน

– บางคนก็สรุปปัญหาร และ วิธีดำเนินการยาวมากเกินไป

– สรุปข้อมูลสถานภาพผู้ตอบแบบสอบไว้ในหัวข้อสรุปผลการวิจัย

– สรุปผลการวิจัยไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

– สรุปผลการวิจัยยาวมากเกินไป ไม่น่าอ่าน

11.2.อภิปรายผล ปัญหาที่พบมีดังนี้

– เขียนสรุปผลซ้ำอีกยืดยาว ให้เหตุผลน้อยมาก

– ให้เหตุผลไม่ตรงกับตัวแปรการวิจัย

– ให้เหตุผลไม่สอดคล้องกับผลการวิจัย

– เหตุผลมีเฉพาะความคิดเห็นของผู้วิจัย เป็นส่วนใหญ่ มีแนวคิด ทฤษฎีน้อย มาก หรือบางคนไม่มีเลย

– ให้เหตุผลเฉพาะตัวแปรหรือปัจจัยอย่างเดียว ด้านย่อย ๆ ของตัวแปรไม่ต้อง

11.3.ข้อเสนอแนะ ปัญหาที่พบมีดังนี้

– เขียนเสนอแนะการนำไปใช้ไม่ สมเหตุสมผล นำไปใช้ไม่ได้จริง

– เสนอแนะไม่ชัดเจน อ่านไม่เข้าใจ

– ควรเสนอประเด็นที่พบจากการวิจัย

– กรณีพบว่าตัวแปรใดมีอิทธิพลต่อตัว แปรตาม ควรเสนอแนะว่าจะนำไป พัฒนาอะไรได้บ้าง

– กรณีพบว่าตัวแปรใดดีอยู่แล้ว ควรเสนอแนะว่าจะทำอย่างไรให้ดียิ่งขึ้นหรือ คงสภาพเดิมไว้อย่างไร

– ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยไม่เขียนให้ ชัดเจนว่าควรทำวิจัยเรื่องอะไรบ้างต่อ จากการวิจัยของเรา

– บางคนเขียนว่าควรเพิ่มตัวแปร…ลงไปใน การทำวิจัยครั้งต่อไป เขียนแบบนี้ไม่ดี

– บางคนก็เขียนว่าควรจะควบคุมตัวแปร เกินอย่างนั้นอย่างนี้ แบบนี้ก็ไม่ควรเขียน

– กรณีการวิจัยเชิงทดลองบางคนก็ เสนอแนะว่าควรจะทดลองแบบนั้นแบบนี้ น่าจะดีกว่า อย่างนี้ก็ไม่ต้องเขียน

12. ภาคผนวก ปัญหาที่พบมีดังนี้

12.1. เอกสารที่ควรใส่กลับไม่ใส่ลงไป ภาคผนวกเช่น เครื่องมือวิจัย สิ่งที่ สร้างขึ้นมาใช้ในการทดลอง คุณภาพ ของเครื่องมือวิจัยรายข้อ เป็นต้น

12.2. สูตรทางสถิติบางอย่างไม่ต้องใส่

12.3. ผลการประมวลผลด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์ไม่ต้องใส่ลงไป

12.4. ข้อมูลรายบุคคลไม่ต้องใส่ลงไป

13.บรรณานุกรม ปัญหาที่พบมีดังนี้

13.1. เขียนโดยไม่ยึดรูปแบบของ มหาวิทยาลัย

13.2. เขียนรูปแบบแตกต่างกันทั้ง ๆที่อยู่ใน เล่มเดียวกัน

13.3. รายชื่อในบรรณานุกรมไม่ตรงกับในภาคผนวก

13.4. ไม่เรียงลำดับตัวอักษร

จากเนื้อหาที่เรียบเรียงไปนี้  จะพบว่า  การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์  เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ มีหลายประเด็น  ซึ่งพบมากบ้างน้อยบ้าง สำหรับนักศึกษาที่เข้ามาปรึกษาเราแต่ละท่านจะมีปัญหาไม่เหมือนกัน  ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ การทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ของนักวิจัยแต่ละท่าน

ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิจัย รับทำวิจัย
ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิจัย รับทำวิจัย
รับทำวิจัย รับปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ ปรึกษาการทำดุษฎีนิพนธ์
รับทำวิจัย รับปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ ปรึกษาการทำดุษฎีนิพนธ์