ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์

ขั้นตอนของการทำวิทยานิพนธ์  

แนวคิด เทคนิค วิธีการ ขั้นตอนของการทำวิทยานิพนธ์

ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis)  รวมไปถึง ดุษฎีนิพนธ์  สารนิพนธ์  ภาคนิพนธ์  การค้นคว้าอิสระ (Independenะ Study : IS) มีกระบวนการ หรือ ขั้นตอนที่สำคัญๆ คล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้

  1. สำรวจความสนใจ
  2. กำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์
  3. สำรวจ หรือ ทบทวนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  4. สร้างกรอบแนวคิดวิทยานิพนธ์
  5. เขียนระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง
  6. เลือกสถิติ แบบจำลอง และโปรแกรมวิเคราะห์สถิติและเศรษฐมิติที่เหมาะสม
  7. เขียนผลการศึกษา

7 ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ ที่ถูกต้อง

สำหรับรายละเอียด ตั้่งแต่ขั้นตอนที่ 1 จนถึง ขั้นตอนที่ 7 มีดังนี้

1.  สำรวจความสนใจ

นักศึกษาปริญญาโทที่อยู่ใน ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ โดยทั่วไปจะเลือกหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ศึกษาอยู่ เช่น ศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ หรือ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการเงิน  และปฏิบัติงานในธนาคารพาณิชย์ ในด้านสินเชื่อ  และสนใจที่จะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับสินเชื่อ เช่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อ ของธนาคารที่ตนปฏิบัติงานอยู่  หรือ ทำงานอยู่ในฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์  ก็อาจเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับความผันผวนหรือหลักทรัพย์ หรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์  เช่นนี้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม  ผู้ทำวิทยานิพนธ์ สามารถที่จะเลือกหัวข้อที่ไม่ได้อยู่ในแผนกที่ทำงาน เช่น ทำงานด้านสินเชื่อ แต่สนใจเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานด้านการเงิน ของบริษัทหรือกลุ่มบริษัท ในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมหรืออยู่ในความสนใจของตนเอง และสาธารณชน ซึ่งสามารถทำวิทยานิพนธ์ตามหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่สนใจเหล่านี้ได้เช่นกัน

2. กำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์
หลังจากที่ได้ทำการสำรวจ หรือ พิจารณา ความถนัด ความสนใจ เกี่ยวกับเรื่องหรือหัวข้อวิทยานิพนธ์คร่าวๆ ในขั้นตอนแรกแล้ว  ผู้ทำวิทยานิพนธ์จะสามารถกำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ได้คร่าวๆ โดยอาจเขียนชื่อหัวข้อที่ต้องการหรือสนใจไว้ 3 – 5 หัวข้อ เพื่อดำเนินการสำรวจความเป็นไปได้ในขั้นตอนต่อไป

3. สำรวจ หรือ ทบทวนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์  มีหลักการสำคัญที่สุดข้อหนึ่งคือ จะต้องไม่ซ้ำกับเรื่องที่มีคนทำไปแล้ว  คำว่า “ไม่ซ้ำ” ในที่นี้หมายถึง เป็นชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ที่ได้มีคนทำไว้แล้วและเพิ่งตีพิมพ์ไปไม่นานนัก เช่น ผ่านไปเพียง 1 – 3 ปี และเราไม่มีประเด็นใหม่ที่จะทำต่อยอดจากเรื่องเดิม เช่นนี้ก็ไม่ควรกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่คิดไว้  แต่หากเป็นชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ที่คล้ายคลึงกัน หรือ เปลี่ยนชุดของข้อมูล  เปลี่ยนสนามวิจัย หรือเปลี่ยนวิธีวิจัยหรือแบบจำลองใหม่

เช่น  “ศึกษาความผันผวนของดัชนีราคาหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย ระหว่างปี 2015 – 2020 ด้วยวิธี ARIMA”  เราอาจสามารถเปลี่ยน หรือ กำหนด หัวข้อวิทยานิพนธ์ใหม่ เป็น “การศึกษาความผันผวนของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย ด้วยวิธี GARCH และ วิธี EGARCH ระหว่างปี 2017 – 2021” เช่นนี้ย่อมสามารถทำได้  เนื่องจากมีการเปลี่ยนแบบจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาที่ศึกษาด้วย  ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการทำวิจัยอย่างหนึ่ง

นอกจากนี้  ในขั้นตอนนี้  นักศึกษาจะต้องทำการศึกษา และ รวบรวมแนวคิด หลักเกณฑ์ หลักการ ทฤษฎี (Theory) และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Related Research) เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการกำหนดตัวแปรในกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย (Conceptual Framework) และ แบบจำลองต่างๆ รวมไปถึงการกำหนดข้อมูล และสถิติ / เศรษฐมิติ ที่ใช้สำหรับงานวิจัยของเราด้วย

ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ รับทำวิทยานิพนธ์
ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์

4. สร้างกรอบแนวคิดวิทยานิพนธ์ 
ขั้นตอนการกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับวิทยานิพนธ์ หรือ กรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย เป็นขั้นตอนสำคัญที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการขั้นตอนที่3  โดยหลังจากที่ได้ทำการกำหนดชื่อเรื่องหรือหัวข้อวิทยานิพนธ์เรียบร้อยแล้ว และทำการสำรวจความเป็นไปได้ของการทำงานวิทยานิพนธ์ต่อ  ด้วยการสำรวจว่ามีการทำหัวข้อซ้ำหรือไม่ และมีแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพียงพอสำหรับที่จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นเพื่อการกำหนดองค์ประกอบที่สำคัญในขั้นตอนนี้ คือ “การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย”

ซึ่งอันที่จริงหรือถ้าจะให้ถูกต้องแล้ว  นักศึกษา ควรกำหนดกรอบแนวคิดงานวิจัย ไว้ในส่วนท้ายหรือหัวข้อสุดท้ายในบทที่ 2 ซึ่งเป็นบทที่ได้ทำการรวบรวมแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยมาเป็นอย่างดีและมากเพียงพอแล้ว  แต่ยังพบเห็นการกำหนดกรอบแนวคิดงานวิจัยไว้ในบทแรกเป็นบางเล่ม  ซึ่งก็สามารถทำได้ หากมีการกำหนดที่มีของทฤษฎีและชื่อนักวิจัย กำกับไว้ใต้กรอบแนวคิดงานวิจัย ไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดรายละเอียดของตัวแปรแต่ละตัวใน “นิยามศัพท์เฉพาะ” ที่เขียนไว้ในท้ายบทแรกนั่นเอง

5. เขียนระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง : ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์

ระเบียบวิธีวิจัย หรือ วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) โดยทั่วไปจะเขียนไว้ต่อจาก แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือ บทที่ 2 โดยในบทที่นำเสนอ ระเบียบวิธีวิจัย จะมีหัวข้อสำคัญๆ ที่ต้องระบุไว้อย่างชัดเจน คือ รูปแบบของงานวิจัย เช่น เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ งานวิจัยเชิงคุณภาพ หรืองานวิจัยแบบผสมผสาน  ,  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  โดยแสดงขอบเขตของประชากรที่ชัดเจน การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) และ วิธีการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) ซึ่งจะต้องระบุให้ชัดเจน และแสดงวิธีการอย่างละเอียด

ทั้งนี้เพราะ การได้มาซึ่งขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และ วิธีการสุ่มตัวอย่าง เป็นหัวใจสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของงานวิจัย โดยเฉพาะงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ ที่มักใช้เครื่องมือสำหรับการทำวิจัย คือ “แบบสอบถาม” หรือ “แบบสัมภาษณ์” และกลุ่มตัวอย่าง จะเป็นตัวแทนของประชากร  หากการได้มาของขนาดกลุ่มตัวอย่าง หรือ วิธีการสุ่มตัวอย่างผิดพลาด ย่อมทำให้งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์นั้นๆ ขาดความน่าเชื่อถือ

ส่วนต่อมา คือ เครื่องมือของงานวิจัย ซึ่งได้แก่ แบบสอบถาม หรือ แบบสัมภาษณ์ หรือเครื่องมือวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ทำวิทยานิพนธ์ ควรศึกษาจากงานวิจัย หรือเล่มวิทยานิพนธ์ที่ใกล้เคียง หรือใช้เป็นงานอ้างอิง ว่ามีการสร้างหรือออกแบบเครื่องมือนี้อย่างไร โดยสามารถอ้างอิงจากเครื่องมือที่นำมาใช้ได้ หรือ เป็นการดัดแปลงจา่กวิทยานิพนธ์หรือวิจัยเล่มใด และมีค่า่ความเชื่อมั่นของเครื่องมือนั้นๆ อย่างไร เป็นต้น

6.  สถิติ แบบจำลอง  โปรแกรมวิเคราะห์สถิติและเศรษฐมิติ  สำคัญมาก!!!
นักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ จำนวนมากที่มักจะตกม้าตายในขั้นตอนนี้ กล่าวคือ สามารถทำงานในสามบทแรกได้อย่างราบรื่น เนื่องจาก มีการใช้เล่มวิจัย หรือ เล่มวิทยานิพนธ์ทั้งไทยและต่างประเทศ สำหรับอ้างอิงการเขียนและเรียบเรียง แต่เมื่อถึงขั้นตอนของการเลือกสถิติ การเลือกแบบจำลอง

ซึ่งหากเป็นสถิติพื้นฐานที่ไม่ซับซ้อน เช่น การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (เช่น Pearson Correlation) หรือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression Analysis ซึ่ง่ส่วนใหญ่ ใช้วิธีการ วิธีกำลังสองน้อยที่สุด หรือ Ordinary Least Method : OLS) จะสามารถทำความเข้าใจและใช้สถิติเหล่านี้ได้ไม่ยากนัก

แต่หากเป็นแบบจำลอง สถิติ หรือ เศรษฐมิติ ที่ซับซ้อนขึ้นไป เช่น การใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติ ARMA  ARIMA  GARCH  COINTEGRATION  ECM (ซึ่งมักวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม ทางเศรษฐมิติ เช่น EVIEW / STATA / LIMDEP)  หรือ แบบจำลองสมการโครงสร้างเชิงเส้น ทั้ง Confirmatory Factor Analysis(CFA) และ  Structural Equation Model (SEM)   (ซึ่งมักวิเคราะห์ด้วย AMOS / LISREL /MPLUS)

นักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์  นักศึกษาจะต้องทำความเข้าใจ และประเมินทักษะ ความรู้ความสามารถ และเวลาที่จะใช้ในการเลือกและทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้ละเอียดรอบคอบ ว่าจะสามารถผ่านพ้นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้หรือไม่ หากมีความยุ่งยากสามารถเปลี่ยนได้หรือไม่ และสามารถหาผู้ช่วยและสามารถให้อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำหรือสอนการใช้แบบจำลองรวมถึงโปรแกรมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เหล่านี้ได้หรือไม่

7. การเขียนผลการศึกษา (Result / Findings) 

ในขั้นตอนของการเขียนผลการศึกษานี้  หากผู้ทำวิทยานิพนธ์ ดำเนินการผ่านกระบวนการและขั้นตอนที่ถูกต้องตั้งแต่ ขั้นตอนที่ 1 จนถึงขั้นตอนที่ 6 จะสามารถทำการวิเคราะห์ผลการศึกษา และนำมาเขียนผลการศึกษาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก สิ่งสำคัญคือ จะต้องศึกษารูปแบบ หรือ Format ของการเขียนงานสำหรับนำเสนอผลการศึกษา ที่ถูกต้อง หรือสอดคล้องกับแนวทางที่แต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย ได้กำหนดรูปแบบไว้อย่างชัดเจน  เพื่อหลีกเลี่ยงการต้องมาแก้งานในเรื่องรูปแบบภายหลัง ซึ่งเป็นการเสียเวลาโดยไม่จำเป็น

 

“ทั้งหมดนี้คือ ขั้นตอนคร่าวๆ  สำหรับการทำวิทยานิพนธ์เท่านั้น  แต่ผู้เขียนมีความเชื่อว่า หากนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์อ่านและทำความเข้าใจ และดำเนินการตามแต่ละขั้นตอนเหล่านี้  จะสามารถประสบความสำเร็จสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ไม่ยาก” ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ ที่ถูกต้อง จะช่วยทำให้นักศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ การทำวิจัย รวมไปถึงดุษฎีนิพนธ์ และวิจัยปริญญาเอก

ต้องการที่ปรึกษาหรือทีมงาน ผู้ช่วยวิทยานิพนธ์ ที่ทำงานแบบมืออาชีพ รวดเร็ว ฉับไว ปลอดภัย ไม่แพง    สามารถ ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

โทร. 087-008-1033 สายตรง ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์  (ไลนและโทรศัพท์)
หรือทางอีเมล์ [email protected]
https://www.facebook.com/professionaldatas/
https://xn--22cdl3do0ceefseqd2d5a6bdherj9ag2k8gva1u2cl.com/

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์