วิทยานิพนธ์ และ ค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์/ภาคนิพนธ์ เลือกอะไรดี

ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ 

มีนักศึกษาจำนวนมาก ที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการศึกษาในระดับปริญญาโท เกี่ยวกับการเลือกเรียนระหว่างแผน ก กับ แผน ข  ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับ การทำ วิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระ ซึ่งไม่เข้าใจว่าการเรียนทั้งสองอย่างนี้  มีความแตกต่างกันอย่างไร และแผนไหนจะตรงกับวัตถุประสงค์ที่นักศึกษาต้องการ หรือเหมาะสมกับตัวเองมากกว่า ดังนั้น บทความนี้เราขอนำความประมวลความรู้และความคิดเห็น จากหลายๆ แหล่ง เพื่อให้ผู้สนใจได้อ่านและพิจารณาถึงความเหมือน และความแตกต่างของการเรียนในทั้งสองหลักสูตรนี้  เพื่อใช้เป็นเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น สำหรับการวางแผนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือ ระดับมหาบัณฑิต ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ เป็นอย่างไร

วิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระ  แผน ก. (วิทยานิพนธ์) และ แผน ข (ค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์/ภาคนิพนธ์/ปัญหาพิเศษ) ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์

สำหรับการเรียน หลักสูตรในแผน ก เป็นการเรียนการศึกษาสำหรับหลักสูตรที่มี การทำงานวิจัย เป็น “วิทยานิพนธ์” (12 หน่วยกิต) โดยมุ่งเน้นทักษะของการทำวิจัยเต็มรูปแบบ  ซึ่งเหมาะสำหรับนักศึกษาที่มีความประสงค์ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่   รวมถึงเพื่อเตรียมตัวสำหรับการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นหรือในระดับดุษฎีบัณฑิต หรือ ปริญญาเอก (ดร.) ในภายภาคหน้า

ทั้งนี้ โดยงานวิจัยในหลักสูตร ที่ต้องทำวิทยานิพนธ์นี้  จะต้องได้รับการตีพิมพ์ในฐาน TCI ฐาน 2 ขึ้นไป จึงจะสามารถจบการศึกษาได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานเป็นนักวิชาการ อาจารย์ หรืออาจเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ (เป็นการเรียนเชิงลึก) เหมาะกับผู้ที่ชอบการค้นคว้าทำวิจัย

ส่วนการเรียนใน หลักสูตรในแผน ข เป็นหลักสูตรที่มี การทำงานวิจัยเป็น “การค้นคว้าอิสระ” (6 หน่วยกิต) โดยมุ่งเน้นทักษะการทำวิจัยเช่นเดียวกัน และ เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความสนใจศึกษางานวิจัย เพื่อต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ หรือสำหรับผู้ที่มีความต้องการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษตามความสนใจหรือความนัดของตนเอง  และ งานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์หรือการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง จึงจะสามารถจบการศึกษาได้ โดยอาจจะตีพิมพ์ใน TCI ฐาน 3 หรือบางหลักสูตรก็ไม่มีความจำเป็นต้องมีการตีพิมพ์แต่อย่างใด

ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์
ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์

การเลือกแผนไหน ก หรือ แผน ข

สำหรับแนวทางการเลือกเรียนในระดับ มหาบัณฑิต หรือ ปริญญาโท  มีหลักเกณฑ์คร่าวๆ  พอสังเขป ดังต่อไปนี้

  1. สาขาวิชาที่เรียนบางสาขา การทำวิทยานิพนธ์จะมีประโยชน์มากกว่าการค้นคว้าอิสระ
  2. การวางอนาคต ถ้าต้องการต่อปริญญาเอก หรือ ทำงานในสายงานวิชาการ วิจัย อาจารย์ การทำวิทยานิพนธ์จะเป็นการฝึกฝนและเตรียมความพร้อมที่ดีมาก
  3. ความถนัดและความชอบส่วนบุคคล ต้องมีเวลาที่จะศึกษาหาข้อมูลเต็มที่
  • อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนใจหรือนักศึกษา จะเลือกแผนไหนก็ได้ แต่ควรให้ได้ตรงตามเป้าหมายในอนาคตด้วย   เนื่องจาก จะทำให้เรามีความพร้อมที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ   และควรเลือกให้เราสามารถได้เรียนรู้ให้มากที่สุด มีความรับผิดชอบต่อตัวเองให้มาก เพราะส่วนใหญ่การเรียนในระดับปริญญาโทเป็นการศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเอง

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มเรียนต่อปริญญาโท เพื่อเป็นแนวทางให้เตรียมพร้อมและเตรียมตัวสำหรับการเรียนต่อได้อย่างถูกต้อง

  1. รู้เป้าหมาย

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนต่อ ก็คือรู้จักเป้าหมายว่าเราจะเรียนต่อไปทำไม? เพราะการเรียนต่อโดยไร้เป้าหมายจะทำให้เสียเวลาและเสียเงินไปเปล่าๆ หากเรียนไปแล้วรู้สึกไม่ใช่หรือไม่ชอบ เพราะฉะนั้นจึงควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนสำหรับการเรียนต่อว่าเรียนไปทำไมและเพื่ออะไร เช่น เรียนต่อเพื่อใช้ในการทำงาน เรียนต่อเพื่อเป็นอาจารย์ หรือเรียนต่อเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม เพราะสิ่งนี้จะมีผลในการเลือกเรียนในหลักสูตรต่างๆ และช่วยให้สามารถกำหนดขอบเขตของเวลาได้อย่างชัดเจนด้วย

  1. ภาคปกติและภาคพิเศษเหมาะสำหรับใคร

โดยปกติแล้วการเรียนต่อปริญญาโทจะมีให้เลือกเรียนได้ 2 แบบ ซึ่งก็คือภาคปกติและภาคพิเศษ

      • ภาคปกติ จะเป็นการเรียนในรูปแบบวันจันทร์ – ศุกร์ การเรียนจะไม่หนักเท่าภาคพิเศษ เพราะไม่ต้องมีวิชาเรียนอัดเกินไป ทำให้มีเวลาทำงานส่งอาจารย์ในวันเสาร์อาทิตย์ด้วย การเรียนภาคปกติจึงเหมาะสำหรับคนที่มีเวลาว่างในวันปกติ ผู้ที่ยังไม่ได้ทำงานประจำ คนที่มีรายได้น้อยและคนทำงานอิสระนั้นเอง
      • ภาคพิเศษ มีการเรียนการสอนในวันเสาร์ – อาทิตย์ ส่วนค่าหน่วยกิตจะแพงกว่าการเรียนภาคปกติ ภาคพิเศษจะเหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานประจำเพราะมีเวลาจำกัดในการเรียน
  1. โครงสร้างหลักสูตร แผน ก และ แผน ข

โดยทั่วไปแล้ว  การเรียนการสอนใน หลักสูตรปริญญาโทหรือระดับมหาบัณฑิตนั้น  จะมีให้เลือกด้วยกันอยู่ 3 แบบ แผน ก1, ก2, และแผน ข ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้มีความต่างกันทั้งวิชาเรียน ความเข้มข้นและรูปแบบการเรียน

      • สำหรับแบบแผน ก1 คือ หลักสูตรที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรืออาจารย์ในสาขาวิชานั้นๆ โดยหลักสูตรแบบ ก1 จะไม่มีการเรียนการเรียนการสอน แต่จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้เวลาไปกับการทำวิทยานิพนธ์เท่านั้น ทำให้หลักสูตร ก1 ไม่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
      • ส่วนในแบบแผน ก2 จะมีความต่างจากแบบแผน ก1 ก็คือ มีการเพิ่มการเรียนการสอนให้เพื่อปรับพื้นฐานและความรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปทำวิทยานิพนธ์ได้
      • แบบแผน ข แบบแผน ข จะมีความคล้ายคลึงกับแบบแผน ก2 เพียงแต่จะมีความเข้มข้นน้อยของเนื้อหาน้อยกว่าการเรียนแบบ แผน ก และไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์เพื่อจบการศึกษา แต่ต้องทำเป็นการค้นคว้าอิสระแทน
  1. รู้จักวิธีการหาทุน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ทุน หรือ งบประมาณ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ สำหรับการศึกษาต่อ ไม่ว่าจะเป็นระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก เพราะจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนและทำงานวิจัยได้โดยไม่ต้องกังวลถึงเรื่องค่าใช้จ่าย โดยปกติแล้วการหาทุนเรียนต่อมีอยู่สองแบบคือ ทุนภายในและทุนภายนอก

      • ทุนภายใน คือ ทุนที่ทางมหาวิทยาลัยหรือภาควิชาที่เราศึกษาต่อออกให้โดยตรง เช่น ทุนผู้ช่วยอาจารย์ ทุนผู้ช่วยวิจัย ทุนสำหรับนักเรียนต่างชาติ ทุนสนับสนุนการวิจัย โดยทุนภายในแต่ละประเภทจะมีความรายละเอียดที่แตกต่างกัน
      • ทุนภายนอก คือ ทุนที่ได้รับจากแหล่งเงินทุนภายนอกที่ไม่ใช่จากทางมหาวิทยาลัยโดยตรง เช่น ได้รับเงินทุนจากบริษัทที่ทำงาน ทุนสำหรับการตีพิมพ์ในวารสาร หรือได้รับเงินทุนจากกระทรวงหรือหน่วยเงินต่าง ๆ
  1. รู้จักวิธีการสอบเข้า

โดยปกติแล้ว การสอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รอบ คือ 1) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของผู้เข้าสอบ โดยทางหลักสูตรจะเป็นผู้กำหนดวิธีการสอบ และ 2) การสอบสัมภาษณ์ จะเป็นการสอบปากเปล่ากับอาจารย์ประจำสาขานั้นๆ

  1. รู้จักความต้องการของตลาด

ในอนาคตบางสาขาวิชาอาจถูกยุบหรืออาจจะมีสาขาวิชาใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งนึกที่เราควรคำนึงก็คือ ความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตอีก 2 – 5 ปี ว่ามีแนวโน้มหรือขาดแคลนแรงงานในด้านใด เพราะคงไม่มีใครที่จะเรียนจบมาแล้วไม่มีงานทำ

  1. รู้จักเตรียมตัว

วลีที่ว่า รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย  ทั้งนี้ เพราะเรารู้ว่าฆ่าศึกเป็นใคร การเรียนต่อก็เช่นกัน หากเราเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีการเรียนต่อจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่ต้องเตรียมตัวก็คือ เตรียมตัวเรื่องภาษาอังกฤษเพราะหนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษแทบทั้งหมด

      • เตรียมคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจาก ในการศึกษาต่อระดับมหาบัณฑิต หรือ ระดับ ปริญญาโทนั้น สั้นกว่าที่คิด และหากไม่ได้คิดหัวข้อที่อยาก จะทำไว้ก่อนจะทำให้การเรียนจบใช้เวลา และแรงกายมากกว่าเดิม
      • เตรียมตัวรับมือกับความท้อแท้ บ่อยครั้ง ที่ผู้เรียนต่อในระดับปริญญาโท ต้องเผชิญหน้ากับความท้อแท้ แต่ก็อย่าได้กลัวไป เพราะความท้อแท้นี้แหละจะเป็นเชื้อไฟที่ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นได้ในอนาคต
      • เตรียมตัวเรื่องเวลา การเรียนต่อในระดับปริญญาโทขึ้นไป อาจารย์ในมหาวิทยาลัยจะถือว่าเราเป็นผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยจะไม่จ้ำจี้จ้ำไชเรา ทำให้เราต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น

ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์

วิทยานิพนธ์ (Thesis)
ใช้เวลา 1 ปีในการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 เทอม
เริ่ม 3 หน่วยกิตแรกในเทอมที่ 1 เปิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ ทำบทที่ 1 – 3 แล้วสอบเปิดเล่มวิทยานิพนธ์
เทอมที่ 2 จะเป็นช่วงเวลาของการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำบทที่ 4-5 จำนวน 9 หน่วยกิตแล้วสอบปิดเล่มวิทยานิพนธ์
โดยชิ้นงานจะต้องออกมาในรูปแบบของงานวิจัย จะเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ งานวิจัยเชิงคุณภาพ หรืองานวิจัยเชิงผสมผสานทั้งแบบปริมาณและคุณภาพ ก็ได้ และวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาจะต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ หรือร่วมนำเสนอวิทยานิพนธ์แล้วตีพิมพ์ในงานประชุมวิชาการ ด้วย
การค้นคว้าอิสระ (IS)
การค้นคว้าอิสระ IS จำนวน 3 หน่วยกิตใช้เวลา 1 เทอม ทำทั้งหมด 5 บท
ชิ้นงานของ IS สามารถเลือกได้ว่า จะทำในรูปแบบงานวิจัยเช่นเดียวกับทำวิทยานิพนธ์ หรือจะทำในรูปแบบกึ่งงานวิจัยและมีการพัฒนาชิ้นงานด้านนวัตกรรม หรือมีการสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาสร้างเป็น Project เชิงนวัตกรรมขนาดเล็กก็ได้ และหลังดำเนินการค้นคว้าอิสระจะต้องสอบปิดเล่ม IS เผยแพร่ผลงานผ่านทางเว็บไซต์ของคณะ

หากวางแผนจะเรียนต่อ ป.เอก ควรเลือกทำอะไรดี

เลือกให้เหมาะกับเส้นทางของชีวิตในอนาคต อาชีพที่อยากทำ พิจารณาว่าอาชีพที่จะทำในอนาคต วิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์จะเป็นตัวช่วยที่ส่งเสริมให้ทางเดินไปสู่จุดหมาย เป็นไปได้ง่ายกว่ากัน
ข้อดีของการทำวิทยานิพนธ์คือ เราจะมีความรู้ทางวิชาการในเรื่องที่ศึกษาวิจัยอย่างมาก ก่อให้เกิดประสบการณ์ด้านการเขียนงานวิจัย ที่ผู้ทำงานจะเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเต็มที่ เนื้อที่ทำวิทยานิพนธ์จะมีความเข้มข้นกว่าสารนิพนธ์ คนที่วางแผนอยากเรียนต่อปริญญาเอกแนะนำให้เลือกทำวิทยานิพนธ์ เพราะปริญญาเอกบางแห่งไม่รับพิจารณาผู้เข้าเรียนจากทำค้นคว้าอิสระ (IS) รับพิจารณาเฉพาะผู้ทำวิทยานิพนธ์เท่านั้น

ข้อดีของการทำค้นคว้าอิสระ (IS)

ข้อดีของการทำค้นคว้าอิสระ หรือ IS คือ มีความยุ่งยากน้อยกว่าวิทยานิพนธ์ เนื้อหาความเข้มข้นน้อยกว่า เป็นการค้นคว้าอิสระสามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เคยมีผู้ศึกษาไว้แล้วมาต่อยอด รวบรวมและร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันตามแนวคิดทฤษฎีทางวิชาการ หากจุดหมายในอนาคตที่ต้องการไม่ได้ไปทางสายวิชาการ เรียนต่อปริญญาโทเพื่อต่อยอดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะให้ตนเอง และมีเวลาจำกัด ก็สามารถเลือกทำการค้นคว้าอิสระหรือสารนิพนธ์ (IS) ได้