การทำงานวิทยานิพนธ์

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์

การทำงานวิทยานิพนธ์ หรือ วิจัยปริญญาโท  วิจัยระดับมหาบัณฑิต

การสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือ มหาบัณฑิต จำเป็นต้องผ่าน การทำงานวิทยานิพนธ์ หรือ วิจัยระดับปริญญาโท  และอาจเรียกชื่อต่างกันไปตามโครงสร้างหลักสูตรที่คณะและสถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนด เช่น ภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์  โปรเจค  ค้นคว้าอิสระ (Independent Study : IS) ปัญหาพิเศษ หรือ  ปริญญานิพนธ์  เป็นต้น

การทำงานวิทยานิพนธ์
การทำงานวิทยานิพนธ์

ความหมายการทำวิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์ มีกระบวนการหรือรูปแบบการทำงานไม่แตกต่างจากการทำวิจัยทั่วไป  วิทยานิพนธ์ (Thesis หรือ Dissertation) หมายถึง เรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างละเอียดและรอบคอบ โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ตามแบบแผนและลําดับ  ขั้นตอน ของวิธีการวิจัยนั้น ๆ ประกอบด้วย ความคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะอย่างมีเหตุผลและมีหลักเกณฑ์ โดยมุ่งให้ผู้ทําวิทยานิพนธ์ รู้จักวิธีการศึกษาค้นคว้าอย่างมีเหตุผล มีระบบและสามารถรายงานผลของการศึกษาได้โดยใช้ภาษาที่ถูกต้องและรัดกุม เป็นการทําวิจัยเพื่อเสนอรับปริญญาในลำดับต่อไป

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์

ขั้นตอนต่างๆ  สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ที่นำเสนอนี้  เป็นขั้นตอนสำคัญ ซึ่งหากผู้ทำวิทยานิพนธ์  มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน และมีระบบระเบียบ  จะทำให้การทำวิทยานิพนธ์สำเร็จได้ภายในเวลาที่กำหนดและงานมีคุณภาพดี   7 ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้องดังนี้

1. กำหนดชื่อเรื่อง (Thesis  Topis)

การกำหนดชื่อเรื่องหรือหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ดี  ควรเป็นชื่อที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์สนใจ มีความถนัด และควรเป็นเรื่องอยู่ในสาขาที่เรียน หากยังไม่ทราบ  สามารถสืบค้นได้จาก วิทยานิพนธ์ที่ทำสำเร็จ และมีการตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว  โดยอาจจะเป็นวิทยานิพนธ์ของรุ่นพี่ที่เคยศึกษาในคณะ   หรือ วิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยอื่นทั้งในและต่างประเทศ

2. รีวิว (Review) วิทยานิพนธ์เก่า

การรีวิว หรือ การทบทวนวรรณกรรม ตรงกับภาษาอังกฤษ คือ Literature Review ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรายละเอียดฉบับเต็มในเนื้อหาของบทที่2 ซึ่งเป็นการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยต้องศึกษาทฤษฎีซึ่งดูจากหัวข้อหรือชื่อเรื่องที่เราศึกษา ดูว่ามีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และศึกษางานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ที่มีคนทำไว้แล้ว ในหัวเรื่องที่เหมือนกันหรือคล้ายใกล้เคียงกัน

3. การสร้างตัวแปรในกรอบแนวคิดงานวิจัย (Conceptual  Framework)

การทำวิทยานิพนธ์ ต้องมีองค์ประกอบสำคัญหนึ่ง ที่เป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางของงานวิทยานิพนธ์นั้นๆ และถือว่าเป็นปัญหาหลักสำหรับนักวิจัยมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก การกำหนดกรอบแนวคิดมีหลายรูปแบบ ทั้งการกำหนดแบบตัวแปรต้นและตัวแปรตาม และการกำหนดกรอบแนวคิดตามเนื้อหาของการวิจััยกรอบแนวคิดถือเป็นหัวใจหลักของการวิจัยเลยทีเดียว จึงต้องปรึกษาผู้รู้หรืออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อกำหนดกรอแนวคิดที่ถูกต้อง จะเป็นแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ไม่ออกแนวประเด็นสำคัญของการศึกษา

4. การกำหนดขอบเขตของการศึกษา (Scope of Research)

ขอบเขตของการทำวิทยานิพนธ์ หรือ ขอบเขตของการศึกษา(หรือวิจัย) โดยทั่วไป ประกอบด้วย

  • เนื้อหา คือระบุว่าจะศึกษาทำวิทยานิพนธ์เรื่องอะไร ครอบคลุมเนื้อหาประมาณไหน
  • ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กำหนดข้อมูลประชากร และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามหลักสถิติการวิจัย
  •  พื้นที่และระยะเวลาที่ศึกษา เป็นการกำหนดให้ชัดเจนว่าจะศึกษาพื้นที่และระยะเวลาใด

5. เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยเพื่อใช้ในวิทยานิพนธ์  

โดยทั่วไปเครื่องมือสำหรับใช้ในการทำวิทยานิพนธ์หรือการทำวิจัย  จะแบ่งออกเป็น 2 แนวทางใหญ่ๆ สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative  Research) จะใช้เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม (Questionnaire) ส่วนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ที่มุ่งเน้นแนวทางการทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  Research)  จะเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In   depth  interview) เป็นหลัก  หรืออาจจะมีการสังเกตุการณ์และการสนทนากลุ่มร่วมด้วย เป็นต้น

6. สถิติในการวิจัย ประกอบในวิทยานิพนธ์ :

เป็นเรื่องที่ทำให้คนทำวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ท้อ เนื่องจากไม่เข้าใจสถิติ ไม่เข้าใจสูตร ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณ ไม่เข้าใจการหาค่า ไม่เข้าใจการกำหนดตัวแปร ไม่เข้าใจการแปรผล ไม่เข้าใจการสรุปผลจากตาราง ซึ่งประเด็นนี้ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าอย่างมากโดยทั่วไปแล้วสถิติที่ใช้ในการทำวิจัยระดับปริญญาโท จะประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติพยากรณ์ที่ใช้มักจะเป็น T-test และ F-test หรือ Chi-Square

7. การสรุปและอภิปรายผล ปัญหาสุดท้ายวิทยานิพนธ์ :

เมื่อถึงขั้นตอนนี้บางคนอาจตกม้าตาย เนื่องจากทำเองมาตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นทำสถิติด้วยตนเอง แต่ต้องมาเจอปัญหาการอภิปรายผล หลักง่ายๆ ของการอภิปรายผลคือ เราต้องเขียนให้ได้ว่า ผลการวิจัยวิทยานิพนธ์ของเรา สอดคล้อง คล้ายคลึง ได้ผลใกล้เคียงกับวิทยานิพนธ์ของใคร หรือหากไม่สอดคล้องเลย ให้เขียนว่า เราค้นพบอะไร และจะสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง ซึ่งต้องเขียนต่อไปในข้อเสนอแนะ

ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์แบ่งออกได้เป็น 5 ส่วน คือ
1. ส่วนนํา (Preliminary Materials)
2. ส่วนเนื้อความ (Body of the Thesis)
3. ส่วนอ้างอิง (Reference Materials)
4. ภาคผนวก (Appendices)
5. ประวัติผู้เขียน (Biography)

References

  1. ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์
  2. คู่มือการทำวิทยานิพนธ์

 

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย