การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว

การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว

เทคนิค วิธีการ การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว การทำวิทยานิพนธ์ให้เสร็จทันเวลา

การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ รับทำวิจัย
การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ รับทำวิจัย

การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว หรือเสร็จทันเวลา มีเทคนิคที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

5 เทคนิคการทำวิจัยให้เสร็จเร็ว

  1. วางแผนการทำงาน : การทำวิจัย รวมไปถึงผลงานวิชาการประเภทอื่นๆ เช่น การทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) มีเนื้อหาและองค์ประกอบสำคัญ หรือองค์ประกอบจำเป็นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องมากมาย โดยเฉพาะ เนื้อหาที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ พื้นฐานความรู้ แนวคิด ทฤษฎี สถิติ แบบจำลอง โมเดล และโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติที่จำเป็นต้องใช้ รวมไปถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งเชิงปริมาณที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และ การสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งในแต่ละส่วน แต่ละขั้นตอน จะมีความยากง่ายและระยะเวลาในการดำเนินการแตกต่างกันไป ผู้วิจัย นักศึกษา จำเป็นที่จะต้องวางแผนการทำงานในแต่ละส่วนไว้อย่างมีแบบแผน และดำเนินการในแต่ละขั้นตอนให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
  2. เลือกหัวข้อวิจัยที่ตนถนัดและสนใจ : การทำวิจัยเป็นการทำงานที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างนานพอสมควรเมื่อเทียบกับการเรียนการศึกษาทั่วไป กล่าวคือ วิจัย 1 เล่ม อาจใช้เวลาอย่างน้อย เดือน ไปจนถึง 1 ปี   ซึ่งตลอดระยะเวลาการทำวิจัยนี้ ผู้วิจัย นักศึกษา จะต้องอยู่การเขียนงานวิจัยและการแก้งานวิจัยในแต่ละขั้นตอน จนกว่าจะสำเร็จ ไม่สามารถวางมือหรือทิ้งงานไปได้จนกว่างานจะสำเร็จ เพราะหากวางมือหรือเอาเวลาไปทำงานอื่นก่อน และทิ้งหรือหยุดการทำวิจัยเอาไว้เป็นเวลานาน จะทำให้การทำงานไม่มีความต่อเนื่อง และผู้วิจัยเองจะลืมเนื้อหาส่วนที่สำคัญๆ ได้ ดังนั้น หากผู้วิจัย เลือกหัวข้อวิจัยที่มีความถนัดหรือมีความสนใจในเรื่องๆ นั้น ย่อมจะสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยมีแรงจูงใจที่อยากทำงานวิจัยนั้นๆ ให้สำเร็จในแต่ละขั้นตอนหรือกระบวนการทำวิจัยได้ไม่ยากนัก
  3. แบ่งเวลาเพื่อเขียนรายงานเป็นช่วงสั้นๆ นักเรียนส่วนใหญ่มักใช้เวลา เช่น ทั้งวันหรือทั้งสัปดาห์ เพื่อทุ่มเทให้กับการเขียนรายงานวิจัยอย่างเดียวไปเลย บางคนอาจถึงกับงดทำแลปชั่วคราว เพื่อทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับการเขียนรายงานวิจัย แต่ปัญหาคือมันเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ที่เราจะมีเวลาว่างนานแบบนั้นเพื่อเขียนอย่างเดียว ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น อาจมีธุระต่างๆที่เข้ามาให้ทำในแต่ละวัน จนทำให้ไม่สามารถนั่งเขียนรายงานส่งอาจารย์ตามกำหนดได้ และบางทีอาจารย์ที่ปรึกษาเองก็คงจะไม่เห็นด้วย ถ้านักเรียนจะงดทำแลปเพื่อไปเขียนรายงานวิจัยอย่างเดียว เพราะนั่นหมายความว่างานวิจัยต้องหยุดชะงักไม่มีความคืบหน้า
    ดังนั้นแนะนำว่าให้ลองแบ่งเวลาเพื่อเขียนรายงานวิจัยออกเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แทนการใช้เวลาทั้งวันเพื่อเขียนดู เช่น แบ่งมาแค่วันละ 1 ชั่วโมงเพื่อเขียนรายงานอย่างเดียว โดยทำแบบนี้ 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นต้น (จำนวนชั่วโมงและวันที่จะแบ่งมาเพื่อเขียนรายงานนี้ขึ้นกับตัวนักเรียนเองเป็นผู้กำหนด) จะเห็นว่าการที่เราเจียดเวลามาวันละชั่วโมงเพื่อเขียนรายงานแบบนี้ดูมีความเป็นไปได้มากกว่า แถมเราเองก็ยังสามารถทำแลปไปด้วยเขียนไปด้วยได้ แนะนำเพิ่มเติมว่ายิ่งเริ่มเขียนเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ถ้าทำแบบนี้ได้งานวิจัยของเราจะมีความก้าวหน้า โดยที่เราจะไม่เหนื่อยเกินไปแน่นอน
  4. กำหนดเวลาที่จะเขียน : เพิ่มเติมต่อจากข้อแรกคือ แนะนำว่าให้กำหนดช่วงเวลาที่เราจะเขียนรายงานด้วยว่าจะทำตอนกี่โมง โดยเลือกจากช่วงเวลาที่เราสะดวกที่สุดและเป็นไปได้ที่สุด ที่เราจะเขียนในเวลานั้นได้จริงทุกวันตามที่วางแผนไว้ และควรกำหนดให้เขียนในเวลาเดิมทุกวันด้วย เพื่อช่วยเตือนเราได้ว่าเมื่อถึงเวลานี้เมื่อไหร่เราต้องไปเขียนรายงานทันที ตัวอย่างเช่น กำหนดว่าจะเขียนรายงานวิจัยอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-10.00 น.
    ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยบอกว่าตอนเช้าหลังตื่นนอนเป็นช่วงเวลาที่สมองเราตื่นตัวและทำให้เราทำงานที่ต้องใช้ความคิดออกมาได้ดีที่สุด แต่ถ้าน้องคนไหนที่ปกติตื่นเช้ามารู้สึกงัวเงียแถมยังต้องรีบอาบน้ำแต่งตัวไปมหาวิทยาลัยอีก เราก็ไม่อยากแนะนำให้กำหนดเวลาเพื่อเขียนงานตอนเช้าหลังตื่นนอน (แต่ใครจะลองดูก็ได้) แนะนำว่าควรเลือกช่วงเวลาที่ถูกจริตกับเราดีกว่า เช่น กำหนดเป็นตอนเย็นหลังเลิกเรียน/ทำงานกลับมาบ้านแล้วก็ได้ เพราะการเขียนรายงานให้สำเร็จนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลากี่โมงที่เขียน แต่ขึ้นอยู่กับ “ความสม่ำเสมอ” ในการเขียนของเรามากกว่า
  5. ขอความเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย : ทุกครั้งที่เราเขียนบทใดบทหนึ่งของรายงานเสร็จ ควรจะทะยอยส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาช่วยอ่านก่อน เพื่อขอคำแนะนำว่าในบทนั้นยังขาดอะไรหรือไม่ ควรเพิ่มเติมอะไรเข้าไปอีก เพื่อให้รายงานวิจัยของเราเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพมากที่สุด โดยอาศัยประสบการณ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาเราเอง
    เวลาจะส่งรายงานให้อาจารย์ตรวจ แนะนำว่าให้ทะยอยส่งทีละบทกับอาจารย์ โดยอาจตกลงกันก่อนก็ได้ว่าควรทำบทใดก่อนให้เสร็จเพื่อตรวจก่อน ไม่แนะนำให้รอเขียนเสร็จทั้งเล่มก่อนแล้วค่อยส่งให้อาจารย์ตรวจ เพราะกว่าเราจะเขียนเสร็จทั้งเล่มอาจใช้เวลานาน แถมตอนรออาจารย์ตรวจเสร็จก็ต้องรอนานอีกด้วย ทำให้เสียเวลาเกินไป แต่ถ้าเราทะยอยส่งให้อาจารย์ตรวจทีละบท ระหว่างที่รออาจารย์ตรวจบทที่หนึ่ง เรายังสามารถเขียนบทอื่นรอได้ ไม่เสียเวลารอโดยเปล่าประโยชน์
    นอกจากนี้แนะนำว่าก่อนที่เราจะส่งงานให้อาจารย์ตรวจแต่ละบทนั้น เราควรตรวจงานด้วยตัวเองก่อนด้วย เช่น ตรวจคำผิด ตรวจ grammar ถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ตรวจเนื้อหาว่าเป็นเหตุผลแล้วหรือไม่ ตรวจว่าใส่อ้างอิงครบถูกต้องแล้วหรือไม่ก่อนส่ง ไม่ควรส่งงานให้อาจารย์ทันทีเมื่อเขียนเสร็จโดยที่ตัวเองยังไม่ตรวจทาน เพราะนั่นคือการทำงานของคนที่ไม่เป็นมืออาชีพ ถ้าเราอยากให้อาจารย์เห็นว่าเราทำงานได้ดี เราก็ควรตั้งใจทำงานให้ออกมาดีที่สุดก่อนในมุมมองของเรา ถึงแม้ว่าสุดท้ายเราจะได้รับความเห็นจากอาจารย์ในทางที่ไม่ดีเท่าไหร่ ในที่นี้หมายถึงรายงานเรายังมีอีกหลายจุดที่ยังต้องแก้ไขเพิ่ม แต่นั่นก็หมายความว่าเราได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นจริงมั้ยคะ

ข้อห้ามสำหรับการทำวิจัย

  1. อย่ารอพร้อมแล้วค่อยเริ่มเขียน: การรอในที่นี้หมายถึงรอทุกอย่างจริงๆ ไม่ว่าจะเป็น รออารมณ์พร้อมก่อนแล้วค่อยเขียน รอนึกภาพรวมออกก่อนว่ารายงานจะเป็นอย่างไรแล้วค่อยเขียน รอผลการศึกษา/ทดลอง ออกมาครบก่อนแล้วค่อยเขียน หรือรออื่นๆที่ทำให้เราไม่เริ่มลงมือเขียน เพราะยิ่งรอก็ยิ่งเสียเวลา ไม่มีทางเป็นไปได้ที่เราจะพร้อมทุกอย่างหรอกค่ะส่วนถ้าใครที่ยังทำการทดลองไม่เสร็จ ก็ไม่ได้หมายความว่าเรายังไม่สามารถเริ่มเขียนรายงานได้นะคะ เพราะอย่างที่บอกว่าในรายงานวิจัยหนึ่งฉบับประกอบด้วยหลายหัวข้อย่อย ดังนั้นถ้าเรายังมีผลในหัวข้อใดยังไม่ครบก็ให้ไปเขียนหัวข้ออื่นไปพลางๆก่อน เช่น บทนำ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการศึกษา/ทดลอง หรือเขียนผลการทดลองในส่วนอื่นก่อนก็ได้ ย้ำนะคะว่ายิ่งเริ่มเขียนเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีค่ะ

    นอกจากนี้บางครั้งการเขียนออกมาเป็นร่างรายงานวิจัยก่อน ยังช่วยให้เรามองเห็นจุดที่งานของเรายังขาดอยู่ก็ได้ เพราะถ้าอยู่ๆให้มานึกว่าตอนนี้งานเรายังขาดอะไรอยู่ ต้องไปทำอะไรมาเพิ่ม เพื่อให้รายงานวิจัยเราสมบูรณ์ขึ้นนั้น เราอาจนึกไม่ออก เพราะยังไม่เห็นภาพร่างรายงานวิจัยของเราเลย ดังนั้นไม่ต้องรอพร้อมทุกอย่างค่ะ มาเริ่มลงมือเขียนงานวิจัยของเราออกมาเป็นร่างรายงานวิจัยขึ้นมาก่อนจะมีประโยชน์แน่นอน

    2.อย่าทำอย่างอื่นระหว่างเขียนรายงานวิจัย: ระหว่างที่เรานั่งเขียนรายงานวิจัยในช่วงเวลาที่กำหนดไว้นั้น มีข้อแม้อยู่ว่าเราจะต้องนั่งลงเพื่อ “เขียน” รายงานจริงๆ นั่นคือให้เราพิมพ์ประโยคลงไปในรายงาน โดยยังไม่ต้องสนใจว่าประโยคนั้นสละสลวยแล้วหรือยัง ให้เราเน้นไปที่การใส่ประเด็นสำคัญหรือคำอธิบายต่างๆลงไปในรายงานให้มากที่สุดในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ก่อน ส่วนเวลาที่เหลือนอกจากนี้ เราถึงจะสามารถแก้ไขข้อความ/จัดหน้ากระดาษ/หาแหล่งอ้างอิงมาใส่/หรืออื่นๆได้ เพราะสิ่งเหล่านี้คือการแก้ไข (editing) ไม่ใช่การเขียน (writing)

    นอกจากนี้แนะนำว่าให้ปิด notification ทั้งไลน์หรือเฟสบุ๊คไปก่อนในระหว่างที่เรากำลังเขียนอยู่ เพื่อลดการรบกวนที่ทำให้เสียสมาธิที่มาจากอุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้ด้วย

    3.อย่ากังวลจนเขียนไม่ออก: เวลาที่เราเขียนรายงานนั้น แนะนำว่าให้เน้นไปที่ไอเดียก่อน ว่าเราอยากบอกอะไรคนอ่านในแต่ละหัวข้อแต่ละย่อหน้าบ้าง เริ่มด้วยอะไรและต่อด้วยอะไร นึกอะไรออกก็พิมพ์ใส่ลงไปก่อน อย่ากังวลจนเกินไปว่าสิ่งที่เราคิดยังไม่ดีพอ อย่าเสียเวลาไปกับการคิดหาประโยคที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เรากำหนดไว้เพื่อเขียนรายงาน เพราะไม่มีอะไรที่ดีที่สุด สิ่งที่เราคิดว่าดีในมุมมองคนอื่นอาจไม่เห็นด้วยกับเราก็ได้

    ดังนั้นอย่าคาดหวังว่าประโยคที่เราพิมพ์ลงไปจะต้องเป็นประโยคที่สวยงามสมบูรณ์แบบ เพราะยิ่งคาดหวังมากก็จะยิ่งไปกดดันตัวเองจนบางครั้งทำให้เราเขียนออกมาไม่ได้เสียที แนะนำว่าให้เขียนความคิดของเราลงไปก่อน ส่วนเรื่องของการเกลาให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น ให้ไปทำนอกข่วงเวลาที่เรากำหนดว่าจะเขียนอย่างเดียว

อ้างอิง

  1. รับทำวิจัย
  2. เทคนิคการทำวิจัย
  3. ระเบียบวิธีวิจัย
  4. ตัวอย่างการทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
  5. หลักจริยธรรมการวิจัย
  6. วิธีการหลีกเลี่ยงการขโมยความคิด
  7. ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม
  8. การทำวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์
  9. ระเบียบวิธีวิจัยด้านรัฐประศาสนศาสตร์
  10. เทคนิคการทำวิจัย
  11. ข้อมูลอนุกรมเวลา
  12. วิธีการรีวิวงานวิจัย
  13. เทคนิคการตีพิมพ์บทความ
  14. เคล็ดลับนักเรียน

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย รับวิเคราะห์SPSS รับวิเคราะห์แบบสอบถาม การสืบค้นงานวิจัย การสืบค้นข้อมูล รับสืบค้นงานวิจัย รับสืบค้นข้อมูลงานวิจัย

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับวิเคราะห์SPSS  การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับวิเคราะห์SPSS  การทำวิจัยให้เสร็จเร็ว