การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS

การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS

การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression) ด้วยโปรแกรม SPSS การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS

การวิเคราะห์การถดถอย (Regression) เป็นวิธีการทางสถิติที่สำคัญประเภทหนึ่ง สามารถใช้สำหรับการตรวจสอบคุณลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (Independent variable) และตัวแปรตาม (Dependent variable)  โดยผลจากการศึกษาจะให้นักวิจัยทราบถึง (1) ขนาดของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ ที่มีต่อตัวแปรตาม และ (2) แบบจําลองความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ในการวิเคราะห์การถดถอย มักเรียกตัวแปรอิสระว่า ตัวทํานาย (predictor) หรือตัวแปรกระตุ้น (stimulus variable) ส่วนตัวแปรตาม มักเรียกว่า ตัวแปรตอบสนอง (response variable) หรือตัวแปรเกณฑ์(criterion variable)  ซึ่ง การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถวิเคราะห์ได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก สามารถนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปเขียนผลการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว

การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS
การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS

การใช้โปรแกรมSPSS สำหรับการวิเคราะห์การถดถอย 

มีขั้นตอนสำคัญดังนี้

1.นำเข้าข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์

โดยทั่วไปนักวิจัยจะมีการจัดเรียง/จัดเก็บข้อมูลในโปรแกรม Excel ดังตัวอย่าง

การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS
การวิเคราะห์การถดถอยด้วยSPSS

จากข้อมูลตัวอย่าง จะมีการกำหนดตัวแปรอิสระ คือ X1 จนถึง X10 และตัวแปรตามคือ Y

2.ทำการกรอกข้อมูลลง SPSS เพื่อ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

เปิดโปรแกรม SPSS ไปที่ variable view เพื่อสร้างตัวแปร เราจะสร้างตัวแปรชื่อว่า method เพื่อเก็บวิธีสอน และ score เพื่อเอาไว้เก็บคะแนน จากนั้นก็ save ไฟล์และตั้งชื่อไว้  และนำข้อมูลมากรอกใน SPSS โดยเรียงลำดับตามตัวแปรที่กำหนด นำตัวเลขกรอกในช่อง score เรียงลำดับลงมาเรื่อยๆ

3. คลิกเลือก Analyze บนแถบเมนู เลือกที่รายการ Regression เมื่อมีเมนูย่อยปรากฎขึ้นมา ให้กดเลือก Linear  เมื่อมีหน้าต่าง Linear Regression ปรากฎขึ้น ให้นำตัวแปรอิสระ X1-X10 ใส่ในช่อง Indepemdent ส่วนตัวแปรตาม Y ให้ใส่ที่ช่อง Dependent จากนั้นคลิก “OK”

4. อ่านผลลัพธ์

หลังจากนักวิจัย ดำเนินการวิเคราะห์ ตามขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 จนถึงขั้นตอนที่ 3 จะปรากฎตารางผลลัพธ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

ตาราง Model Summary จะบอกให้ ทราบสมการพยากรณ์ที่ได้มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งพิจารณาได้จาก
R Square ซึ่งจากตัวอย่างนี้มีค่าเท่ากับ 0.936 หรือมีประสิทธิภาพในการทำนายหรือพยากรณ์ได้ถึงร้อยละ 93.6

สำหรับตาราง Anova เป็นการทดสอบนัยสำคัญของสมการพยากรณ์ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test) แสดงจากตัวอย่างนี้จะเห็นว่ามีค่า Significant =0.002 ซึ่งน้อยกว่าระดับนัยสำคัญที่กำหนดไว้ (0.05) แสดงให้เห็นว่าสมการพยากรณ์จากข้อมูลตัวอย่างนี้มีนัยสำคัญ ส่วนตารางสุดท้ายจะแสดงค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระแต่ละตัวที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม ในสมการพยากรณ์

ตัวอย่างชื่องานวิจัยที่ใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยโปรแกรม SPSS

(1) การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างประสบการณ์ทางวรรณคดีไทย และความเข้าใจในวัฒนธรรมตะวันตก กับความสามารถในการเรียนวรรณคดีอังกฤษ
(2) การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความถนัดทางการเรียน การปรับตัว ความตั้งใจเรียนและ ความวิตกกังวลในการเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
(3) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์กับสมรรถภาพ สมองบางประการ

(4) การวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยส่วนบุคคล และการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสอง ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร

(5) การศึกษาระดับความพึงพอใจ ความจงรักภักดี ของผู้บริโภค ที่มีต่อแบรนด์สินค้าพรีเมี่ยมสินค้าประเภทเครื่องสำอางค์ ของผู้บริโภค ในเขตกรุเงทพมหานคร

(5) ปัจจัยพหุวัฒนธรรม การรับรู้ การเรียนรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการปรับตัวกับเพื่อนร่วมงานต่างชาติ กรณีศึกษา บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ในประเทศไทย

(6) การศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ขององค์การ ประเภทธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงิน ในประเทศไทย

สรุป

การวิเคราะห์ฺถดถอยอย่างง่าย (simple regression analysis) เป็นเทคนิคทางสถิติที่อาศัยความสัมพันธ์ เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปร มาสร้างสมการทํานาย โดยเมื่อทราบค่าตัวแปรอิสระ ก็สามารถทํามายตัวแปรตามได้ แต่ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ พบว่าตัวแปรตามไม่ได้เป็นผลมาจากตัวแปรอิสระตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น แต่กลับมีความสัมพันธ์ กับตัวแปรอิสระกลุ่มหนึ่ง

ในกรณีเช่นนี้นั้น ในการทํานายหากตัวแปรอิสระหลายๆตัวแปรหรือกลุ่มของตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์ ต่อตัวแปรตามมารวมกันสร้างสมการทํานาย แล้ว ก็น่าจะได้สมการทํานายที่มีความแม่นยํา มากกว่าสมการทํานายที่ใช้ตัวแปรอิสระเพียงตัวเดียว จึงทําให้เกิดเทคนิคทางสถิติที่เรียกว่า การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis)

อ้างอิง : 

เทคนิคการใช้SPSS

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำSPSS รับวิเคราะห์ spss
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำSPSS รับวิเคราะห์ spss

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท การใช้โปรแกรมEVIEW รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย รับวิเคราะห์SPSS รับวิเคราะห์ข้อมูลSPSS จ้างทำSPSS รับประมวลผลข้อมูล SPSS จ้างทำspss จ้างวิเคราะห์spss รับวิเคราะห์spss รับประมวลผลspss รับวิเคราะห์STATA