ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์

ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์

ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบสำหรับการทำวิจัย วิจัยปริญญาโท วิจัยปริญญาเอก ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ รวมไปถึงการประเมินผลการวิจัย และเอกสารทางวิชาการต่างๆ  ที่พบค่อนข้างบ่อย มีดังนี้ 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยไม่ชัดเจน วิทยานิพนธ์โดยทั่วไป มักจะเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงบริบทของปัญหา หรือ สถานการณ์ / สภาพทั่วไป ของเรื่องที่ทำวิจัย  ซึ่งนักวิจัยหรือนักศึกษา ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำวิทยานิพนธ์ หรือมีการอ่านงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ในอดีตค่อนข้างน้อย จะไม่เห็นถึงความสำคัญของการให้เหตุผลหรือข้อมูลสนับสนุนว่า ทำไมถึงทำเรื่องที่ทำวิจัย โดยเฉพาะทำไมถึงทำในสถานที่หรือพื้นที่นั้นๆ เช่น การศึกษาแรงจูงใจใในการทำงานองบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา  แต่ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาไม่ได้กล่าวถึงสภาพปัญหา หรือ สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลฯ ดังกล่าว  นอกจากนี้  การเขียนบทนำ หรือ บทที่1 ควรนำเสนอตัวเลข สถิติ ทั้งในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ ชาร์ต ต่างๆ ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงของเรื่องที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ และควรมีการอ้างอิงถึงทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบางส่วน เพื่อฉายภาพให้เห็นถึงที่มาที่ไป เรียกว่าเป็นการฉายภาพใหญ่ แล้วจึงค่อยๆไล่ลำดับปัญหาและความสำคัญไปสู่ประเด็นที่แคบลงในย่อหน้าท้ายๆ ของที่มาและความสำคัญ 2. หัวข้อวิทยานิพนธ์คลุมเครือ ไม่ชัดเจน  การกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ จะต้องมีความชัดเจน สั้น …

ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ Read More »

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบในการทำวิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์  และวิธีการแก้ไข จากการทำงานเป็นผู้ช่วยทำวิจัย ผู้ช่วยและที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ และ วิจัยปริญญาเอก หรือดุษฎีนิพนธ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ติดต่อให้เป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์มักจะเป็นประเด็น พบว่า การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์  เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์   พอสรุปได้ดังนี้ 1. การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ : หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์    1.1. อ่านชื่อเรื่องแล้วไม่เข้าใจว่านักศึกษากำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัยไม่ชัดเจน คลุมเครือและไม่ระบุตัวแปรหรือคำหลักที่สำคัญในหัวข้อวิจัย  เช่น “ องค์กรนวัตกรรมของบริษัท……………………………………………………………………………….” หัวข้อวิจัยที่ยกตัวอย่างนี้ ในข้อ ก.  ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนว่าผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไรขององค์กรนวัติกรรมของบริษัท เพราะไม่มีการระบุลักษณะหรือตัวแปรอยู่ด้านหน้าคำนาม ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าจะวัดค่าอย่างไร กรณีการวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงสำรวจ การตั้งชื่อของหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัย นักวิจัยจะต้องระบุตัวแปรไว้หน้าคำนามเสมอ เช่น การสร้างรูปแบบองค์กรนวัตกรรมของบริษัท ……………………………………………………………………. สำหรับการวิจัยเชิงทดลองหรือการพัฒนา การกำหนดหัวข้อวิจัยชื่อเรื่องต้องระบุสิ่งที่จะทดลองหรือสิ่งที่จะพัฒนา  โดยมีการกำหนดไว้ในชื่อเรื่อง เช่น “การสร้างชุดกิจกรรมการสอนออนไลน์สำหรับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน…………………………………………………………………………………….” หรือ “การสร้างชุดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชี บริษัท  …………………………………………………………………………………….” สำหรับงานวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดให้มีตัวแปรหลายตัวที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร   ผู้วิจัยจะต้องหาคำหรือข้อความที่เป็นตัวแทนของตัวแปรเหล่านั้น ไม่ใช่การระบุชื่อตัวแปรทุกตัวในหัวข้อวิจัยหรือชื่อเรื่อง  ซึ่งเป็นการทำให้ชื่อเรื่องยาวหลายบรรทัด …

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข Read More »