การทำดุษฎีนิพนธ์

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แนวคิด เทคนิค วิธีการ ไอเดียที่ดีสำหรับ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก การทำวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต หรืออาจจะเรียกว่า การทำดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก จะแตกต่างกับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทในด้าน “การสร้างองค์ความรู้” และความ”ลึก”ของเนื้อหา ตั้งแต่การตั้งคำถามการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม กรอบการวิจัยและวิธีการวิจัย สำหรับผู้ที่สนใจเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เทคนิควิจัยปริญญาเอก สามารถคลิกได้เลย ไปจนถึงเนื้อหาของงานซึ่งต้องมีความชัดเจน ลึกซึ้ง มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ  หลายคนอยากได้ “สูตรสำเร็จ” สำหรับการเขียนวิทยานิพนธ์ ซึ่งไม่มีอยู่ในโลกนี้ จะมีอยู่ ก็แค่”คำแนะนำ” และ”ตัวอย่างวิทยานิพนธ์” ในแนวเดียวกับที่เราสนใจ ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวทางหรือโครงสร้างของวิทยานิพนธ์ที่จะทำ แต่อย่าไปยึดติดกับวิทยานิพนธ์เล่มใดเล่มหนึ่งมากเกินไป ทางที่ดี ควรค้นคว้าให้มากเข้าไว้ อ่านให้มาก คิดให้มาก…  มีเว็บไซต์ที่ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ รวมทั้งตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์ที่พอจะช่วยให้พอมองเห็นโครงสร้างของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกได้บ้าง การศึกษาระดับปริญญาเอกมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญในการท าวิจัยที่ได้มาตรฐานเพื่อสร้างองค์ความรู้และเพื่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น การศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรจึงกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนต้องทำการศึกษาวิจัยที่เป็นดุษฎีนิพนธ์พร้อมทั้งเผยแพร่อย่างกว้างขวางในวารสารวิชาการที่ได้มาตรฐานก่อนจบการศึกษา  การทำวิจัยในระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษา มีตัวแปรทางสังคมเกี่ยวข้องมากมายจึงต้องมีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น จึงต้องเลือกแบบการวิจัยที่มีความเข้มข้นและความลุ่มลึกกว่าการทำวิจัย ในระดับปริญญาโท ผู้วิจัยจะต้องออกแบบการวิจัยให้ถูกต้อง ชัดเจน สามารถตอบโจทย์วิจัยได้อย่างเที่ยงตรงสูง มีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนได้น้อย และมีความน่าเชื่อถือ ทั้งด้านวิธีการเลือกตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร การสร้างเครื่องมือวิจัยให้ …

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก Read More »

การทำดุษฎีนิพนธ์

การทำดุษฎีนิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิจัยระดับปริญญาเอก (Dissertation) เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญที่สุดของการบรรลุเป้าหมายการเป็นดุษฎีบัณฑิต หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก  ซึ่งปัจจุบันเป็นการศึกษาในระดับที่สูงที่สุดในระดับบัณฑิตศึกษา  การทำดุษฎีนิพนธ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่บัณฑิตระดับปริญญาเอกทุกคนต้องให้ความสำคัญ โดยทั่วไปแล้วกระบวนการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์จะมีความคล้ายคลึงกัน ความแตกต่างที่สำคัญจะอยู่ที่ขอบเขตและความซับซ้อนของงานเท่านั้น (Glatthorn & Joyner 2005) แนวคิดนี้เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาแต่ในอังกฤษมักจะใช้คำว่า “Thesis”เหมือนกันทั้งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับในภาษาไทยในปัจจุบันนี้วิทยานิพนธ์ใช้กับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทส่วนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกนั้นใช้คำว่า  “ดุษฎีนิพนธ์” ในที่นี้จะใช้คำว่า  “ดุษฎีนิพนธ์”  หรือ  ”วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก”โดยถือว่ามีความหมายเดียวกัน บทพิสูจน์ของการเรียนในระดับปริญญาเอกที่สำคัญที่สุดคือคือดุษฎีนิพนธ์ (Phillips & Pugh 1994)  กล่าวได้ว่า การทำเขียนดุษฎีนิพนธ์เป็นหัวใจของการเรียนปริญญาเอก และเนื่องจากการเรียนปริญญาเอกเป็นการผลิตนักวิจัยมืออาชีพ ซึ่งได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกชุมชนวิชาการระดับโลก (Phillips & Pugh 1994) ดุษฎีนิพนธ์จึงต้องได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของนานาชาติด้วย เพื่อให้เป็นที่แน่ใจได้ว่ามหาวิทยาลัยได้ทำการผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของชุมชนวิชาการระหว่างประเทศ โดยปกติทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพดุษฎีนิพนธ์เอาไว้เป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบตั้งแต่ต้น และถือปฏิบัติในการทำดุษฎีนิพนธ์ของตน และมอบให้คณะกรรมการหรือผู้ทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกใช้เป็นแนวทางในการตรวจพิจารณาตัดสินขั้นสุดท้ายในการสอบดุษฎีนิพนธ์ กล่าวได้ว่า ดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิจัยปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต (Dissertation)  ผู้วิจัยได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีวิธีการกระทำที่ถูกต้องและลึกซึ้งตามหลักวิชาการ และมีข้อมูลซึ่งบ่งชัดเจนถึงสิ่งที่ได้ ค้นพบใหม่ …

การทำดุษฎีนิพนธ์ Read More »

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบในการทำวิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์  และวิธีการแก้ไข จากการทำงานเป็นผู้ช่วยทำวิจัย ผู้ช่วยและที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ และ วิจัยปริญญาเอก หรือดุษฎีนิพนธ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ติดต่อให้เป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์มักจะเป็นประเด็น พบว่า การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์  เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์   พอสรุปได้ดังนี้ 1. การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ : หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์    1.1. อ่านชื่อเรื่องแล้วไม่เข้าใจว่านักศึกษากำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัยไม่ชัดเจน คลุมเครือและไม่ระบุตัวแปรหรือคำหลักที่สำคัญในหัวข้อวิจัย  เช่น “ องค์กรนวัตกรรมของบริษัท……………………………………………………………………………….” หัวข้อวิจัยที่ยกตัวอย่างนี้ ในข้อ ก.  ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนว่าผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไรขององค์กรนวัติกรรมของบริษัท เพราะไม่มีการระบุลักษณะหรือตัวแปรอยู่ด้านหน้าคำนาม ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าจะวัดค่าอย่างไร กรณีการวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงสำรวจ การตั้งชื่อของหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัย นักวิจัยจะต้องระบุตัวแปรไว้หน้าคำนามเสมอ เช่น การสร้างรูปแบบองค์กรนวัตกรรมของบริษัท ……………………………………………………………………. สำหรับการวิจัยเชิงทดลองหรือการพัฒนา การกำหนดหัวข้อวิจัยชื่อเรื่องต้องระบุสิ่งที่จะทดลองหรือสิ่งที่จะพัฒนา  โดยมีการกำหนดไว้ในชื่อเรื่อง เช่น “การสร้างชุดกิจกรรมการสอนออนไลน์สำหรับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน…………………………………………………………………………………….” หรือ “การสร้างชุดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชี บริษัท  …………………………………………………………………………………….” สำหรับงานวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดให้มีตัวแปรหลายตัวที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร   ผู้วิจัยจะต้องหาคำหรือข้อความที่เป็นตัวแทนของตัวแปรเหล่านั้น ไม่ใช่การระบุชื่อตัวแปรทุกตัวในหัวข้อวิจัยหรือชื่อเรื่อง  ซึ่งเป็นการทำให้ชื่อเรื่องยาวหลายบรรทัด …

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข Read More »

ปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจ DBA VS PH.D มีการทำดุษฎีนิพนธ์เหมือนหรือต่างกัน?

การเรียนปริญญาเอก ปริญญาเอกบริหารธุรกิจ การทำวิจัยปริญญาเอก บริหาร DBA  PHD การทำวิจัย หลักสูตร DBA แตกต่างจาก PH.D หรือไม่ อย่างไร?   เคยสงสัยหรือไม่ เมื่อพูดถึง   การเรียนปริญญาเอก ปริญญาเอกบริหารธุรกิจ การทำวิจัยปริญญาเอก บริหาร DBA ทำไมการเรียนระดับปริญญาเอก หรือการทำวิจัย ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ (Business Administration)จึงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ (1) DBA  ย่อมาจาก  Doctor of Business Administration.  โดยกำหนดคุณสมบัติผู้เรียน/ผู้สมัครต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยภายในประเทศหรือต่างประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ  โดยที่ไม่จำกัดสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท (2) PH.D  ย่อมาจาก Doctor of Philosophy (Business Administration): Ph.D. (Business Administration) ภาษาไทยคือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารธุรกิจ): ปร.ด. (บริหารธุรกิจ)  …

ปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจ DBA VS PH.D มีการทำดุษฎีนิพนธ์เหมือนหรือต่างกัน? Read More »