ช่องว่างการวิจัย Research Gap

ช่องว่างการวิจัย ( Research Gap )

แนวคิดพื้นฐาน นิยาม ความหมาย การเขียน ช่องว่างการวิจัย (Research Gap)

ความหมาย ช่องว่างการวิจัย  

ช่องว่างการวิจัย หรือ Research Gapคือความแตกต่างระหว่างสิ่งที่รู้และสิ่งที่ไม่รู้เกี่ยวกับหัวข้อวิจัยหรือคำถามการวิจัยหนึ่งๆ ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อเติมเต็มช่องว่างนี้รวมถึงเป็นการเพิ่มฐานความรู้ที่มีอยู่ในหัวข้อนี้ ช่องว่างของการวิจัยสามารถระบุได้โดยดำเนินการทบทวนวรรณกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทบทวนงานวิจัยที่มีอยู่ในหัวข้อ

 

ช่องว่างการวิจัย Research Gap
ช่องว่างการวิจัย Research Gap

การทบทวนวรรณกรรมจึงเป็นโอกาสในการเขียนบทสนทนา (a written dialogue) เพื่อมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่ของงานวิจัยนั้นๆ (area) และในขณะเดียวกัน เป็นการแสดงให้เห็นว่า ผู้วิจัยได้มีส่วนร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่งานวิจัยนั้นๆ เป็นการแสดงความรู้ความเข้าใจ และการตอบสนองต่อองค์ความรู้ (body of knowledge)ที่เกี่ยวข้องและเป็นหลักของงานวิจัยนั้นๆ

ในการทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยจะต้องระบุชัดถึงทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นเหตุเป็นผลสนับสนุน หัวข้อวิจัยและวิธีการวิจัย (methodology) ที่ผู้วิจัยเลือกใช้ ผู้วิจัยสามารถใช้วรรณกรรมในการสนับสนุนปัญหา วิจัย หรือชี้ให้เห็นช่องว่าง (gap) จากงานวิจัยในอดีต (previous research) ที่ต้องการการเติมเต็ม

เหตุผลของการทบทวนวรรณกรรม

ก่อนที่นักวิจัย จะสามารถทำการหาช่องว่างการวิจัย หรือ Research Gap ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทบทวนวรรณกรรม เพื่อให้ทราบถึงเนื้อหา และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง และครบถ้วน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. เพื่อทราบสภาพที่เป็นปัญหาทางสังคมโดยทั่วไปในประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา
2. เพื่อเข้าถึงช่องว่างทางความรู้ (gap of Knowledge) ที่ยังรอการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในประเด็นใดบ้าง
3. เพื่อทราบว่าประเด็นที่เราสนใจศึกษานั้น มีทฤษฎี แนวคิด หรืองานวิจัยใดที่เกี่ยวข้องอยู่บ้าง
4. เพื่อทราบว่าประเด็นที่ต้องการวิจัยนั้น มีใครทำการวิจัยไปแล้วบ้าง อย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงการทำซ้ำซ้อน
5. เพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดโจทย์การวิจัยและสมมติฐานให้มีความคมชัด สามารถดำเนินการวิจัยได้
6. เพื่อศึกษาแนวทางการคัดเลือกตัวแปรมาศึกษามาพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยและสมมติฐานการวิจัย ตลอดจนนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ ให้มีความชัดเจนตามคุณสมบัติของตัวแปรที่กำหนดไว้ในทฤษฎีต่างๆ
7. เพื่อศึกษาว่าผู้ที่ดำเนินการวิจัยมาก่อนหน้านั้นได้ออกแบบการวิจัยอย่างไร ผู้วิจัยจะได้ออกแบบการวิจัย ได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
8. เพื่อเรียนรู้ข้อค้นพบจากการวิจัยที่มีผู้ที่ดำเนินมาก่อนว่า มีความสอดคล้องหรือแตกต่างจากทฤษฎีหรือ ผลงานวิจัยอื่นๆ เช่นไร
9. เพื่อเรียนรู้ปัญหาและข้อบกพร่องของการวิจัยในอดีต อันจะนำมาซึ่งแนวทางการป้องกันปัญหาที่อาจพบ ได้ในงานวิจัยของตนเองในโอกาสต่อไป
10.เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเครื่องมือในการวิจัยว่าควรออกแบบการวัดตัวแปรต่างๆ อย่างไร จึงมีความเหมาะสม

องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ 1) กระบวนการ และ 2) ผลผลิต ดังรายละเอียด ต่อไปนี้
1. กระบวนการ (the process) หมายถึง การค้นหาอย่างเป็นระบบและละเอียดรอบคอบ วรรณกรรมทุกประเภทที่ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ เพื่อระบุวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัยให้ได้มากที่สุด ตามมาตรฐานสากล การทำวิจัยหนึ่งชิ้น (เพื่อการศึกษาหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง) ควรอ่านทบทวนวรรณกรรมให้ได้ 1,000-2,000 บทความ และสำหรับการเขียนบทความ 1 ชิ้น เป็นเรื่องธรรมดาที่จะอ่านบทความประมาณ 100 บทความขึ้นไป ในบทความหรือรายงานวิจัย เลือกใช้ 10-20% จากบทความ/แหล่งข้อมูลที่ได้อ่านทบทวนแล้ว

เนื่องจากการเขียนจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับการถกเถียงอย่างเข้มข้น กับแนวคิดจากนักวิจัยและนักทฤษฏีต่างๆ
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับประเด็นหัวข้อที่ศึกษา

2. ผลผลิต (the product) หมายถึง เอกสารงานเขียนที่มีข้อถกเถียงทางวิชาการ ที่นำไปสู่
– ประเด็นวิจัยที่ต้องการศึกษา
– คำแนะนำสำหรับแนวปฏิบัติ
– คำแนะนำสำหรับงานวิจัยที่เป็นที่ต้องการ (ในแวดวงวิชาการ)
ผลผลิต ในที่นี้ ควรมีลักษณะเป็นข้อถกเถียง ที่พัฒนามาจาก มุมมองของผู้วิจัย หรือการเขียนสังเคราะห์ วรรณกรรมที่ได้จัดเรียงตามประเด็นหัวข้อจากมุมมองการวิเคราะห์ของผู้วิจัย

กระบวนการในการทบทวนวรรณกรรม 

1. ระบุประเด็นที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน
2. ระบุแหล่งข้อมูลในการรวบรวมวรรณกรรมต่างๆ
3. คัดเลือกวรรณกรรมที่ต้องการ อาทิ หนังสือ วารสารวิชาการ รายงานการวิจัย ฯลฯ โดยหารให้คำ สำคัญ (Key word) จากประเด็นที่ต้องการศึกษาในการค้นหา
4. อ่านและประเมินคุณค่าวรรณกรรม
5. ตัดสินใจเลือกทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับนำมาสังเคราะห์เป็นกรอบทฤษฎีในการทำการวิจัยต่อไป
6. จดบันทึกรายการละเอียดต่างๆ ที่คากว่าน่าจะนำมาใช้ในงานวิจัยของตนเอง
7. นำข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมมาวิเคราะห์
8. นำผลจากการสังเคราะห์วรรณกรรมมาเรียบเรียงพร้อมนำเสนอ

การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณกรรม 

ในการทบทวนวรรณกรรมนั้น หลังจากที่ผู้วิจัยทำการค้นหาละคัดกรองวรรณกรรมมาแล้ว จำเป็นต้อง ประเมินข้อมูล เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเหล่านั้น เพื่อตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลและประโยชน์ที่จะได้รับ โดยเฉพาะงานวิจัยที่ได้ศึกษามานั้น ผู้วิจัยต้องอ่านอย่างละเอียดเพื่อทำการวิพากษ์ผลงานพร้อมกับตั้งคำถามและ ข้อสงสัยต่องานวิจัยในแต่ละขั้นตอนเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องหรือทำความเข้าใจข้อจำกัดของงานวิจัยในแต่ละ เรื่องได้อย่างถ่องแท้ การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณกรรม ในกระบวนการทบทวนวรรณกรรมในการทำวิจัยไว้อย่างเป็นระบบ ดังนี้ (ฐณัฐ วงศ์สายเชื้อ,2561 หน้า 40 -41)

1. การประเมินเบื้องต้นด้วยการอ่านอย่างละเอียด เพื่อทำความเข้าใจงานวรรณกรรม ทั้งเอกสารหรืองานวิจัย เบื้องต้นผู้วิจัยสามารถประเมินถึงความเหมาะสมการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านอย่างละเอียดทั้งหมด หรือการอ่านเพียงบทคัดย่อ หรืออ่านบทความฉบับเต็ม หรืออาจพุ่งเป้าไปที่บทสรุปในส่วนท้ายสุดเพื่อท าความเข้าใจวรรณกรรมทั้งหมด จากนั้น ก็ควรเปิดมองทีละหน้าอย่างผิวเผินเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับงานนั้นๆ และขั้นตอนต่อไปก็คือ การอ่านอย่างละเอียดทั้งบทความหรือรายงานวิจัยทั้งฉบับเพื่อท าการวิพากษ์บทความหรืองานวิจัยนั้น
2. การวิเคราะห์เชิงวิพากษ์งานวรรณกรรม นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญ โดยเน้นถึงประโยชน์หรือส่วนที่เกี่ยวข้องของวรรณกรรมที่ทบทวนมา ที่มีต่อต่องานวิจัยของผู้วิจัย อย่างไร มากน้อยเพียงใด โดยผู้วิจัยควรเน้นในส่วนของ แนวคิดทฤษฎี การออกแบบงานวิจัย การวัดและมาตรวัด ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การทดลอง ตรวจสอบและพิสูจน์ สถิติวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อค้นพบและการรายงานผล ฯ
2.1 พิจารณาความครบถ้วนและชัดเจนของแต่ละส่วนประกอบในงานวิจัย
2.2 พิจารณาความเชื่อมโยงสอดคล้องกันของแต่ละส่วนประกอบในงานวิจัย
2.3 พิจารณาความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละขั้นตอนการวิจัยตามหลักการการวิจัย
2.4 พิจารณาความถูกต้องเหมาะสมไปตามหลักการทฤษฎีที่อ้างอิง
ดังนั้น การค้นหางานวิจันที่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับเรื่องที่ศึกษา เป็นประโยชน์มากที่จะช่วยน าทางผู้ที่จะท างานวิจัยในประเด็นเดียวกันหรือเกี่ยวข้อง สิ่งที่ต้องค านึงถึงคือเรื่องแนวคิดทฤษฎีที่อ้างถึงระเบียบวิธีวิจัยที่ค้นพบ และการวิพากษ์งานวรรณกรรมในลักษณะเด่นและด้อย ช่องว่างขององค์ความรู้ที่ปรากฏนอกจากนี้การวิพากษ์งานวรรณกรรมจ าเป็นต้องตั้งค าถามและข้อสงสัยต่องานวรรณกรรมที่อ่านนั้น ว่ามีความสอดคล้องของเนื้อหาและล าดับขั้นตอนตามระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องแล้วให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือ
3. การตั้งคำถามและข้อสงสัยต่องานวรรณกรรม หลังจากท าการวิพากษ์วรรณกรรมแล้ว ผู้วิจัยควรตั้งคำถามและข้อสงสัยต่องานวิจัยที่ได้อ่านทุกครั้ง การตั้งคำถามและข้อสงสัยที่ดีสามารถสะท้อนความรู้ความเข้าใจที่มีต่อกระบวนการท าวิจัยได้ชัดเจน สะท้อนความสมบูรณ์ครบถ้วนของกระบวนการ และความน่าเชื่อถือของงานวิจัยชิ้นนั้นๆ ทั้งนี้ การตั้งค าถามดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยทักษะความรู้ ความชำนาญด้านการวิจัย

แนวทางการตั้งค าถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับงานวิจัย

3.1 งานวิจัยสนับสนุนแนวคิดทฤษฎีหลัก
3.2 งานวิจัยสนับสนุนแนวคิดทฤษฎีรอง (แนวคิดทฤษฎีที่โต้แย้งแนวคิดทฤษฎีหลัก)
3.3 งานวิจัยขยายขอบเขตองค์ความรู้เดิม
3.4 งานวิจัยที่มีตัวแปรและมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสอดคล้อง/ ขัดแย้งกับงานวิจัย
3.5 งานวิจัยรองรับด้านระเบียบวิธีวิจัย/ สถิติ
3.6 งานวิจัยที่สอดคล้อง/ ขัดแย้งกับข้อค้นพบ

อ้างอิง

  1. รับทำวิจัย
  2. เทคนิคการทำวิจัย
  3. ระเบียบวิธีวิจัย
  4. ตัวอย่างการทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
  5. หลักจริยธรรมการวิจัย
  6. วิธีการหลีกเลี่ยงการขโมยความคิด
  7. ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม
  8. การทำวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์
  9. ระเบียบวิธีวิจัยด้านรัฐประศาสนศาสตร์
  10. เทคนิคการทำวิจัย
  11. ข้อมูลอนุกรมเวลา
  12. วิธีการรีวิวงานวิจัย

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย รับวิเคราะห์SPSS รับวิเคราะห์แบบสอบถาม การสืบค้นงานวิจัย การสืบค้นข้อมูล รับสืบค้นงานวิจัย รับสืบค้นข้อมูลงานวิจัย

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ การเขียนงานวิจัยบทที่5
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ การเขียนงานวิจัยบทที่5