การสืบค้นงานวิจัย

การสืบค้นงานวิจัย

แนวคิดพื้นฐาน เทคนิค การสืบค้นงานวิจัย Literature Review การสืบค้นข้อมูลเพื่องานวิจัย

การสืบค้นงานวิจัย เป็นขั้นตอนแรก หรือ จุดเริ่มต้นของการค้นหาข้อมูลต่างๆ หรือเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องหรือหัวข้อที่ทำการวิจัยอยู่ เพื่อนำมาใช้ในการที่จะเขียนรายงานออกมาเพื่อให้เข้าใจมากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะทำต้องใช้ในการทำวิจัย

การสืบค้นงานวิจัย
การสืบค้นงานวิจัย

5 เทคนิค การสืบค้นข้อมูลงานวิจัย แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง

นักวิจัยหลายท่านมีปัญหาในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยเพื่อที่จะค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวิจัยของตนเอง มีเทคนิคในการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่าต้องทำแบบไหน อย่างไร เพื่อที่จะสำเร็จได้ง่ายและสามารถนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนั้นมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มีดังนี้
1. ต้องสืบค้นจากตัวแปรที่ทำการศึกษาวิจัย
การสืบค้นจากตัวแปรที่ทำการศึกษาวิจัยจะทำให้ท่านทราบว่าตัวแปรดังกล่าวนี้มีอยู่ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องชิ้น ใดบ้าง เนื่องจากการกำหนดตัวแปรที่จะใช้ในการวิจัยนั้นมีอยู่ในกรอบแนวคิดการวิจัยอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ท่านเพียงแต่นำข้อมูลตัวแปรที่กำหนดไว้ในกรอบแนวคิดของการวิจัยของท่าน มาสืบค้นทีละตัวแปรเพื่อที่จะให้ได้งานวิจัยแต่ละชิ้นงานที่สอดคล้องกันจนครบทุกตัวแปร เพื่อที่จะ หางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนการศึกษาวิจัย ตัวแปรดังกล่าวได้อย่างเพียงพอ
2. คำต้องกระชับและชัดเจน
หลายครั้งที่มีการกำหนดชื่อตัวแปรที่ค่อนข้างยาวจึงทำให้เป็นปัญหาต่อการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการจะสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องท่านต้องคิดถึงประเด็นหลักหรือ Keyword ของ ตัวแปรดังกล่าว เช่น “ความต้องการต่อการพัฒนา” สามารถสรุปได้สั้นๆ ก็คือ “ความต้องการพัฒนา” ฉะนั้นท่านต้องแยกเป็น 2 ตัว แปร หรือ 2 คำที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะนำไปใช้ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์จะปรากฏตาม Keyword (คำหลัก) ที่ท่านกำหนดในการสืบค้น ท่านต้องตีความให้ชัดเจนว่าตัวแปรที่ชื่อยาวนี้มีKeyword หลักคืออะไร ท่านต้องแยกเป็น Keyword หลัก และ Keyword รอง เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย เพื่อค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความสอดคล้องกับตัวแปรที่ท่านต้องการศึกษาได้
3. หาคำพ้องที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน
การหาคำที่มีความสอดคล้องหรือความหมายที่ใกล้เคียงกับตัวแปรที่ท่านทำการศึกษาวิจัย ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ อาจจะนำไปสู่ขอบเขตงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับตัวแปรที่ท่านทำการศึกษาได้

เช่น การกำหนดการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนา ก็จะมีKeyword ที่สอดคล้องหรือ
ใกล้เคียงกันคือ “ความคาดหวังต่อการพัฒนา” “แนวทางการพัฒนา” หรือ “ประสิทธิภาพการบริหารที่ส่งผลต่อ
การพัฒนา” Keyword เหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับตัวแปรที่สอดคล้องกับ “ความ
ต้องการในการพัฒนา” ซึ่งท่านสามารถนำ Keyword ต่างๆ เหล่านี้ไปสืบค้นเพิ่มเติม เพื่อที่จะให้ได้ผลลัพธ์จาก
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ใกล้เคียงกับตัวแปร ที่ท่านทำการศึกษาอยู่ได้
4. ค้นหา Keyword ภาษาอังกฤษ
บางครั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องภายในประเทศไทยก็มีการแปลทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะมีการแปลโดยใช้ภาษาที่ แตกต่างกันไป เช่นคำว่า “Social Network (เครือข่ายสังคม)” ในบางครั้งผู้วิจัยหรือว่างานวิจัยบางเล่มนั้นก็จะใช้คำว่า “สื่อสังคมออนไลน์” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายสอดคล้องหรือใกล้เคียงที่จำเป็นต้องมีการค้นคว้า หรือสืบค้นข้อมูลงานวิจัยโดยใช้ Keyword ที่แตกต่างกัน การที่ท่านจะสืบค้น Keyword ที่ต้องการจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้นั้นจำเป็นที่จะต้องคิดถึงการใช้ Keyword ค้นหาเป็นภาษาอังกฤษร่วมด้วยเสมอทุกครั้ง เนื่องจาก Keyword ที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นอาจจะให้ผลลัพธ์ที่ตรง
ประเด็นและชัดเจนกว่าการใช้คำค้นหาที่เป็นคำภาษาไทยเพียงอย่างเดียวก็ได้
5. ค้นหาจากหลากหลายแหล่งข้อมูล
การค้นหาจากหลากหลายแหล่งข้อมูลจะทำให้ท่านได้รับผลลัพธ์จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับความ ต้องการของท่านได้ ไม่ว่าจะเป็นการสืบค้นที่ใกล้เคียงกับตัวแปร การแยกคำ คำหลัก คำรอง การสืบค้นข้อมูล งานวิจัยโดยใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะใช้สืบค้นในฐานข้อมูลแห่งใดแห่งหนึ่ง
แต่ฐานข้อมูลนั้นมีหลากหลายฐานข้อมูล การที่จะสืบค้นให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดนั้นท่านจำเป็นที่จะต้องมีฐานข้อมูล จำนวนมากเพื่อที่จะใช้ในการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

 แหล่งข้อมูล การสืบค้นงานวิจัย

แหล่งสืบค้น มีมากมายหลากหลายแหล่ง ทั้งห้องสมุด หรือว่าการท่อง google เพื่อเข้าไปหาข้อมูล ซึ่งในปัจจุบัน นั้นนับได้ว่า เป็นแหล่งข้อมูลอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความสนใจ และได้รับความนิยมมากที่สุด วิธีการนั้นก็สืบค้นรวดเร็วและมีความสะดวก ตัวอย่างแหล่งในการสืบค้นข้อมูล สำหรับงานวิจัย เช่น


TDC : Thai Digital Collection :ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม ซึ่งเป็น
เอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยของอาจารย์ รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ
นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ในการเข้าใช้บริการนั้นจะต้องเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์ ภายในห้องสมุดสมาชิก
ดูรายละเอียดห้องสมุดสมาชิก ได้จากทางเลือกมหาวิทยาลัย/สถาบัน สามารถเชื่อมโยงคำค้นไปยังฐานข้อมูลอื่น
ที่รองรับ Z39.50 ซึ่งจะทำให้การป้อนคำค้นครั้งเดียวสามารถสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆของโครงการได้

Google Scholar เป็นวิธีที่ง่ายๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหา
ในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายได้จากจุดเดียว: บทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ
บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กร
ด้านการศึกษาอื่นๆ

ฐานข้อมูล Scopus
Scopus เป็นฐานข้อมูลที่มีบริษัท Elsevier เป็นเจ้าของ (เจ้าของเดียวกับ Science Direct
และ SJR) ที่จัดเก็บรวบรวมบทความประเภทต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการ Peer-reviewed เช่น บทความนิพนธ์
ต้นฉบับ บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือ บทความสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ เป็นต้น โดยจัดเก็บ
เนื้อหาในรูปแบบของบทคัดย่อ ไม่มีการจัดเก็บบทความฉบับเต็มแต่อย่างใด แต่ทางฐานข้อมูลได้สร้างลิงค์
สําหรับเชื่อมโยงไปยังวารสารหรือสํานักพิมพ์สําหรับผู้ที่สนใจบทความฉบับเต็ม

ดังนั้นถ้าเป็นวารสารประเภท Open Access ก็จะสามารถเปิดดูได้ทันที แต่ถ้าเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลอื่น เช่น Science Direct,SpringerLink เป็นต้น หรือวารสารที่เรียกเก็บค่าบทความฉบับเต็ม หากทางมหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลหรือวารสารเมื่อใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยก็จะสามารถเข้าดูบทความฉบับเต็ม
ได้เช่นกัน

โดยทางฐานข้อมูล Scopus จะมีกระบวนการคัดเลือกวารสารที่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่ฐานข้อมูล
กําหนดจึงจะสามารถปรากฏในฐานข้อมูลได้ และมีการประเมินอยู่ตลอด ซึ่งวารสารที่เคยปรากฏในฐานข้อมูล
หากไม่ได้คุณภาพ ก็อาจไม่ปรากฏในฐานข้อมูลในปีถัดไป ดังนั้นประโยชน์หลักของฐานข้อมูล Scopus คือการ
ใช้สําหรับสืบค้นข้อมูลบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหรือตีพิมพ์รูปแบบอื่นๆ ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ของ
ฐานข้อมูลกําหนด


เว็บไซต์สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
Pubmed
Sci-hub
TAR : Thai Academic Reference Database หรือชื่อไทยว่า โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นไทย

เป็นต้น

อ้างอิง

  1. รับทำวิจัย
  2. เทคนิคการทำวิจัย
  3. ระเบียบวิธีวิจัย
  4. ตัวอย่างการทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
  5. หลักจริยธรรมการวิจัย
  6. วิธีการหลีกเลี่ยงการขโมยความคิด
  7. ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม
  8. การทำวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์
  9. ระเบียบวิธีวิจัยด้านรัฐประศาสนศาสตร์
  10. เทคนิคการทำวิจัย
  11. ข้อมูลอนุกรมเวลา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย รับวิเคราะห์SPSS รับวิเคราะห์แบบสอบถาม การสืบค้นงานวิจัย การสืบค้นข้อมูล รับสืบค้นงานวิจัย รับสืบค้นข้อมูลงานวิจัย รับทำ Literature Review

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ การเขียนงานวิจัยบทที่5
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ การเขียนงานวิจัยบทที่5