การใช้โปรแกรมSPSS เพื่องานวิจัย

การใช้โปรแกรมSPSS  เพื่องานวิจัย  วิจัยปริญญาเอก (ดุษฎีนิพนธ์/Dissertation)  วิจัยปริญญาโท (วิทยานิพนธ์/Thesis) สารนิพนธ์ (Term Paper) ภาคนิพนธ์ รายงานวิจัย ไปจนถึงการทำบทความวิจัยทางวิชาการต่างๆ  ที่ต้องอาศัยโปรแกรมทางสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล

รับวิเคราะห์spss การใช้โปรแกรมspss
การใช้โปรแแกรมspss รับวิเคราะห์spss

เทคนิคและความรู้สำหรับ การใช้โปรแกรมSPSS เพื่องานวิจัย

การใช้โปรแกรมspss  มีเนื้อหา เทคนิค วิธีการ  สำหรับการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุด ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย  มีดังนี้

โปรแกรม SPSS คืออะไร

ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของนักวิจัยหรือผู้ที่กำลังทำวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการสำรวจ (Survey) โดยใช้ “แบบสอบถาม”  เป็นเครื่องมือสำหรับการทำวิจัย เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง (Sample)  ซึ่งหลังจากที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแล้ว  ในขั้นตอนต่อไปคือ การวิเคราะห์ข้อมูล  และความสามารถของโปรแกรม SPSS  เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลกสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล  ทั้งข้อมูลสถิติพื้นฐาน หรือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive  Analysis) ไปจนถึงการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน (Inferential  Statistics)

โปรแกรม SPSS คืออะไร สามารถช่วยใน การทำวิจัย  การทำวิทยานิพนธ์  ดุษฎีนิพนธ์  สารนิพนธ์  และรายงานที่ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้อย่างไรบ้าง? และควรมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานวิจัยมากน้อยเท่าใด? จึงจะสามารถใช้งานโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรม SPSS คืออะไร ?

SPSS ย่อมาจาก Statistical Package for the Social Science คือ โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปที่ถูกคิดค้น และ พัฒนาขึ้นมามากกว่า 30 ปี  สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ให้ออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ หรือกราฟต่างๆ สามารถบันทึกและสร้างไฟล์ข้อมูลตามความต้องการ ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่แม่นยำ เรียกว่า เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ให้สามารถอ่านและทำความเข้าใจหรือนำไปต่อยอดได้ง่ายมากขึ้น

การใช้โปรแกรม SPSS

สำหรับการใช้งานโปรแกรม SPSS จำเป็นต้องรู้การวิเคราะห์สถิติ เพราะการใช้โปรแกรมได้ออกแบบมาให้ใช้งานง่ายสำหรับคนที่เข้าใจในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นอยู่แล้ว

โดยการวิเคราะห์ข้อมูลของโปรแกรม SPSS จะสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

การวิเคราะห์ข้อมูลของโปรแกรม SPSS ขั้นพื้นฐาน

การใช้งานโปรแกรม SPSS สามารถใช้งานได้ตั้งแต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างเช่น การทำบัญชีค่าใช้จ่ายของครอบครัว การวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อสิ่งต่างๆ และการวิเคราะห์ทัศนคติ เป็นต้น โดยการใช้โปรแกรม SPSS ควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานด้านสถิติ อย่างเช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น

โดยการใช้งานโปรแกรม SPSS สามารถจัดการและนำเสนอข้อมูล เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ หรือการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะต่างๆ อย่างการสร้างแฟ้มข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขข้อมูล ทำให้ผู้ใช้งานสะดวกมากขึ้นได้ด้วย

การใช้ SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

รูปแบบการใช้งานโปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจะดูซับซ้อน เพราะเป็นการนำเอาเทคนิคทางสถิติเข้ามาร่วมใช้ด้วย โดยมีทั้งการวิเคราะห์แบบเบื้องต้น เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าฐานนิยม ค่าแสดงตำแหน่งของข้อมูลอย่างควอไทล์ หรือการนำเสนอในรูปแบบกราฟ การแจกแจงความถี่ในรูปแบบของตาราง ฯลฯ ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติ เช่น การใช้ Factor Analysis, Discriminant Analysis เป็นต้น

การจัดการข้อมูล และผลลัพธ์

โปรแกรม SPSS ยังมีความสามารถในการจัดเก็บหรือดำเนินการกับข้อมูลในรูปแบบต่างๆ นอกจากการ copy paste หรือ delete แล้วยังสามารถเปลี่ยนรูปข้อมูล เลือกข้อมูล และส่งผลลัพธ์ที่ได้รับการดำเนินการแล้วไปอยู่ในรูปแบบ Text, รูปแบบ Graphic หรือรูปแบบ HTML ได้ด้วย

ภาพรวมขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล SPSS

เมื่อมีการเก็บข้อมูลสำหรับการศึกษาตามหัวข้อวิจัย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของแบบสอบถามออนไลน์หรือแบบสอบถามออฟไลน์ก็ตาม สามารถนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรม SPSS ได้ โดยมีขั้นตอนพื้นฐาน ดังนี้

การเตรียมข้อมูลให้พร้อมทำการวิเคราะห์

การเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับการวิเคราะห์ คือ การจัดเก็บผลลัพธ์ของแบบสอบถามที่ได้ โดยจะมีการกำหนดชื่อรหัสให้กับข้อคำถามที่มีการจัดเก็บข้อมูลและชื่อของตัวแปร รวมถึงทำการกำหนดมาตรวัดต่างๆ ของตัวแปร เพราะการใช้โปรแกรม SPSS จะต้องมีการใส่ข้อมูลที่ได้มาจากแบบสอบถามลงในตารางของโปรแกรมเพื่อให้มีการวิเคราะห์สรุปกันต่อไป

การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม

โปรแกรม SPSS สามารถตอบโจทย์การวิจัยได้หลากหลาย รวมไปถึงเรื่องของสถิติด้วย โดยการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมนั้นจะขึ้นอยู่กับการตั้งสมมติฐานงานวิจัยว่าเหมาะสมกับสถิติแบบใด

สำหรับประเภทของสถิติ นักคณิตศาสตร์ได้แบ่งออกเป็น 2 สาขาใหญ่ด้วยกัน ได้แก่

  • สถิติพรรณนา หรือ Descriptive Statistics เป็นการบรรยายลักษณะของข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมมา ซึ่งอาจจะแสดงอยู่ในรูปของค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม ร้อยละหรือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น มักมีการแสดงผลเป็นแบบตารางเพื่อข้อมูลที่แน่ชัด
  • สถิติเชิงอนุมานหรือ Inferential Statistics เป็นสถิติที่มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่าง โดยมักจะมีการใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นเข้ามาร่วมด้วย เช่น การประมาณค่าทางสถิติ การทดสอบข้อมูลทางสถิติ เป็นต้น

การเลือกตัวแปรที่ต้องการนำมาวิเคราะห์

ในการเก็บข้อมูลงานวิจัยจะต้องมีการใช้ตัวแปรมากมายเพื่อให้ข้อมูลที่ตอบรับกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่ตั้งไว้ โดยในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์หรือสรุปผลต่อ จะต้องให้ความสำคัญกับการเลือกตัวแปรที่จะเป็นคำตอบ พร้อมกับตรวจเช็กการใช้มาตรวัดเพื่อให้ผลที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องด้วย

ประโยชน์ของการใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม

ในการออกแบบสอบถามเพื่อ การทำวิจัย ย่อมมีการเก็บข้อมูลมากมาย เพื่อนำมาใช้ทำการวิเคราะห์ซึ่งถ้าหากเกิดความล่าช้าหรือผิดพลาด อาจสร้างความเสียหายให้กับงานวิจัย องค์กรหรือธุรกิจได้ โดยเฉพาะในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือกลยุทธ์ทางการตลาดที่ต้องอาศัยความเร็วและความแม่นยำของผลลัพธ์สูง

ดังนั้น การใช้งานโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล SPSS จะช่วยลดเวลา และความผิดพลาดในการวิเคราะห์ เรียกได้ว่าช่วยประหยัดต้นทุนได้มาก อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลมาใช้ต่อในรูปแบบที่ต้องการ ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

สำหรับการใช้โปรแกรม SPSS อาจมีความซับซ้อน สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยใช้โปรแกรม หรือ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติมาก่อน เพราะจะต้องมีการเรียนรู้เรื่องของการทำสถิติในเบื้องต้น หรือลึกลงไปบางส่วนเสียก่อน อย่างไรก็ตาม  ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มสำรวจแบบสอบถาม ออนไลน์ ที่ช่วยให้สามารถนำผลสำรวจจากแบบสอบถามออนไลน์มาประมวลผลได้ทันที โดยไม่ต้องนำข้อมูลจากแบบสอบถามกระดาษมาใส่เข้าโปรแกรมประมวลผลทางสถิติ แล้วจึงประมวลผลลัพธ์ และหาค่าทางสถิติ

การใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย โดยใช้แพลตฟอร์มสำรวจออนไลน์อ  สามารถวิเคราะห์ และ ประมวลผลข้อมูล ได้ผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว สะดวก ง่ายดาย และได้ค่าสถิติต่างๆ รวมทั้ง สามารถทำ Crosstab เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ในมิติต่างๆ ได้ง่าย ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมกันมากในการทำวิจัยและประมวลผลทางสถิติ และเหมาะกับคนที่ไม่มีความรู้ทางสถิติ ไม่มีเวลา หรือ ต้องการความรวดเร็ว และความสะดวกสบายเป็นอย่างมากอีกด้วย  ทำให้ โปรแกรมSPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

นอกจากโปแกรม SPSS แล้ว  ยังมีโปรแกรมที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โปรแกรมSTATA  โปรแกรมEVIEW  โปรแกรมAMOS  และ โปรแกรมLISREL  (AMOS และLISREL เหมาะกับการวิเคราะห์สถิติชั้นสูง สำหรับ การทำวิจัยปริญญาเอก)

#รับวิเคราะห์spss