การเขียนบทความวิจัย การตีพิมพ์บทความวิจัย

เทคนิคการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย และการตีพิมพ์บทความวิจัย

การสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา นอกจากจะสามารถผ่านเกณฑ์การเรียนและการสอบในแต่ละวิชาจนครบตามหลักสูตรของคณะและมหาวิทยาลัยกำหนดไว้แล้ว  ยังมีเงื่อนไขสำคัญและจำเป็นอีกประการหนึ่งของการได้รับปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. ที่กำหนดหลักเกณฑ์ของการสำเร็จการศึกษาว่า จะต้องมีการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ ทำให้มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องมีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เทคนิคการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย การตีพิมพ์บทความวิจัย

รวมไปถึงการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของนักวิชาการและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยว่าจะต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการได้รับตำแหน่งทางวิชาการด้วย  เช่น  (1)  การเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรื ระดับนานาชาติ (Conference) ด้วยการนำส่งบทความวิจัยเข้าร่วมการนำเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการ ทั้งในรูปแบบของโปสเตอร์และการนำเสนอแบบปากเปล่า  โดยบทความจะต้องผ่านการพิจารณาประเมินคุณค่า รวมไปถึงความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ บทความที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติให้สามารถเข้าร่วมการนำเสนอจะได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceeding) หรือ การเผยแพร่ในวารสารวิชาการ ซึ่งเจ้าของบทความนั้นๆ สามารถที่จะลงทะเบียนและทำการนำส่งบทความเอกสารต้นฉบับ สำหรับใช้ตีพิมพ์  ตลอดจนการติดตามผลผ่านเว็บไซต์ของแต่ละวารสาร  ผลการพิจารณาสามารถเป็นไปได้ทั้งการปฏิเสธ (Reject) การยอมรับ (Accept) และการส่งกลับมาให้ทำการแก้ไขเพิ่มเติม (Revise)

ในกรณีที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์บทความ  เจ้าของบทความจะได้รับบทความเสมือนจริงส่งกลับมาให้มีการตรวจความเรียบร้อยอีกครั้ง ซึ่งเจ้าของบทความจะต้องรีบทำการตรวจสอบแก้ไขและส่งกลับไปยังวารสารให้เร็วที่สุด กรณีที่มีการส่งกลับมาให้แก้ไข ควรรีบดำเนินการแก้ไขและส่งกลับคืนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้  และอาจจะต้องมีการแก้ไขบทความหลายครั้งจึงจะได้รับการตีพิมพ์  ทั้งนี้กรณีที่บทความถูกปฏิเสธ  ควรมีการแก้ไขตามที่ผู้พิจารณาผลงาน (Reviewer) และสามารถส่งไปตีพิมพ์ในวารอื่นต่อไปได้

เทคนิคการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย การตีพิมพ์บทความวิจัย รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์
เทคนิคการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย การตีพิมพ์บทความวิจัย

จากประสบการณ์การทำงานในการเป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือ การทำวิทยานิพนธ์  การทำดุษฎีนิพนธ์ หรือ การทำวิจัยปริญญาเอก การเขียนบทความและการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ทั้งในและประเทศและต่างประเทศ ขอเสนอแนวทางการเขียนบทความและการส่งตีพิมพ์บทความวิจัยที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย  โดยควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจความหมายของบทความวิจัย  สำหรับการเขียนหรือการจัดทำบทความวิจัยที่ถูกต้อง  ผู้จัดทำควรเริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจความหมายของบทความวิจัยให้ถูกต้องให้มากที่สุด สำหรับใช้เป็นแนวทางการศึกษา การเขียน และการนำไปใช้ที่มีประสิทธิภาพ

ความหมายของบทความวิจัย

บทความวิจัย หรือ Research Article เป็นรูปแบบของเอกสารวิชาการเช่นเดียวกันกับรายงานการวิจัยหรือวิทยานิพนธ์  แต่มีรูปแบบหรือคุณลักษณะที่แตกต่างจากรายงานการวิจัย 3 ประการ คือ (1) ความยาวมีจำนวนน้อยกว่ารายงานการวิจัย  โดยเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่จัดทำวารสารแต่ละฉบับ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการกำหนดระบุจำนวนหน้าของบทความวิจัยไว้อย่งชัดเจน  มากกว่าการกำหนดในลักษณะของจำนวนคำ (word) โดยบทความวิจัยจะเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอในวารสารวิชาการ  สื่อสิ่งพิมพ์  รวมไปถึงการประชุมสัมมนา (2)  บทความวิจัยต้องมีความเป็นปัจจุบัน ทันต่อยุคสมัยและเหตุการณ์  และ (3)  บทความวิจัยจะต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาและรูปแบบการจัดพิมพ์และการนำเสนอตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสารวิชาการเหล่านั้น  หรือคณะกรรมการในกองบรรณาธิการเห็นสมควร

องค์ประกอบของบทความวิจัย

บทความวิจัย คือ การเขียนแบบวิชาการ (Academic Writing) มีลักษณะสำคัญ 13 ประการ คือ (Prasitratasin, 2009)
1) เป็นการจัดทำโดยนักวิชาการ (Scholars) เพื่อนักวิชาการอื่นๆ
2) เรื่องที่จัดทำเป็นบทความ เป็นเรื่องที่ชุมชนวิชาการ (Academic Community) ให้ความสนใจ
3) เนื้อหาของบทความที่จัดทำขึ้น  ต้องเสนอในรูปของการให้เหตุผลที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ (Informed Argument)
4) ข้อเท็จจริง หรือหลักฐานได้มาจากการวิจัยของผู้เขียนเอง
5) เป็นการรายงานผลการวิจัย (ต้องทำวิจัยก่อน)
6) เน้นสมมติฐานและวิธีดำเนินการวิจัย
7) เน้นการทดสอบทฤษฎี
8) เน้นการได้ทฤษฎีใหม่ (ได้คำอธิบายใหม่)

9) เน้นการนำผลไปใช้เฉพาะเรื่อง
10) บทความมาจากการนำ ประเด็นเด่นที่ค้นพบมาเขียน
11) มีลักษณะเล็กแต่ลึก
12) มีจุดยืนหรือข้อสรุปของตนเอง
13) การเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนต้องรู้จัก4 ประการคือ ต้องรู้จักสรุปความ (Summarize) ต้อง
รู้จักประเมิน (Evaluate) ต้องรู้จักวิเคราะห์ (Analyze)และต้องรู้จักสังเคราะห์ (Synthesize)

นอกจากนี้  Jankong (2014: 1) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับบทความวิจัยว่า เป็นบทความที่เป็นผลงานต่อเนื่อง และเป็นการตกผลึกมาจากงานวิจัย  บทความีเนื้อหาที่ประมวลสรุปกระบวนการวิจัยให้มีความกระชับและสั้น ได้ใจความมากยิ่งขึ้น เพื่อนำเสนอในวารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ หรือที่ประชุม สัมมนาโดยการพิมพ์เผยแพร่จะต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาสาระ และรูปแบบการจัดพิมพ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสาร หรือคณะกรรมการประเมิน

จากความหมายและนิยามของบทความวิจัยดังกล่าว จะเห็นได้ว่า บทความวิจัยเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากวิทยานิพนธ์หรือรายงานวิจัยมาประมวลให้ครอบคลุมสาระตามรูปแบบของแหล่งเผยแพร่กำหนด โดยเขียนให้กระชับ ครบถ้วน ชัดเจน  มีความสอดคล้อง และกลมกลืนอย่างมีศาสตร์และศิลป์ (Science and Arts) แห่งความสัมพันธ์เชื่อมโยงองค์ประกอบของบทความวิจัย การจัดทำทความวิจัย ควรคำนึงถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. ชื่อเรื่อง (Title) กล่าวได้ว่า “ชื่อเรื่องวิจัย”  เป็นบันไดขั้นแรกที่สามารถสร้างแรงจูงใจ หรือ ดึงดูดใจผู้อ่าน ผู้เขียนบทความควรตั้งชื่อเรื่องบทความวิจัยให้สั้น กระชับ เฉพาะเจาะจง มีการใช้คำเฉพาะเจาะจง กะทัดรัด สื่อความหมายเฉพาะเรื่อง ชื่อเรื่องที่ศึกษาอาจจะตั้งขึ้นใหม่ จากข้อค้นพบที่โดดเด่นมาเขียน หรือตั้งชื่อเรื่องให้ตรงกับประเด็นของปัญหา ในชื่อเรื่องต้องมีความ (Keywords) เพื่อประโยชน์ต่อการสืบค้นของผู้ใช้ผลงานวิจัย

2.ชื่อผู้วิจัย ในบทความวิจัยจะต้องระบุ ชื่อเต็ม นามสกุลเต็ม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งระบุหลักสูตร สาขาวิชา หน่วยงาน หรือสถาบันที่สังกัด หมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร และอีเมลที่สามารถติดต่อได้
3. บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรศึกษาว่าบทคัดย่อกำหนดให้เขียนได้ทั้งหมดกี่คำ โดยทั่วไปความยาวไม่เกินอย่างละ 250 คำ หรือ 10 บรรทัด โดยมีเฉพาะสาระสำคัญครบถ้วน ตรงประเด็น ประกอบด้วยจุดประสงค์การวิจัย ตัวแปร ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย วิธีการรวบรวมข้อมูล วิธีการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
4. คำสำคัญ (Keywords) ในบทความวิจัยจะต้องระบุคำสำคัญ ซึ่งมักจะมาจากชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล โดยระบุทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษใส่ท้ายบทคัดย่อ ส่วนมากจะไม่เกิน 5 คำ
5. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  กล่าวได้ว่า  ความเป็นมา และความสำคัญ เป็นการอธิบายภูมิหลังที่มา ความสำคัญของปัญหา (Background Problem and Significance of the Study) ที่สามารถนำไปสู่การศึกษาวิจัย มีการร้อยเรียงเนื้อหาอย่างเชื่อมโยง ไม่ใช้วิธีการตัดต่อหรือปะติดปะต่อ การเขียนควรให้ได้ข้อความที่สะท้อนถึงการลื่นไหลของความคิด เช่น ในหนึ่งย่อหน้า ควรมีประโยคแรกเป็นประโยคหลัก ตามด้วยประโยค สนับสนุนและลงท้ายด้วยประโยคสรุป เป็นต้น สิ่งสำคัญ

ในการศึกษา จะต้องระบุแหล่งอ้างอิง หรือ แหล่งที่มาของความรู้ที่น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้ แนวทางที่น่าสนใจในการเขียนความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา คือ เน้นการเขียนตามหลักการสามเหลี่ยมหัวกลับคือ จากสภาพปัญหาหรือสภาพปัจจุบัน เชื่อมโยงสู่อุดมการณ์ทฤษฎี หรือหลักการนั้นๆ ส่งทอดสู่ประเด็นที่ต้องการศึกษา หรือคำถามวิจัย อันเนื่องมาจากสถานการณ์กำหนดโจทย์วิจัย

6. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objectives or Purposes of the Study)

เป็นการแจกแจงประเด็นต่างๆ จากชื่อเรื่องแล้วระบุเป็นข้อความที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาอย่างชัดเจนว่า จะศึกษาเรื่องอะไรกับใคร ในแง่มุมใด ในการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องสอดคล้องและ อยู่ในกรอบของชื่อเรื่อง อาจจะเป็นองค์ประกอบย่อยของชื่อเรื่อง หรือเลือกบางตัวมาตั้งเป็นวัตถุประสงค์ที่สามารถทำได้ หรือที่น่าสนใจ ในการตั้งวัตถุประสงค์ของ การวิจัยถือว่าเป็นพระเอกของเรื่องที่กำลังศึกษา เพราะเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงกระบวนการวิจัย (Process of Research) ตั้งแต่ชื่อเรื่อง ความเป็นมาและความสำคัญ ของปัญหา ระเบียบวิธีวิจัย ผลการศึกษา จนถึงการสรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

7.  การประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(Literature Review) ในการประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นอกจากจะต้องเขียนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการตั้งแต่การอ้างอิงตามระบบ เขียนให้เป็นมาตรฐานสากลคือ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่มีระบบระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายที่จะสื่ออย่างชัดเจน จนนำไปสู่การพัฒนาเป็นกรอบแนวคิด (Conceptual Framework) หรือกรอบทฤษฎี เพื่อการทดสอบโมเดลสมมติฐานต่อไปในที่นี้ขอนำเสนอแผนภาพการเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสะท้อนถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของตัวแปรที่กำลังศึกษาได้ชัดเจนขึ้น