เทคนิคการเขียนบทความวิจัย

เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ ในระดับชาติและนานาชาติ

 เทคนิคหรือเคล็ดลับ การเขียนบทความวิจัย เพื่อให้สามารถตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ บทความนี้ จะอธิบาย และ นำเสนอเกี่ยวกับ เทคนิคการเขียนบทความวิจัย ให้สามารถตีพิมพ์ในระดับชาติ และนานาชาติ   เทคนิคการเขียนบทความวิจัย ให้ประสบความสำเร็จ และสามารถได้รับการตีพิมพ์ในระดับชาติ เช่น TCI1 และในระดับนานาชาติ เช่น ISI หรือ SCOPUS มีเนื้อหาสาระที่ควรพิจารณาดังต่อไปนี้ นิยาม ของบทความวิจัย เหตผลสำคัญ ของการตีพิมพ์งานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ หลักเกณฑ์โดยทั่วไป สำหรับการอนุมัติการตีพิมพ์ องค์ประกอบสำคัญ ของบทความวิจัย เคล็ดลับ การเขียนบทความวิจัย การเลือกวารสารสำหรับตีพิมพ์ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ตัวอย่าง การเผยแพร่บทความวิจัย ผู้เขียนขอนำเสนอรายละเอียดในแต่ละหัวข้อเรียงลำดับดังต่อไปนี้ ความหมายของบทความวิจัย บทความวิจัย หมายถึง บทความที่เป็นรายงานของผลการศึกษาวิจัยจากต้นฉบับ วิทยานิพนธ์ต้นฉบับ หรือดุษฎีนิพนธ์ต้นฉบับ โดยผู้เขียนบทความวิจัย ได้ทำการสกัด และทำการสรุปเนื้อหา ในส่วนสำคัญคือ “องค์ความรู้” ในศาสตร์หรือสาขาที่ทำวิจัยฉบับต้นนั้นๆ  รวมทั้งได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ รวมทั้งวาสารวิชาการที่มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ทำการรับรอง ที่มาของการตีพิมพ์บทความวิจัย สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักที่สำคัญหลายด้าน  รวมทั้งพันธกิจ ด้านการวิจัย …

เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ ในระดับชาติและนานาชาติ Read More »

การเขียนบทความวิจัย การตีพิมพ์บทความวิจัย

เทคนิคการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย และการตีพิมพ์บทความวิจัย การสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา นอกจากจะสามารถผ่านเกณฑ์การเรียนและการสอบในแต่ละวิชาจนครบตามหลักสูตรของคณะและมหาวิทยาลัยกำหนดไว้แล้ว  ยังมีเงื่อนไขสำคัญและจำเป็นอีกประการหนึ่งของการได้รับปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. ที่กำหนดหลักเกณฑ์ของการสำเร็จการศึกษาว่า จะต้องมีการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ ทำให้มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องมีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว จึงต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เทคนิคการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย การตีพิมพ์บทความวิจัย รวมไปถึงการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของนักวิชาการและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยว่าจะต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการได้รับตำแหน่งทางวิชาการด้วย  เช่น  (1)  การเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หรื ระดับนานาชาติ (Conference) ด้วยการนำส่งบทความวิจัยเข้าร่วมการนำเสนอผลงานในการประชุมทางวิชาการ ทั้งในรูปแบบของโปสเตอร์และการนำเสนอแบบปากเปล่า  โดยบทความจะต้องผ่านการพิจารณาประเมินคุณค่า รวมไปถึงความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ บทความที่ได้รับการพิจารณาและอนุมัติให้สามารถเข้าร่วมการนำเสนอจะได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceeding) หรือ การเผยแพร่ในวารสารวิชาการ ซึ่งเจ้าของบทความนั้นๆ สามารถที่จะลงทะเบียนและทำการนำส่งบทความเอกสารต้นฉบับ สำหรับใช้ตีพิมพ์  ตลอดจนการติดตามผลผ่านเว็บไซต์ของแต่ละวารสาร  ผลการพิจารณาสามารถเป็นไปได้ทั้งการปฏิเสธ (Reject) การยอมรับ (Accept) และการส่งกลับมาให้ทำการแก้ไขเพิ่มเติม (Revise) ในกรณีที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์บทความ  เจ้าของบทความจะได้รับบทความเสมือนจริงส่งกลับมาให้มีการตรวจความเรียบร้อยอีกครั้ง ซึ่งเจ้าของบทความจะต้องรีบทำการตรวจสอบแก้ไขและส่งกลับไปยังวารสารให้เร็วที่สุด กรณีที่มีการส่งกลับมาให้แก้ไข ควรรีบดำเนินการแก้ไขและส่งกลับคืนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้  และอาจจะต้องมีการแก้ไขบทความหลายครั้งจึงจะได้รับการตีพิมพ์  ทั้งนี้กรณีที่บทความถูกปฏิเสธ  ควรมีการแก้ไขตามที่ผู้พิจารณาผลงาน (Reviewer) และสามารถส่งไปตีพิมพ์ในวารอื่นต่อไปได้ จากประสบการณ์การทำงานในการเป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือ การทำวิทยานิพนธ์  …

การเขียนบทความวิจัย การตีพิมพ์บทความวิจัย Read More »

การเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์

เทคนิคการเขียนบทความวิจัย  ให้ได้รับการตีพิมพ์วารสารวิชาการชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ การเขียนบทความวิจัย เทคนิคการเขียนบทความวิจัย  สำหรับ การเขียนบทความ / การเขียนบทความวิจัย เป็นการทำงานวิชาการประเภทหนึ่ง และทวีความสำคัญมากขึ้นทุกขณะ  นักวิชาการหรือนักวิจัยที่มีบทความที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยที่ได้รับการยอมรับ  โดยเฉพาะได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น ISI และ SCOPUS จะทำให้มีโอกาสเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งทางวิชาการได้ไม่ยากนัก การเขียนบทความวิจัย  ถือได้ว่าเป็นเอกสารทางวิชาการประเภทเดียวกับ  การเขียนรายงานการวิจัย หรือ Research  Report   ซึ่งอาจมีความแตกต่างจาก การเขียนรายงานวิจัย  ที่เด่นชัดคือความกระชับ แต่มีรูปแบบและเนื้อหาสาระของการนำเสนอที่ไม่แตกต่างกัน  โดยส่วนที่แตกต่างกันสำคัญมี หลายประเด็นคือ  บทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการที่นักวิจัย  เขียนขึ้นในรูปแบบของบทความวิชาการ  เพื่อนำเสนอข้อค้นพบ หรือ หลักฐานะชิงประจักษ์ รวมไปถึงการนำเสนอนวัตกรรมที่จัดว่าเป็นผลงานได้  ผ่านสื่อประเภทต่างๆ ตลอดจนการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ หรือ conference ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากวารสารวิจัยมีข้อจำกัดในด้านปริมาณของเนื้อหา หรือ ข้อจำกัดด้านจำนวนหน้า  นอกจากนี้ในที่ประชุมมักจะมีเวลาที่จำกัด  บทความวิจัยจึงต้องมีการบริหารเนื้อหาในการนำเสนอ หรือมีจำนวนหน้าน้อยกว่ารายงานการวิจัยนั่นเอง การตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการ การตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มีการรวบรวมจากคู่มือการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและวิชาการควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญมาก ดังต่อไปนี้ 1.ควรเลือกวารสารในสาขาที่ตรงกับสาขาที่ดำเนินงานวิจัย ตลอดจนควรค้นหาบทความที่มีลักษณะใกล้เคียงกับบทความของผู้วิจัยที่จะติดต่อขอตีพิมพ์  เพื่อนำมาพิจารณาหาแนวทางเกี่ยวกับวิธีการเขียนบทความ  รวมถึงการจัดรูปแบบของการนำเสนอเนื้อหา  …

การเขียนบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ Read More »