สถิติกับงานวิจัย

ความสำคัญของสถิติกับการทำวิจัย  สถิติกับวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ 

สถิติกับงานวิจัย  สถิติ หรือ สถิติศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำวิจัยในทุกสาขา  รวมไปถึงเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับ การทำวิทยานิพนธ์  การทำวิจัยปริญญาเอก หรือ ดุษฎีนิพนธ์ ตลอดจน การทำสารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ ปัญหาพิเศษ ทุกสาขาด้วยเช่นกัน

สถิติ เป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่ง สำหรับ การทำวิจัย   กล่าวได้ว่า สถิติกับงานวิจัย เป็นของคู่กัน แม้ว่าสถิติจะยุ่งยาก สับสน หรือมีความซับซ้อน เพียงใด แต่เพื่อให้งานวิจัยที่ทำเกิดความถูกต้อง เที่ยงตรง เชื่อถือได้และยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับงานวิจัยนั้น นักวิจัย นักศึกษาที่ทำ วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ จึงต้องให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจ สถิติกับงานวิจัย อย่างถูกต้อง จึงจะทำให้งานวิจัยถูกต้อง น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในวงการวิชาการ

สถิติ หรือ สถิติศาสตร์ เป็นเครื่องมือสำคัญ   สถิติกับงานวิจัย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำวิจัยทุกสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเลข หรือข้อมูล  ตั้งแต่การดำเนินชีวิตไปจนถึงการปฏิบัติงาน ดังนั้นหลักการและขั้นตอนการดำเนินงานทางด้านสถิติ จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในชีวิตประจำวัน   รวมไปถึงแขนงสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น บริหารธุรกิจ  วิจัยด้านเศรษฐศาสตร์  รัฐศาสตร์  ศึกษาศาสตร์  นิเทศศาสตร์  และศาสตร์อื่นๆ ในสายสังคมศาสตร์ทุกสาขา  ตลอดจนวิชาชีพที่เกี่ยวกับทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพ การดำเนินชีวิตของมนุษย์  การรักษา การป้องกัน การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่น จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน  การให้วัคซีนแก่ประชาชน และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่เป็นงานที่ต้องมีเรื่องของสถิติเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น

สถิติกับงานวิจัย รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์
สถิติกับงานวิจัย

นอกจากนี้  การแสวงหาความรู้ใหม่ๆ  การพัฒนางาน ผลการปฏิบัติงาน  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลองค์การเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ล้วนแล้วแต่ต้องพัฒนางานที่ทำอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง   และการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำวิจัย ที่ต้องมีเครื่องมือเข้ามาช่วยในการอธิบายว่าความรู้ใหม่ที่ค้นพบนั้นมีความน่าเชื่อถือ และมีความเป็นไปได้อย่างไร ดังนั้นสถิติ จึงถูกนำมาใช้สำหรับการทำวิจัย คำถามที่พบบ่อยที่สุดคำถามหนึ่ง คือ สถิติเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อน  ยากแก่การเข้าใจและยากแก่การใช้งาน การทำวิจัยก็ยุ่งยากและใช้เวลามาก ทำไมต้องเพิ่มความยากเข้าไปในการทำวิจัย สถิติสำคัญอย่างไรต่อการทำวิจัย  การทำงานวิจัยไม่จำเป็นต้องใช้สถิติได้หรือไม่ คำถามเหล่านี้ถูกถามบ่อยครั้ง  

ความสัมพันธ์ของสถิติกับงานวิจัยในแต่ละขั้นตอน

ความสัมพันธ์ของสถิติกับการดำเนินงานวิจัยแต่ละขั้นตอน

 เมื่อนักวิจัยได้ค้นพบหรือระบุถึงปัญหาที่จะทำวิจัย และเพื่อต้องการที่หาจะหา solution สำหรับการตอบปัญหาเหล่านั้น สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อมาในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินงานวิจัย จะมีสถิติเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนี้

1.การวางแผน (Planing) ก่อนที่จะดำเนินงานวิจัย นักวิจัยจำเป็นต้องมีการวางแผนในการทำวิจัย  ซึ่งการวางแผนที่ดีข้อมูลที่ได้ ย่อมมีคุณภาพตอบคำถามได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และนำไปสู่ผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยัง ประหยัดเวลา และประหยัดทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย หรือแม้กระทั่งผู้ร่วมงาน

ซึ่งในขั้นตอนนี้ สถิติจะถูกดึงเข้ามาเพื่อช่วยเกี่ยวกับการคำนวณวัน เวลา ค่าใช้จ่าย ผู้ร่วมงาน จำนวนข้อมูลที่ต้องการ จำนวนสิ่งของหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะต้องใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ รวมถึงการวางแผนในการใช้สถิติที่เหมาะสม ในการทำวิจัยด้วย ดังนั้น สถิติจึงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้นการวิจัยจนกระทั่งสิ้นสุดการวิจัย

2. การออกแบบ(Design) การออกแบบงานวิจัยเป็นองค์ประกอบ ที่จัดว่าสำคัญสำคัญ ส่วนหนึ่งของการทำวิจัย ซึ่งถ้าการวิจัยนั้นมีการออกแบบงานวิจัยที่ดี ข้อมูลที่เก็บมาได้ก็น่าเชื่อถือและถูกต้อง การออกแบบงานวิจัยที่ดี ต้องสอดคล้องกับคำถามงานวิจัย เกณฑ์การเลือกกลุ่มประชากรชัดเจน จำนวนตัวอย่างเพียงพอ

เช่น ต้องการศึกษาจำนวนหญิงกลุ่มอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ที่เข้ามาตรวจ Pap smear เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก ในจังหวัดอุบลราชธานี การออกแบบงานวิจัยในเรื่องนี้ จะกำหนดให้กลุ่มประชากรคือหญิงในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างที่ต้องคำนวณ จะใช้สูตรอะไรจึงจะเพียงพอในการตอบคำถามงานวิจัยนี้ และเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างไร

สถิติถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง ในส่วนของการหาขนาดตัวอย่าง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้นการออกแบบงานวิจัยจึงต้องมีสถิติเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยเหลือเพื่อให้การออกแบบงานวิจัยนั้นสอดคล้องกับคำถามงานวิจัย งานวิจัยนั้นจึงจะได้คุณภาพและมีคุณค่า

3.การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ในขั้นตอนนี้สถิติ จะเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการกำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่จะนำมาซึ่งข้อมูลที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร และจำนวนข้อมูลถูกต้องครบถ้วน เช่น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้การสุ่มแบบธรรมดา หรือสุ่มอย่างมีระบบ หรือวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มประชากรที่ต้องการศึกษา และเป็นตัวแทนที่สามารถตอบคำถามงานวิจัยนั้นได้

4.กระบวนการจัดการข้อมูล (Data Processing) ในการจัดการข้อมูล สถิติจะเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก เพราะการจัดการข้อมูลคือการจัดเก็บข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมให้อยู่ในหมวดหมู่ที่สะดวก เข้าใจได้ง่ายและนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว

โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการ ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของข้อมูล การบันทึกข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เช่น  EpiDATA, Excel หรือ โปรแกรมSPSS   โปรแกรมSTATA  โปรแกรมEVIEW หรือ AMOSและ LISREL เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บจะมีการจัดหมวดหมู่ในแต่ละตัวแปร เช่น เพศ กลุ่มอายุ ฯลฯ การตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

ข้อมูลมีคุณภาพ สามารถนำเข้าสู่ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปได้ กระบวน การจัดการข้อมูล เป็นกระบวนการทางสถิติ ที่เกี่ยวกับข้อมูล ดังนั้น หากข้อมูลที่ได้ไม่มีคุณภาพไม่ถูกต้อง  การเลือกใช้สถิติใดๆ ก็ไม่สามารถทำให้งานวิจัยนั้นถูกต้องได้ และยังส่งผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย

5.การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) สำหรับ ขั้นตอนนี้ ใช้สถิติเข้ามาเป็นเครื่องมือหลัก เพราะข้อมูลที่ผ่านกระบวนการจัดการข้อมูลแล้ว จะต้องพิจารณาเลือกสถิติที่เหมาะสม ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวม เพื่อตอบคำถามงานวิจัย

หากข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องมีคุณภาพแต่เลือกสถิติที่จะใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมจะส่งผลให้งานวิจัยนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือ และทำให้ความน่าเชื่อถือของนักวิจัยนั้นลดลงด้วย ซึ่งในการเลือกสถิติที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ข้อมูลต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์การวิจัย ตัวแปรที่ต้องการศึกษา (ตัวแปรผล)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย และความเป็นอิสระของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย ดังนั้นก่อนวิเคราะห์ข้อมูลควรมีการวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกสถิติให้เหมาะสมกับงานวิจัยนั้น เพื่อให้ได้งานวิจัยที่มีคุณภาพ

6.การนำเสนอ (Presentation) การนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล อาจจะอยู่ในรูปของการบรรยาย ตาราง กราฟ มีการจัดหมวดหมู่ของตัวเลขข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย นั่นคือการนำสถิติเข้ามาใช้ในขั้นตอนนี้ แต่ถ้าการวิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องแต่มีการนำเสนอที่ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้ผู้อ่านขาดข้อมูลที่ถูกต้องบางอย่างไปได้

เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ เป็นที่ทราบกันดีว่า ข้อมูลที่เก็บมาได้ไม่ค่อยเป็นความจริง ข้อมูลจะเบ้มีการแจกแจงแบบไม่ปกติ ดังนั้นในการนำเสนอข้อมูล  ควรเลือกสถิติที่เหมาะสมในการนำเสนอข้อมูลรายได้ ซึ่งค่ากลางของข้อมูลที่เหมาะสมของข้อมูลรายได้คือ ค่ามัธยฐาน (Median) พร้อมทั้งนำเสนอค่าสูงสุดต่ำสุดของรายได้ประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านได้มีข้อมูลอื่นๆ พิจารณาเพิ่มเติม

7.การแปลผล (Interpretation) สิ่งที่สำคัญของการวิจัยคือการแปลผลการวิจัย หากการทำวิจัยที่ใช้เวลามานาน เสียค่าใช้จ่ายเสียทรัพยากรต่างๆ ไปมากมาย แต่เมื่อถึงขั้นตอนนี้ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการทำวิจัย กลับปรากฏว่าแปลผลการวิจัยผิด นั่นหมายถึงการทำวิจัย งานวิจัยนั้นไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นสถิติจึงเข้ามาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือในเรื่องของการแปลผลการวิจัยเพื่อให้งานวิจัยนั้นมีคุณค่า น่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจให้กับผู้อ่านมากขึ้นอีกด้วย

8.การเผยแพร่ตีพิมพ์ (Publication)อาจกล่าวได้ว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของงานวิจัย เพราะงานวิจัยเมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อย ควรมีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้ผู้อ่าน หรือผู้สนใจได้นำสิ่งที่ค้นพบใหม่ไปประยุกต์ใช้ หรือเพิ่มพูนความรู้ให้มากขึ้น ดังนั้นในการเผยแพร่ตีพิมพ์เอกสาร สถิติจึงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัย โดยนักสถิติจะเข้ามาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำเสนอสถิติในการตีพิมพ์เผยแพร่ และการแนะนำการนำเสนอข้อมูลสถิติที่เหมาะสม เป็นต้น

จากความสัมพันธ์ของสถิติในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย จะพบว่า สถิติกลายเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เริ่มดำเนินงานวิจัยจนกระทั่งสิ้นสุดงานวิจัย จะเห็นได้ว่า สถิติและงานวิจัยมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจนไม่สามารถแยกกันได้ และความสัมพันธ์นั้นนำไปสู่ความสำคัญ  ดังต่อไปนี้

1.ผู้อ่านงานวิจัยสามารถทำเข้าใจงานวิจัยได้ถูกต้องตรงและตรงกับความเป็นจริง   ทั้งนี้เพราะ ข้อมูลที่รวบรวมมาจากการวิจัยมีตัวเลขจำนวนมาก การนำสถิติมาจัดตัวเลขเหล่านั้นให้เป็นระเบียบ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจ ได้ง่ายถูกต้อง เป็นจริงในเวลาอันรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  อีกทั้งยังสามารถนำไปประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

2. นำไปสู่การประเมินคุณภาพงานวิจัย   เนื่องจากการทำงานวิจัยโดยทั่วไป  เป็นการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาข้อสงสัยด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ เมื่อนำมาผ่านกระบวนการทางสถิติ ก็จะทำให้นักวิจัยมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้   ตลอดจนยังทำให้ผู้อ่านเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นในงานวิจัยนั้น ซึ่งนำไปสู่การประเมินคุณภาพของงานวิจัยที่ได้ว่ามีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องเที่ยงตรง หรือเป็นงานวิจัยที่ไม่มีคุณภาพ

3. ประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น  งานวิจัยที่มีการใช้สถิติเข้ามาเป็นเครื่องมือ สามารถทำให้การสรุปผลการวิจัยเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ   หากงานวิจัยนั้นใช้สถิติได้ถูกต้องและเหมาะสมคุณภาพของงานวิจัยนั้น  ย่อมถูกประเมินว่า  เป็นงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ ที่มีคุณภาพดีและผลการวิจัยนั้นจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องราวต่างๆ

รวมทั้งในเรื่องของการกำหนดนโยบายและการวางแผนงานต่างๆ ด้วย เช่น  การวางแผนการให้สุขศึกษาและสอนวิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองให้แก่สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในสถานบริการสุขภาพ เพราะจากการวิจัยและใช้สถิติเข้ามาช่วยประกอบการพิจารณาแล้วพบว่า สตรีในวัยดังกล่าวเริ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม และไม่มีความรู้ในเรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการวิจัย การกำหนดนโยบายจึงต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากการวิจัยโดยผ่านกระบวนการทางสถิติแล้วประกอบการตัดสินใจ