การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม

การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม 

เทคนิค การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม การรวบรวมข้อมูล สำหรับการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์

การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการสำรวจ (Survey) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการทำวิจัย

แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากที่สุดประเภทหนึ่ง สำหรับการทำวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วยข้อคำถามต่างๆ ที่นักวิจัยได้จัดทำขึ้นไว้สำหรับให้ผู้ตอบได้ตอบ  โดยเป็นผู้ให้ข้อมูลโดยตรงได้เขียนตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ หลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกันตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย แบบสอบถามมักจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

  1. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความจริงที่เกี่ยวกับการศึกษา เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับรายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา จำนวนบุคคลในครอบครัว ภูมิลำเนา เป็นต้น
  2. ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือทัศนคติที่เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย ได้แก่ ความคิดเห็น ทัศนคติ การรับรู้ ความสนใจ ความถนัด เจตคติ เช่น ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว , การศึกษาอิทธิพลของความสัมพันธ์ในครอบครัว ที่ส่งผลต่อทัศนคติการเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เป็นต้น
การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม รับเก็บแบบสอบถาม
การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม รับเก็บแบบสอบถาม

ขั้นตอนของการเก็บแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม

บทความนี้ นำเสนอขั้นตอนของการเก็บแบบสอบถาม ในลักษณะของการออกภาคสนาม เท่านั้น ไม่รวมถึง การเก็บแบบสอบถาม ด้วยเทคนิคอื่นๆ เช่น การส่งอีเมล, การโทรศัพท์ , การสนทนากลุ่ม หรือ การสังเกตุการณ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความอื่นๆ

  1. การสร้างแบบสอบถาม (Questionnaire) ให้สำเร็จเรียบร้อย โดยก่อนเก็บแบบสอบถามจริง ผู้วิจัย จะต้องมั่นใจและแน่ใจว่าแบบสอบถามนี้จะไม่ถูกแก้ไขภายหลังอีกเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะการเก็บแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยแต่ละชิ้น ต้องเก็บแบบสอบถามจำนวนมาก เช่น 400 ฉบับ ซึ่งหากต้องมีการแก้ไขภายหลัง ย่อมเสียเวลาเป็นอย่างมาก และเสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์หรือสำเนาโดยไม่จำเป็น
  2. แบบสอบถามแม้ว่าจะผ่านการอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการที่ปรึกษาวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์เรียบร้อยแล้ว ก่อนเก็บแบบสอบถามจริง ควรมีการทดสอบประสิทธิภาพ หรือ คุณภาพของเครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ที่นิยมแพร่หลายคือการหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยวิธีการ ของคอนบาร์ช (Conbach’s Alpha Coefficient: α coefficient) ซึ่งจะใช้สำหรับข้อมูลที่มีการแบ่งระดับการวัดแบบประมาณค่า (Rating Scale)
  3. ในกรณีที่ผู้วิจัย กำหนดสถานที่เก็บแบบสอบถามหรือเก็บข้อมูล เป็นพื้นที่สาธารณะ จะต้องพิจารณาว่าพื้นที่เหล่านั้นต้องขออนุญาตหรือไม่ มีหน่วยงานไหนกำกับดูแล และจะต้องพิจารณาว่าแม้ว่าจะมีผู้คนพลุกพล่านและมีความหลากหลาย แต่การกรอกแบบสอบถาม มีความสะดวกและสามารถกระทำได้หรือไม่ ใช้เวลานานเท่าใด
  4. ผู้วิจัยควรขอหนังสือขอความอนุเคราะห์การเก็บแบบสอบถาม สำหรับนำแบบสอบถามไปแจกจ่ายในพื้นที่หรือหน่วยงาน องค์กร หมู่บ้าน คอนโดมิเนียม ห้องพักต่างๆ โดยอาจขอความอนุเคราะห์ผ่านทางฝ่ายบุคคลของบริษัท ห้างร้านต่างๆ หรือ ขอความอนุเคราะห์ผ่านสำนักงานนิติบุคคลที่รับผิดชอบดูแลที่พักอาศัย เช่น โครงการบ้านจัดสรร อาคารสำนักงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานศึกษาต่างๆ  การเคหะ/บ้านเอื้ออาทร โรงงาน เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การเก็บข้อมูลเป็นไปได้อย่างราบรื่น และไม่มีข้อร้องเรียนภายหลัง
  5. จากข้อ 4) การใช้เทคนิค การขอความอนุเคราะห์ หรือ ขออนุญาตกับผู้กำกับดูแลพื้นที่ต่างๆ เหล่านั้นแล้ว  ผู้วิจัย ยังสามารถขอความอนุเคราะห์ให้ผู้ดูแลเหล่านั้นดำเนินการแจกแบบสอบถามแทนผู้วิจัยได้อีกด้วย เช่น การขอความอนุเคราะห์จากหัวหน้าฝ่ายบุคคล เพื่อดำเนินการจ่ายแจกแบบสอบถามเหล่านั้น ไปยังพนักงานหรือบุคลากรตามจำนวนที่ต้องการ และระบุวันแล้วเสร็จ หรือวันที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ และสามารถมารับแบบสอบถามได้ด้วยตัวเอง

การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม หรือ Questionnaire เป็นการใช้ชุดคำถามแบบสอบถามในการวิจัย ( questionnaire in research ) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตอบ หรือ สอบถามข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย ข้อดีของการใช้เครื่องมือประเภทนี้ หรือ ข้อดีของการใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล คือ ผู้วิจัยสามารถเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากในครั้งเดียว และยังสามารถส่งหรือ รับแบบสอบถามได้หลากหลายวิธี

นอกจากนี้ กลุ่มเป้าหมาย (Sample) มีอิสระในการตอบคำถามค่อนข้างมาก เพราะมีเวลาคิด พิจารณา ไตร่ตรองข้อคำถามได้อย่างอิสระ  สามารถตอบคำถามโดยไม่มีแรงกดดันจากผู้ถาม การใช้เครื่องมือประเภทนี้จึงมีประสิทธิภาพมากที่สุดประเภทหนึ่ง สำหรับเครื่องมือวิจัย เพราะคำตอบที่ได้จากกระบวนการเช่นนี้ย่อมมีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ข้อด้อย หรือ จุดอ่อนของการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม คือ ไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่อ่านเขียนไม่ได้ และหากเขียนคำถามไม่ชัดเจน อาจทำให้ผู้ตอบมีความเข้าใจต่อคำถามที่คลาดเคลื่อน ซึ่งจะต้องใช้ความละเอียดและพิถีพิถันมากขึ้น สำหรับการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง หรือ กลุ่มเป้าหมายประเภทนี้

สรุปข้อเด่นและข้อด้อยของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม

การใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีข้อเด่นและข้อด้อยที่ต้องพิจารณาประกอบในการเลือกใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้

ข้อเด่นของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีดังนี้ คือ

1. ถ้ากลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่ วิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จะเป็นวิธีการที่สะดวกและประหยัดกว่าวิธีอื่น

2. ผู้ตอบมีเวลาตอบมากกว่าวิธีการอื่น

3. ไม่จำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานเก็บข้อมูลมากเหมือนกับวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีการสังเกต

4. ไม่เกิดความลำเอียงอันเนื่องมาจากการสัมภาษณ์หรือการสังเกต เพราะผู้ตอบเป็นผู้ตอบข้อมูลเอง

5. สามารถส่งแบบสอบถามให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์ได้

6. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล

 

ข้อด้อยของการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีดังนี้คือ

1. ในกรณีที่ส่งแบบสอบถามให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์ มักจะได้แบบสอบถามกลับคืนมาน้อย และต้องเสียเวลาในการติดตาม อาจทำให้ระยะเวลาการเก็บข้อมูลล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้

2. การเก็บข้อมูลโดยวิธีการใช้แบบสอบถามจะใช้ได้เฉพาะกับกลุ่มประชากรเป้าหมายที่อ่านและเขียนหนังสือได้เท่านั้น

3. จะได้ข้อมูลจำกัดเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น เพราะการเก็บข้อมูลโดยวิธีการใช้แบบสอบถามจะต้องมีคำถามจำนวนน้อยข้อที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

4. การส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ หน่วยตัวอย่างอาจไม่ได้เป็นผู้ตอบแบบสอบถามเองก็ได้ ทำให้คำตอบที่ได้มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความจริง

5. ถ้าผู้ตอบไม่เข้าใจคำถามหรือเข้าใจคำถามผิด หรือไม่ตอบคำถามบางข้อ หรือไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะตอบคำถาม ก็จะทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนได้ โดยที่ผู้วิจัยไม่สามารถย้อนกลับไปสอบถามหน่วยตัวอย่างนั้นได้อีก

6. ผู้ที่ตอบแบบสอบถามกลับคืนมาทางไปรษณีย์ อาจเป็นกลุ่มที่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มผู้ที่ไม่ตอบแบบสอบถามกลับคืนมา ดังนั้นข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์จะมีความลำเอียงอันเนื่องมาจากกลุ่มตัวอย่างได้

 

อ้างอิง

  1. รับทำวิจัย
  2. เทคนิคการทำวิจัย
  3. ระเบียบวิธีวิจัย
  4. ตัวอย่างการทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
  5. หลักจริยธรรมการวิจัย
  6. วิธีการหลีกเลี่ยงการขโมยความคิด
  7. ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ การเขียนงานวิจัยบทที่5
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ การเขียนงานวิจัยบทที่5