การเก็บแบบสอบถาม

เทคนิคการเก็บแบบสอบถาม

เทคนิคการเก็บแบบสอบถาม แนวคิด เทคนิค วิธีการ เทคนิคการเก็บแบบสอบถาม ให้ประสบความสำเร็จ ทันเวลา มีประสิทธิภาพ เทคนิคดั้งเดิมของการเก็บแบสอบถาม ที่เป็นที่นิยมใช้กันมานานนับศตวรรษ คือการออกภาคสนาม พูดง่ายๆคือ ส่งคนลงเก็บตามจุดหรือพื้นที่ที่เป็นที่ชุมนุมของกลุ่มตัวอย่าง (Sample) จำนวนมาก เช่น สถานที่ทำงาน โรงพยาบาล  สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า  สนามบิน เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อภาคเศรษฐกิจ สังคม และการรูปแบบหรือวิถีชีวิตของประชาชนและผู้บริโภคไปอย่างมาก  รวมถึงการทำวิจัย และการเก็บข้อมูล การเก็บแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ด้วยเช่นกัน ดังนั้น บทความนี้ จะขอนำเสนอเทคนิคการเก็บข้อมูล เทคนิคการเก็บแบบสอบถาม สำหรับการทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ รวมไปถึงดุษฎีนิพนธ์ และงานวิชาการต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคการทำงานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่สอดคล้องกับ New Normal คือ การเก็บข้อมูลแบบ   “Social Distancing” 1) แบบสอบถามออนไลน์ “แบบสอบถาม” …

เทคนิคการเก็บแบบสอบถาม Read More »

การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม

การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม  เทคนิค การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม การรวบรวมข้อมูล สำหรับการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อรวบรวมข้อมูลที่ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการสำรวจ (Survey) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการทำวิจัย แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากที่สุดประเภทหนึ่ง สำหรับการทำวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วยข้อคำถามต่างๆ ที่นักวิจัยได้จัดทำขึ้นไว้สำหรับให้ผู้ตอบได้ตอบ  โดยเป็นผู้ให้ข้อมูลโดยตรงได้เขียนตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ หลายเรื่องที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกันตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย แบบสอบถามมักจะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความจริงที่เกี่ยวกับการศึกษา เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับรายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา จำนวนบุคคลในครอบครัว ภูมิลำเนา เป็นต้น ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือทัศนคติที่เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย ได้แก่ ความคิดเห็น ทัศนคติ การรับรู้ ความสนใจ ความถนัด เจตคติ เช่น ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว , การศึกษาอิทธิพลของความสัมพันธ์ในครอบครัว ที่ส่งผลต่อทัศนคติการเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เป็นต้น ขั้นตอนของการเก็บแบบสอบถาม …

การเก็บข้อมูลแบบสอบถาม Read More »

การสร้างแบบสอบถาม

การสร้างแบบสอบถาม    แนวคิดเกี่ยวกับ การสร้างแบบสอบถาม เทคนิคการสร้างแบบสอบถาม แบบสอบถามที่ดี การรวบรวมแบบสอบถาม เพื่องานวิจัย ก่อนไปถึงขั้นตอน การสร้างแบบสอบถาม ผู้ทำวิจัยควรทำความเข้าใจกับแบบสอบถาม และ การสร้างแบบสอบถามที่ถูกต้อง ดังนี้  แบบสอบถาม(Questionnaire) หมายถึง รูปแบบของคำถามเป็นชุดๆ ที่ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบ เพื่อใช้วัดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงทั้งในอดีต ปัจจุบันและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต แบบสอบถามประกอบด้วยรายการคำถามที่สร้างอย่างประณีต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริง โดยส่งให้กลุ่มตัวอย่างตามความสมัครใจการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น การสร้างคำถามเป็นงานที่สำคัญสำหรับผู้วิจัย เพราะว่าผู้วิจัยอาจไม่มีโอกาสได้พบปะกับผู้ตอบแบบสอบถามเพื่ออธิบายความหมายต่าง ๆ ของข้อคำถามที่ต้องการเก็บรวบรวม แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เพราะการเก็บรวบรวมข้อมูลสะดวกและสามารถใช้วัดได้อย่างกว้างขวาง การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสามารถทำได้ด้วยการสัมภาษณ์หรือให้ผู้ตอบด้วยตนเอง โครงสร้างของแบบสอบถาม โดยทั่วไป แบบสอบถามจะมีโครงสร้างหลักหรือโครงสร้างที่สำคัญ 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. หนังสือนำหรือคำชี้แจง  ส่วนแรกของแบบสอบถาม อาจมีจดหมายนำอยู่ด้านหน้าพร้อมคำขอบคุณ โดยคำชี้แจงมักจะระบุถึงจุดประสงค์ที่ให้ตอบแบบสอบถาม การนำคำตอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์ คำอธิบายลักษณะของแบบสอบถาม วิธีการตอบแบบสอบถามพร้อมตัวอย่าง ชื่อ และที่อยู่ของผู้วิจัย ประเด็นที่สำคัญคือการแสดงข้อความที่ทำให้ผู้ตอบมีความมั่นใจว่า ข้อมูลที่จะตอบไปจะไม่ถูกเปิดเผยเป็นรายบุคคล จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ตอบ และมีการพิทักษ์สิทธิของผู้ตอบด้วย 2. คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว โดยทั่วไปจะเป็นข้อมูลประเภท ลักษณะทางประชากรศาสาตร์ (Demographics) หรือ …

การสร้างแบบสอบถาม Read More »