การทำวิทยานิพนธ์ด้านการตลาด
1. แนวคิดพื้นฐาน เทคนิค วิธีการ แนวทาง การทำวิทยานิพนธ์ด้านการตลาด
การทำวิทยานิพนธ์ด้านการตลาด วิจัยปริญญาโท สาขาการตลาด เป็นกระบวนการทำงานวิจัย ที่มีขั้นตอน และองค์ประกอบสำคัญ เช่นเดียวกันกับการทำวิจัยสายสังคมศาสตร์ (SocialScience) ทั่วไป
วิทยานิพนธ์ด้านการตลาด มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับ การทำวิจัยตลาด คือ เป็นการศึกษาและสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการจากลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เช่น ความต้องการ ความคิดเห็น ความพึงพอใจ ทัศนคติ ภาพลักษณ์ ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายมีต่อสินค้าหรือบริการของเรา การปรียบเทียบสินค้าและบริการของเรากับคู่แข่งขัน พฤติกรรมการซื้อสินค้า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปผลและนำมาใช้ในการจัดทำแผนการทำโฆษณา การส่งเสริมการตลาด การสื่อสารด้านการตลาด การปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นต้น การวิจัยตลาดให้ถูกต้องแม่นยำ จะต้องนำความรู้ด้านการวิจัยมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบการวิจัย การสุ่มตัวอย่าง การออกแบบแบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การนำเครื่องมือทางสถิติมาใช้วิเคราะห์ เป็นต้น
การทำวิทยานิพนธ์สาขาการตลาด เป็นการวิจัยเป็นกระบวนการที่มีระบบและมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวม (Gathering), การบันทึก (Recording), การวิเคราะห์ข้อมูล(Analyzing data) เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ ธุรกิจขนาดใหญ่จะให้ความสำคัญในการวิจัยธุรกิจมากโดยมีการเลือกทำวิจัยใน 4 ด้าน คือ 1.ด้านการผลิต 2. ด้านการตลาด 3.ด้านการเงิน 4. ด้านวางแผนและบริหารจัดการ สำหรับธุรกิจ SMEs จะให้ความสำคัญในการจัดทำวิจัยทางการตลาดเพียงด้านเดียวเพราะการทำวิจัยนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงจึงต้องเลือกทำในเรื่องการตลาดก่อน การวิจัยด้านการตลาดจัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้เจ้าของกิจการและผู้บริหารเข้าใจในความต้องการและพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคได้อย่างชัดเจน รวมทั้งได้ข้อมูลสำคัญๆเพื่อใช้กำหนดทิศทางของธุรกิจและเสาะหาโอกาสทางการตลาดด้วย ส่วนใหญ่การวิจัยตลาดจะจัดทำขึ้นสำหรับกิจการที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค
2. การทำวิจัยตลาด วิทยานิพนธ์สาขาการตลาด มีเป้าหมายเพื่อค้นหาสิ่งเหล่านี้คือ
1. ค้นหาลูกค้า(Customer) และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อนำไปวางกลยุทธ์ในการตลาด
2. ค้นหาผลิตภัณฑ์ (Product) ที่ผู้บริโภคต้องการและพึงพอใจ
3. เพื่อวางแผนทางการตลาดและการโฆษณา
3. รูปแบบของการวิจัยตลาดที่นิยมใช้มี 3 รูปแบบ
1. การวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory research) เป็นการทำวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาที่ยังคลุมเครือเพื่อจะได้คำตอบจากงานวิจัยให้ชัดเจนขึ้น เช่น ต้องการทราบถึงเหตุผลที่ยอดขายสินค้าตกต่ำลง, ต้องการทราบว่าผู้บริโภคจะสนใจในผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เราจะนำออกสู่ตลาดหรือไม่
2. การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เป็นการทำวิจัยเพื่อให้รู้ถึงลักษณะของปัญหา เช่น ลักษณะของบุคคลที่ไม่พอใจผลิตภัณฑ์ของเรา ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าพึงพอใจ
3. การวิจัยเชิงเหตุผล (Causal research) เป็นการทำวิจัยเพื่อให้ตอบคำถามที่กำหนดไว้ได้อย่างชัดเจน เช่น ผู้ซื้อจะซื้อผลิตภัณฑ์เมื่อมีการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่หรือไม่ หากสินค้าราคาขึ้นไปอีกร้อยละ 5 ผู้ซื้อจะซื้อหรือไม่
4. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดทำวิจัยมี 4 แบบที่นิยมใช้กันคือ
1. ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) นักวิจัยตลาดจะออกแบบสอบถามเพื่อให้ผู้ตอบได้ใส่เครื่องหมายถูกผิดหรือเป็นคะแนนความพอใจในแบบสอบถาม การใช้แบบสอบถามเหมาะกับการทำวิจัยที่มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก คำถามมักอยู่ในรูปแบบ Checklist, Open end , rating scale
2. ใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview form) นักวิจัยตลาดจะออกแบบสอบถามที่ต้องการความชัดเจนมากขึ้น มีการตั้งคำถามที่ยากขึ้น โดยมีรูปแบบการสัมภาษณ์ทั้งแบบ Structured form และunstructured form โดยนักวิจัยเลือกที่ใช้ลักษณะการสัมภาษณ์ได้ทั้งตัวต่อตัว (Individual) หรือแบบเฉพาะเจาะจงกลุ่ม (Focus group) นักวิจัยตลาดจะว่าจ้างบุคคลภายนอกหรือใช้เจ้าหน้าที่ไปสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ลักษณะของผลิตภัณฑ์ หรือพฤติกรรมของการซื้อหรือการใช้ผลิตภัณฑ์ การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวจะมีต้นทุนการทำวิจัยที่สูงขึ้นแต่จะได้ผลดีมากขึ้นหากได้สัมภาษณ์โดยตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจริงๆ
5. ประโยชน์ของ วิทยานิพนธ์สาขาการตลาด
วิทยานิพนธ์สาขาการตลาด มีประโยชน์สำหรับองค์กรธุรกิจผู้ผลิตสินค้าและบริการ ดังต่อไปนี้
- การพัฒนาสินค้าหรือบริการ – สินค้าหรือบริการที่ธุรกิจทำอยู่แล้ว แม้จะขายได้ดีอยู่ ก็จำเป็นต้องมีการสำรวจความคิดเห็นของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นระยะๆ เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า การวิจัยตลาดจะช่วยลดความเสี่ยงที่สินค้าหรือบริการไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทำให้ไม่ต้องรอให้ลูกค้าหนีไปแล้ว จึงมาหาสาเหตุ
- การหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ – การวิจัยตลาดทำให้ทราบถึงความต้องการสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงรู้เทรนด์การเปลี่ยนแปลงก่อนใคร ทำให้มีเวลาในการวางแผนพัฒนาสินค้าหรือบริการล่วงหน้า ในขณะที่คู่แข่งยังไม่ได้ตั้งหลัก เพราะไม่รู้ข้อมูล ทำให้มีคู่แข่งขันน้อย กำไรมาก ไม่ต้องรอให้มีการผลิตมากๆ แล้วเราค่อยมาผลิต
- สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน – การทำวิจัยตลาดทำให้เราสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่ง จากลูกค้าของคู่แข่ง ทราบถึงข้อดีข้อเสียของสินค้าเราและคู่แข่ง ทำให้เราสามารถวางกลยุทธ์การตลาด ออกแคมเปญ พัฒนาสินค้า ให้เหนือคู่แข่ง ซึ่งนอกจากเราจะสามารถรักษาลูกค้าของเราไว้แล้ว ยังสามารถดึงดูดให้ลูกค้าของคู่แข่งมาเป็นลูกค้าของเรา
- ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ – การทำวิจัยตลาดที่มีคุณภาพ จะทำให้เราได้ข้อมูลเชิงลึกจากลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการแก้ไขจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ทำให้เราลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดในการตัดสินใจทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการออกแคมเปญการตลาด การออกสินค้าใหม่ การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ทำให้ลดปัญหาขาดทุนได้มากทีเดียว
- รู้ปัญหาเร็ว แก้ไขได้ตรงจุด – การทำวิจัยตลาด ทำให้เราสามารถติดตามผลในด้านต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง หากเกิดปัญหาที่จุดใด ก็จะสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที เช่น พนักงานในร้านบริการไม่ดี ลูกค้ามีความพึงพอใจต่ำลง หากเราทำวิจัยความพึงพอใจลูกค้า เราจะทราบทันที ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและทันที หรือยอดขายสินค้าลดลง หากมีการวิจัยตลาด จะทราบทันทีว่าเกิดจากสาเหตุใด ก็สามารถแก้ไขได้ทันที และแก้ไขได้ตรงจุด
6. ตัวอย่างหัวข้อวิทยานิพนธ์สาขาการตลาด
- การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการใช้บริการศูนย์ให้บริการรถยนต์โตโยต้า ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
- ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ และ ความพึงพอใจต่อการใช้บริการ และความภักดีของผู้ใช้บริการ ที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
- การศึกษาคุณค่าของตราสินค้า ภาพลักษณ์ตราสินค้า ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร
- การรับรู้ความเสี่ยง ความเพลิดเพลินในการซื้อสินค้าประเภทเสื้อผ้าแฟชั่น ผ่านเว็บไซต์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
อ้างอิง
- รับทำวิจัย
- เทคนิคการทำวิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัย
- ตัวอย่างการทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
- หลักจริยธรรมการวิจัย
- วิธีการหลีกเลี่ยงการขโมยความคิด
- ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม
- การทำวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์
- ระเบียบวิธีวิจัยด้านรัฐประศาสนศาสตร์
- เทคนิคการทำวิจัย
- ข้อมูลอนุกรมเวลา
- วิธีการรีวิวงานวิจัย
- เทคนิคการตีพิมพ์บทความ
- เคล็ดลับนักเรียน
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย รับวิเคราะห์SPSS รับวิเคราะห์แบบสอบถาม การสืบค้นงานวิจัย การสืบค้นข้อมูล รับสืบค้นงานวิจัย รับสืบค้นข้อมูลงานวิจัย