การทำวิจัยทรัพยากรมนุษย์

การทำวิจัยทรัพยากรมนุษย์

แนวคิดพื้นฐาน นิยาม ความหมาย เทคนิคและวิธีการ การทำวิจัยทรัพยากรมมนุษย์

การทำวิจัยทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Research) หมายถึง กระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ปัญหาของบุคลากรในองค์กร การตรวจสอบขวัญกำลังใจ ความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ การทำงาน และสิ่งที่พนักงานต้องการ และคุณภาพชีวิต เพื่อเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้น มี
ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ด้วยกระบวนการที่มีระบบ มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและชัดเจน ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียง มีหลักเหตุผล เพื่อพิสูจน์หาคำตอบหรือหาข้อเท็จจริงนั้น ๆ

การทำวิจัยทรัพยากรมนุษย์ รับทำวิจัยทรัพยากรมนุษย์
การทำวิจัยทรัพยากรมนุษย์ รับทำวิจัยทรัพยากรมนุษย์

รูปแบบ การทำวิจัยทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management Research)

โดยทั่วไป รูปแบบการทำวิจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ ไม่ได้แตกต่างไปจากการวิจัยในสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ หรือบูรณาการเอาความรู้ของสาขาวิชา หรือองค์ความรู้แขนงต่าง ๆ มาใข้เพื่อทำความเข้าใจและปรับใช้ประโยชน์ในการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งหลายทั้งปวงในวงข่ายของงานด้านนี้  ซึ่งก็สามารถทำได้ทั้งในลักษณะของการวิจัยหลัก (Basic or Exploratory research) เพื่อสร้างองค์ความรู้ และทฤษฎี หรือการวิจัยประยุกต์ (Applied or Operational research) เพื่อเน้นการแก้ไขปัญหาเรื่องการบริหาร/การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 ในแง่ของรูปแบบการวิจัย นั้น ผู้รู้หลายท่านอย่าง  Flippo, De Cenzo & Robbins, Mondy & Noe บอกเอาไว้ว่า ผู้วิจัยเลือกใช้ได้ทั้งในแบบการวิจัยแบบทดลอง (Controlled experiments) หรือการวิจัยสำรวจ (Survey) ซึ่งนิยมทำกันอย่างมากในแบบการทำวิจัยมือใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาโท  อย่างไรก็ตาม  ก็ยังมีให้เห็นบ้างที่นักศึกษาระดับปริญญาโทจะทำงานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical studies) โดยเน้นการศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลทุติยภูมิ  การวิจัยกรณีศึกษา (Case studies) ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาเป็นรายกรณี

ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ควรเลือกที่จะทำงานวิจัยเรื่องใด ขอตอบตามความเห็นของกูรู เช่น Flippo และ Mondy & Noe ซึ่งกูรูเหล่านี้ท่านมอบว่า  เรื่องที่เราควรเลือกทำวิจัยนั้น น่าจะเป็นเรื่องของการจัดหาบุคลากร (Procurement) คือจะมีเครื่องมืออย่างไร วิธีการแบบไหน เป็นตัวแบบ หรือโมเดล เพื่อที่จะให้การสรรหาและเลือกสรรบุคลากรก่อให้เกิดผลในเชิงการเพิ่มผลผลิต (increase productivity) ขององค์การได้

รวมทั้งอาจจะเลือกศึกษาในแง่ของการพัฒนา (Development) ระบบการจ่ายค่าตอบแทน (Compensation) ที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากร และเป็นแนวทางที่สามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในองค์การได้อย่างแท้จริง  เป็นต้น  กล่าวคือเมื่อคิดว่า  เมื่อได้หัวข้อมาแล้ว ก็ต้องมาคิดต่อว่า ในหัวข้อนั้น เราต้องการให้งานวิจัยพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาอย่างไร ในแง่มุมหรือประเด็นไหน นั่นเอง

ยกตัวอย่าง

หากจะทำงานวิจัยเรื่อง Package ของสวัสดิการและค่าตอบแทนพิเศษ ที่โน้มน้าว หรือ สร้างแรงจูงใจให้พนักงานมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานมากขึ้น  กรณีศึกษา พนักงานโรงแรมแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร แบบนี้ก็ใช้ได้  ทั้งนี้ ควรกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้กว้าง เช่น พนักงานโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่ตีพิมพ์ และเผยแพร่ โดยมากมักเป็นวิจัยสอบถามความคิดเห็น ในรูปแบบหรือประเภท ความคิดเห็นของพนักงาน…ต่อการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมแบบ OJT อะไรแบบนี้  อาจารย์บางท่านวิจารณ์ว่า หัวข้อแบบนี้ก็แค่ให้จบตามหลักสูตร  และหากให้วิจารณ์ว่าประเด็นของการวิจัยในด้านการบริหาร/การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สถาบันใดดูดีมาก ขอตอบว่า NIDA ครับ ไม่เชื่อต้องลองไปดูในปีตั้งแต่ 2551 เป็นต้นมา  เสียดายที่ไม่ได้เป็นศิษย์ NIDA  เพราะไม่มีเงินเรียน….

 นอกเหนือจากนี้  ท่านอาจจะวิจัยปัจจัย ที่ส่งผลต่อแนวโน้มการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตก็ได้เช่นกัน เช่น ดูว่า ปัจจัยเชิงประชากรศาสตร์ (Demographic factor) ได้แก่เรื่องคุณภาพของประชากร ความเสมอภาคในโอกาสเข้าทำงาน (Affirmative action)  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Technological factor) หรือเรื่องของการรวมตัวของผู้ปฏิบัติงานเป็นสหภาพ (Union factor) จะมีผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเพียงใด

หากพิจารณาในเชิงรายละเอียดลึกลงไป  นักวิจัย สามารถที่จะทำวิจัย ในประเด็นที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องต่าง ๆ ตามที่ De Cenzo & Robbins พูดไว้ โดยอาจจะตั้งคำถามเริ่มต้น และตามด้วยข้อความต่อไปนี้ เป็นคำถามของการวิจัยก็ได้
1. องค์การจะเกี่ยวข้องกับ HR มากขึ้น (concern by organization with HRM)
2. องค์การต้องการใช้คนที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมากขึ้นหรือไม่ หากไม่ องค์การจะถอด จะปลด คนเหล่านี้ที่มีทัศนคติที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการขององค์การอย่างไร ( removal of termination as a threat)
3. จะสร้างองค์การขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพ (lean and mean) อย่างไร  องค์การแบบนี้ ต้องการภาวะผู้นำอย่างไรเพื่อขับเคลื่อน

4.จะจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับพนักงาน (matching the environment to employee : ergonomics)อย่างไร เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อไปถึงความพึงพอใจสูงสุดในการทำงานของพนักงาน
5. สหภาพแรงงานควรลดบทบาทลง (decline of unions) หรือไม่ในโลกของการบริหารยุคใหม่

อ้างอิง

  1. รับทำวิจัย
  2. เทคนิคการทำวิจัย
  3. ระเบียบวิธีวิจัย
  4. ตัวอย่างการทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
  5. หลักจริยธรรมการวิจัย
  6. วิธีการหลีกเลี่ยงการขโมยความคิด
  7. ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม
  8. การทำวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์
  9. ระเบียบวิธีวิจัยด้านรัฐประศาสนศาสตร์
  10. เทคนิคการทำวิจัย
  11. ข้อมูลอนุกรมเวลา
  12. วิธีการรีวิวงานวิจัย
  13. เทคนิคการตีพิมพ์บทความ

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย รับวิเคราะห์SPSS รับวิเคราะห์แบบสอบถาม การสืบค้นงานวิจัย การสืบค้นข้อมูล รับสืบค้นงานวิจัย รับสืบค้นข้อมูลงานวิจัย

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ รับตีพิมพ์บทความ
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ รับตีพิมพ์บทความ