การทำวิทยานิพนธ์

ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์

ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบสำหรับการทำวิจัย วิจัยปริญญาโท วิจัยปริญญาเอก ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ รวมไปถึงการประเมินผลการวิจัย และเอกสารทางวิชาการต่างๆ  ที่พบค่อนข้างบ่อย มีดังนี้ 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยไม่ชัดเจน วิทยานิพนธ์โดยทั่วไป มักจะเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงบริบทของปัญหา หรือ สถานการณ์ / สภาพทั่วไป ของเรื่องที่ทำวิจัย  ซึ่งนักวิจัยหรือนักศึกษา ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำวิทยานิพนธ์ หรือมีการอ่านงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ในอดีตค่อนข้างน้อย จะไม่เห็นถึงความสำคัญของการให้เหตุผลหรือข้อมูลสนับสนุนว่า ทำไมถึงทำเรื่องที่ทำวิจัย โดยเฉพาะทำไมถึงทำในสถานที่หรือพื้นที่นั้นๆ เช่น การศึกษาแรงจูงใจใในการทำงานองบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา  แต่ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาไม่ได้กล่าวถึงสภาพปัญหา หรือ สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลฯ ดังกล่าว  นอกจากนี้  การเขียนบทนำ หรือ บทที่1 ควรนำเสนอตัวเลข สถิติ ทั้งในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ ชาร์ต ต่างๆ ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงของเรื่องที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ และควรมีการอ้างอิงถึงทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบางส่วน เพื่อฉายภาพให้เห็นถึงที่มาที่ไป เรียกว่าเป็นการฉายภาพใหญ่ แล้วจึงค่อยๆไล่ลำดับปัญหาและความสำคัญไปสู่ประเด็นที่แคบลงในย่อหน้าท้ายๆ ของที่มาและความสำคัญ 2. หัวข้อวิทยานิพนธ์คลุมเครือ ไม่ชัดเจน  การกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ จะต้องมีความชัดเจน สั้น …

ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ Read More »

การทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง

การทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง แนวคิดพื้นฐาน เทคนิค และไอเดียสำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง ในบทความนี้ ผู้เขียนจะไม่อธิบายถึงรายละเอียดของการทำวิทยานิพนธ์ ว่ามีองค์ประกอบสำคัญอะไร และอย่างไรบ้าง เนื่องจาก นักศึกษา และ นิสิต ที่เรียนมาถึงจุดที่จะต้องเริ่มทำวิทยานิพนธ์ จะต้องพอที่จะทราบเนื้อหาต่างๆ เหล่านี้มาพอสมควรแล้ว แต่ในบทความนี้ จะเป็นการนำเสนอเฉพาะ แก่น หรือ สาระสำคัญ สำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง  คำว่าถูกต้องในที่นี้คือ สามารถทำได้ตรงตามหลักวิชาการ เสร็จทันเวลา และเป็นงานวิทยานิพนธ์ที่จะสามารถผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ได้ หากมีการดำเนินการตามสิ่งต่างๆ เหล่านี้ 7 เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องมีสำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง 1. กำหนดชื่อเรื่อง : เป็นชื่อที่คุณสนใจ ถนัด และอยู่ในสาขาที่เรียน หากยังไม่ทราบ ให้ดูหัวข้อจาก วิทยานิพนธ์ที่รุ่นพี่ทำไว้แล้วให้ดูในบทที่ 5 ในส่วนของข้อเสนอแนะสำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ครั้งต่อไป จะทำให้ทราบชื่อเรื่องที่น่าสนใจ และกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยตามชื่อเรื่องนั่นเอง ส่วนประโยขน์ที่คาดว่าจะได้รับจะเป็นการเขียนว่า เมื่อวิจัยเรื่องนี้แล้ว วิทยานิพนธ์ให้ประโยชน์อะไร กับใคร และเอาไปใช้ได้อย่างไร 2. ศึกษาวิทยานิพนธ์เก่า ๆ ที่มีคนทำไว้แล้ว …

การทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง Read More »

การทำวิทยานิพนธ์ ป.โท

การทำวิทยานิพนธ์ ป.โท วิทยานิพนธ์ (Thesis หรือ Dissertation) หมายถึง เรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจาก การศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างละเอียดและรอบคอบ โดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามแบบแผนและลําดับ ขั้นตอนของวิธีการวิจัยนั้น ๆ ประกอบด้วยความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างมีเหตุผลและมี หลักเกณฑ์ โดยมุ่งให้ผู้ทําวิทยานิพนธ์รู้จักวิธีการศึกษาค้นคว้าอย่างมีเหตุผล มีระบบและและสามารถรายงานผลของการศึกษา ได้โดยใช้ภาษาที่ถูกต้องและรัดกุม เป็นการทําวิจัยเพื่อเสนอ รับปริญญา ในระดับมหาบัณฑิต (Master Degree)  กล่าวได้ว่า การทำวิทยานิพนธ์ ป.โท มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการก้าวขึ้นสู่คุณสมบัติของการเป็นมหาบัณฑิต หรือ ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท 5 กุญแจสู่ความสำเร็จ การทำวิทยานิพนธ์ ป.โท มีความครอบคลุม ครบถ้วนและทันสมัย มีจำนวนหรือปริมาณที่มากพอที่จะเป็นเหตุ เป็นผลในด้านความจำเป็นและความสำคัญที่จะต้องทำการวิจัยเรื่องนี้แต่ไม่จำเป็นอ้างอิง(recitation) ถึงทุกการศึกษาที่เคยทำมาก่อน เป็นตรรกะ มีความเป็นเหตุเป็นผลเรียบเรียงและสังเคราะห์เป็นลำดับดี การจัดหมวดหมู่และการเรียงลำดับเนื้อหาสาระเป็นเรื่องที่สำคัญ ปัญหาที่พบมากที่สุดก็คือมีการจัดหมวดหมู่ที่สับสน ข้ามกันไปข้ามกันมา มีการซ้ำซ้อนกันไม่กลมกลืนกัน ไม่เป็นไปตามลำดับที่ควรจะเป็น ระบุช่องว่างที่มีของความรู้ในปัจจุบันโดยพรรณนาข้อโต้แย้งอย่างเป็นธรรม ควรทบทวนนิพนธ์ต้นฉบับ และใช้แหล่งข้อมูลที่เป็นปฐมภูมิ พบว่าวรรณกรรมที่ใช้ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นต้นฉบับ มีจำนวนมากที่ใช้การอ้างอิงต่อมาหลายทอด ควรบรรยายในลักษณะ การสรุปวิเคราะห์ จะต้องแสดงความคิดเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์โดยนำมา เชื่อมโยงกับงานวิจัยที่ทำว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไร ไม่ควรนำรายงานเหล่านั้น มาย่อ หรือยกเอาบทคัดย่อ …

การทำวิทยานิพนธ์ ป.โท Read More »

คู่มือวิทยานิพนธ์

คู่มือทำวิทยานิพนธ์ หลักการ แนวคิดพื้นฐาน คู่มือวิทยานิพนธ์ คู่มือวิทยานิพนธ์   10 หัวข้อสำคัญของการทำวิทยานิพนธ์ ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์ หรือ งานวิจัย โดยทั่วไปจะมี เนื้อหาสำคัญ 10 หัวข้อ ดังต่อไปนี้ ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ / หัวข้อวิทยานิพนธ์ วัตถุประสงค์ของการศึกษา (objectives) ประโยชน์ของการศึกษา (Benefit of research) ขอบเขตของการศึกษา (Scope of research) นิยามศัพท์เฉพาะ หรือ นิยามศัพท์ปฏิบัติการ (Definition) กรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย (Conceptual Framework) การทบทวนวรรณกรรม หรือ ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) วิธีดำเนินการวิจัย (Research  Methodology) ผลการศึกษา (Result) สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลการศึกษา และข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษา ทั้งนี้  วิทยานิพนธ์ จะมีส่วนของแบบสอบถาม (Questionnaire) ในกรณีที่เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) …

คู่มือวิทยานิพนธ์ Read More »

การทำงานวิทยานิพนธ์

การทำงานวิทยานิพนธ์ หรือ วิจัยปริญญาโท  วิจัยระดับมหาบัณฑิต การสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือ มหาบัณฑิต จำเป็นต้องผ่าน การทำงานวิทยานิพนธ์ หรือ วิจัยระดับปริญญาโท  และอาจเรียกชื่อต่างกันไปตามโครงสร้างหลักสูตรที่คณะและสถาบันการศึกษานั้นๆ กำหนด เช่น ภาคนิพนธ์ สารนิพนธ์  โปรเจค  ค้นคว้าอิสระ (Independent Study : IS) ปัญหาพิเศษ หรือ  ปริญญานิพนธ์  เป็นต้น ความหมายการทำวิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ มีกระบวนการหรือรูปแบบการทำงานไม่แตกต่างจากการทำวิจัยทั่วไป  วิทยานิพนธ์ (Thesis หรือ Dissertation) หมายถึง เรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างละเอียดและรอบคอบ โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ตามแบบแผนและลําดับ  ขั้นตอน ของวิธีการวิจัยนั้น ๆ ประกอบด้วย ความคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะอย่างมีเหตุผลและมีหลักเกณฑ์ โดยมุ่งให้ผู้ทําวิทยานิพนธ์ รู้จักวิธีการศึกษาค้นคว้าอย่างมีเหตุผล มีระบบและสามารถรายงานผลของการศึกษาได้โดยใช้ภาษาที่ถูกต้องและรัดกุม เป็นการทําวิจัยเพื่อเสนอรับปริญญาในลำดับต่อไป เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ ขั้นตอนต่างๆ  สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ที่นำเสนอนี้  เป็นขั้นตอนสำคัญ ซึ่งหากผู้ทำวิทยานิพนธ์  มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน และมีระบบระเบียบ  …

การทำงานวิทยานิพนธ์ Read More »

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ แนวคิดพื้นฐาน เคล็ดลับ เทคนิคการทำวิทยาินพนธ์ การทำวิจัยปริญญาโท และผลงานวิชาการ ให้สำเร็จทันเวลา การทำเอกสารทางวิชาการมีอยู่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายประเภท  เป็นไปตามรูปแบบและลักษณะของการจัดแบ่งผลงานทางวิชาการของแต่ละแห่ง  แต่หากทำการแบ่งประเภทของการเขียนผลงานวิชาการ  สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์  รายงาน และ บทความเอกสารทางวิชาการ ซึ่งแต่ละประเภท จะมี เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์  เคล็ดลับการทำวิจัย ที่มีความเหมือนและแตกต่างกันบางประการ “การทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์  ผู้ทำงานจะต้องทราบว่าเรากำลังทำงานในสิ่งที่ผู้อ่านหรือผู้ตรวจงาน/กรรมการ มองว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์งานชิ้นนั้น” ประโยคนี้เป็นสิ่งที่สามารถระบุ “แก่นแท้” ของการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ที่ผู้ทำ จะต้องตระหนักและเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การทำวิทยานิพนธ์  การทำดุษฎีนิพนธ์ รวมไปถึง การทำสารนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ  ล้วนแล้วแต่ต้องยึดหลักการดังกล่าวนี้เช่นกัน  นั่นคือ  เราต้องแสดงด้วยการเขียนหรือทำงานวิจัยทั้งฉบับนั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจ เกี่ยวกับหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ นั้นๆ อย่างแท้จริง  ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ  และได้มาด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเท และกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง ตรงตามหลักวิชาการ …

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ Read More »