เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์
แนวคิดพื้นฐาน เคล็ดลับ เทคนิคการทำวิทยาินพนธ์ การทำวิจัยปริญญาโท และผลงานวิชาการ ให้สำเร็จทันเวลา
การทำเอกสารทางวิชาการมีอยู่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายประเภท เป็นไปตามรูปแบบและลักษณะของการจัดแบ่งผลงานทางวิชาการของแต่ละแห่ง แต่หากทำการแบ่งประเภทของการเขียนผลงานวิชาการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ รายงาน และ บทความเอกสารทางวิชาการ ซึ่งแต่ละประเภท จะมี เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ เคล็ดลับการทำวิจัย ที่มีความเหมือนและแตกต่างกันบางประการ
“การทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ผู้ทำงานจะต้องทราบว่าเรากำลังทำงานในสิ่งที่ผู้อ่านหรือผู้ตรวจงาน/กรรมการ มองว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์งานชิ้นนั้น”
ประโยคนี้เป็นสิ่งที่สามารถระบุ “แก่นแท้” ของการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ที่ผู้ทำ จะต้องตระหนักและเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การทำวิทยานิพนธ์ การทำดุษฎีนิพนธ์ รวมไปถึง การทำสารนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ ล้วนแล้วแต่ต้องยึดหลักการดังกล่าวนี้เช่นกัน นั่นคือ เราต้องแสดงด้วยการเขียนหรือทำงานวิจัยทั้งฉบับนั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจ เกี่ยวกับหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ นั้นๆ อย่างแท้จริง ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ และได้มาด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเท และกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง ตรงตามหลักวิชาการ
5 เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ เคล็ดลับการทำวิจัย : ขั้นตอนและองค์ประกอบของการทำงานวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ ให้ประสบความสำเร็จ
การทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ รวมไปถึง การทำงานวิจัยประเภทอื่นๆที่ใกล้เคียงกันให้ประสบความสำเร็จ มีคุณภาพและเสร็จทันกำหนดเวลา สามารถยึดหลักการต่างๆ ดังต่อไปนี้
- “เตรียมตัวเตรียมใจ” นักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก รวมทั้งผู้ที่ต้องทำวิจัย จะต้องทราบว่าการทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ คือการทำงานวิชาการที่มีรายละเอียด มีขั้นตอน และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องต่างๆ จำนวนมาก และเป็นงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ ความเป็นมืออาชีพ การทำงานวิจัย วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ที่ดีหรือประสบความสำเร็จ ไม่มีงานไหนที่ได้มาด้วยความบังเอิญ งานทุกชิ้นที่ผ่านการตรวจสอบของคณะกรรมการ จะต้องเป็นงานที่ดี มีคุณภาพ มีมาตรฐานตรงตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางด้านวิชาการ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้สรรพกำลัง ใช้สมอง สติ รวมทั้งเงินงบประมาณเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้
- “Thesis Statement” การทำงานวิจัย ทั้งในรูปแบบวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ไม่ว่าจะเป็นงานในศาสตร์สาขาไหนก็ตาม งานวิจัยนั้นๆ จะต้องสามารถถ่ายทอดให้ผู้อ่านทราบได้อย่างแน่ชัดว่า ว่า วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์นั้นๆ มีเนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับอะไรบ้าง นั่นคือ การทำโครงร่าง Thesis statement ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นไปถึงหัวใจของงาน รวมไปถึงการพิจารณาถึงการสื่อสารไปยังผู้อ่านวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ด้วย
- การเขียนโครงร่าง (Outline) เนื่องจากในการทำวิทยานิพนธ์หรือวิจัยทุกชิ้น จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ทั้งแนวคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ หลักการ ชุดความคิด งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Empirical Evidence) มากมายมหาศาล ทั้งที่อยู่ในระบบ Online และ Off-line ซึ่งนักวิจัยจะต้องทำการ Revise สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ในเบื้องต้นก่อน อาจจะยังไม่จำเป็นต้องได้ข้อมูลทั้งหมดครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ต้องเพียงพอสำหรับ เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นสำหรับการทำวิจัยในขั้นตอนที่ต้องลงรายละเอียดต่อไป
- การกำหนดกรอบระยะเวลา หรือ Timeline ที่ชัดเจน จะทำให้นักศึกษาและนักวิจัยมีแรงกระต้น มีความกระตือรือร้น ต่อสิ่งที่ได้กำหนดแผนการทำงานอย่างชัดเจน รวมไปถึงจะต้องหมั่นตรวจตราและพิจารณาความคืบหน้าของการทำงาน ในแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้องรัดกุม ซึ่งอาจมีความยืดหยุ่นของกรอบระยะเวลาได้บ้างพอสมควร ขึ้นอยู่กับกำหนดการส่งและการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ / ดุษฎีนิพนธ์ หรือของคณะกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
- การศึกษาและรวบรวมเอกสารทางวิชาการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ไม่ล้าสมัย ให้ได้มากที่สุด โดยนักศึกษาและนักวิจัยจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลหรือฐานข้อมูล (Database) ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างละเอียดและถ่องแท้ สามารถดาวโหลดและใช้งานได้จริง ซึ่งปัจจุบันมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์และงานวิจัยเผยแพร่และสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ
- ให้ความสำคัญกับการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับงานวิจัย วิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ของตนเอง เนี่องจากงานวิจัยจะเหมาะกับโปรแกรมวิเคราะห์แบบใดนั้น บางครั้งจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลที่มีความแตกต่างกัน เช่น ข้อมูลจากแบบสอบถาม ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา หรือ Time Series Data ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยในสายสังคมศาสตร์ มักจะใช้โปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูป เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ได้รับความนิยมอย่าง SPSS โปรแกรม STATA หรือ SAS และหากเป็นการวิเคราะห์ระดับสูงขึ้นไปอาจวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม amos หรือ lisrel ส่วนงานวิจัยทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ที่ส่วนใหญ่ใช้ข้อมูลประเภทอนุกรมเวลา ก็จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐมิติ เพราะใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับข้อมูลอนุกรมเวลา เช่น eview stata หรือ lindep เป็นต้น
- “ลงมือทำ” หลังจากเตรียมข้อมูลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ผู้ทำวิจัยลดความวิตกกังวลหรือไม่มีอาการ “จับจด” มากจนเกินไป เพราะได้เตรียมสิ่งต่าง ๆ ให้พร้อมสำหรับการทำวิจัยไว้เพียงพอแล้ว ผู้วิจัยจะสามารถทำงานในแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
- การเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดปัญหาติดขัดควรขอเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/งานวิจัย และรายงานความคืบหน้าของการทำงานเป็นระยะ ๆ ไม่ควรรอให้เกิดปัญหาจนทำให้งานหยุดชะงักหรือทิ้งระยะเวลาจนนานเกินไปแล้วจึงไปขอเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพราะนอกจากจะทำให้งานเสร็จช้า แล้วยังเกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำวิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย เพราะไม่ได้ทำการเข้าพบหรือส่งความคืบหน้าตามที่ควรจะเป็น
การเขียนผลงานวิชาการเหล่านี้ มีความคล้ายคลึงกัน และ แตกต่างกันในบางประเด็น เช่น งานวิทยานิพนธ์มีรูปแบบการนำเสนอผลงาน ที่ประกอบไปด้วยหัวข้อที่สำคัญ หลายหัวข้อ เริ่มตั้งแต่ การกำหนดหัวข้อ การเรียบเรียงความสำคัญ หรือ ที่มาของการทำงานวิทยานิพนธ์ การกำหนดเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ ขอบเขตของ การทำวิทยานิพนธ์ หรือขอบเขตของการทำวิจัย ข้อจำกัดของการศึกษา ซึ่งเนื้อหาในหัวข้อเหล่านี้จะปรากฎอยู่ในบทนำ หรือ บทแรก ของการทำวิทยานิพนธ์ การทำดุษฎีนิพนธ์ หรืองานวิจัยโดยทั่วไป ซึ่งบางเล่ม อาจมีการเขียนเพิ่มเติม ในส่วนของข้อจำกัดของการศึกษาไว้ด้วย ซึ่งมักจะแสดงในส่วนของบทนำนี้
ส่วนต่อมา คือ การเขียนส่วนของวรรณกรรม ซึ่งได้แก่ แนวคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ หลักการ รวมไปถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือ Related Research เพื่อนำไปสู่ การกำหนดตัวแปร ในกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย หรือ Conceptual Framework ต่อด้วยการเขียนในส่วนของ ระเบียบวิธีวิจัย หรือระเบียบวิธีการศึกษา หรือวิธีดำเนินการวิจัยซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน
ส่วนในเอกสารวิชาการอื่นๆ ที่ไม่จัดอยู่ในประเภทของ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ งานวิจัย การศึกษาอิสระ Independent Study หรือปัญหาพิเศษ แต่เป็นบทความวิชาการ หรือ บทความวิจัย จะมีส่วนประกอบของหัวข้อที่น้อยกว่าเอกสารวิชาการที่กล่าวไปแล้ว นอกจากนี้ การทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรืองานวิจัย จึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับ อย่างแพร่หลาย ว่าเป็นเอกสารทางวิชาการ ที่มีรูปแบบของการเขียน การเรียบเรียง และการนำเสนอที่ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานสากล เป็นระเบียบ ระบบ ละเอียด และ ครอบคลุมปัจจัยต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ อย่างถูกต้อง และ ครบถ้วนมากที่สุด
แนวทาง และ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ และการทำวิจัย ที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสถาบันการศึกษา แต่ละแห่ง ที่กำหนดไว้ นักศึกษาจะต้องยึดแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ และงานวิจัยที่สถาบันการศึกษาเหล่านั้นกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
ขณะเดียวกัน การเขียนโครงร่างวิจัย เพื่อการขอรับทุนทำวิจัย จะต้องยึดถือแนวทางของแหล่งทุน หรือ หน่วยงาน ที่เป็นผู้ให้ทุนเหล่านั้นเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ หรือ การทำวิจัย จำเป็นต้องอาศัยทักษะ เทคนิคที่ชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจง่าย เป็นพื้นฐานสำคัญ
แนวทางของ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ เคล็ดลับการทำวิจัย รวมไปถึง งานวิจัยประเภท ดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ ที่ถูกต้อง
การทำวิทยานิพนธ์และงานวิจัย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน สำคัญ คือ ส่วนที่เป็น “เนื้อหาสาระ” และ ส่วนที่เป็น “รูปแบบ” ส่วนที่เป็นสาระ เช่น เนื้อหาที่เกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิทยานิพนธ์หรือวิจัยตลอดจนกรอบแนวคิดของการทำวิจัยและข้อความต่างๆ ที่เป็นเนื้อหาสาระทางวิชาการ ที่ผู้ทำงานวิจัยได้เรียบเรียงนำมาเขียนไว้
ส่วนที่เป็นรูปแบบ เช่น การเขียนหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย การใส่หมายเลขหัวข้อ การใส่อ้างอิง การเว้นวรร๕ การกั้นหน้ากั้นหลัง รูปแบบตัวอักษร หรือ Font เหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญซึ่งกันและกันและไม่ควรให้ความสำคัญเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง
สาเหตุเพราะการเขียนวิทยานิพนธ์ หรือ การทำวิจัยนั้น ถือได้ว่า เป็นการนำเสนอผลงานทางวิชาการ ที่มีความเป็นระเบียบและเป็นระบบ ซึ่งหมายถึง การมีระเบียบในการเขียนทั้ง ในส่วนที่เป็นรูปแบบ และส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระด้วย
ทั้งนี้ ทั้ง 2 ส่วนนี้ ต้องมีลักษณะที่เป็นมาตรฐานสากล มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ได้รับการยอมรับทั้งของสถาบันการศึกษาแห่งนั้น หรือ นักวิชาการ และประชาชนภายนอกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นคือ ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หรือต้องเขียนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีความสอดคล้องกัน
เช่น หากเนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยชิ้นนั้น เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบของการจัดการภาครัฐ รูปแบบของการนำเสนอ ตลอดจน ตาราง ภาพ ก็จะต้องมีความสอดคล้องกัน เช่น ไม่เน้นสถิติ ตัวเลข รูปภาพ กราฟต่างๆ ที่เป็นคณิตศาสตร์จนเกินความจำเป็น
ในส่วนของขอบเขตการนําเสนอเทคนิคการเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ก็ได้มุ่งให้ความสําคัญกับ “รูปแบบ” การเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์อย่างเป็นระบบ และถือว่าเรื่องรูปแบบนี้มีความสําคัญไม่น้อยไปกว่า “เนื้อหาสาระ” ของงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
นอกจากนั้น สืบเนื่องจากเทคนิคการเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์มีให้เห็นน้อยมาก ในที่นี้จึงมุ่งนําเสนอเทคนิคการเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ไปพร้อมกับเน้นส่วนที่แตกต่างจากแนวทางของสถาบันการศึกษาหรือแหล่งทุนทั้งหลายเป็นส่วนใหญ่ โดยความแตกต่างน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ทําให้การเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ตรงประเด็น รัดกุม และสมบูรณ์มากขึ้น
การเขียนวิทยานิพนธ์ทุกสาขา เช่น ปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการรับปริญญา MBA การทำงานวิทยานิพนธ์ ที่ดีในการเตรียมการทำวิทยานิพนธ์ มักเกี่ยวข้องกับการเลือกหัวข้อที่สนใจ โดยให้ความสนใจกับแนวทางที่สถาบันการศึกษา หรือคณะของนักศึกษาให้ความสนใจอย่างละเอียด และติดต่อกับคณะกรรมการ และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ข สิ่งสำคัญคือต้องเผื่อเวลาสำหรับการวิจัยอย่างละเอียดและดูแลการสะกดไวยากรณ์เครื่องหมายวรรคตอนและการจัดรูปแบบ
สิ่งสำคัญ คือ ต้องแน่ใจว่า นักศึกษาสามารถเข้าใจแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ของตน อย่างสมบูรณ์ ก่อนที่จะเริ่มต้นใช้งาน อาจมีทางเลือกรูปแบบสำหรับวิทยานิพนธ์ของตัวนักศึกษาเอง ตัวอย่างเช่น นักศึกษาที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ อาจเลือกจัดทำแผนธุรกิจกรณีศึกษาหรือรายงาน การอ่านเอกสารหรือคู่มือแนวทางวิทยานิพนธ์อย่างรอบคอบ อาจช่วยให้แน่ใจว่า จะไม่มองข้ามข้อมูลที่สำคัญหรือแนวทางการตีความที่ผิด ซึ่งอาจรวมถึงกำหนดเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามรวมถึงข้อกำหนดด้านความยาวสไตล์และรูปแบบ
วิทยานิพนธ์ปริญญาโทบริหารธุรกิจจัดทำขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในหัวข้อที่คุณได้เรียนรู้ตลอดการเรียน การเลือกหัวข้ออาจเป็นหนึ่งในส่วนที่ยากที่สุดในการเตรียมวิทยานิพนธ์ โดยทั่วไปการเลือกหัวข้อที่คุณสนใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นความกระตือรือร้นของคุณจะปรากฏในงานของคุณ คุณอาจเลือกหัวข้อที่คุณสามารถค้นคว้า และ รวบรวมข้อมูลได้เพียงพอ เพื่อให้ตรงกับความยาว และความต้องการด้านเนื้อหาที่คณะ หรือ สถาบัน กำหนด ในกรณีส่วนใหญ่ จะต้องเลือกธุรกิจเพื่อวิเคราะห์และวิจัยว่าหัวข้อที่ ศึกษาในหลักสูตรที่ศึกษาเหล่านั้น มีผลกับเรื่องใด เป็นต้น
การติดต่อกับคณะกรรมการ วิทยานิพนธ์ และ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิจัย ย่อมมีประโยชน์ในขณะที่ นักศึกษาเตรียมทำวิทยานิพนธ์ของตน คณะกรรมการอาจสามารถให้คำแนะนำหรือชี้ให้เห็นถึงมุมที่ ยังไม่ได้พิจารณาดำเนินการ คณะกรรมการอาจมีคำถามสำหรับคุณเมื่อ เริ่มต้นและเขียนวิทยานิพนธ์ต่อไป อาจมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อทำงานด้วย ในขณะที่ เตรียมปริญญานิพนธ์ปริญญาโท หรือวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษา และ คณะกรรมการเหล่านั้น อาจเสนอคำแนะนำ และเคล็ดลับการแก้ไขเช่นกัน
การวิจัยเป็นส่วนสำคัญของการเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท โดยทั่วไป นักศึกษา จะต้องอ่านและศึกษาวิจัยจำนวนมาก ทั้งงานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์ และ ระดับปริญญาเอก หรือดุษฎีนิพนธ์ สำหรับใช้เป็นแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ของตน เป็นเรื่องที่จะต้องให้เวลาอย่างมาก สำหรับการบันทึกการวิจัยและวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ต่างๆ ที่ทำการศึกษา รวมไปถึง การตรวจสอบข้อมูลของคุณและการบันทึกการค้นพบ เนื่องจากวิทยานิพนธ์เป็นส่วนสำคัญของการได้รับปริญญามหาบัณฑิต การผัดวันประกันพรุ่ง หรือ การร่วมงานวิจัยของนักศึกษา อาจส่งผลเสียต่อความสามารถในการสำเร็จการศึกษา
สำหรับ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ เคล็ดลับการทำวิจัย ควรให้ความสำคัญกับหัวข้อการเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ประกอบด้วย 9 หัวข้อใหญ่ โดย ทุกหัวข้อแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ หลักการ และเทคนิค
1. ความสําคัญของเรื่องที่ศึกษา (significance of the study)
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา (objectives)
3. ขอบเขตของการศึกษา (scope of the study)
4. ข้อจํากัดของการศึกษา (limitation of the study)
5. การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (review of literature)
6. กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา (conceptual framework)
7. คําจํากัดความหรือนิยามศัพท์เฉพาะ (operational definition)
8. ระเบียบวิธีศึกษา (methodology)
9. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา (study benefits)
นอกจาก 9 หัวข้อ สำคัญดังกล่าว ควรให้ความสำคัญกับหัวข้อ เพิ่มเติมอีก 3 หัวข้อใหญ่ ได้แก่
10. บทคัดย่อ (abstract)
11. การเขียนแบบสอบถาม
12. อื่น ๆ (เพิ่มเติม)
ตัวอย่างดุษฎีนิพนธ์ พ.ศ.2563-2565
- รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี
- การจำลองผลตอบแทนและความผันผวนพหุตัวแปรของดัชนีสามกลุ่มสำคัญในตลาดหุ้นโลก
- ความรุนแรงในครอบครัวกับการต่อรองตัวตนและความทุกข์ทนของผู้หญิงในเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย
ตัวอย่าง วิทยานิพนธ์ดีเด่น ประจำปี 2564
- การวางแผนการปรับตัวโดยชุมชนเป็นฐานของชุมชนชายฝั่งต่อ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล: กรณีศึกษาตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
- รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี พ.ศ.2564
- ความรุนแรงในครอบครัวกับการต่อรองตัวตนและความทุกข์ทนของผู้หญิง ในเขตปกครองพิเศษอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss บทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย