การเขียนโครงร่างการวิจัย (Proposal)
การทำวิจัย (Research / Thesis) ถือได้ว่าเป็น “หัวใจ” ของการเรียนการศึกษาในระดับมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) และระดับดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) อาจกล่าวได้ว่า การทำวิจัยนี้เป็นแบบฝึกหัดที่สำคัญอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากการเรียนในรายวิชาต่างๆที่คณะนั้นๆกำหนด ซึ่งก่อนที่ผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาเป็นมหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิตได้นั้น จำเป็นต้องผ่านกระบวนการค้นหาความรู้ความจริงเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการหรือขั้นตอนที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่ง การเขียนโครงร่างการวิจัย เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุด
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดให้การวิจัยในรูปแบบที่เรียกว่าการค้นคว้าอิสระ (Independent Study หรือ IS) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ส่วนวิทยานิพนธ์ (Thesis) ในระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และในระดับปริญญาเอก ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
โดยบางมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย มีการกำหนดหลักสูตรระดับปริญญาเอก ต้องทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดยมีจำนวนถึง 48 หน่วยกิต การทำวิจัยจึงเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของนิสิตนักศึกษา โดยมีจำนวนมากที่ถึงขนาดถอดใจไปเพราะไม่สามารถทำวิจัยเหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จได้
โดยทั่วไป ความสำคัญของกระบวนการทำวิจัย เริ่มตั้งแต่การเลือกหัวข้อเป็นขั้นตอนแรกของการทำวิจัย เป็นขั้นตอนหนึ่งที่ยากพอสมควร ซึ่งหากผู้เรียนหรือผู้วิจัยได้หัวข้อวิจัยเร็ว นั่นย่อมเป็นอกาสที่จะสามารถสำเร็จการศึกษาได้เร็วมากยิ่งขึ้นด้วย โดยการเลือกหัวข้อวิจัยนั้นควรจะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา
ความสำคัญของกระบวนการทำวิจัย อาจเริ่มต้นด้วยคำถามง่าย ๆ ที่เราอยากรู้ ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “คำถามในการวิจัย” ซึ่งมักจะมีคำถามใหญ่ ๆ เพียงข้อเดียว เช่น กลยุทธ์การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะสมในช่วงวิกฤติโควิด-19เป็นอย่างไร หรือ ภาวะผู้นำของบุคคลในชุมชนมีความสัมพันธ์กับการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เพื่ออนุรักษ์ทรัพย์กรธรรมชาติป่าชายเลนอย่างไร ซึ่งผู้วิจัยสามารถตั้งเป็นคำถามย่อย ๆ ได้อีกหลายข้อ
สำหรับการเลือกหัวข้อในการทำวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Science) สามารถเริ่มต้นได้ 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้
- 1. เริ่มจากการปัญหาในที่ทำงาน/ปรากฏการณ์ในสังคมที่เราสนใจ แล้วพยายามหาแนวคิด/ทฤษฎีต่าง ๆ ในศาสตร์ที่เราศึกษาหรือเกี่ยวข้องมาอธิบายปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่เราสนใจนั้น
ข้อดี : ได้หัวข้อง่าย ชัดเจน รวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน
ข้อเสีย : รู้แคบ เพราะจะสนใจเฉพาะในเรื่องของตนเองเท่านั้น
- 2. เริ่มจากแนวคิด/ทฤษฎีในศาสตร์ที่เราศึกษาหรือที่เราสนใจ แล้วนำไปอธิบายปัญหา/ปรากฏการณ์ในสังคมที่เราสนใจ โดยเลือกพื้นที่ที่เราสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย
ข้อดี : รู้กว้าง ได้แนวคิด/ทฤษฎีในศาสตร์ต่าง ๆ ที่ศึกษามาเยอะ
ข้อเสีย : มักจะได้หัวข้อในการทำวิจัยช้า เพราะหาปัญหาในการวิจัยไม่ได้
การเลือกหัวข้อการวิจัยต้องเป็นเรื่องที่เรามีความสนใจจริง ๆ เป็นเรื่องแปลกใหม่ ไม่เคยมีผู้ใดทำการศึกษามาก่อน หากมีคนเคยศึกษามาก่อนแล้วแต่เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปก็สามารถทำการวิจัยใหม่ได้ เพื่อต้องการข้อหาคำตอบใหม่ นอกจากนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีคุณค่า รวมทั้งมีความสามารถที่จะทำการวิจัยได้หรือสามารถที่จะเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ ซึ่งภายหลังจากที่ได้หัวข้อการวิจัยและปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนแล้ว มีการทบทวนเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาพอสมควรแล้ว ก็สามารถเริ่มดำเนินการเขียน โครงร่างการวิจัย (Research Proposal) ซึ่งต่อไปจะเปลี่ยนไปเป็นบทที่ 1, 2 และ 3 ของวิทยานิพนธ์นั่นเอ
การเขียนโครงร่างการวิจัย ทางด้านสังคมศาสตร์ อาจประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ชื่อเรื่อง หรือ หัวข้อวิจัย : ต้องกระชับ ไม่สั้นหรือยาวเกินไป มีความชัดเจนว่าจะทำอะไร เป็นประโยคบอกเล่าที่สื่อให้เห็นว่า อะไรคือคำตอบที่ต้องการทราบ อาทิ
– ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลในจังหวัดระยอง
– การมีส่วนร่วมของชาวเขาบนดอยสุเทพต่อการป้องกันการเกิดไฟป่า
– การวิเคราะห์ความต้องการการนิเทศภายในสถานศึกษาของบุคลากรครูในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร
– ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเขตภูกระดึงอย่างยั่งยืน
– ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการผักผลไม้แปรรูปของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
– คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมปลาย พื้นที่กรุงเทพมหานคร และ
– ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อองค์กรนวัตกรรมของข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
ความสำคัญของปัญหา : เป็นการพรรณนาหรือบรรยายเพื่อชี้ให้เห็นว่าเรื่องที่จะทำการวิจัยนั้นๆมีความเป็นมาอย่างไร โดยทั่วไปมักจะเริ่มต้นจากการกล่าวถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในลักษณะกว้าง ๆ หรือการฉายภาพใหญ่ เช่น สถานการณ์ในอดีตและปัจจุบัน นโยบาย กฎหมาย หรือระเบียบต่าง ๆ หลังจากนั้นทำการบรรยายให้แคบลง และสามารถนำข้อมูลสถิติตัวเลขต่างๆมาแสดงในหัวข้อนี้ด้วยเพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญและประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในเรื่องนี้ด้วยการสนับสนุนข้อมูลจากเอกสาร แนวคิด/ทฤษฎี สถิติ ตัวเลข และผลงานวิจัยต่าง ๆ [อย่าลืม ! การอ้างอิงตามหลักวิชาการ มิเช่นนั้นจะถูกกล่าวหาเรื่อง… การจารกรรมทางวิชาการ (plagiarism)] และในย่อหน้าสุดท้ายให้ทำการสรุปให้ชัดเจนว่าเรื่องนี้มีปัญหาอะไร จนต้องทำการวิจัย สิ่งต้องการหาคำตอบคืออะไร และผลที่ได้จะมีประโยชน์อย่างไร
ข้อพึงระมัดระวังในการเขียนความสำคัญของปัญหา คือ การใช้คำให้สละสลวย การเชื่อมคำระหว่างประโยค และการเชื่อมโยงให้ต่อเนื่องกันในแต่ละย่อหน้า ซึ่งมีคำให้เลือกใช้มากมาย เช่น กับ แก่ แด่ ต่อ และที่ ซึ่ง อัน มิเช่นนั้นแล้ว อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ ในขณะเดียวกัน…
วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เป็นการบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยที่ต้องการจะศึกษาค้นคว้าหรือต้องการหาคำตอบ ซึ่งต้องมีความสอดคล้องกับชื่อเรื่องและคำถามในการวิจัย โดยมีประมาณ 2 – 3 ข้ออย่างไรก็ดี นักวิชาการด้านวิจัยและสถิติ ได้กล่าวไว้ว่าการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยอย่างแรกที่ใช้กัน คือ เพื่อบรรยาย ต่อมาก็ เพื่อสำรวจ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ทำการวิจัยได้ง่ายที่สุด สูงขึ้นมาอีกนิดก็คือ เพื่อเปรียบเทียบ สูงขึ้นมาอีกก็คือ เพื่ออธิบาย
สูงขึ้นไปอีกก็คือ เพื่อทำนายว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งก็คือ เพื่อสังเคราะห์ผลการวิจัยดีไปกว่านั้นก็คือ เพื่อประเมิน และวัตถุประสงค์อันสุดท้ายหรือขั้นสูงสุดที่นักวิจัยควรจะตั้งให้ถึงก็คือเพื่อพัฒนา
ขอบเขตการวิจัย : เป็นการระบุถึงขอบข่ายเรื่องที่จะศึกษา บุคคล องค์กรหรือสถานที่ และช่วง
ระยะเวลาในการศึกษา
ประโยชน์ที่ได้รับ : เป็นการบอกถึงความคาดหวังของผู้วิจัยที่ต้องการจากการวิจัยในครั้งนี้ อาจระบุในลักษณะของผลลัพธ์ (output) หรือผลกระทบ (outcome) ก็ได้ ซึ่งต้องมีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
นิยามศัพท์ : เป็นการจำกัดความคำใดคำหนึ่งที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อให้คนอื่นได้เข้าใจตรงกัน โดยปกติมักจะนิยามศัพท์ตามชื่อเรื่องซึ่งมีลักษณะเป็นคำสำคัญ (key word)
การเขียนโครงร่างการวิจัย : การตรวจเอกสาร
การตรวจเอกสาร : เป็นการบรรยายถึงแนวคิดหรือทฤษฎีต่าง ๆ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องในเชิงเนื้อหาที่จะศึกษา ผลการวิจัย หรือวิธีวิทยาการวิจัยก็ได้ โดยการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารหนังสือ ตำรา และผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ หลังจากนั้นทำการเขียนโดยการเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบโดยการอ้างอิงตามหลักวิชาการ มีการกำหนดหัวข้อใหญ่/หัวข้อย่อย และมีการสรุปความคิดเห็นเป็นของผู้วิจัยเองในตอนท้ายของแต่ละเรื่องด้วย
ในการเขียนเรียบเรียงนั้นความยากอยู่ที่การใช้คำหรือภาษาซึ่งจะต้องมีความสละสลวย มีการเชื่อมโยงระหว่างประโยคและย่อหน้า อย่างไรก็ดี การทบทวนเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์ในการทำกรอบความคิดในการวิจัย หากเป็นการวิจัยเชิงปริมาณจะต้องให้ความสำคัญมากเพราะจะนำไปใช้เป็นแนวทางการตั้งคำถามในแบบสอบถาม และสุดท้ายจะนำไปใช้ในการอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามแนวคิดหรือทฤษฎีที่ได้ทบทวนมาหรือไม่ อย่างไร
สมมติฐาน : เป็นการคาดคะเนผลที่จะได้จากการพิสูจน์ โดยการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่จะทดสอบหรือพิสูจน์ได้ คือ ตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย งานวิจัยในบางครั้งหรือบางประเภทไม่จำเป็นต้องตั้งสมมติฐานก็ได้ โดยเฉพาะการวิจัยเชิงคุณภาพ
กรอบแนวคิดในการวิจัย : เป็นการสรุปความคิดรวบยอดของการวิจัย โดยการทำเป็นแผนผังหรือแผนภาพซึ่งเชื่อมโยงกับแนวคิดและทฤษฎี หากไม่สามารถเขียนเป็นแผนผังหรือแผนภาพได้ก็สามารถเขียนในลักษณะของการบรรยายได้
วิธีการวิจัย : เป็นการกล่าวถึงวิธีการที่ใช้ในการวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ หากแบ่งตามลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูล อาจแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การจะเลือกใช้วิธีการวิจัยแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของเรื่องที่จะทำการวิจัย รวมทั้งความถนัดหรือความสนใจของผู้วิจัยด้วย ซึ่งในแต่ละแบบมีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังต่อไปนี้
- 1. การวิจัยเชิงปริมาณ : เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัว เพื่อตรวจสอบ
สมมติฐาน ลักษณะข้อมูลที่ได้จะเป็นตัวเลขหรือสถิติ สามารถแจงนับได้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้
แบบสอบถามเป็นหลัก ใช้ระยะเวลาไม่นาน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยคณิตศาสตร์หรือสถิติขั้นสูงวิธีการดำเนินการวิจัยจะกล่าวถึง…
1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ จำนวนประชากร วิธีการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่าง และจำนวนกลุ่มตัวอย่าง
2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยระบุถึงวิธีการสร้างเครื่องมือ การตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 – 5 คน เพื่อหาค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) และการนำเครื่องมือไปทดลองใช้ (try out) เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability)
3) การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ วิธีการส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง และจำนวนแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมา
4) การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การหาความสัมพันธ์ เป็นต้น รวมทั้งเกณฑ์ในการแปลผล
- 2. การวิจัยเชิงคุณภาพ : เป็นการแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาจากปรากฏการณ์ทางสังคมหรือสภาพแวดล้อมตามความจริงในทุกมิติ ให้ความสนใจกับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล เน้นการเข้าไปสัมผัสกับข้อมูลหรือปรากฏการณ์โดยตรง จึงต้องใช้เวลาในการศึกษาติดตามระยะยาว โดยไม่เน้นการใช้สถิติตัวเลข วิธีการดำเนินการวิจัยจะกล่าวถึง…
1) การเข้าพื้นที่ทำอย่างไร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant) คือใคร
2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ เทปบันทึกเสียง การจดบันทึกและตัวผู้วิจัย
3) การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมการสัมภาษณ์แบบทางการ การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม เป็นต้น
4) ระยะเวลาในการศึกษา จะพรรณนาความตั้งแต่การเริ่มเข้าพื้นที่จนกระทั่งถอนตัวออกมาทำ
อะไรกับใคร อย่างไร
5) การตรวจสอบข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมักใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation) โดยพิจารณาจากแหล่งข้อมูล สถานที่ และเวลา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมกับการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการตีความและการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) หลังจากนั้นทำการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive) เป็นต้น
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย : เป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาในการทำวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงส่งรายงานการวิจัย จำแนกรายละเอียดตามขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัย โดยให้จัดทำในลักษณะของตาราง
เอกสารและสิ่งอ้างอิง : เป็นการแสดงรายการเอกสารทั้งหมดที่ได้ระบุไว้ในเนื้อหาข้างต้น ซึ่งมีวิธีการเขียนตามคู่มือวิทยานิพนธ์ โดยเอกสารที่ใช้ในการอ้างอิงไม่ควรเก่ามากนัก ไม่ควรเกิน 5 – 10 ปี
ข้อพึงระวัง การเขียนโครงร่างการวิจัยและรายงานการวิจัย นักวิจัยจะต้องระมัดระวังเรื่องเล็ก ๆ น้อยๆ ซึ่งมักจะพบเห็นอยู่เป็นประจำ คือ
- 1. การตั้งค่าหน้ากระดาษ
- 2. การใช้ตัวอักษร (TH SarabunPSK / Angsana New)
- 3. การจัดข้อความ (ชิดซ้าย / กระจายแบบไทย)
- 4. การเว้นวรรค (1 เคาะ)
- 5. การตัดคำท้ายบรรทัด
- 6. คำเชื่อม (ระหว่างประโยค / ย่อหน้า)
- 7. คำผิด
- 8. การใช้เลขลำดับข้อ
- 9. การอ้างอิง (ในเนื้อหา + เอกสารและสิ่งอ้างอิงท้ายเล่ม)
อ้างอิง
1 / 2 / 3
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย