การเขียนสมมติฐานการวิจัย

สมมติฐานการวิจัย  การเขียนสมมติฐานการวิจัย การตั้งสมมติฐานการวิจัย

สมมติฐานการวิจัย   หรือ การเขียนสมมติฐานการวิจัเป็นการคาดคะเน คำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะต้องทดสอบว่าสมมติฐานนั้นเป็นจริงหรือไม่ การตั้งสมมติฐานจึงต้องตั้งในลักษณะที่สามารถทดสอบได้ สมมติฐานการวิจัยได้มาจากสภาพปัญหา ดังนั้นการเขียนสมมติฐานจึงต้องเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และต้องเขียนเป็นข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรให้ชัดเจน กล่าวคือ สมมติฐานการวิจัย จะมีการกำหนดตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องหรือยึดโยงกับตัวแปรต่างๆที่อยู่ หัวข้อวิจัย  ด้วย  ในกรณีที่หัวข้อวิจัยนั้นมีการระบุตัวแปรหรือคำหลัก (Keyword) ที่่ชัดเจนไว้ เช่น “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ (Organization Commitment) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะทำงานอยู่ในองค์กร”  ในที่นี้สมมติฐานจะเป็นการวัดความสัมพันธ์ระหว่าง “ความผูกพันต่อองค์การ” และ “ความต้งใจที่ะทำงานอยู่ในองค์กร” นั่นเอง

การตั้งสมมติฐานในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการคาดคะเนหรือคาดเดาคำตอบของปัญหาการวิจัย การคาดเดาคำตอบมีประโยชน์ในการกำหนดทิศทางการหาข้อมูล เพื่อตรวจสอบปัญหาการวิจัย เป็นการคาดเดา
คำตอบอย่างมีเหตุมีผล ผู้วิจัยควรตั้งสมมติฐานการวิจัยหลังจากที่ได้ศึกษาทฤษฎีเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง จนผู้วิจัยมีแนวความคิดเพียงพอที่จะคาดเดา โดย อาศัยเหตุผลเหล่านั้น ได้อย่างสมเหตุสมผล  กล่าวได้ว่า สมมติฐานในการวิจัยเป็นคำกล่าวที่ แสดงความถึงความสัมพันธ์ที่คาดการณ์หรือเดาระหว่างตัวแปรสองตัวขึ้นไป คำกล่าวนี้จะต้องแสดงทิศทางของความสัมพันธ์ว่าเป็นเช่นไรเช่นเป็นบวกหรือลบและเป็นคำกล่าวที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าเป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่

การเขียนสมมติฐานการวิจัย จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. มีตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัวและระบุตัวแปรให้ชัดเจน ทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
2. เป็นความสัมพันธ์ที่จะต้องบอกทิศทาง ความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
3. ต้องนeไปพิสูจน์ต่อไปในอนาคต

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์

ความสำคัญของสมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานจัดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากอย่างหนึ่งในการวิจัยเพราะเป็นแหล่งเชื่อมโยงระหว่างปัญหากับข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่จะตอบปัญหา สมมติฐานยังเป็นเสมือนแนวทางในการส ารวจปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับ
ปัญหาที่กำลังทำการสืบค้นอยู่นั้น ความสำคัญของสมมติฐานพอจะประมวลได้เป็นข้อๆ ดังนี้
1. การชี้ให้เห็นปัญหาชัดเจน ถ้าไม่มีสมมติฐานเป็นเครื่องชี้นำ ผู้วิจัยอาจเสียเวลาในการหาสาเหตุและการแก้ปัญหาโดยเป็นการกระทำที่ผิวเผิน แต่การตั้งสมมติฐานนั้น ผู้วิจัยจะต้องได้ตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนถึง
ข้อเท็จจริงและมโนทัศน์ที่คาดว่าจะสัมพันธ์กับปัญหา แล้วแยกแยะให้เห็นข้อสนเทศที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องในเชิงความสัมพันธ์ทั้งนี้ในกระบวนการสร้างสมมติฐาน การนิรนัยผลที่ตามมา และการนิยามคำที่ใช้นั้นจะช่วยทำให้เห็นประเด็นของปัญหาที่ท าการวิจัยชัดเจนขึ้น
2. สมมติฐานช่วยกำหนดความเกี่ยวข้องระหว่างข้อเท็จจริง ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ได้รับการเลือกเฟ้นอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสืบค้นความจริง การรวบรวมข้อมูล
จำนวนมากโดยปราศจากจุดหมายนั้น เป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์เพราะข้อมูลเหล่านั้น ที่มิได้เลือกเฟ้นจะให้เหตุผลที่เป็นไปได้หลายหลากแตกต่างกัน จนไม่สามารถจะสรุปเป็นข้อยุติที่ชัดเจนได้ ข้อเท็จจริงที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหานั้นจะไม่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแต่ถ้ามีสมมติฐานแล้ว จะท าให้ผู้วิจัยแน่ใจว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริง
3. อะไรมากน้อยแค่ไหนจึงจะเพียงพอที่จะทดสอบผลที่ตามมาได้ครบถ้วน สมมติฐานจึงช่วยในการกำหนดและรวบรวมสิ่งที่ต้องการเพื่อแก้ปัญหาวิจัยนั้น
4. สมมติฐานเป็นตัวชี้การออกแบบการวิจัย สมมติฐานไม่ใช่เพียงแต่ชี้แนวทางว่าควรพิจารณาข้อสนเทศใดแต่จะช่วยบอกวิธีที่จะรวบรวมข้อมูลด้วย สมมติฐานที่สร้างอย่างดีจะเสนอแนะว่ารูปแบบการวิจัยควร
จะเป็นเช่นไรจึงจะเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ต้องการทราบ สมมติฐานจะบอกแนวทางถึงกลุ่มตัวอย่างแบบสอบหรือเครื่องมือที่จ าเป็นต้องใช้ จะมีวิธีการอย่างไร วิธีการสถิติที่เหมาะสมคืออะไรตลอดจนจะรวบรวมข้อเท็จจริงในสถานการณ์ใดที่เหมาะสมกับปัญหา
5. สมมติฐานช่วยอธิบายปรากฏการณ์ การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่ใช่เป็นเพียงการรวบรวมข้อเท็จจริงและจัดพวกตามคุณสมบัติผิวเผินของข้อเท็จจริงเหล่านั้น เช่นไม่ใช่เพียงแต่จัดตารางบอกลักษณะของ
พฤติกรรมก้าวร้าว หรือเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยุวอาชญากรรมเท่านั้น แต่นักวิจัยจะต้องกำหนดว่าองค์ประกอบใดก่อให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนั้น โดยอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ที่น่าจะเป็นสาเหตุและผลอย่างเหมาะสม
สมมติฐานที่สร้างขึ้นจากข้อเท็จจริงจะช่วยให้ผู้วิจัยมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสำรวจและอธิบายสิ่งที่แฝงอยู่เบื้องหลังได้
6. สมมติฐานช่วยกำหนดขอบเขตของข้อยุติ ถ้าหากผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานในเชิงนิรนัยไว้ ก็เท่ากับได้วางขอบเขตในข้อยุติไว้แล้ว ผู้วิจัยอาจระบุเหตุผลว่าถ้า H1 จริงแล้วข้อเท็จจริงเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นจากการทดสอบ
กับข้อมูลจริง ข้อเท็จจริงนั้นเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ดังนั้นข้อยุติก็จะเป็นว่า ได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับการยืนยันสมมติฐานจึงให้ขอบเขตในการตีความข้อค้นพบอย่างเฉียบขาดและมีความหมายกระชับ ถ้าไม่มีสมมติฐานที่เป็นการทำนายล่วงหน้าข้อเท็จจริงก็ไม่มีโอกาสที่จะได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับการยืนยันแต่อย่างใด

แหล่งที่มาของสมมติฐาน
โดยที่สมมติฐานเป็นการคาดคะเนผลการวิจัยก่อนที่จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ฉะนั้น เพื่อให้ค าตอบหรือสมมติฐาน นั้นมีความน่าเชื่อถือหรือถูกต้องมากที่สุด ผู้วิจัยควรหาวิธีการและเหตุผลที่จะนำมาใช้
ประกอบหือสนับสนุนการกำหนดสมมติฐาน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจศึกษาจากแหล่งที่มาดังต่อไปนี้
1. ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้วิจัย เพราะในการทำวิจัยเรื่องหนึ่งเรื่องใด นั้น ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้หรือมีประสบการณ์อย่างดีในเรื่องที่จะทำ เพราะความรู้ความสามรถ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง (หรือพัฒนาขึ้นโดยการศึกษาหาความรู้ เช่น การอ่าน เป็นต้น) จะช่วยให้การกำหนดสมมติฐานเป็นไปในลักษณะที่ถูกต้อง หรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง
2. การใช้หลักเหตุผล สมมติฐานที่กำหนดขึ้นต้องสมเหตุสมผล ฉะนั้นผู้วิจัยจึงควรใช้หลักเหตุผลหรือความเป็นไปได้มาคิดวิเคราะห์หรือแยกแยะสิ่งต่างๆ เพื่อหาเหตุ และผล ว่ามีอะไรสำคัญ และอะไรที่มีความสัมพันธ์กัน จากการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลนี้เอง ที่นำมาซึ่งการสร้างสมมติฐานที่ดี
3. การใช้ทฤษฎี แนวคิด และหลักการ ทั้งนี้เพราะทฤษฎี แนวคิด และหลักการต่างๆ เป็นสิ่งที่ได้รับการยืนยันสนับสนุน และพิสูจน์มาแล้ว ฉะนั้น หากผู้วิจัยมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ และแนวคิดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยอย่างดีแล้ว จะทำให้ผู้วิจัยเกิดแนวคิดในการกำหนดสมมติฐานได้
4. การศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร บทความ รายงาน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งดังกล่าวนี้ จะให้ประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้วิจัย ในการที่จะนำไปใช้กำหนดสมมติฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการวิจัยในประเด็นปัญหาทำนองเดียวกัน เช่น ต้องการศึกษาเรื่องความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักประชาสงเคราะห์ท่านอาจไปค้นคว้าดูว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่น ตำแหน่งอื่นบ้างหรือไม่ถ้ามีก็ให้ดูต่อไปว่าผลการศึกษานั้นๆ พบว่าอย่างไร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร เป็นต้น
5. การศึกษาเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบความเป็นจริงต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือเปรียบเทียบกับความเป็นจริงที่ค้นพบในสาขาวิชาอื่นๆ ศาสตร์อื่นๆ อาจท าให้ผู้วิจัยสามารถนำไปก าหนดสมมติฐานได้ เพราะการวิจัยบางเรื่องต้องใช้วิธีการก าหนดสมมติฐานในเชิงเปรียบเทียบ
6. ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ ที่เชื่อถือกันมากๆ สามารถนำมากำหนดเป็นสมมติฐานในการวิจัยได้ เช่น ในการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ต้องพบกับปัญหามากมาย โดยที่ปัญหาหนึ่งพบว่า ผู้ชายไทยมีความเชื่อว่า การใช้ถุงยางอนามัยเปรียบเสมือนการอาบน้ าโดยไม่ถอดเสื้อผ้า ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดถอยลง หรือในการรณรงค์ให้บิดามารดาส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาใกล้บ้าน พบว่าค่านิยมเกี่ยวกับชื่อเสียงของสถานศึกษาท าให้การรณรงค์นี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าความเชื่อ ค่านิยมขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ อาจำมากำหนดเป็นสมมติฐานสำหรับนำไหพิสูจน์ และทดสอบต่อไป

 

อ้างอิง :

  1. เทคนิคการตั้งสมมติฐานการวิจัย
  2. แนวคิดการเขียนสมมติฐานการวิจัย

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย