การเขียนโครงร่างการวิจัย (Proposal)

การเขียนโครงร่างการวิจัย (Proposal) การทำวิจัย (Research / Thesis) ถือได้ว่าเป็น “หัวใจ” ของการเรียนการศึกษาในระดับมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) และระดับดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) อาจกล่าวได้ว่า การทำวิจัยนี้เป็นแบบฝึกหัดที่สำคัญอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากการเรียนในรายวิชาต่างๆที่คณะนั้นๆกำหนด    ซึ่งก่อนที่ผู้เรียนจะสำเร็จการศึกษาเป็นมหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิตได้นั้น   จำเป็นต้องผ่านกระบวนการค้นหาความรู้ความจริงเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการหรือขั้นตอนที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่ง การเขียนโครงร่างการวิจัย เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดให้การวิจัยในรูปแบบที่เรียกว่าการค้นคว้าอิสระ (Independent Study หรือ IS)  ซึ่งโดยทั่วไปจะมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต  ส่วนวิทยานิพนธ์ (Thesis) ในระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และในระดับปริญญาเอก ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยบางมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย มีการกำหนดหลักสูตรระดับปริญญาเอก ต้องทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก โดยมีจำนวนถึง 48 หน่วยกิต การทำวิจัยจึงเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ประการหนึ่งของนิสิตนักศึกษา โดยมีจำนวนมากที่ถึงขนาดถอดใจไปเพราะไม่สามารถทำวิจัยเหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จได้ โดยทั่วไป ความสำคัญของกระบวนการทำวิจัย เริ่มตั้งแต่การเลือกหัวข้อเป็นขั้นตอนแรกของการทำวิจัย  เป็นขั้นตอนหนึ่งที่ยากพอสมควร    ซึ่งหากผู้เรียนหรือผู้วิจัยได้หัวข้อวิจัยเร็ว นั่นย่อมเป็นอกาสที่จะสามารถสำเร็จการศึกษาได้เร็วมากยิ่งขึ้นด้วย   โดยการเลือกหัวข้อวิจัยนั้นควรจะต้องเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา …

การเขียนโครงร่างการวิจัย (Proposal) Read More »