การเลือกหัวข้อวิจัย หรือ หัวข้อวิทยานิพนธ์

หัวข้อวิจัย หรือ หัวข้อวิทยานิพนธ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอันดับแรกของการทำวิจัย เนื่องจากเป็นประตูบานแรกที่จะทำให้ผู้อ่านงานวิจัยรับรู้ว่า งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์เรื่องนั้นๆ เป็นเรื่องที่ทำเกี่ยวกับอะไร มีความน่าสนใจ หรือ มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้อ่านต้องการหรือไม่ อย่างไร?

หัวข้อวิจัย หรือหัวข้องานวิจัยประเภทอื่นๆ ทั้ง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ ปัญหาพิเศษ หรือรายงานวิจัย  ที่ดีหรือน่าสนใจ จะต้องเป็นหัวข้อวิจัยหรือหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่มีความชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน หรือมีคำหลัก (Keyword) อยู่ในชื่อหัวข้อวิจัยมากจนเกินไป

"<yoastmark

เนื้อหาในบทความนี้จะพูดถึงเทคนิคการเลือก หัวข้อวิจัย หรือ หัวข้อวิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับการเลือกหัวข้อวิจัยสำหรับการทำดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ ปัญหาพิเศษ ซึ่งมี 5 เทคนิคดังนี้

1) เลือกหัวข้อวิจัยจากความสนใจของผู้ทำวิจัย  แม้ว่าหัวข้อที่จะทําการวิจัยนั้นมีความสำคัญมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม หรือเป็นเรื่องที่กําลังอยู่ในกระแสหรือความสนใจของสาธารณชนมากน้อยเพียงใด ถ้าหากผู้ที่จะทําวิจัยไม่มีความสนใจในหัวข้อหรือเรื่องนั้นๆ   ผู้วิจัยก็ไม่ควรที่จะทําวิจัยหัวข้อนั้น เนื่องจากมีรายงานวิจัย สถิติ และข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา พบว่า งานวิจัยจํานวนมากไม่สามารถลุล่วงไปได้ด้วยดีด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ ผู้วิจัยไม่มีความสนใจอย่างแท้จริง ความสนใจในเรื่องที่จะทําวิจัยมีความสําคัญมาก เพราะเป็นแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ผู้วิจัย เกิดการติดตามค้นคว้า เพื่อให้โครงการวิจัยได้บรรลุเป้าหมาย
2) เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถของตนเอง การวิจัยเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในด้านต่างๆ
3) เลือกปัญหาที่มีคุณค่า ทั้งนี้ปัญหาที่ต้องการทําวิจัย ควรเป็นการเพิ่มพูนให้เป็นความรู้ใหม่และเสริมทฤษฎีอีกทั้งเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติงานต่อไป
4) คํานึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา งบประมาณและกาลํ ังแรงงานของตน
5) คํานึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้ออํานวยในการทําวิจัย เช่น ปัญหานั้นจะได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใด มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ หรือผู้วิจัยต้องสร้างขึ้นเอง ปัญหานั้นมีแหล่งค้นคว้าหรือไม่ อย่างไร เป็นต้น

ตัวอย่าง หัวข้อวิทยานิพนธ์

  1. การวางแผนการปรับตัวโดยชุมชนเป็นฐาน ของชุมชนชายฝั่งต่อ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล: กรณีศึกษาตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
  2. Effectiveness of Language-in-Talk Log Assignments in Improving English Conversation Performance and Autonomous Learning of Thai Undergraduates
  3. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน การปลูกชาอูหลงในเขตพื้นที่ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย;An Analysis of Costs and Profits of Hu Long Teas Planatation in Terd Thai Sub-District, Mae Fa Luang District, Chiang Rai Province
  4. กระบวนการทำงานเพื่อหารายได้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎ อุยลราชธานี : Process of income generating during study of Rajabhst university student
  5. บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี;Roles of Primary School Administrators in Promoting Classroom Action Research in School under the Office of Suphanburi Province
  6. การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี;A STUDY OF STATE AND PROBLEMS OF EDUCATION MANAGEMENT IN PRE-PRIMARY EDUCATION LEVEL OF SUBDISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATION IN SUPHANBURI PROVINCE
  7. ปัจจัยด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี;FACTORS OF SCHOOL ADMINISTRATORS’ LEADERSHIP AFFECTING JOB PERFORMANCE AC

อ้างอิง

1 / 2 / 3 / 4 / 5

6 / 7