การวิเคราะห์เส้นทาง Path Analysis
แนวคิด หลักการ การวิเคราะห์เส้นทาง Path Analysis
การวิเคราะห์เส้นทาง Path Analysis หรือ อาจถูกเรียกว่า “การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล” คือ รูปแบบของวิธีการทางสถิติ ที่ใช้ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ทางตรง และทางอ้อมระหว่างชุดของตัวแปร ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ในการวิจัยความพึงพอใจของพนักงานเพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรอิสระต่างๆ (Independent Variable) ที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม (Depedent Variable)
*ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดที่นักวิจัยมักจะมีข้อสงสัยคือ การวิเคราะห์เส้นทาง หรือ Path Analysis ต่างจาก SEM อย่างไร ตอบแบบสั้นและเข้าใจง่ายที่สุดคือ การวิเคราะห์เส้นทาง หรือ Path Analysis จะไม่มีตัวแปรแฝง นั่นเอง*
การวิเคราะห์เส้นทาง Path Analysis
การวิเคราะห์สาเหตุหรือการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) เป็นเทคนิคทางสถิติ ที่คิดค้น หรือ ค้นพบโดย ไรท์ (Sewall Wright) เป็นผู้คิดค้นขึ้น (Kerlinger and Pedhazur. 1973: 305) เทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation) การวิเคราะห์ตัวแปรร่วม (Commonality Analysis) หรือการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical Correlation) ล้วนแต่ชี้ถึงการมีความสัมพันธ์แบบธรรมดาระหว่างตัวแปรหรือกลุ่มตัวแปร
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เป็นการยืนยันหรือสนับสนุนถึงความสัมพันธ์ในรูปที่เป็นสาเหตุและผล นั่นคือ การยืนยันหรือสนับสนุนความสัมพันธ์ในรูปที่เป็นสาเหตุและผลก็คือ การยันยันว่า ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ตัวใด เป็นสาเหตุให้เกิดความแปรปรวนหรือแตกต่างในตัวแปรตาม (Dependent Variable) และสาเหตุดังกล่าวนั้นเป็นสาเหตุที่เกิดจากตัวแปรอิสระตัวนั้นๆ โดยตรง หรือเป็นสาเหตุโดยทางอ้อม กล่าวคือ ไปร่วมกับตัวแปรอื่นในการทำให้เกิดความแปรปรวนในตัวแปรตาม หรือเป็นไปทั้งสองทาง ความรู้ดังกล่าวนี้นับว่าเป็นความรู้ที่ลึกลงไปและช่วยให้เกิดความกระจ่างชัดได้มากขึ้น เพื่อที่จะทราบความรู้ในลักษณะดังกล่าว ไรท์ จึงคิดเทคนิคของการวิเคราะห์สาเหตุที่เรียกว่า Path Analysis ขึ้น
การวิเคราะห์เส้นทางหรือ Path Analysis คืออะไร
- เป็นเทคนิคการวิเคราะห์หลายตัวแปร
- เป็นส่วนขยายของการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ หรือ การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อน หรือ Multiple RegressionAnalysis (MRA)
- มีพื้นฐานจากการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ที่มีหลาย ๆสมการ มาทำการอธิบาย
- เป็นการวิเคราะห์เส้นทางของอิทธิพล จากตัวแปรต้น หรือ ตัวแปรอิสระ ที่มีผลต่อตัวแปรต้นอื่นๆ หรือตัวแปรตาม
- สามารถใช้ทดสอบอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม (Direct Effect and Indirect Effiect)
- สามารถใช้ในการทดสอบตัวแปรตั่นกลาง (Mediation)
- เป็นสมการโครงสร้าง (SEM) ที่ไม่มีตัวแปรแฝง หรือ Latent Variables
ลักษณะของการวิเคราะห์เส้นทาง Path Analysis
ในการวิเคราะห์ด้วย Path Analysis นั้น จะต้องมีโครงสร้าง หรือรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ในรูปที่เป็นสาเหตุและผลเสียก่อน โครงสร้างหรือรูปแบบดังกล่าวนี้เป็นโครงสร้างหรือรูปแบบตามสมมุติฐาน ซึ่งจะต้องสร้างจากทฤษฎี แนวความคิด และผลการวิจัยมีเหตุผลน่าเชื่อถือว่าตัวแปรอิสระนั้นๆ เป็นสาเหตุต่อตัวแปรตาม ตามโครงสร้างหรือรูปแบบนั้นจริง
จากนั้นก็นำมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมาวิเคราะห์ตามโครงสร้างหรือรูปแบบด้วยเทคนิคของ Path Analysis ผลจากการวิเคราะห์จะเป็นการทดสอบความเที่ยงตรง (Validity) ของโครงสร้างหรือรูปแบบนั้นๆ ได้หรือไม่ กรณีที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหรือรูปแบบแล้วจะสามารถสนับสนุนการอ้างสาเหตุตามโครงสร้างหรือรูปแบบที่ปรับปรุงแล้วนั้นได้หรือไม่ กรณีที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหรือรูปแบบแล้วจะสามารถสนับสนุนการอ้างสาเหตุตามโครงสร้างหรือรูปแบบที่ปรับปรุงแล้วนั้นได้หรือไม่
สรุปลักษณะของการวิเคราะห์สาเหตุได้ ดังนี้
- ไม่ใช่วิธีค้นหาสาเหตุ แต่เป็นเทคนิคที่ใช้อธิบายความเป็นสาเหตุในเชิงปริมาณ
- เป็นเทคนิคในการตรวจสอบทฤษฎีหรือรูปแบบตามสมมุติฐาน
- ก่อนวิเคราะห์สาเหตุ จะต้องมีโครงสร้างหรือรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระแต่ละตัวกับตัวแปรตาม ในรูปของสาเหตุและผล ซึ่งสร้างจากความรู้ ทฤษฎี ผลการวิจัย และแบบแผนของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ
แผนภาพแสดงโครงสร้างระบบสาเหตุ
ดังได้กล่าวแล้วว่าในการวิเคราะห์สาเหตุ จะต้องมีโครงสร้างหรือรูปแบบ ความสัมพันธ์ในรูปของสาเหตุและผลระหว่างตัวแปรอิสระแต่ละตัวกับตัวแปรตาม เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับ โครงสร้างดังกล่าว แผนภาพแสดงโครงสร้างสาเหตุของคอร์ลิงเยอร์ (Kerlingger) และเพดฮาเซอร์ (Pedhazur) ดังภาพประกอบ (Kerlinger; & Pedhazur. 1973: 308 ; อ้างอิงจาก บุญชม ศรีสะอาด. 2532) ซึ่งเป็นแผนภาพทีได้ดัดแปลง เล็กน้อยเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
5 วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการวิเคราะห์เส้นทาง
- การวิเคราะห์เส้นทางความสมพันธ์เชิงสาเหตุ ที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
- การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำ การเปลียนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย บรรยากาศส่งเสริมนวตักรรมของทมีงานพฤติกรรมการมุ่งเน้นตลาดและนวตักรรมการบริการของหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชน Path Analysis among Transformational Leadership Behaviors of Head Nurses, Team Climate Inventory, Market Orientation Behaviors,and Service Innovation of Nursing Units in Private Hospitals
- การวิเคราะห์ ปัจจัยทางตรง และ ปัจจัยทางอ้อม ที่ส่งผลต่อทักษะการสอน ของครูวิชาชีพ
- ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาสำหรับบุตรของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคกลาง : การวิเคราะห์เส้นทาง Causal relationships On Variables Influencing Parents schoolChoice For Lower Secondary Education Students In The CentralRegion : A Path Analysis
- ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อ ผลการดำเนินงาน ของสหกรณ์อิสลาม ในประเทศไทย
ตัวอย่างวิทยานิพนธ์ที่ใช้การวิเคราะห์เส้นทาง การวิเคราะห์อิทธิพลของเส้นทาง หรือ Path Analysis เหล่านี้ จะช่วยให้นักวิจัย นักศึกษาปริญญาโท และนักศึกษาปริญญาเอก ที่กำลังทำวิจัยที่ต้องใช้การวิเคราะห์เส้นทางเป็นเครื่องมือการวิจัย จะสามารถทำวิจัยได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
อ้างอิง
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย