การคิดหัวข้อวิจัย
แนวคิดพื้นฐาน การคิดหัวข้อวิจัย
ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอน การคิดหัวข้อวิจัย นักศึกษา หรือ ผู้ทำวิจัย ควรเริ่มจากการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของกระบวนการทำวิจัยเสียก่อน
การวิจัย หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าหาคําตอบในการแก้ไขปัญหา โดยวิธีการที่เป็นระบบเชื่อถือได้ตามหลักวิชาการ โดยมีลําดับขั้นตอนในการวิจัยที่เริ่มจากการกําหนดปัญหาศึกษาเอกสาร ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กําหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ตั้งสมมติฐาน ออกแบบการวิจัย สร้างเครื่องมือ เก็บรวบรวม
ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและเขียนรายงานการวิจัย
ประโยชน์ของการทําวิจัย
1. การวิจัยช่วยให้เกิดวิทยาการใหม่ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
2. การวิจัยสามารถใช้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและยุติธรรม
3. การวิจัยจะช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และสามารถใช้ทํานาย ปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากกว่าการคาดคะเนแบบสามัญสํานึก
4. การวิจัยสามารถช่วยในด้านการกําหนดนโยบาย การวางแผนงาน การตัดสินปัญหาหรือการ วินิจฉัยสั่งการของผู้บริหารให้เป็นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
5. การวิจัยสามารถตอบคําถามที่ยังคลุมเครือให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น
6. การวิจัยจะช่วยกระตุ้นความสนใจของนักวิชาการ ให้มีการใช้ผลการวิจัยและทํางาน ค้นคว้าวิจัยต่อไป
7. การวิจัยจะทําให้ทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งนํามาใช้เป็นประโยชน์เพื่อการปรับปรุงหรือพัฒนา บุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าดียิ่งขึ้น
8. การวิจัยทําให้มีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมให้ทราบข้อเท็จจริงได้กว้างขวาง และแจ่มชัดยิ่งขึ้น
9. การวิจัยจะช่วยกระตุ้นบุคคลให้มีเหตุผล รู้จักคิด และค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
10. การวิจัยช่วยให้มีเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอํานวย ความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์เป็นอย่างมาก
เทคนิค การคิดหัวข้องานวิจัย
1) หัวข้อวิจัยอาจเกิดจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว และปัญหาในการทํางาน
2) การอ่านเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตํารา วารสารวิจัยต่างๆ และปริญญา นิพนธ์ต่างๆ บทความต่างๆที่เกี่ยวข้อง รายงานการวิจัย เป็นต้น จากการอ่านทบทวนและการวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรมเหล่านี้ จะทําให้ทราบถึงช่องว่างหรือโอกาสที่จะต่อยอดทางความคิดได้ หรือเรื่องที่
ตนเองสนใจที่จะศึกษาหลังจากการได้อ่านผลงานวิจัยของคนอื่นแล้ว จะได้นําข้อค้นพบจาการทําวิจัยและ ข้อเสนอแนะที่ผู้วิจัยให้ไว้เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดความคิด
รวมทั้งยังเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะทําวิจัย ได้หรือจากการอ่านบทคัดย่อปริญญานิพนธ์/บทคัดย่อ เมื่ออ่านแล้วก็จะเกิดแนวความคิดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยได้และทราบว่ามีใครทํางานวิจัยอะไรบ้างและลดการทํางานวิจัยซ้ําซ้อนกับผู้อื่นด้วย จากแหล่งอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในสังคม ตามสภาพเวลาและเทคนิค วิทยาการต่างๆ หรือจากข้อโต้แย้ง หรือการวิพากษ์วิจัยของบุคคลที่อยู่ในวงการนั้น ซึ่งบางครั้งจากการประชุม สัมมนาหรือการอภิปรายต่างๆ ในเรื่องที่ตรงกับที่ผู้วิจัยสนใจ หรือจากการศึกษาปัญหาจากสถาบันหรือหน่วยงาน
ต่างๆ ที่มีการทําวิจัย หรือบุคคลที่กําลังทาวํ ิจัยอยู่ เป็นต้น
3) แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย นับเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถกําหนดที่มาของหัวข้องานวิจัย ได้โดยแหล่งทุนจะกําหนดหัวข้อกว้างๆ โดยจะแจ้งให้ทราบว่าขณะนี้แหล่งทุนนั้นๆ กําลังสนใจที่จะสนับสนุนการ วิจัยอะไรบ้าง และอาจให้หัวขอต้ ัวอย่างที่น่าสนใจ ผู้ที่สนใจจะรับทุนอาจดัดแปลงหัวข้อที่แหล่งทุนระบุไว้ให้เข้ากับ สภาพของสังคมไทย
หลักเกณฑ์ การคิดหัวข้อวิจัย
ผู้วิจัยควรทราบหลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อวิจัย เพื่อที่จะเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยที่ดี และเหมาะสม เกณฑ์ในการคัดเลือกมีดังต่อไปนี้
1) เลือกจากความสนใจของตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ว่าหัวข้อที่จะทําการวิจัยมีความสําคัญมาก น้อยเพียงใด และกําลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปหรือไม่ หากผู้ที่จะทําวิจัยไม่มีความสนใจในหัวข้อนั้นๆ ก็ไม่ ควรที่จะทําวิจัยหัวข้อนั้น เพราะงานวิจัยจํานวนมากไม่สามารถลุล่วงไปได้ด้วยดีด้วยเหตุผลเดียวคือ ผู้วิจัยไม่มี ความสนใจอย่างแท้จริง ความสนใจในเรื่องที่จะทําวิจัยมีความสําคัญมาก เพราะเป็นแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ผู้วิจัย เกิดการติดตามค้นคว้า เพื่อให้โครงการวิจัยได้บรรลุเป้าหมาย
2) เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถของตนเอง การวิจัยเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้
ความเข้าใจ และความสามารถในด้านต่างๆ
3) เลือกปัญหาที่มีคุณค่า ทั้งนี้ปัญหาที่ต้องการทําวิจัย ควรเป็นการเพิ่มพูนให้เป็นความรู้ ใหม่และเสริมทฤษฎีอีกทั้งเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติงานต่อไป
4) คํานึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา งบประมาณและกำลังแรงงานของตน
5) คํานึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้ออํานวยในการทําวิจัย เช่น ปัญหานั้นจะได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใด มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ หรือผู้วิจัยต้องสร้างขึ้นเอง ปัญหานั้นมีแหล่งค้นคว้าหรือไม่
เทคนิคที่สำคัญที่สุดของ การคิดหัวข้อวิจัย นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ควรระลึกว่า หัวข้อวิจัย ต้องทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ปัญหาหนึ่งที่ผู้วิจัยยื่นหัวข้อการวิจัยไม่ผ่าน ก็คือหัวข้อที่วิจัย ไม่ทันสมัย หรือ ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
นอกจากนี้ หัวข้อการวิจัย ต้องกำหนดกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการวิจัยที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรบางส่วนของผู้ที่เราต้องการศึกษา พื้นที่ในการวิจัย คือ ขอบเขตพื้นที่ที่เราต้องการศึกษา หัวข้อการวิจัยที่ดี จะต้องมีการระบุกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการวิจัยที่ชัดเจน เพื่อให้การวิจัยสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออพูดง่าย ๆ คือ สามารถทำได้จริง และนำมาใช้งานได้จริง เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของ คนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาครั้งนี้ มุ่งเน้นศึกษาคนวัยทำงาน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 22-60 ปี และศึกษาเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น) เป็นต้น
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย