การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์

การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์

การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์

คำถามที่สำคัญที่สุดคำถามหนึ่ง สำหรับ นักศึกษาปริญญาโท รวมถึงปริญญาเอก เป็นคำถามใหญ่ที่ทุกคนกังวล  หนึ่งในนั้นคือ คำถามเกี่ยวกับ การทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ว่า จะเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ยังไงดี ซึ่งการกำหนดระยะเวลาในการเรียนปริญญาโท ว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่ จะสั้นหรือยาวนานมันขึ้นอยู่กับการทำวิทยาพนธ์ แต่ละคนอาจจะใช้ระยะเวลาเรียนไม่เท่ากัน ถึงแม้ว่าจะเข้าเรียนรหัสเดียวกัน รุ่นเดียวกัน ก็ตามแต่ ฉะนั้นแล้ว ต้องเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้ดี ๆ ก่อนตัดสินใจทำงานวิจัยเรื่องนั้น ๆ  เทคนิค  การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ อย่างไร ให้จบไว ๆ มานำเสนอเพื่อเป็นไอเดียสำหรับน้อง ๆ นิสิต และนักศึกษา ซึ่งเป็นวิธีการและประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียนเองนะคะ ลองนำไปปรับใช้กัน

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์

3 เทคนิค สุดเจ๋ง การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์

1. ค้นหาสิ่งที่ตนเองชอบ

สิ่งแรกสำหรับการคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ คือ ลองนั่งคิดทบทวนว่าเรา สนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ลองค้นคว้าจากงานวิจัยของคนอื่นที่เคยทำมาแล้ว (literature review) มีส่วนไหนที่ยังบกพร่องหรือประเด็นไหนที่ยังไม่ได้ทำ เราก็สามารถเลือกหัวข้อนั้น ๆ มาทำเป็นวิทยานิพนธ์ของเราเอง โดยการต่อยอดแนวความคิดให้มีความสมบูรณ์ของเนื้อหามากยิ่งขึ้น

2. ค้นหาสิ่งที่ตนถนัด เชี่ยวชาญ

ประเด็นต่อมา คือ สามารถคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ จากสิ่งที่เรามีความถนัด มีความเชี่ยวชาญ หรือ เป็นสิ่งที่เคยทำมาแล้ว สามารถนำมาต่อยอดจากงานวิจัยเล่มเดิมที่เคยทำมาแล้วตอนเรียนปริญญาตรี อาจจะเป็นโปรเจคจบ หรือโปรเจคที่ทำตอนไปฝึกงาน หรือ สหกิจศึกษา ล้วนแต่ได้ทั้งนั้น วิธีนี้จะทำให้เราคิดหัวข้อและเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้เร็วขึ้น เนื่องจาก ได้ทำการทบทวนงานวิจัย และทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยมาแล้วบางส่วน

3. ปรึกษาอาจารย์

และแล้วเมื่อใช้เวลากับตัวเอง ด้วยการหางานวิจัยที่ชอบ และต่อยอดงานวิจัยที่ใช่จากงานเดิมแล้ว ก็ยังคิดไม่ออก ยังไม่โดนใจ ก็มาถึงวิธีการสุดท้ายของการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ ยังไงดี ก็คือ เข้าไปปรึกษาและคุยกับอาจารย์ เนื่องจาก อาจารย์บางท่านอาจจะมีหัวข้องานวิจัยให้กับเราแล้ว เพียงแต่เราต้องรู้จักตัวเอง และรู้จักความถนัดของตัวเอง ว่าถนัดและสามารถทำวิทยานิพนธ์เรื่องที่อาจารย์เสนอมาให้กับเราได้หรือเปล่า ลองนำเรื่องที่อาจารย์เสนอว่า มาคิดทบทวนแล้วก็ตัดสินใจว่าเราสามารถทำได้ไหม ถ้าเชื่อมั่นว่าตัวเองทำได้ ก็ตกลงทำงานวิจัยนั้น ๆ ได้เลย

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์

 

อยากให้เหล่าว่าที่มหาบัณฑิตทั้งหลาย ลองทำตาม เทคนิคการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ ฉบับนี้ดู แล้วจะทำให้การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่เป็นเรื่องยุ่งยาก ให้กลายเป็นเรื่องที่สุดแสนที่ง่ายดายกันดูนะคะ และท้ายที่สุดขออวยพรให้ทุก ๆ คน มีความสุขกับการทำวิทยานิพนธ์ งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จบการศึกษาไว ๆ  ไว้พบกันใหม่กันใหม่บทความต่อไป

หลักเกณฑ์ การคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์

ผู้วิจัยควรทราบหลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อวิจัย เพื่อที่จะเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยที่ดี และเหมาะสม เกณฑ์ในการคัดเลือกมีดังต่อไปนี้
1) เลือกจากความสนใจของตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ว่าหัวข้อที่จะทําการวิจัยมีความสําคัญมาก น้อยเพียงใด และกําลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปหรือไม่ หากผู้ที่จะทําวิจัยไม่มีความสนใจในหัวข้อนั้นๆ ก็ไม่ ควรที่จะทําวิจัยหัวข้อนั้น เพราะงานวิจัยจํานวนมากไม่สามารถลุล่วงไปได้ด้วยดีด้วยเหตุผลเดียวคือ ผู้วิจัยไม่มี ความสนใจอย่างแท้จริง ความสนใจในเรื่องที่จะทําวิจัยมีความสําคัญมาก เพราะเป็นแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ผู้วิจัย เกิดการติดตามค้นคว้า เพื่อให้โครงการวิจัยได้บรรลุเป้าหมาย

2) เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถของตนเอง การวิจัยเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้
ความเข้าใจ และความสามารถในด้านต่างๆ
3) เลือกปัญหาที่มีคุณค่า ทั้งนี้ปัญหาที่ต้องการทําวิจัย ควรเป็นการเพิ่มพูนให้เป็นความรู้ ใหม่และเสริมทฤษฎีอีกทั้งเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติงานต่อไป
4) คํานึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา งบประมาณและกำลังแรงงานของตน
5) คํานึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้ออํานวยในการทําวิจัย เช่น ปัญหานั้นจะได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใด มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ หรือผู้วิจัยต้องสร้างขึ้นเอง ปัญหานั้นมีแหล่งค้นคว้าหรือไม่

เทคนิคที่สำคัญที่สุดของ การคิดหัวข้อวิจัย นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ควรระลึกว่า หัวข้อวิจัย ต้องทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ปัญหาหนึ่งที่ผู้วิจัยยื่นหัวข้อการวิจัยไม่ผ่าน ก็คือหัวข้อที่วิจัย ไม่ทันสมัย หรือ ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

นอกจากนี้ หัวข้อการวิจัย ต้องกำหนดกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการวิจัยที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ  กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรบางส่วนของผู้ที่เราต้องการศึกษา พื้นที่ในการวิจัย คือ ขอบเขตพื้นที่ที่เราต้องการศึกษา หัวข้อการวิจัยที่ดี จะต้องมีการระบุกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการวิจัยที่ชัดเจน เพื่อให้การวิจัยสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออพูดง่าย ๆ คือ สามารถทำได้จริง และนำมาใช้งานได้จริง เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของ คนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาครั้งนี้ มุ่งเน้นศึกษาคนวัยทำงาน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 22-60 ปี และศึกษาเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น) เป็นต้น

 

อ้างอิง

  1. เทคนิควิทยานิพนธ์
  2. รับทำวิทยานิพนธ์
  3. หัวข้อวิจัยการเงิน

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย