การทำสารนิพนธ์

การทำสารนิพนธ์

การทำสารนิพนธ์ โดยทั่วไป การทำสารนิพนธ์ หรือ การทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ (IS) คือ การศึกษาวิจัยอิสระโดยการค้นคว้าทำความเข้าใจกับความรู้นั้น ๆ แบบไม่จำกัดรูปแบบของการศึกษา กลั่นกรองความรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว นำมาสรุปใหม่ให้อยู่ในหัวข้อเรื่องเดียวกัน แต่มีเนื้อหาต่างกัน และ ศึกษาได้ง่ายกว่า ส่วนประกอบสำคัญ การทำสารนิพนธ์ สารนิพนธ์อาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนประกอบเนื้อ เรื่องและส่วนประกอบตอนท้าย ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนนี้ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงลำดับตั้งแต่ปกไปจนถึงส่วนเนื้อเรื่อง โดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ปกหรือปกนอก (Cover) นิสิตเป็นผู้เย็บเล่มและทำปกให้หลังจากที่สารนิพนธ์ ได้รับการประเมินจากอาจารย์นิเทศก์แล้วโดยให้ใส่ปกอ่อนด้วยวิธีไสสันทากาวบนแผ่นปกพิมพ์ข้อความต่าง ๆ ดังนี้ ชื่อสารนิพนธ์(หากยาวกว่าหนึ่ง บรรทัด พิมพ์ให้เป็นรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ) ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้าไม่ต้องมีค าน าหน้าชื่อ ยกเว้นกรณีมีบรรดาศักดิ์ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ราชทินนาม และไม่มีวุฒิทางการศึกษาใด ๆ ต่อท้าย ระบุว่าสารนิพนธ์/ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร…..สาขาวิชา….. ชื่อสถาบัน เดือน ปี ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าเสนอสารนิพนธ์ 2. […]

การทำสารนิพนธ์ Read More »

วิทยานิพนธ์ และ ค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์/ภาคนิพนธ์ เลือกอะไรดี

ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์  มีนักศึกษาจำนวนมาก ที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการศึกษาในระดับปริญญาโท เกี่ยวกับการเลือกเรียนระหว่างแผน ก กับ แผน ข  ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับ การทำ วิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระ ซึ่งไม่เข้าใจว่าการเรียนทั้งสองอย่างนี้  มีความแตกต่างกันอย่างไร และแผนไหนจะตรงกับวัตถุประสงค์ที่นักศึกษาต้องการ หรือเหมาะสมกับตัวเองมากกว่า ดังนั้น บทความนี้เราขอนำความประมวลความรู้และความคิดเห็น จากหลายๆ แหล่ง เพื่อให้ผู้สนใจได้อ่านและพิจารณาถึงความเหมือน และความแตกต่างของการเรียนในทั้งสองหลักสูตรนี้  เพื่อใช้เป็นเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น สำหรับการวางแผนการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือ ระดับมหาบัณฑิต ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ เป็นอย่างไร วิทยานิพนธ์และค้นคว้าอิสระ  แผน ก. (วิทยานิพนธ์) และ แผน ข (ค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์/ภาคนิพนธ์/ปัญหาพิเศษ) ความแตกต่าง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ สำหรับการเรียน หลักสูตรในแผน ก เป็นการเรียนการศึกษาสำหรับหลักสูตรที่มี การทำงานวิจัย เป็น “วิทยานิพนธ์” (12 หน่วยกิต) โดยมุ่งเน้นทักษะของการทำวิจัยเต็มรูปแบบ  ซึ่งเหมาะสำหรับนักศึกษาที่มีความประสงค์ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่   รวมถึงเพื่อเตรียมตัวสำหรับการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นหรือในระดับดุษฎีบัณฑิต หรือ

วิทยานิพนธ์ และ ค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์/ภาคนิพนธ์ เลือกอะไรดี Read More »

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ แนวคิดพื้นฐาน เคล็ดลับ เทคนิคการทำวิทยาินพนธ์ การทำวิจัยปริญญาโท และผลงานวิชาการ ให้สำเร็จทันเวลา การทำเอกสารทางวิชาการมีอยู่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายประเภท  เป็นไปตามรูปแบบและลักษณะของการจัดแบ่งผลงานทางวิชาการของแต่ละแห่ง  แต่หากทำการแบ่งประเภทของการเขียนผลงานวิชาการ  สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์  รายงาน และ บทความเอกสารทางวิชาการ ซึ่งแต่ละประเภท จะมี เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์  เคล็ดลับการทำวิจัย ที่มีความเหมือนและแตกต่างกันบางประการ “การทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์  ผู้ทำงานจะต้องทราบว่าเรากำลังทำงานในสิ่งที่ผู้อ่านหรือผู้ตรวจงาน/กรรมการ มองว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์งานชิ้นนั้น” ประโยคนี้เป็นสิ่งที่สามารถระบุ “แก่นแท้” ของการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ที่ผู้ทำ จะต้องตระหนักและเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การทำวิทยานิพนธ์  การทำดุษฎีนิพนธ์ รวมไปถึง การทำสารนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ  ล้วนแล้วแต่ต้องยึดหลักการดังกล่าวนี้เช่นกัน  นั่นคือ  เราต้องแสดงด้วยการเขียนหรือทำงานวิจัยทั้งฉบับนั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจ เกี่ยวกับหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ นั้นๆ อย่างแท้จริง  ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ  และได้มาด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเท และกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง ตรงตามหลักวิชาการ

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ Read More »

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบในการทำวิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์  และวิธีการแก้ไข จากการทำงานเป็นผู้ช่วยทำวิจัย ผู้ช่วยและที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ และ วิจัยปริญญาเอก หรือดุษฎีนิพนธ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ติดต่อให้เป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์มักจะเป็นประเด็น พบว่า การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์  เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์   พอสรุปได้ดังนี้ 1. การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ : หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์    1.1. อ่านชื่อเรื่องแล้วไม่เข้าใจว่านักศึกษากำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัยไม่ชัดเจน คลุมเครือและไม่ระบุตัวแปรหรือคำหลักที่สำคัญในหัวข้อวิจัย  เช่น “ องค์กรนวัตกรรมของบริษัท……………………………………………………………………………….” หัวข้อวิจัยที่ยกตัวอย่างนี้ ในข้อ ก.  ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนว่าผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไรขององค์กรนวัติกรรมของบริษัท เพราะไม่มีการระบุลักษณะหรือตัวแปรอยู่ด้านหน้าคำนาม ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าจะวัดค่าอย่างไร กรณีการวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงสำรวจ การตั้งชื่อของหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัย นักวิจัยจะต้องระบุตัวแปรไว้หน้าคำนามเสมอ เช่น การสร้างรูปแบบองค์กรนวัตกรรมของบริษัท ……………………………………………………………………. สำหรับการวิจัยเชิงทดลองหรือการพัฒนา การกำหนดหัวข้อวิจัยชื่อเรื่องต้องระบุสิ่งที่จะทดลองหรือสิ่งที่จะพัฒนา  โดยมีการกำหนดไว้ในชื่อเรื่อง เช่น “การสร้างชุดกิจกรรมการสอนออนไลน์สำหรับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน…………………………………………………………………………………….” หรือ “การสร้างชุดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชี บริษัท  …………………………………………………………………………………….” สำหรับงานวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดให้มีตัวแปรหลายตัวที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร   ผู้วิจัยจะต้องหาคำหรือข้อความที่เป็นตัวแทนของตัวแปรเหล่านั้น ไม่ใช่การระบุชื่อตัวแปรทุกตัวในหัวข้อวิจัยหรือชื่อเรื่อง  ซึ่งเป็นการทำให้ชื่อเรื่องยาวหลายบรรทัด

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข Read More »