เทคนิคการทำดุษฎีนิพนธ์

การทำดุษฎีนิพนธ์

การทำดุษฎีนิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิจัยระดับปริญญาเอก (Dissertation) เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่สำคัญที่สุดของการบรรลุเป้าหมายการเป็นดุษฎีบัณฑิต หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก  ซึ่งปัจจุบันเป็นการศึกษาในระดับที่สูงที่สุดในระดับบัณฑิตศึกษา  การทำดุษฎีนิพนธ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่บัณฑิตระดับปริญญาเอกทุกคนต้องให้ความสำคัญ โดยทั่วไปแล้วกระบวนการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์จะมีความคล้ายคลึงกัน ความแตกต่างที่สำคัญจะอยู่ที่ขอบเขตและความซับซ้อนของงานเท่านั้น (Glatthorn & Joyner 2005) แนวคิดนี้เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาแต่ในอังกฤษมักจะใช้คำว่า “Thesis”เหมือนกันทั้งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับในภาษาไทยในปัจจุบันนี้วิทยานิพนธ์ใช้กับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทส่วนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกนั้นใช้คำว่า  “ดุษฎีนิพนธ์” ในที่นี้จะใช้คำว่า  “ดุษฎีนิพนธ์”  หรือ  ”วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก”โดยถือว่ามีความหมายเดียวกัน บทพิสูจน์ของการเรียนในระดับปริญญาเอกที่สำคัญที่สุดคือคือดุษฎีนิพนธ์ (Phillips & Pugh 1994)  กล่าวได้ว่า การทำเขียนดุษฎีนิพนธ์เป็นหัวใจของการเรียนปริญญาเอก และเนื่องจากการเรียนปริญญาเอกเป็นการผลิตนักวิจัยมืออาชีพ ซึ่งได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกชุมชนวิชาการระดับโลก (Phillips & Pugh 1994) ดุษฎีนิพนธ์จึงต้องได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของนานาชาติด้วย เพื่อให้เป็นที่แน่ใจได้ว่ามหาวิทยาลัยได้ทำการผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของชุมชนวิชาการระหว่างประเทศ โดยปกติทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพดุษฎีนิพนธ์เอาไว้เป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบตั้งแต่ต้น และถือปฏิบัติในการทำดุษฎีนิพนธ์ของตน และมอบให้คณะกรรมการหรือผู้ทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกใช้เป็นแนวทางในการตรวจพิจารณาตัดสินขั้นสุดท้ายในการสอบดุษฎีนิพนธ์ กล่าวได้ว่า ดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิจัยปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต (Dissertation)  ผู้วิจัยได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีวิธีการกระทำที่ถูกต้องและลึกซึ้งตามหลักวิชาการ และมีข้อมูลซึ่งบ่งชัดเจนถึงสิ่งที่ได้ ค้นพบใหม่ […]

การทำดุษฎีนิพนธ์ Read More »

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ แนวคิดพื้นฐาน เคล็ดลับ เทคนิคการทำวิทยาินพนธ์ การทำวิจัยปริญญาโท และผลงานวิชาการ ให้สำเร็จทันเวลา การทำเอกสารทางวิชาการมีอยู่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายประเภท  เป็นไปตามรูปแบบและลักษณะของการจัดแบ่งผลงานทางวิชาการของแต่ละแห่ง  แต่หากทำการแบ่งประเภทของการเขียนผลงานวิชาการ  สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์  รายงาน และ บทความเอกสารทางวิชาการ ซึ่งแต่ละประเภท จะมี เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์  เคล็ดลับการทำวิจัย ที่มีความเหมือนและแตกต่างกันบางประการ “การทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์  ผู้ทำงานจะต้องทราบว่าเรากำลังทำงานในสิ่งที่ผู้อ่านหรือผู้ตรวจงาน/กรรมการ มองว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์งานชิ้นนั้น” ประโยคนี้เป็นสิ่งที่สามารถระบุ “แก่นแท้” ของการทำวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ที่ผู้ทำ จะต้องตระหนักและเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การทำวิทยานิพนธ์  การทำดุษฎีนิพนธ์ รวมไปถึง การทำสารนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ  ล้วนแล้วแต่ต้องยึดหลักการดังกล่าวนี้เช่นกัน  นั่นคือ  เราต้องแสดงด้วยการเขียนหรือทำงานวิจัยทั้งฉบับนั้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเข้าใจ เกี่ยวกับหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ นั้นๆ อย่างแท้จริง  ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการ  และได้มาด้วยความเพียรพยายาม ทุ่มเท และกระบวนการทำงานที่ถูกต้อง ตรงตามหลักวิชาการ

เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ Read More »

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาที่พบในการทำวิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์  และวิธีการแก้ไข จากการทำงานเป็นผู้ช่วยทำวิจัย ผู้ช่วยและที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ และ วิจัยปริญญาเอก หรือดุษฎีนิพนธ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ติดต่อให้เป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์มักจะเป็นประเด็น พบว่า การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์  เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์   พอสรุปได้ดังนี้ 1. การทำวิทยานิพนธ์  ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ : หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์    1.1. อ่านชื่อเรื่องแล้วไม่เข้าใจว่านักศึกษากำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัยไม่ชัดเจน คลุมเครือและไม่ระบุตัวแปรหรือคำหลักที่สำคัญในหัวข้อวิจัย  เช่น “ องค์กรนวัตกรรมของบริษัท……………………………………………………………………………….” หัวข้อวิจัยที่ยกตัวอย่างนี้ ในข้อ ก.  ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนว่าผู้วิจัยต้องการจะศึกษาอะไรขององค์กรนวัติกรรมของบริษัท เพราะไม่มีการระบุลักษณะหรือตัวแปรอยู่ด้านหน้าคำนาม ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าจะวัดค่าอย่างไร กรณีการวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงสำรวจ การตั้งชื่อของหัวข้อหรือชื่อเรื่องวิจัย นักวิจัยจะต้องระบุตัวแปรไว้หน้าคำนามเสมอ เช่น การสร้างรูปแบบองค์กรนวัตกรรมของบริษัท ……………………………………………………………………. สำหรับการวิจัยเชิงทดลองหรือการพัฒนา การกำหนดหัวข้อวิจัยชื่อเรื่องต้องระบุสิ่งที่จะทดลองหรือสิ่งที่จะพัฒนา  โดยมีการกำหนดไว้ในชื่อเรื่อง เช่น “การสร้างชุดกิจกรรมการสอนออนไลน์สำหรับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน…………………………………………………………………………………….” หรือ “การสร้างชุดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชี บริษัท  …………………………………………………………………………………….” สำหรับงานวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดให้มีตัวแปรหลายตัวที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร   ผู้วิจัยจะต้องหาคำหรือข้อความที่เป็นตัวแทนของตัวแปรเหล่านั้น ไม่ใช่การระบุชื่อตัวแปรทุกตัวในหัวข้อวิจัยหรือชื่อเรื่อง  ซึ่งเป็นการทำให้ชื่อเรื่องยาวหลายบรรทัด

การทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ แนวทางการแก้ไข Read More »

เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก การทำดุษฎีนิพนธ์ การทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก

การทำวิจัยปริญญาเอก  วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก การทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก จะแตกต่างกับวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต หรือ ปริญญาโท ในด้าน “การสร้างองค์ความรู้” รวมทั้ง”ความลึก”ของเนื้อหา ตั้งแต่การตั้งคำถามการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม ตลอดจน กรอบการวิจัยและวิธีการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบจำลองหรือสถิติที่ใช้ ไปจนถึงเนื้อหาของงานซึ่งต้องมีความชัดเจน ลึกซึ้ง มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ   กล่าวได้ว่า การทำวิจัยปริญญาเอก หรือ ดุษฎีนิพนธ์ ไม่สามารถสร้าง “สูตรสำเร็จ” สำหรับการทำวิจัยปริญญาเอก  หรือกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเชี่ยวชาญหรือผ่านประสบการณ์ทำงานประเภทนี้มากแค่ไหน จะสามารถทำได้เพียง “การให้คำแนะนำ” และ”ตัวอย่างวิทยานิพนธ์” ในแนวทางเดียวกับที่นักวิจัยสนใจ    ซึ่งอาจช่วยให้เห็นแนวทาง หรือโครงสร้างของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่จะทำ แต่ไมสามารถยึดติดกับวิทยานิพนธ์เล่มใดเล่มหนึ่งมากเกินไป วิธีการที่ถูกต้องคือ ควรค้นคว้าให้มากเข้าไว้ อ่านให้มาก คิดให้มาก  เพื่อให้ความคิดตกผลึก เทคนิคสำหรับการทำวิจัยปริญญาเอก หรือวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่สามารถใช้เป็นแนวทาง เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น ในการกำหนดหัวข้อ โครงสร้าง และทิศทางของวิจัยปริญญาเอก หรือ การทำดุษฎีนิพนธ์ ให้สำเร็จลุล่วง มีคุณภาพและที่สำคัญคือเสร็จทันเวลา เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก เหล่านี้

เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก การทำดุษฎีนิพนธ์ การทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก Read More »