เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก การทำดุษฎีนิพนธ์ การทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก

การทำวิจัยปริญญาเอก  วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

การทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก จะแตกต่างกับวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต หรือ ปริญญาโท ในด้าน “การสร้างองค์ความรู้” รวมทั้ง”ความลึก”ของเนื้อหา ตั้งแต่การตั้งคำถามการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม ตลอดจน กรอบการวิจัยและวิธีการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบจำลองหรือสถิติที่ใช้ ไปจนถึงเนื้อหาของงานซึ่งต้องมีความชัดเจน ลึกซึ้ง มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ  

กล่าวได้ว่า การทำวิจัยปริญญาเอก หรือ ดุษฎีนิพนธ์ ไม่สามารถสร้าง “สูตรสำเร็จ” สำหรับการทำวิจัยปริญญาเอก  หรือกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเชี่ยวชาญหรือผ่านประสบการณ์ทำงานประเภทนี้มากแค่ไหน จะสามารถทำได้เพียง “การให้คำแนะนำ” และ”ตัวอย่างวิทยานิพนธ์” ในแนวทางเดียวกับที่นักวิจัยสนใจ    ซึ่งอาจช่วยให้เห็นแนวทาง หรือโครงสร้างของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่จะทำ แต่ไมสามารถยึดติดกับวิทยานิพนธ์เล่มใดเล่มหนึ่งมากเกินไป วิธีการที่ถูกต้องคือ ควรค้นคว้าให้มากเข้าไว้ อ่านให้มาก คิดให้มาก  เพื่อให้ความคิดตกผลึก

เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก การทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์
เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก การทำดุษฎีนิพนธ์

เทคนิคสำหรับการทำวิจัยปริญญาเอก หรือวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่สามารถใช้เป็นแนวทาง เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น ในการกำหนดหัวข้อ โครงสร้าง และทิศทางของวิจัยปริญญาเอก หรือ การทำดุษฎีนิพนธ์ ให้สำเร็จลุล่วง มีคุณภาพและที่สำคัญคือเสร็จทันเวลา

เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก เหล่านี้ ไม่ได้เรียงลำดับตาม กระบวนการทำวิจัย แต่เป็น องค์ประกอบที่สำคัญของการทำวิจัยปริญญาเอก 

  1. การเลือกชื่อเรื่อง หรือ หัวข้อวิจัยที่น่าสนใจ
  2. การเลือกหัวข้อวิจัยหรือชื่อเรื่องวิจัยปริญญาเอก ชื่อเรื่องดุษฎีนิพนธ์ ควรกำหนดหัวข้อวิจัยในสาขาหรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง
  3. ศึกษา ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับฐานข้อมูลปริญญาเอก หรือฐานข้อมูลงานวิจัยที่ใช้
  4. การใช้เทคนิคการทำวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research Approach)
  5. การเลือกใช้แบบจำลองทางสถิติหรือเศรษฐมิติที่มีความซับซ้อนหรือเป็นการวิเคราะห์ด้วยสถิติขั้นสูง
  6. ยึดหลักอิทธิบาท4 กัดไม่ปล่อย 
  7. รายงานความคืบหน้า หรือเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ

บางหัวข้อ หรือ บางขั้นตอนจะต้องทำควบคู่กันไป  สามารถทำไปแก้ไปได้ เพราะ ไม่ได้เรียงลำดับ ตามขั้นตอนแน่นอนตายตัวนัก เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก  เหล่านี้ เป็นเทคนิคที่สามารถนำไปบูรณาการกับนักวิจัยแต่ละท่านให้เกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อย จากการ รับทำวิจัยปริญญาเอก และ รับทำดุษฎีนิพนธ์ งานทุกชิ้นจะมีเทคนิคการทำงานเกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้

รับทำวิจัย รับทำวิจัยปริญญาเอก
รับทำวิจัย รับทำวิจัยปริญญาเอก

เทคนิค การทำวิจัยปริญญาเอก หรือ ดุษฎีนิพนธ์ มีองค์ประกอบ ที่สำคัญ และ จำเป็นที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.การเลือกชื่อเรื่อง หรือ หัวข้อวิจัย ควรเป็นเรื่องที่ทันสมัย และ น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น ในปัจจุบัน การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเชิงลบหรือก่อให้เกิดวิกฤติ ความเสียหายมหาศาล ทั้งต่อวิถีชีวิตตามปกติ ครอบครัว สถานศึกษา สังคม ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม รวมไปถึงระดับการเมือง รัฐบาล และการเมืองระหว่างประเทศ

ดังนั้น หากนักวิจัยหรือนักศึกษาปริญญาเอก เลือกหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของโควิด-19 ย่อมทำให้เป็นหัวข้อวิจัยที่อาจารย์ที่ปรึกษา หรือ คณะกรรมการดุษฎีนิพนธ์ ให้ความสนใจและ approve ผ่านได้ไม่ยากนัก เช่น การศึกษาผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, ผลกระทบของโควิดต่ออัตราผลตอบแทน และ ราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมสันทนาการและท่องเที่ยว  อุตสาหกรรมที่พักและโรงแรม เป็นต้น

รวมไปถึงผลกระทบของ การเกิดสงครามระหว่าง ยูเครน-รัสเซีย ถือว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะเป็นวิกฤติที่ส่งผลกระทบเชิงลบ อย่างรุนแรงอย่างมาก ต่อทุกภาคส่วนในระดับโลกเช่นกัน   นักวิจัย สามารถนำมาวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งที่นักวิจัยสนใจได้อย่างกว้างขวาและหลากหลาย   เป็นการศึกษาวิจัยในลักษณะหรือรูปแบบ ที่เรียกว่า “Event Study”

โดยการกำหนดตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) ที่สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของตัวแปรหรือปัจจัยในช่วงก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ต้องการศึกษาได้เช่นกัน นอกเหนือจากปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคปกติ เช่น การขึ้นอันตราดอกเบี้ยของ FED ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน และตลาดทุน ตราสารทุน ตราสารหนี้ทั่วโลก วิกฤติ sub-prime วิกฤติการณ์พลังงาน ฯลฯ ต่างๆ เหล่านี้สามารถนำมาเชื่อมโยงกับปัจจัยที่ต้องการศึกษาได้ เพราะสถานการณ์เหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งผลกระทบทางตรง และผลกระทบทางอ้อม

2. การเลือกหัวข้อวิจัยหรือชื่อเรื่องวิจัยปริญญาเอก ชื่อเรื่องดุษฎีนิพนธ์ ควรกำหนดหัวข้อวิจัยในสาขาหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้ทำวิจัยปริญญาเอกโดยตรง เช่น เป็นบุคลากรขององค์กรธุรกิจประเภทธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน สามารถนำประเด็นปัญหา หรือ ข้อขัดแย้ง ปัญหาอุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรของตน เช่น ในเรื่องผลการดำเนินงาน เรื่องปัญหาการลาออกค่อนข้างมากของพนักงาน

รวมไปถึงหัวข้อวิจัยปริญญาเอกเกี่ยวกับเรื่องสภาพการทำงาน หรือเรื่องประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานหรือประสิทธิผล และ สมรรถนะของพนักงานหรือองค์กร ของธนาคาร หรือ สถาบันที่นักวิจัยหรือนักศึกษาปริญญาเอก ปฏิบัติงานอยู่  ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้และมีน้ำหนักหรือแรงจูงใจให้ทำเรื่องนั้นๆ ได้ดีพอสมควร

3.ศึกษา ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับฐานข้อมูลปริญญาเอก หรือฐานข้อมูลงานวิจัย Thesis Dissertation ที่รวบรวมและตีพิมพ์งานวิจัยระดับปริญญาเอกในต่างประเทศ

บ่อยครั้งที่พบว่า ผู้ที่ติดต่อขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัยปริญญาเอก ติดปัญหาเกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย ทฤษฎี แนวคิด หลักเกณฑ์ หลักการ หรือข้อมูลต่างๆ ที่เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการนำมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยของตัวเอง  ทั้งที่เรื่องฐานข้อมูลปริญญาเอกหรือดุษฎีนิพนธ์

รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำวิจัยปริญญาเอก  การทำวิจัยปริญญาเอก อาจไม่สามารถทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และน่าเชื่อถือ หากมีการสืบค้นข้อมูล งานวิจัย ต่างๆ จากการค้นหาใน Google เท่านั้น

ซึ่งหากในวิชาระเบียบวิธีวิจัย ไม่มีการแนะนำหรือการให้รหัสเข้าฐานข้อมูลเหล่านี้ นักวิจัยและนักศึกษาปริญญาเอกสามารถสอบถามหรือร้องขอจากเจ้าหน้าที่ที่สำนักบรรณสาสน์หรือห้องสมุดได้ โดยส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยที่มีการเปิดสอนในระดับปริญญาเอกจะมีการเตรียมฐานข้อมูลเหล่านี้ไว้พอสมควร

แต่หากมีสรรพกำลังสามารถเสียเงินสมัครฐานข้อมูลใหญ่ๆ ระดับโลกได้ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนักเมื่อเทียบกับปริมาณและคุณภาพงานวิจัยที่สามารถนำมาใช้ได้

4. การใช้เทคนิคการทำวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research Approach) แน่นอนว่าคุณภาพงานวิจัยปริญญาเอกย่อมสมควรดีกว่า หรือ มีคุณค่ามากกว่าวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ซึ่งการทำวิจัยแบบผสมผสานเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้งานวิจัยมีคุณค่าหรือได้รับการยอมรับมากกว่าการทำวิจัยเชิงปริมาณ หรือ ทำวิจัยเชิงคุณภาพ อย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากการทำวิจัยเชิงปริมาณจะมีข้อจำกัดเรื่องการได้มาของข้อมูลเชิงลึก

รวมไปถึงรายละเอียดบางอย่างที่กลุ่มตัวอย่างไม่่สามารถหาคำตอบได้จากแบบสอบถาม แต่หาได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกหรือการสนทนากลุ่ม และการทำวิจัยเชิงคุณภาพจะขาดความน่าเชื่อถือในส่วนของการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการทางสถิติ หรือเครื่องมือทางสถิติ

เช่น การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ จนได้ผลลัพธ์ออกมาในรูปของผลการทดสอบข้อมูลเชิงประจักษ์กับทฤษฎีต่างๆ ดังนั้น การทำวิจัยแบบผสมผสานย่อมทำให้งานวิจัยได้ข้อมูลหรือผลการศึกษาที่ถูกต้อง ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

5. การเลือกใช้แบบจำลองทางสถิติหรือเศรษฐมิติที่มีความซับซ้อนหรือเป็นการวิเคราะห์ด้วยสถิติขั้นสูง สำหรับข้อนี้มักใช้ในกรณีที่ผู้วิจัยมุ่งเน้นการทำวิจัยเชิงปริมาณแต่เพียงอย่างเดียว

ตลอดจนการให้ความสำคัญกับรูปแบบและแบบจำลองที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีการกำหนดตัวแปรไว้อย่างชัดเจน และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองหรือสมมติฐานเหล่านั้น  จากการทดสอบทางสถิติต่างๆ ซึ่งพบว่า ในระดับโลกหรือในประเทศไทยเองมีการใช้แบบจำลองที่ซับซ้อนและการวิเคราะห์ด้วยสถิติขั้นสูงมากขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้น  จึงมีความจำเป็น ที่นักวิจัย และ นักศึกษาปริญญาเอก  ต้องมีความรู้และทักษะ ความสามารถ ความเข้าใจในการใช้โปรแกรม ที่สามารถวิเคราะห์แบบจำลองหรือสถิติ ที่มีความซับซ้อนเหล่านี้ด้วยเช่นกัน เช่น โปรแกรม AMOS mPLUS หรือ LISREL

นอกจากนี้ หากเป็นข้อมุลอนุกรมเวลาต้องสามารถใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โปรแกรม EVIEW  STATA หรือ LINDEP เป็นต้น  ซึ่งนักวิจัยไม่ควรละเลยต่อการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ เพราะจะทำให้เสียเวลาในช่วงที่ได้ข้อมูลมาแล้วไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบตัวแบบที่กำหนดไว้ในกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัยได้ หรือเรียกว่าตกม้าตาย ตายตอนจบ

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิชาการต่างๆจำนวนมากในประเทศไทย ล้วนแล้วแต่มีการเปิดอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เป็นประจำ ทุกปี บางสถาบันจัดอบรม โปรแกรมเหล่านี้ ปีละหลายครั้ง นักวิจัยควรวางแผน และ กำหนดระยะเวลาในการเข้ารับการอบรม เพื่อนำมาใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยของตนต่อไป

เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก

6. ยึดหลักอิทธิบาท4  นั่นคือ ต้องม่งมั่น ทุ่มเท เพียรพยามอย่างที่สุด ตั้งเป้าหมายสูงสุดสำหรับการทำดุษฎีนิพนธ์เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆของชีวิต  จำนวนมากที่นักวิจัยมีความฮึกเฮิมเฉพาะบางช่วงเวลาที่สำคัญ เมื่อเวลาผ่านพ้นไป นักวิจัยให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้น้อยลง เหรือเริ่มแผ่ว จนกระทั่งห่างหายไป

กล่าวคือ  นักศึกษาทุกคนมักจะเริ่มต้นด้วยการทุ่มเทเรียนรายวิชาบังคับจนผ่าน ต่อด้วย ความเครียดเพื่อเตรียมตัวสอบวัดคุณสมบัติ ป เอก พอสอบผ่าน ก็เหมือนยก ภูเขาออกจากอก ขอเวลาพักผ่อน หายใจ หายเครียด บางคนหายไปเป็นเทอม ลืมไปว่าต้องสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ เช่นนี้ถือว่า เป็นการสร้างภาระในอนาคต เพราะไม่ใช่การทำงานที่ต่อเนื่อง ทำๆ หยุด ๆ จนบางครั้งนักวิจัยเองจะลืมเนื้อหาบางส่วนที่ได้เขียนไปแล้ว หรือไม่สามารถกลับมาเขียนงานต่อได้อย่างรวดเร็วราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น เหมือนกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง

เมื่อทิ้งเวลาผ่านไป ถึงเวลาที่จะต้องสอบหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ ก็กลับมาอดหลับอดนอน นั่งเทียนเขียนบ้าง จินตนาการบ้าง มโนบ้าง อาจหาข้อมูลไม่ดี ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่แคบเกินไป แต่ก็ทำเพื่อให้ผ่านพ้นการสอบหัวข้อไปก่อน เรียกว่า ดึงระเบิดเวลาออกแค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น

หากใครได้คณะกรรมการสายโหด สายแข็ง และเข้าใจในงานที่ประเมิน ก็จะได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อไปในอนาคต แต่ถ้าใครได้คณะกรรมการ ที่อาจไม่เข้าใจในเนื้องานและ ปล่อยผ่านไปได้อย่างง่ายดาย ก็อาจมีปัญหา ในอนาคตได้เช่นกัน

พอสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์เสร็จ ก็พักเหนื่อยอีกรอบ หายไปอีกเป็นปี หรือหลายปี จะรู้ตัวอีกที ก็เทอมสุดท้าย พอเริ่มกลับมาทำวิทยานิพนธ์  หัวข้อเรื่องก็เก่าไปเสียแล้ว มีคนทำไปหมดแล้ว จนไม่เหลือประเด็นไหนให้ทำวิจัย ทำให้เมื่ออทำวิจัยเสร็จเต็มเล่มแล้ว การส่งตีพิมพ์บทความวิจัยในระดับนานาชาติจะทำได้ยากมากเพราะไม่มีความน่าสนใจในเชิงเนื้อหา ทำให้อาจต้องกลับมารื้องานวิจัยตั้งแต่หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ และ ศึกษา ทำการกำหนดขอบเขตงานวิจัย  เก็บข้อมูลใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลใหม่ทั้งหมด

7. รายงานความคืบหน้า หรือเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ  ถึงแม้จะยังไม่มีความก้าวหน้า  นักศึกษาปริญญาเอกควรบอกให้ท่านทราบถึงสาเหตุ ไม่ควรหายไปเฉยๆ หรือ ในบางครั้ง ที่พบเห็นได้บ่อยคือการที่นักศึกษาเกิดอาการการกลัวที่ปรึกษาดุ ไม่กล้าเข้าพบ ไม่กล้าขอความคิดเห็น ไม่กล้าสอบถามพูดคุยเนื้อหาใจความเกี่ยวกับงานวิจัยที่ตนเองสนใจ เนื่องจากกลัวถูกตำหนิ หรือกลัวถูกทวงถามความคืบหน้าของงาน เช่นนี้เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง

นอกจากจะทำให้งานดำเนินไปอย่างเชื่องช้าแล้ว อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา และ อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดีด้วย เนื่องจากการไม่เข้าพบ หรือไม่ส่งรายงานความคืบหน้าเป็นระยะสม่ำเสมอ จะทำให้ถูกมองว่า นักศึกษาไม่สนใจการทำงานวิจัยเท่าที่ควร ซึ่งในการเรียระดับปริญญาเอกนั้น

การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาการทำวิจัยปริญญาเอก  มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของการทำงาน  นักศึกษานอกจากจะต้องพิจารณาจากประสบการณ์ ทั้งประสบการณ์การสอน  ประสบการณ์ทำวิจัย และภูมิหลังการศึกษาแล้ว  ยังควรพิจารณาเลือกอาจารย์ที่อาจใช้คำว่า “พูดภาษาเดียวกัน”  ซึ่งหมายถึงเป็นอาจารย์ที่นักศึกษา สามารถสื่อสารกันได้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และมีความรู้ ความสามารถที่จะให้คำปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์ของเราให้สำเร็จได้ในเวลาที่กำหนด

ควรมุ่งเน้นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกหลักที่เป็นคณาจารย์ในภาควิชาที่ศึกษา  ไม่ควรปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมที่มาจากภายนอกให้มากจนเกินไป   เนื่องจากคณาจารย์ที่เป็นบุคคลภายนอก  แม้จะมีความรู้ลึกซึ้งในประเด็นที่เราสนใจทำวิทยานิพนธ์   แต่อาจขาดความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ด้านที่เราสนใจอย่างลึกซึ้ง    รวมไปถึงอาจไม่เข้าใจถึงมาตรฐานงานวิทยานิพนธ์ในระดับต่าง ๆ ของภาควิชาฯ จึงอาจให้คำปรึกษาได้จำกัด

การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เหมาะสม อาจมีผลต่อการจบหรือไม่จบการศึกษาของนักศึกษาได้ โดยเฉพาะใอย่างยิ่งวิทยานิพนธ์ในดับปริญญาเอก นอกจากนี้  ควรต้องเข้าใจว่าอาจารย์แต่ละท่านมีนิสิตนักศึกษาวิทยานิพนธ์ในความดูแลอยู่แล้ว และมีจำนวนมากน้อยต่างกัน อาจารย์บางท่านอาจให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เพิ่มได้จำกัด ดังนั้นนักศึกษาควรพิจารณาหาอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เสียแต่เนิ่น ๆ หากรอช้าอาจไม่ได้อาจารย์ที่ปรึกษาที่เราอยากได้เพราะมีนักศึกษาเลือกเต็มโควต้าไปแล้ว ในการเข้าไปคุยกับอาจารย์ที่เราอยากเลือกเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เราควรทำ “การบ้าน” มาก่อน มีการทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นและข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นที่ศึกษา เพื่อให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับคำถามหลักหรือวัตถุประสงค์ที่เราต้องการศึกษา คำถามดังกล่าวข้างต้น ไม่ควรไปปรึกษาอาจารย์แบบมือเปล่า เพราะจะเสียเวลา และสร้างภาพพจน์ที่ไม่ดีในสายตาอาจารย์

สิ่งที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ โดยเฉพาะวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก หรือ ดุษฎีนิพนธ์ คือ “การสร้างตัวแปรในกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ปรากฎในกรอบของการวิจัย  ต้องเป็นการศึกษารวบรวมและทำการวิเคราะห์และผลสรุปจากการศึกษาและทดลองทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรและการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร   ผู้ทำวิจัยจะต้องสรุปเป็นแนวคิดของตัวเองสำหรับการดำเนินการวิจัยที่กำลังทำอยู่  โดยผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยข้องกับปัญหา และมีมโนภาพ (Concept) ในเรื่องหรือเนื้อหาที่สำคัญเหล่านั้น   สำหรับนำมาประมวลเพื่อใช้เป็นกรอบการวิจัย  และพัฒนาการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป

 สำหรับการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) กรอบแนวคิดในการวิจัยควรมีการกำหนดขอบเขตทางด้านเนื้อหาสาระของการวิจัย   ด้วยการระบุดเฉพาะตัวแปรว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่จะนำมาศึกษาภายใต้แบบจำลอง (model) ทางความคิดของการวิจัยดังกล่าว   สำหรับการวิจัยประเภทอธิบาย (Explanatory research) กรอบแนวคิดของการวิจัยจะมีการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ เข้าด้วยกันภายใต้กรอบแนวคิดดังกล่าวด้วยเช่นกัน  เพื่อประมวลความคิดรวบยอดของงานวิจัย ว่างานวิจัยที่กำลังทำนี้ มีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกัน ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้ศึกษาเป็นอย่างไร

การทุ่มเทสรรพกำลังเพื่อ  งานวิจัยปริญญาเอก หรือ การทำดุษฎีนิพนธ์ เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง หากผ่านการเรียนในระดับปริญญาโทมาแล้ว และรู้สึกการทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาโทหนักหนาและทุ่มเทแล้ว ต้องคิดต่อว่าการทำวิจัยระดับปริญญาเอกนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่ามาก เพราะเป็นการเรียนในระดับสูงสุดของบุคคล บุคคลหนึ่งจะศึกษาในระบบการศึกษาปกติได้

เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำวิจัยปริญญาเอก
เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก

ให้คำปรึกษาการ รับทำดุษฎีนิพนธ์  รับทำวิจัยปริญญาเอก  ทุกขั้นตอน

ตั้งแต่กระบวนการกำหนดหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ หัวข้อวิจัยปริญญาเอก  การสืบค้นฐานข้อมูลดุษฎีนิพนธ์ วิจัยปริญญาเอก ในต่างประเทศ  การสร้างตัวแปรในกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย  การวิเคราะห์ข้อมูล การสอบปิดเล่ม จนถึง การเขียนบทความวิจัย และส่งบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการในต่างประเทศ

ตัวอย่างหัวข้อวิจัยปริญญาเอก ดุษฎีนิพนธ์ สาขาบริหารการศึกษา  ศึกษาศาสตร์  และครุศาสาตร์

  1. การพัฒนารูปแบบที่มีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (The development of effective strategic implementation model in the govermental higher education institutions)
  2. การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
  3. การพัฒนาและการประเมินผลการใช้โปรแกรมประยุกต์สำหรับพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (The development and evaluation of using application software for administrators’ self development in basic education)
  4. การพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยบริหารสถานศึกษาเอกชนด้านอาชีวศึกษาตามสภาวะการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ  
  5. การวิเคราะห์ตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนคาทอลิกสายสามัญในประเทศไทย  
  6. ต้นแบบการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย 

  7. ตัวแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษในประเทศไทย

  8. ประสิทธิผลการจัดการระบบสารสนเทศของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
  9. งานวิจัยระดับปริญญาเอกสาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม

ตัวอย่างดุษฎีนิพนธ์  วิจัยปริญญาเอก ที่ใช้แบบจำลอง CFA และ SEM

  1. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานสหกรณ์อิสลามในประเทศไทย
  2. การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อเครื่องปฏิกรณ์นิวิเคลียร์วิจัยในประเทศไทย PUBLIC PERCEPTION OF THE NUCLEAR RESEARCH REACTOR
    IN THAILAND USING THE STRUCTURAL EQUATION MODELLING TECHNIQUE
  3. แบบจำลองเชิงโครงสร้างของการเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อชุมชนตราสินค้าออนไลน์
  4. ปัจจัยความสําเร็จของผ้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
  5. ปัจจัยเชิงสาเหตุและแนวทางป้องกนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนวัยรุ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตัวอย่างดุษฎีนิพนธ์ วิจัยปริญญาเอก สาขาสหวิทยาการ
  1. ผลกระทบทางสังคมโดยองค์กรสอนดนตรีในชุมชนแออัดเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
  2. ผลกระทบจากผลิตภาพปัจจัยการผลิตรวมต่อความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของครัวเรือนโดยแบบจำลองดุลยภาพทั่วไปเชิงพลวัต กรณีศึกษาประเทศไทย 
  3. ความเป็นยุคสมัยใหม่ทางพระพุทธศาสนาของไทย :กรณีศึกษาวาทกรรมด้านสิทธิมนุษยชนของพระสงฆ์ไทย
  4. การเสริมสร้างอธิปไตยทางอาหารของชาวนารายย่อยภายใต้อิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ กรณีศึกษา ขบวนการค้าข้าวที่เป็นธรรมในประเทศไทย 
  5. ผลกระทบของความใกล้ชิดที่มีต่อความร่วมมือวิจัยและพัฒนาระหว่างสถานประกอบการอุตสาหกรรมกับมหาวิทยาลัย 

อ้างอิง

  1. แหล่งข้อมูลทางปัญญา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต (DPU)
  2. ดุษฎีนิพนธ์ วิทยาลัยสหวิทยากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
  3. 10 tips for writing a PhD thesis
  4. Finishing your PhD thesis: 15 top tips from those in the know

  5. FIVE TIPS FOR WRITING YOUR PHD THESIS

  6. เทคนิคการสร้างกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย
  7. การคิดหัวข้อวิจัย
  8. ตัวอย่างหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกฉบับเต็ม