วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แนวคิด เทคนิค วิธีการ ไอเดียที่ดีสำหรับ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก การทำวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต หรืออาจจะเรียกว่า การทำดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก จะแตกต่างกับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทในด้าน “การสร้างองค์ความรู้” และความ”ลึก”ของเนื้อหา ตั้งแต่การตั้งคำถามการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม กรอบการวิจัยและวิธีการวิจัย สำหรับผู้ที่สนใจเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เทคนิควิจัยปริญญาเอก สามารถคลิกได้เลย ไปจนถึงเนื้อหาของงานซึ่งต้องมีความชัดเจน ลึกซึ้ง มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ  หลายคนอยากได้ “สูตรสำเร็จ” สำหรับการเขียนวิทยานิพนธ์ ซึ่งไม่มีอยู่ในโลกนี้ จะมีอยู่ ก็แค่”คำแนะนำ” และ”ตัวอย่างวิทยานิพนธ์” ในแนวเดียวกับที่เราสนใจ ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวทางหรือโครงสร้างของวิทยานิพนธ์ที่จะทำ แต่อย่าไปยึดติดกับวิทยานิพนธ์เล่มใดเล่มหนึ่งมากเกินไป ทางที่ดี ควรค้นคว้าให้มากเข้าไว้ อ่านให้มาก คิดให้มาก…  มีเว็บไซต์ที่ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ รวมทั้งตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์ที่พอจะช่วยให้พอมองเห็นโครงสร้างของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกได้บ้าง การศึกษาระดับปริญญาเอกมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญในการท าวิจัยที่ได้มาตรฐานเพื่อสร้างองค์ความรู้และเพื่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น การศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรจึงกำหนดให้ผู้เรียนทุกคนต้องทำการศึกษาวิจัยที่เป็นดุษฎีนิพนธ์พร้อมทั้งเผยแพร่อย่างกว้างขวางในวารสารวิชาการที่ได้มาตรฐานก่อนจบการศึกษา  การทำวิจัยในระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษา มีตัวแปรทางสังคมเกี่ยวข้องมากมายจึงต้องมีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น จึงต้องเลือกแบบการวิจัยที่มีความเข้มข้นและความลุ่มลึกกว่าการทำวิจัย ในระดับปริญญาโท ผู้วิจัยจะต้องออกแบบการวิจัยให้ถูกต้อง ชัดเจน สามารถตอบโจทย์วิจัยได้อย่างเที่ยงตรงสูง มีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนได้น้อย และมีความน่าเชื่อถือ ทั้งด้านวิธีการเลือกตัวอย่างได้อย่างเหมาะสม เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร การสร้างเครื่องมือวิจัยให้ […]

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก Read More »

เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก)

หลักเกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์   วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ผลงานวิจัยประเภทดุษฎีนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก  ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของนักศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา  ย่อมมีความเข้มข้นของ เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่มีความเข้มงวดและม่งเน้นความเป็นเลิศของผลงานวิจัยที่สูงกว่า งานวิจัยระดับ วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หรือในระดับมหาบัณฑิต  ซึ่งสามารถสรุปเกณฑ์ในการพิจารณาผลงานดุษฎีนิพนธ์ ได้ดังนี้ เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์  วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มีดังต่อไปนี้ ระดับดีมาก (มีองค์ประกอบครบทั้ง4 ข้อดังนี้) 1. ผลงานวิจัยมีคุณภาพดี ให้ผลลัพธ์ ผลการศึกษา รวมไปถึงทฤษฎีที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือ เป็นผลงานวิจัยที่มีการบุกเบิกในทางวิชาการ ซึ่งมี นัยสำคัญเพียงพอที่สามารถเผยแพร่ตีพิมพ์ได้ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้ เช่น ฐานข้อมูล Scopus/ISI หรือผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus/ISI ระดับ Q1/Q2 2. ผลงานวิจัยให้ผลสมบูรณ์และสามารถนำไปสู่หัวข้อวิจัยอื่นอีกได้ 3. เล่มดุษฎีนิพนธ์ หรือ  วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่ผู้จัดทำนำมาประกอบการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ จะต้องมีการเขียนเรียบเรียง กลั่นกรองและมีการวิเคราะห์ในเชิงลึกจากความรู้ที่ผู้จัดทำ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยมาอย่างเข้มข้น  รวมถึงสามารถใช้ภาษาเขียนในการนำเสนองานวิจัยของตนเองได้ดีมากโดยไม่มีการคัดลอกผลงานของตนเองหรือผู้อื่น 4. ผู้จัดทำผลงานสามารถนำเสนองานวิจัยในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ได้อย่างน่าสนใจ ชัดเจน ถูกต้อง สามารถตอบข้อซักถามทั้งในส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญของงานวิจัยและความรู้พื้นฐานได้อย่างถูกต้องครบถ้วน แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่า

เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก) Read More »

เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก การทำดุษฎีนิพนธ์ การทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก

การทำวิจัยปริญญาเอก  วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก การทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก จะแตกต่างกับวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต หรือ ปริญญาโท ในด้าน “การสร้างองค์ความรู้” รวมทั้ง”ความลึก”ของเนื้อหา ตั้งแต่การตั้งคำถามการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม ตลอดจน กรอบการวิจัยและวิธีการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบจำลองหรือสถิติที่ใช้ ไปจนถึงเนื้อหาของงานซึ่งต้องมีความชัดเจน ลึกซึ้ง มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ   กล่าวได้ว่า การทำวิจัยปริญญาเอก หรือ ดุษฎีนิพนธ์ ไม่สามารถสร้าง “สูตรสำเร็จ” สำหรับการทำวิจัยปริญญาเอก  หรือกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในโลก ไม่ว่าจะเชี่ยวชาญหรือผ่านประสบการณ์ทำงานประเภทนี้มากแค่ไหน จะสามารถทำได้เพียง “การให้คำแนะนำ” และ”ตัวอย่างวิทยานิพนธ์” ในแนวทางเดียวกับที่นักวิจัยสนใจ    ซึ่งอาจช่วยให้เห็นแนวทาง หรือโครงสร้างของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่จะทำ แต่ไมสามารถยึดติดกับวิทยานิพนธ์เล่มใดเล่มหนึ่งมากเกินไป วิธีการที่ถูกต้องคือ ควรค้นคว้าให้มากเข้าไว้ อ่านให้มาก คิดให้มาก  เพื่อให้ความคิดตกผลึก เทคนิคสำหรับการทำวิจัยปริญญาเอก หรือวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่สามารถใช้เป็นแนวทาง เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น ในการกำหนดหัวข้อ โครงสร้าง และทิศทางของวิจัยปริญญาเอก หรือ การทำดุษฎีนิพนธ์ ให้สำเร็จลุล่วง มีคุณภาพและที่สำคัญคือเสร็จทันเวลา เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก เหล่านี้

เทคนิคการทำวิจัยปริญญาเอก การทำดุษฎีนิพนธ์ การทำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก Read More »