เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก)

หลักเกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์   วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

ผลงานวิจัยประเภทดุษฎีนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก  ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของนักศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา  ย่อมมีความเข้มข้นของ เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่มีความเข้มงวดและม่งเน้นความเป็นเลิศของผลงานวิจัยที่สูงกว่า งานวิจัยระดับ วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หรือในระดับมหาบัณฑิต  ซึ่งสามารถสรุปเกณฑ์ในการพิจารณาผลงานดุษฎีนิพนธ์ ได้ดังนี้

เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัยปริญญาเอก
เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

เกณฑ์การพิจารณาดุษฎีนิพนธ์  วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มีดังต่อไปนี้

ระดับดีมาก (มีองค์ประกอบครบทั้ง4 ข้อดังนี้)
1. ผลงานวิจัยมีคุณภาพดี ให้ผลลัพธ์ ผลการศึกษา รวมไปถึงทฤษฎีที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ หรือ เป็นผลงานวิจัยที่มีการบุกเบิกในทางวิชาการ ซึ่งมี
นัยสำคัญเพียงพอที่สามารถเผยแพร่ตีพิมพ์ได้ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้ เช่น ฐานข้อมูล Scopus/ISI หรือผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus/ISI ระดับ Q1/Q2
2. ผลงานวิจัยให้ผลสมบูรณ์และสามารถนำไปสู่หัวข้อวิจัยอื่นอีกได้
3. เล่มดุษฎีนิพนธ์ หรือ  วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ที่ผู้จัดทำนำมาประกอบการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ จะต้องมีการเขียนเรียบเรียง กลั่นกรองและมีการวิเคราะห์ในเชิงลึกจากความรู้ที่ผู้จัดทำ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยมาอย่างเข้มข้น  รวมถึงสามารถใช้ภาษาเขียนในการนำเสนองานวิจัยของตนเองได้ดีมากโดยไม่มีการคัดลอกผลงานของตนเองหรือผู้อื่น
4. ผู้จัดทำผลงานสามารถนำเสนองานวิจัยในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ได้อย่างน่าสนใจ ชัดเจน ถูกต้อง สามารถตอบข้อซักถามทั้งในส่วนที่เป็นเนื้อหาสำคัญของงานวิจัยและความรู้พื้นฐานได้อย่างถูกต้องครบถ้วน แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่า ผู้จัดทำนั้นได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง มีการเตรียมพร้อมดี

ระดับดี(มีองค์ประกอบครบทั้งสามข้อดังนี้)
1. ผลงานวิจัยมีคุณภาพดี ให้ผลลัพธ์ หรือทฤษฎีที่เป็นที่สนใจในสาขางานวิจัย ซึ่งมีนัยส าคัญเพียงพอที่สามารถเผยแพร่ได้ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
2. เล่มดุษฎีนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ปริญยาเอกที่ผู้จัดทำนำมาประกอบการสอบป้องกัน จะต้องมีการเขียนเรียบเรียง กลั่นกรองและมีการวิเคราะห์
เชิงลึกจากความรู้ที่นิสิตได้ค้นคว้าวิจัยมาอย่างชัดเจน และสามารถใช้ภาษาเขียนในการนำเสนองานวิจัยของตนเองได้ดีโดยไม่มีการคัดลอกผลงานของตนเองหรือผู้อื่น
3. ผู้จัดทำผลงานนำเสนองานวิจัยในการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ได้อย่างน่าสนใจ ตอบข้อซักถามในส่วนที่ส าคัญของเนื้อหาที่ทำวิจัยได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน

ระดับผ่าน (มีองค์ประกอบครบทั้ง3ข้อดังนี้)
1. ผลงานวิจัยมีความถูกต้อง สามารถเผยแพร่ได้ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
2. เล่มวิทยานิพนธ์ที่ผู้จัดทำมาประกอบการสอบป้องกัน จะต้องมีการเขียนเรียบเรียง กลั่นกรองและมีการวิเคราะห์เชิงลึกจากความรู้ที่นิสิตได้ค้นคว้ามาอย่างเหมาะสมเพียงพอ และใช้ภาษาเขียนในการนำเสนองานวิจัยของตนเอง ได้พอสมควรโดยไม่มีการคัดลอกผลงานของตนเองหรือผู้อื่น
3. ผู้จัดทำผลงานเสนองานวิจัยในการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ และอธิบายพื้นฐานสำคัญของเนื้อหาที่ทำวิจัยได้

ไม่ผ่านหรือตก (มีองค์ประกอบเพียงข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้)
1. ผลงานวิจัยผิดหลักวิชาการอย่างยิ่ง ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือมีปริมาณน้อยเกินไป
2. เล่มดุษฎีนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่นิสิตนำมาประกอบการสอบป้องกัน ขาดการเรียบเรียง กลั่นกรองจนไม่สามารถอ่านทำความ
เข้าใจได้ หรือ มีการคัดลอกผลงานของตนเองหรือผู้อื่น
3. การนำเสนองานวิจัยในการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ของผู้จัดทำแสดงให้เหนนถึงการขาดการเตรียมพร้อม ขาดความเข้าใจในเนื้อหางานวิจัยที่ทำ

ตัวอย่างหัวข้อตามเกณฑ์การพิจารณาผลงานดุษฎีนิพนธ์

ความสำคัญของปัญหาในการวิจัย
๑.๑ ความชัดเจนของปัญหาการวิจัยและเหตุผลที่ต้องการวิจัยเพื่อตอบปัญหา
ของการวิจัยนั้น
๑.๒ ความเกี่ยวข้องของปัญหาการวิจัยกับสภาพปัจจุบัน
๑.๓ ความเกี่ยวข้องของปัญหาการวิจัยกับสาขาวิชาที่ศึกษา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๒.๑ ความชัดเจนของวัตถุประสงค์การวิจัย
๒.๒ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับปัญหาการวิจัย
๒.๓ ความเป็นไปได้ในการทำวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๓.๑ การศึกษาเอกสารที่ครอบคลุมแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๓.๒ การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๓.๓ การเชื่อมโยงเอกสารที่ศึกษาและงานวิจัยสู่การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยที่เหมาะสม

วิธีดำเนินการวิจัย
๔.๑ ความเหมาะสมของวิธีการวิจัย
๔.๒ ความเหมาะสมของขั้นตอนการวิจัย การควบคุมตัวแปรและการวางแผน การทดสอบ
๔.๓ ความเหมาะสมของเครื่องมือการวิจัย การหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัย เทคนิคการวิจัย การเลือกประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
๔.๔ ความถูกต้องของการอ้างอิงถึงวิธีการที่ใช้ในการวิจัย
๔.๕ ความเกี่ยวเนื่องของวิธีการดำเนินการวิจัยกับวัตถุประสงค์
๔.๖ ความมีเหตุผล ความน่าเชื่อถือ และความทันสมัยของแหล่งที่มาของข้อมูล

ผลการวิจัย
๕.๑ ความเหมาะสมของลำดับขั้นตอนในการนำเสนอผลการวิจัย
๕.๒ ความชัดเจนของผลการวิจัยหรือความรู้ที่ได้รับ
๕.๓ ความสามารถในการนำเสนอผลการวิจัย เช่น การใช้กราฟ ตาราง รูปภาพ ที่เหมาะสม
๕.๔ ความสอดคล้องและครอบคลุมของผลการวิจัยกับวัตถุประสงค์

การวิเคราะห์ วิจารณ์ผลการวิจัย
๖.๑ ความเหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม
๖.๒ ความสามารถในการบูรณาการความรู้ต่าง ๆ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และผลการวิจัยมาใช้ในการตอบปัญหาตามวัตถุประสงค์
๖.๓ ความสามารถในการสังเคราะห์ความรู้ใหม่จากหลักฐานการวิจัย

การสรุปผลและข้อเสนอแนะ
๗.๑ ความสามารถในการสรุปผลการวิจัยให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์
๗.๒ ความสมเหตุสมผลในการเสนอแนะถึงการน าผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
๗.๓ ความรู้ที่ได้จากการวิจัย
๗.๔ ความสมเหตุสมผลในการเสนอแนะงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ควรทำต่อไปในอนาคต

คุณภาพของการเขียนวิทยานิพนธ์
๘.๑ โครงสร้างของเนื้อหามีความถูกต้องครบถ้วนตามรูปแบบ
๘.๒ จรรยาบรรณและความถูกต้องของการอ้างอิงและบรรณานุกรม
๘.๓ ความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์และการใช้ภาษา
๘.๔ ความถูกต้องของข้อมูลและการรายงานผล

การนำเสนอผลงาน
๑.๑ ความเหมาะสมของวิธีการนำเสนอ
๑.๒ ความเหมาะสมของสื่อที่ใช้ในการนำเสนอ
๑.๓ การนำเสนอเนื้อหาเป็นลำดับขั้นตอนที่เหมาะสม
๑.๔ การเสนอแนวความคิดมีความชัดเจนและต่อเนื่อง
๑.๕ บุคลิกภาพ การแสดงออก ความเชื่อมั่นของผู้นำเสนอ
๑.๖ ความสอดคล้องของเนื้อหาที่นำเสนอกับเค้าโครงและวิทยานิพนธ์
๑.๗ ความสามารถในการสรุปผลและอภิปรายผล

การตอบคำถาม
๒.๑ ความสามารถในการให้เหตุผลและอ้างหลักฐานสนับสนุน
๒.๒ ความสามารถในการตอบคำถามที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ปรากฏในงานวิจัย
๒.๓ ความเข้าใจในงานวิจัยที่ทำและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของผลจากการวิจัยต่อองค์ความรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ

อ้างอิง 

  1. เกณฑ์การประเมินผลงานวิชาการระดับวิทยานิพนธ์
  2. Requirements for the writing of the thesis
  3. CRITERIA FOR ASSESSING PhD THESIS