คู่มือวิทยานิพนธ์

คู่มือทำวิทยานิพนธ์

หลักการ แนวคิดพื้นฐาน คู่มือวิทยานิพนธ์

คู่มือวิทยานิพนธ์   10 หัวข้อสำคัญของการทำวิทยานิพนธ์

ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์ หรือ งานวิจัย โดยทั่วไปจะมี เนื้อหาสำคัญ 10 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

  1. ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ / หัวข้อวิทยานิพนธ์
  2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา (objectives)
  3. ประโยชน์ของการศึกษา (Benefit of research)
  4. ขอบเขตของการศึกษา (Scope of research)
  5. นิยามศัพท์เฉพาะ หรือ นิยามศัพท์ปฏิบัติการ (Definition)
  6. กรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย (Conceptual Framework)
  7. การทบทวนวรรณกรรม หรือ ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature Review)
  8. วิธีดำเนินการวิจัย (Research  Methodology)
  9. ผลการศึกษา (Result)
  10. สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลการศึกษา และข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษา

ทั้งนี้  วิทยานิพนธ์ จะมีส่วนของแบบสอบถาม (Questionnaire) ในกรณีที่เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ แบบสัมภาษณ์ ในกรณีที่วิทยานิพนธ์ มีรูปแบบเป็น วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเมื่อดำเนินการทำจนสำเร็จเป็นรูปเล่มวิทยานิพนธ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมี 5 บท  ผู้วิจัยจะต้องมีการเพิ่มเนื้อหาส่วนแรกด้วย ประกอบด้วย บทคัดย่อ ทั้งไทยและอังกฤษ กิตติกรรมประกาศ และสารบัญ สารบัญตาราง และสารภาพ ซึ่งไม่ขอนำเสนอให้อยู่ใน 10 ส่วนประกอบสำคัญนี้

นอกจาก 10 ส่วนประกอบ หรือ 10 องค์ประกอบสำคัญของ การทำวิทยานิพนธ์ ดังกล่าวแล้ว  จากประสบการณ์การเป็น ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการเป็น ผู้ช่วยทำวิทยานิพนธ์ สามารถสรุป 5 ขั้นตอนของการทำวิทยานิพนธ์ ให้ประสบความสำเร็จ ดังนี้

คู่มือวิทยานิพนธ์
คู่มือวิทยานิพนธ์ การทำวิทยานิพนธ์ รับทำวิทยานิพนธ์

5 ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ ให้ประสบความสำเร็จ

1. การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ดี

ไม่เฉพาะการทำวิทยานิพนธ์ การทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท หรือ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก  ขั้นตอนแรกที่สำคัญมากที่สุด คือ “การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์” ที่ดี  คำว่า “ที่ดี” ในที่นี้ คือ เป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ  ทันสมัย  เป็นชื่อที่สั้น กระชับ ไม่กำกวม ไม่คลุมเครือ และควรเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่มีการกำหนดตัวแปรที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ต้องการที่จะศึกษาเอาไว้ด้วย เช่น

1.1 การศึกษาโมเดลสมการเชิงโครงสร้างขององค์กรนวัตกรรม ความสามารถในการแข่งขัน และ ผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน ของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในเขตภาคตะวันออก (งานวิจัยเชิงปริมาณ)

1.2 การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน ของชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเขื่อนลำแซะ จังหวัดบุรีรัมย์ (สามารถเป็นได้ทั้งงานวิจัยเชิงปริมาณ งานวิจัยเชิงคุณภาพ และ งานวิจัยแบบผสมผสาน)

1.3 การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix Factor) ความพึงพอใจของผู้บริโภค (Customer Satisfaction) ที่ส่งผลต่อความภักดี (Loyalty) ต่อผู้ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline) ในประเทศไทย (งานวิจัยเชิงปริมาณ)

จะเห็นได้ว่า หัวข้อวิทยานิพนธ์ เหล่านี้ เป็นหัวข้อที่มีความชัดเจน สั้น กระชับ ไม่สั้นและไม่ยาวเกินไป และสามารถทำให้ผู้อ่านทราบทิศทาง หรือ แนวโน้มของวิทยานิพนธ์ ว่าจะมีเนื้อหาสาระสำคัญอย่างไรบ้าง

2. การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ที่ดี

การทบทวนวรรณกรรม หรือ การศึกษา เรียบเรียง และวิเคราะห์ แนวคิด ความเป็นมา หลักเกณฑ์ หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราศึกษา เช่น เราศึกษาเรื่อง “การศึกษาโมเดลสมการเชิงโครงสร้างขององค์กรนวัตกรรม ความสามารถในการแข่งขัน และ ผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน ของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในเขตภาคตะวันออก (งานวิจัยเชิงปริมาณ)”  ผู้วิจัยจะต้องทำการทบทวน (Review) เนื้อหาสาระ เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับ องค์กรนวัตกรรม  ความสามารถในการแข่งขัน และ ผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน รวมถึงความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural   Equation Model :SEM) เป็นอย่างดี  เพื่อนำไปสูู่กระบวนการ กำหนดตัวแปรในกรอบแนวคิด ทั้งตัวแปรแฝง และ ตัวแปรสังเกตุได้ ที่ถูกต้อง

3. การกำหนดตัวแปรในกรอบแนวคิดงานวิจัย (Conceptual Framework) ที่ถูกต้อง

หลักสำคัญในการเลือ กกรอบแนวคิดในการวิจัย  มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ คือ
3.1 ความตรงประเด็น กรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นของการวิจัย กล่าวคือ มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหา ซึ่งพิจารณาได้จากเนื้อหาของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม และระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย ในกรณีที่มีแนวคิดหลายๆ แนวตรงกับหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ผู้วิจัยควรเลือกแนวคิดที่ตนเองคิดว่าตรงกับประเด็นที่ต้องการศึกษามากที่สุด
3.2 ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน กรอบแนวคิดที่ควรจะเลือกควรเป็นกรอบที่ง่ายแก่การเข้าใจ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากมีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่จะนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิด ผู้ที่ทำวิจัยควรเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุดที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาได้พอๆกัน
3.3 ความสอดคล้องกับความสนใจ กรอบแนวคิดที่ใช้ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวแปร หรือความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ที่จะทำการวิจัย
3.4 ความมีประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการ และ ผู้ที่สนใจ การวิจัยนั้นควรมีกรอบแนวคิดสะท้อนถึงประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในการประยุกต์ใช้ต่อไปได้

4. การเลือกสถิติที่ถูกต้อง

การเลือกใช้สถิติ จะต้องเหมาะสมกับ วัตถุประสงค์ คำถาม และแบบแผนของการวิจัย ทั้งนี้เพราะ สถิติมีประโยชน์ ในการเปิดเผยความจรง จากสิ่งรบกวน ซึ่งเป็นความผันแปร ที่เกิดโดยบังเอิญ (random variation) แม้ว่าแบบแผนการทดลอง จะแก้ไขอคติ (bias) ได้มาก แต่ก็ไม่มีผล ต่อแหล่งของความผันแปร โดยบังเอิญเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น การเลือกสถิติที่ใช้ในงานวิจัยทางการแพทย์ ใน Casecontrol study หากแผนการทดลอง ใช้วิธีเลือกคนเปรียบเทียบ (control) ให้เหมือนผู้ป่วยแต่ละคน ในปัจจัยที่อาจจะเป็น confounder (matched control) ก็จะต้องใช้วิธี หาปัจจัยเสี่ยงสัมพันธ์ประมาณ (odd ration) ต่างไปจากในกรณีที่ เลือกกลุ่มเปรียบเทียบเป็นอิสระต่อกัน (independent group)

5. การเขียนผลการศึกษา

การเขียนผลการศึกษาสำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ หรือ การทำดุษฎีนิพนธ ์และงานวิจัยทุกประเภท แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีมาตรฐาน หรือ รูปแบบ (Format) ที่ใกล้เคียง และไม่แตกต่างกันมากนัก อย่างไรก็ตาม  แต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัย จะมีรูปแบบของการเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเขียนผลการศึกษา ที่แตกต่างกันไป เช่น ตารางการนำเสนอสถิติ ผลการทดสอบสมมติฐาน ตารางสรุปผล การเขียนอธิบายตารางผลการศึกษา แต่ละแห่ง จะมีข้อกำหนดแตกต่างกันไป หรือ อาจเรียกได้ว่า เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่แต่ละแห่ง มีการยึดถือต่อกันมา จนเป็นมาตรฐานการเขียนของแต่ละที่  การศึกษารูปแบบ (format) การเขียนที่ถูกต้องและตรงตามที่คณะกำหนด เป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์ ควรให้ความสำคัญ บางแห่ง จะมี คู่มือวิทยานิพนธ์ ที่ระบุเรื่องเหล่านี้เอาไว้อย่างชัดเจน

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์

อ้างอิง :

  1. เทคนิกการทำวิทยานิพนธ์
  2. รับทำวิทยานิพนธ์
  3. เทคนิคการทำวิทยานิพนธ์การเงิน
  4. การสร้างกรอบแนวคิด