หัวข้อวิจัยบัญชี

หัวข้อวิจัยบัญชี

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัยทางการบัญชี หัวข้อวิจัยบัญชี

การวิจัยทางการบัญชี เป็นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีการเงิน การบัญชี บริหาร การสอบบัญชี การภาษีอากร ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ธรรมาภิบาล และอื่นๆ เพื่อค้นหาหาข้อเท็จจริงด้วยระบบ อันมีระเบียบแบบแผนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการทางการบัญชี  ดังนั้น การเลือก หัวข้อวิจัยบัญชี ที่ดี ต้องนำไปสู่การได้มาซึ่งความรู้หรือข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบหลักของการวิจัยทางการบัญชีจะต้องประกอบด้วย

  • การกำหนดปัญหาในการทำวิจัย (Research question)
  • วัตถุประสงค์ของงานวิจัย (Objective)
  • การทบทวนวรรณกรรม (Literature review)
  • ทฤษฎี (Theory)
  • กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual framework)
  • วิธีวิจัย (Research methods)
  • การรายงานผลการวิจัย (Report and result)
  • การให้ประโยชน์(Contribution) ข้อจำกัด และ
    งานวิจัยในอนาคต (Limitation/ Future research)
หัวข้อวิจัยบัญชี
หัวข้อวิจัยบัญชี

สำหรับงานวิจัยทางด้านบัญชีในอดีตที่ผ่านมาถือได้ว่ายังมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยด้านอื่นๆ ในสาขาบริหารธุรกิจ(นภดล ร่มโพธ์, 2554) การบัญชีเป็นศาสตร์ที่สามารถนำมาสู่กระบวนการวิจัยเพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ด้านการบัญชี พัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐบาล
และภาคเอกชน พัฒนาวิชาชีพบัญชีและบุคลากรในวิชาชีพบัญชี

ลักษณะ การทำวิจัยด้านบัญชี สามารถดำเนินการได้ในระดับ หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลวิชาชีพบัญชี หน่วยงานที่นำข้อมูลด้านการบัญชีไปใช้ สถานศึกษาที่มีหลักสูตรการบัญชี รวมทั้ง นักบัญชีและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการบัญชี ดังนั้น นักบัญชีและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจ ทั้งนี้ การวิจัยทางการบัญชีมีหลายลักษณะ เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทางการเงิน การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงทฤษฎีการวิจัยเชิงประจักษ์ และการวิจัยลักษณะอื่นๆ

ความหมายของการวิจัยทางการบัญชี
ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานขององค์กรต่างๆ ได้มีการสรุปผลในรูปของงบการเงินซึ่งมีประโยชน์เมื่อองค์กรนำมาวิเคราะห์หรือตีความผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงิน เพื่อใช้ในการวางแผนงานให้บรรลุเป้าหมายของการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาในการดำเนินงานโดยมีงานบัญชีเข้าไปเกี่ยวข้องยังคงมีอยู่

การทำการวิจัยจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ที่นำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้และสามารถพัฒนาองค์ความรู้ทางการบัญชีได้อีกทางหนึ่ง งานวิจัยทางการบัญชีในปัจจุบันมีกระบวนการที่ชัดเจนเป็นระบบ และเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยต้องเข้าใจความหมายของการวิจัยทางการบัญชีอย่างถ่องแท้และเป็นเข้มทิศชี้ทางในปัญหาที่มีงานปัญชีเข้าไปเกี่ยวข้อง สามารถได้ข้อสรุปในเหตุแห่งปัญหาและแนวทางการแก้ไข

 

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำดุษฎีนิพนธ์

5 เทคนิคการกำหนดหัวข้อวิจัยบัญชี

  1. เป็นหัวข้อวิจัยที่นักวิจัยมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี  พื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการทำวิจัย รวมทั้งวิจัยด้านบัญชี คือ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่เกี่ยวข้อง  เช่น บัญชีต้นทุน บัญชีภาษีอากร บัญชีขั้นสูง ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ฯลฯ  ผู้วิจัยต้องสำรวจตรวจสอบ พื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ความถนัด และทักษะของตนในเบื้องต้นเสียก่อน ว่ามีความรู้พื้นฐานเพียงพอ ที่จะต่อยอดทำวิจัยในหัวข้อเหล่านี้ต่อไปจนสำเร็จหรือไม่
  2. หัวข้อวิจัยบัญชีนั้นมีความน่าสนใจ   การทำวิจัยที่ดีควรเริ่มต้นจากความสนใจของตัวผู้วิจัยเอง เนื่องจากจะทำให้เจ้าของงานวิจัยมีความกระตือรือร้น ที่จะทำงานวิจัยนั้นให้สำเร็จ และมีความสนใจใคร่รู้เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้นๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์ น่าอ่าน และสามารถนำผลการวิจัย ไปต่อยอดในวงการวิชาการนั้นๆได้
  3. หัวข้อวิจัยบัญชีที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้  การทำวิจัยด้านการบัญชี โดยทั่วไปจะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และใช้ข้อมูลประเภททุติยภูมิ (Secondary Data) หรือ ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series Data) ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ ข้อมูลด้านงบการเงินต่างๆ เช่น งบดุล (Balance Sheet) งบกำไรขาดทุน (Incomw Statement) และงบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) เป็นต้น ซึ่งการกำหนดหัวข้อวิจัยบัญชี จะแสดงถึงตัวแปรที่นักวิจัยต้องการศึกษาและวัดความสัมพันธ์  หากเราเลือกกรณีศึกษาหรือกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้  แม้ว่าจะผ่านกระบวนการทำวิจัยที่ดีและถูกต้องเพียงใด ก็ไม่สามารถทำต่อจนเสร็จได้ เนื่องจากไม่สามารถดึงหรือเข้าถึงข้อมูลที่นำมาใช้ได้
  4. ต้องเป็นหัวข้อวิจัยบัญชีที่ชัดเจน สั้น กระชับ  หัวข้อวิจัยบัญชี หรือ หัวข้อวิจัยทั่วไป จะต้องแสดงถึงคำหลัก (Keyword) หรือ ตัวแปร (Variable) ที่ต้องการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านั้น และในบางครั้ง นักวิจัยจะแสดงถึงวิธีการทางสถิติ หรือ แบบจำลองที่ใช้ ปรากฎอยู่ในหัวข้อวิจัยบัญชีนั้นๆด้วย เช่น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงดุลภาพระยะยาว ระหว่างคุณภาพของกำไรและโครงสร้างเงินทุน  จะเห็นว่า หัวข้อนี้มีตัวแปรที่นักวิจัยต้องการศึกษา คือ “คุณภาพของกำไร” และ “โครงสร้างเงินทุน” รวมทั้งมีการระบุวิธีการหรือแบบจำลองทางสถิติ/เศรษฐมิติ ไว้ด้วย คือ “การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว” หรือ Cointegration ซึ่งเป็นแบบจำลองเศรษฐมิติที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรรูปแบบหนึ่ง
  5. หัวข้อวิจัยบัญชีนั้นไม่ยากจนเกินไป  ไม่ยากเกินไปในที่นี้คือนักวิจัยมีความรู้ในเรื่องนั้นๆเพียงพอ  มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี  มีความรู้ด้านสถิติแบบจำลองที่ใช้ เช่น OLS  ARMA  ARIMA  GARCH ฯลฯ ซึ่งแบบจำลองหรือสถิติ/เศรษฐมิติ เหล่านี้มีความจำเป็นที่นักวิจัยจะต้องเข้าใจกระบวนการวิเคราะห์ ตัวแปร สัมประสิทธิ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ในสูตรที่ใช้เป็นอย่างดี รวมถึงการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ เช่น การใช้โปรแกรมSPSS  การใช้โปรแกรมEVIEW หรือ ใช้โปรแกรมSTATA ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อความสำเร็จและคุณภาพของงานวิจัย

ลักษณะของการวิจัยทางการบัญชี
การวิจัยทางการบัญชีมุ่งเน้นการค้นหาข้อเท็จจริง เพิ่มพูนความรู้ใหม่ในสาขาวิชาอย่าง มีระบบ เพื่อให้ได้ข้อสรุปและการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องแม่นยำ การได้มาซึ่งงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัย และหลักวิชาการตามสาขาวิชาการบัญชีนั้น มีลักษณะของการวิจัยดังนี้
1. การวิจัยจะต้องนำไปสู่การแก้ปัญหา
2. การวิจัยควรเป็นการพัฒนาข้อสรุปทั้งที่เป็นนัยทั่วไป (Generalization) และทฤษฎี(Theory)

3. การวิจัยต้องอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่สามารถสังเกตได้ (Observable    experience) หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical evidence)
4. การวิจัยต้องมีการสังเกตที่ถูกต้อง (Accurate observation) และต้องพรรณนาความได้ ซึ่งผู้วิจัยสามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการค้นหาคำตอบ
5. การวิจัยเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลใหม่ คือ เป็นการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วสำหรับวัตถุประสงค์เรื่องใหม่
นอกจากลักษณะของการวิจัยดังกล่าวแล้ว งานวิจัยยังจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ ความเพียร ซื่อสัตย์ ความมีระบบ มีเหตุผล มีเป้าหมาย ต้องมีเครื่องมือหรือเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งต้องมีการบันทึก และต้องเขียนรายงานวิจัยอย่างระมัดระวัง

ประเภทของการวิจัยทางการบัญชี

การวิจัยตามศาสตร์ของการบัญชี สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (สุนา สิทธิเลิศ ประสิทธิ์, 2554)
1. การวิจัยด้านการบัญชีการเงิน (Research of financial accounting) เป็นการวิจัยทางการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การรวบรวม การจำแนก และรายการข้อมูลทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นในอดีต โดยถือหลักการปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
2. การวิจัยด้านการบัญชีบริหาร (Research of managerial accounting) เป็นการวิจัยทางการบัญชี มุ่งให้ข้อมูลภายในองค์กรเพื่อนำมาใช้ในการวางแผน การสั่งการ การควบคุมและการตัดสินใจสำหรับการดำเนินงานภายในองค์กร รูปแบบรายงานด้านการบัญชีบริหารไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการข้อมูลของผู้บริหาร

ประเภทของการวิจัยทางการบัญชี นอกจากจะแบ่งเป็นการวิจัยด้านการบัญชีการเงินและการวิจัยด้านการบัญชีบริหารแล้วนั้น การวิจัยทางการบัญชี สามารถจัดทำได้ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยกำหนดไว้เป็น 8 ประเภท ดังนี้

1. การทำบัญชีเป็นงานเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล การรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดทำรายงานการเงิน
2. การสอบบัญชีเป็นการตรวจสอบเอกสารประกอบการลงบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีและสมุดบัญชีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงิน
3. การบัญชีบริหาร เป็นการจัดทำบัญชีรวมทั้งรายงานทางการเงินเพื่อใช้ในการวางแผนงาน การควบคุมและการตัดสินใจ โดยจะเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล
4. การวางระบบบัญชีเป็นการออกแบบแผนการปฏิบัติงานด้านการบัญชีเกี่ยวกับการใช้และการเก็บรักษา ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลทางด้านการเงิน การแยกประเภทบัญชีการบันทึกบัญชีและเอกสารและสมุดบัญชีต่างๆ
5. การบัญชีภาษีอากร เป็นการปรับหลักการบัญชีหรือมาตรฐานการบัญชีให้มีความสอดคล้องกับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง
6. การศึกษาและเทคโนโลยีบัญชีเป็นการประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการต่างๆโดยการนำศาสตร์ด้านการบัญชีมาจัดการเรียนการสอน
7. การกำหนดมาตรฐานบัญชีเป็นการกำหนดแนวคิดหรือวิธีการในการปฏิบัติงานด้านการบัญชีซึ่งเกิดจากนักบัญชีมีความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีจะต้องบันทึกเมื่อใด มีมูลค่าเท่าใดและจะทำการเสนอรายงานในงบการเงินอย่างไร ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

10 ไอเดีย หัวข้อวิจัยบัญชี สุดปัง

  1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานทางการเงิน กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET)
  2. นโยบายการจ่ายเงินปันผล ความสม่ำเสมอของผลกำไร และ โครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หมวดอสังหาริมทรัพย์
  3. การศึกษารายงานความยั่งยืนที่ส่งผลตอบแทนต่อผู้ลงทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  4. อัตราส่วนทางการเงิน และ ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค ที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในหมวดโรงแรมและที่พัก
  5. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงาน ของผู้สอบบัญชี (CPA) และ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ในเขตกรุงเทพมหานคร
  6. คุณภาพข้อมูลทางบัญชีที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของเจ้าของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กในเขตภาคตะวันออก
  7. การศึกษาปัจจัยด้านประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีผ่านสื่อดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้สอบบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  8. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผู้ทำบัญชีจากการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่15 ในหมวดรายได้จากสัญญากับลูกค้า
  9. รูปแบบการปฏิบัติการทางบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพทางการเงิน ของบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง
  10. วามรู้ความเข้าใจและทัศนคติของผู้ทําบัญชีธุรกิจขนาดกลางและ. ขนาดย่อมในประเทศไทยเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับกิจการขนาดกลาง

ตัวอย่าง งานวิจัย วิทยานิพนธ์ สาขาการบัญชี

1การนำเทคโนโลยี E-Payment มาใช้ในการตรวจสอบภาษียุคดิจิทัล ในเขตกรุงเทพมหานคร
2การศึกษาปัญหาภาษีอากร จากข้อหารือภาษีอากรของกรมสรรพากร
3การศึกษารายงานความยั่งยืนที่ส่งผลตอบแทนต่อผู้ลงทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
4การหลบหลีกภาษีอากร เพื่อผลประโยชน์ทางภาษีของบริษัทจำกัดในรูปแบบธุรกิจ SMEs ในเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
5ความพร้อมของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ของสำนักงานบัญชีในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร
6ความสัมพันธ์ระหว่างความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีและความสำเร็จในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพมหานคร
7ความเข้าใจของผู้ทำบัญชีที่มีต่อมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 7 เรื่องงบกระแสเงินสด สำหรับกิจกรรมที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
8คุณภาพข้อมูลทางบัญชีที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร
9ทักษะทางวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชีการประปานครหลวง
10ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีดิจีทัลในการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์