ให้บริการ รับทำวิจัยตลาด (Market Research) รับทำวิทยานิพนธ์การตลาด (Market Thesis) แบบที่ปรึกษาวิจัย ทุกขั้นตอน One Stop Service
รับทำวิจัยตลาด รับทำวิทยานิพนธ์การตลาด ดุษฎีนิพนธ์การตลาด รวมถึงงานวิจัยด้านการตลาดในระดับ สารนิพนธ์ ภาคนิพนธ์ รายงานด้านการตลาด ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
จากประสบการณ์ รับทำวิจัยตลาด รับทำวิทยานิพนธ์การตลาด ตลอดจน การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด การให้คำปรึกษาด้านการตลาด อาจเขียนให้เห็นถึงความสำคัญ ของการทำการวิจัยการตลาด เปรียบได้กับการวัดสายตาประกอบแว่น หากเรามีปัญหาด้านสายตามองอะไรไม่ชัดเจน จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องอาศัยการวัดสายตา ซึ่งยิ่งมีการวัดมากเท่าไหร่ หรือวัดได้ละเอียดมากเท่าใด จะยิ่งทำให้เราสามารถเลือกเลนส์ และได้แว่นตาที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับเรามากเท่านั้น และทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจน สามารถก้าวเดิน เคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ ไม่เกิดอุบัติเหตุ
ทำไมต้องทำวิจัยการตลาด ?
โดยทั่วไป การวิจัยการตลาด เทคนิควิจัยตลาด ที่มีลักษณะที่เรียกว่าขอไปทีทำไปที หวังเพียงทำเพื่อฉายภาพแบบเลือนลาง เปรียบได้กับนำสินค้าหรือบริการของเรา ไปละลายน้ำ ไม่เกิดผลประโยชน์อย่างที่ควรจะเป็น การไม่ทำวิจัยตลาดสำหรับผู้ประกอบการ หรือการทำวิจัยตลาดที่ไม่มีคุณภาพ ย่อมไม่สามารถทำให้ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของสินค้าหรือบริการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อความสำคัญและความจำเป็นของการทำวิจัยตลาด รวมไปถึงงานวิจัยตลาดประเภทอื่นๆ เช่น วิทยานิพนธ์การตลาด ดุษฎีนิพนธ์การตลาด ค้นคว้าอิสระด้านการตลาด จะต้องเริ่มจากการระบุความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถเกิดความเข้าใจตลาด และการเข่งขัน อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้เราสามารถตั้งเป้าหมายธุรกิจได้ชัดเจน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การกำหนดยอดขาย แต่ต้องมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ท้าทาย เป็นไปได้จริง และรู้วิธีทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ ดังนั้นวิจัยตลาด จึงทำให้คุณสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของวิจัยตลาด
อันที่จริงแล้วการวิจัยตลาดมีประโยชน์มากมาย แต่สามารถระบุเป็นคุณประโยชน์สำคัญของ การทำวิจัยตลาด 3 ประการสำคัญคือ
- สามารถมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ เช่น การทำวิจัยตลาด หรือ วิทยานิพนธ์การตลาด จะทำให้สามารถชี้เป้าลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ที่ตลาดอาจไม่เคยรู้, หรือ ไม่รู้มาก่อนว่า ลูกค้าชอบซื้อสินค้าใดพร้อมกัน ซึ่งหากสามารถทำวิจัยตลาดที่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้อง จะทำให้สามารถทำ Bundle หรือ Add-on ได้, เห็นโอกาสพาร์ทเนอร์กับธุรกิจที่มีลูกค้าร่วมกัน
- ลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจ เช่น ทดสอบสินค้าใหม่ก่อนออกตลาด, หาสาเหตุที่สินค้ายอดตก เป็นต้น
- เพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจ เช่น หา Pain point ลูกค้าคู่แข่ง แล้วหาวิธีดึงลูกค้ามา, ชี้เป้าลูกค้าที่ไม่พึงพอใจ ทำให้เราปรับปรุงสินค้า บริการได้ เหล่านี้ เป็นต้น
วิธีการทำวิจัยตลาดที่สามารถใช้งานและก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงกับธุรกิจ
ปัจจุบัน มีเทคนิคการทำวิจัยตลาดใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเลือกใช้เทคนิคหรือรูปแบบของวิธีวิจัยตลาด และ วิทยานิพนธ์การตลาด โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับปัญหาทางการตลาด หรือ โจทย์ทางการตลาด รวมทั้ง เป้าหมายทางธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจ สถานประกอบการ หรือนักวิจัยตลาด จึงต้องให้ความสำคัญอย่างมากต่อการเลือกวิธีวิจัยให้เหมาะสมกับโจทย์หรือปัญหาทางการตลาด กล่าวคือ แม้ว่าเราจะมีเครื่องมือที่ใช้อยู่หลายร้อย หลายพันรูปแบบ แต่หากนักวิจัยเลือกใช้ไม่ถูกต้อง หรือ ไม่เหมาะสมกับงาน ย่อมทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องหรือมีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น เช่น ถ้าเราเอามีดคัตเตอร์ที่คมกริบไปกรีดหรือเฉือนเนื้อสัตว์เพื่อทำอาหาร ย่อมทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ดีหรือไม่เกิดประสิทธิภาพ เพราะแทนที่จะใช้มีดทำครัว แต่กลับใช้คัตเตอร์ไปใช้งานแทน ยกตัวอย่างเช่นนี้ เป็นต้น
กระบวนการวิจัยการตลาด
ขั้นตอนที่ 1 – การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์
ารวิจัยการตลาดต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และจะต้องให้ความสำคัญ หรือ ระมัดระวังอย่างมากต่อการกำหนดโจทย์ทางการตลาด และวัตถุประสงค์ทางการตลาด ที่กระชับ รัดกุม ไม่กว้างมากเกินไป หรือ ควรกำหนดเฉพาะเจาะจงลง หรือหากมีวัตถุประสงค์หลายข้อ นักวิจัย ควรแยกวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยตลาด หรืด วิทยานิพนธ์การตลาด ออกเป็นข้อๆ ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการกำหนดและระบุปัญหา กล่าวโดยสรุปคือ อย่าทำการตลาดหากยังไม่เกิดความชัดเจนในการกำหนดปัญหา และวัตถุประสงค์
ขัั้นตอนที่ 2 – การพัฒนาแผนการวิจัย
เป็นการพัฒนาแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลมีอยู่ 2 แบบ คือการเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิ และแบบปฐมภูมิ
ข้อมูลแบบทุติยภูมิ คือข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยเก็บรวบรวมไว้ใหม่ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เช่นทางสืออินเตอร์เน็ตออนไลน์ โดยข้อมูลแบบทุติยภูมิจะไม่ค่อยละเอียดและมีประสิทธิผลมากนัก เพราะเป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วตามแหล่งต่างๆ ข้อมูลทุติยภูมิจึงเป็นแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมกับการเป็นแหล่งอ้างอิงเท่านั้น
ข้อมูลปฐมภูมิ คือ การสัมภาษณ์บางบุคคล เป็นรายบุคคลเพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนรู็สึกอย่างไรกับผลิตภัณฑ์ หรือแบรนด์ โดยการเก็บข้อมูลสามารถทำได้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้กลุ่มเฉพาะ 3.การสำรวจ 4. การวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรม 5. การทดลอง ซึ่งแต่ละวิธีจะมีความยากง่าย แตกต่างกัน โดยรายละเอียดจะมีการกล่าวถึงอย่างละเอียดในบทความต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวมรวมสารสนเทศ
การเก็บรวมรวมข้อมูลสารสนเทศนี้ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก ในการวิจัยการตลาด และยังมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนมากที่สุดด้วย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจะเป็นไปในลักษณะของการสำรวจโดยการสอบถาม จากกลุ่มลูกค้าโดยตรง โดยสรุปแล้ววิธีการนี้มีปัญหาสรุปได้ 4 ประการด้วยกันคือ กลุ่มตัวอย่างอาจจะไม่อยู่บ้าน และจะต้องติดต่อใหม่ หรือไม่ก็ต้องหาคนอื่น หรือสำรวจคนอื่นแทน ซึ่งอาจทำให้ได้ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง หนักกว่านั้นบางรายอาจจะไม่ให้ความร่วมมือในการสำรวจเอาเสียเลย เพราะเห็นเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ บางคนอาจจะให้คำตอบแบบไม่ซื่อสัตว์กับตนเอง โดยเขาจะมีทัศนคติที่ไม่ดีอยู่ก่อนแล้ว
อย่างไรก็ตาม จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่สามารถที่จะช่วยลดปัญหานี้ไปได้มาก ยกตัวอย่างเช่นตู้ขอความคิดเห็นของลูกค้าที่อยู่ตามจุดต่างๆ ของห้าง ลูกค้าสามารถให้ข้อมูลผ่านทางตู้ดังกล่าวได้ โดยตู้นี้จะมีหน้าจอแบบสัมผัสที่ีอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า และเป็นการสำรวจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ผ่านบุคคล ทำให้ลูกค้าหรือผู้ถูกสำรวจสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์สารสนเทศ
ในขั้นตอนนี้ ถือไดว่าเป็นขั้นตอน ก่อนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัยตลาด นั่นคือ การค้นหาข้อสรุป แนวทางสรุปจากข้อมูลที่เก็บมา อาจจะมีการทำเป็นตารางข้อมูลสรุป หาค่าเฉลี่ยต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลสรุปตามที่ต้องการ ข้อสรุปในข้อมูลที่ได้มาควรมีการแยกหัวข้อให้เกิดความหลากหลาย เพื่อช่วยในการตัดสินใจมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 5 การนำเสนอผลการวิจัย
การนำเสนอผลการวิจัยที่ค้นพบ พร้อมข้อมูลที่ตรงประเด็นให้กับฝ่ายดำเนินการจัดการที่กำลังเผชิญอยู่ นำไปวิเคราะห์ และตัดสินใจในการเลือกใช้กลยุทธ์ทางการตลาด หากข้อมูลการวิจัยแสดงว่า กลยุทธ์ดังกล่าวที่จะเลือกใช้ในอนาคตไม่เหมาะสม หรือมีความเสียง ก็อาจจะมีการยกเลิก และคัดค้านโดยใช้ข้อมูลการวิจัยมาอ้างอิง
จากเนื้อหาทั้งหมดข้างต้น จะพบว่า ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยตลาดนั้น ไม่ได้ยากอะไร เพียงแต่ต้องใช้การวางแผนการวิจัยที่ดีโดยจะต้องทราบถึงเป้าหมายในการวิจัยให้ชัดเจนว่ามีวัตถุประสงค์ใดในการวิจัย และเลือกวิธีการวิจัยให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการ แค่นี้งานวิจัยก็เกิดประสิทธิผลสูงสุดแล้ว
นอกจากนี้ เทคนิค การทำวิจัยการตลาด และ วิทยานิพนธ์การตลาด หากพิจารณาด้วยเทคนิคที่จำแนกตามลักษณะของการทำวิจัย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
1. Quantitative Study การทำวิจัยเชิงปริมาณ
เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ด้วยการถามคนจำนวนมาก โดยใช้แบบสอบถาม เน้นการวิเคราะห์ตัวเลขโดยมีเครื่องมือทางสถิติมาช่วย ทุกคนคงเคยเห็นงานวิจัยการตลาดประเภทนี้มาบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นช่องทางออฟไลน์ (แบบที่ได้ถามผู้บริโภคต่อหน้า) หรือออนไลน์ วิธีนี้เป็นที่รู้จักของคนส่วนใหญ่ จนบางคนคิดว่าวิจัยตลาดมีแต่วิธีนี้ก็มี แต่จริงๆ เป็นเพียง 1 ในหลายวิธีเท่านั้น และไม่ใช่วิธีที่เหมาะกับโจทย์ธุรกิจทุกอย่าง
ใช้เพื่ออะไร
หลักๆเลย การวิจัยเชิงปริมาณใช้เพื่อวัดปริมาณของพฤติกรรม เช่น มีคนจำนวน xx% ชอบบรรจุภัณฑ์สีแดงมากกว่าสีฟ้า หรือมีสัดส่วนร้อยละ xx ทานอาหารนอกบ้านเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ดังนั้น ข้อมูลเชิงปริมาณจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ถ้าเรามีความเข้าใจตลาดในเชิงลึกแล้ว แต่อยากมีตัวเลข support เพื่อวัดผลหรือทราบจำนวนของเรื่องที่เราสนใจ เช่น
- การหาข้อมูลในเชิงพฤติกรรมและภาพใหญ่ของผู้บริโภค เช่น ข้อมูล Market size หรือ Market share, ข้อมูลด้าน demographic เช่น สัดส่วนเพศ รายได้ อายุ เป็นต้น, ข้อมูลด้านพฤติกรรม เช่น สัดส่วนผู้ใช้มือถือในประเทศไทย เป็นต้น
- การ proof assumption ทางการตลาด สมมุติว่าเรามี feature สินค้าอยู่ประมาณ 10 อย่าง แต่ไม่แน่ใจว่า feature ไหนจะเป็นที่นิยมและน่าสนใจมากที่สุด เราก็ไปทำ survey เพื่อวัดว่า feature ไหน ควรจะเป็น killer feature ที่ควรลงทุนและสื่อสาร เป็นต้น
- การวัดประเมินผลของการทำกิจกรรรมการตลาด เช่น วัดประสิทธิภาพของหนังโฆษณา หรือวัดประสิทธิภาพของการจัด marketing activities เป็นต้น
โดยสรุป การทำ Quantitative Research (หรือ survey) บอกให้เราเข้าใจ “WHAT” แต่ไม่สามารถบอก “WHY” and “HOW” ที่เป็น motivation ในพฤติกรรมแบบเชิงลึก เหมาะกับการวัดผลหรือประเมินสิ่งที่รู้แล้ว
ข้อจำกัดและกรณีที่ใช้ผิดบ่อยๆ
- Quantitative Research การวิจัยเชิงปริมาณ: ไม่ใช่เครื่องมือในการค้นหาไอเดียใหม่ๆในธุรกิจ หรือ ค้นหาสิ่งที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน ดังนั้นคุณอาจจะไม่ได้สิ่งเหล่านี้จากงาน Quantitative Research เช่น
- การพัฒนาหาไอเดียใหม่ๆหรือค้นหาในสิ่งที่ไม่เคยมีในปัจจุบัน เช่น ความต้องการของลูกค้าต่อการใช้โทรศัพท์มือถืออีก 10 ปีข้างหน้า
- การหาเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย หรือ ตลาด หรือ คู่แข่งอย่างลึกซึ้ง
- การเข้าใจธุรกิจใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
- การสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้สินค้า หรือบริการ
- การหากลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตของธุรกิจ
2. Qualitative Study การวิจัยเชิงคุณภาพ เช่น Focus Group และ in-depth Interview
คืออะไร
เป็นวิธีการทำการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นทำความเข้าใจประเด็นที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง แต่ไม่เน้นจำนวน/ ตัวเลข จะเน้นที่ “คุณภาพคำตอบในเชิงลึก” เพราะจะเป็นการถาม/ พูดคุยถึง WHY หรือ motivation ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆของลูกค้า ดังนั้น การใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพ จะทำให้เรารู้จักและเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งและถ่องแท้
ใช้เพื่ออะไร
การวิจัยเชิงคุณภาพใช้เพื่อเข้าใจความคิด ความเชื่อ ซึ่งเป็นที่มาของพฤติกรรม ทำให้เราสามารถปรับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การค้นหามุมมองใหม่ๆ โอกาสใหม่ๆในธุรกิจ ทำให้เข้าใจ 1)กลุ่มเป้าหมาย 2) เข้าใจตลาด 3) คู่แข่งขัน ทั้งหมดนี้แบบลึกซึ้ง
เพราะมีหลายสิ่งที่ซับซ้อนและอธิบายด้วยตัวเลขไม่ได้ การวิจัยประเภทนี้นี้เน้นที่คุณภาพเชิงลึกของข้อมูล (ไม่มีตัวเลข) โดยจะเก็บข้อมูลกับคนจำนวนไม่มาก แต่เน้นความลึกและความเข้าใจข้อมูลรอบด้าน รวมถึงการเข้าใจปัญหาหรือโอกาสที่เรายังไม่ทราบแน่ชัดทั้งในปัจจุบันและอนาคต
จริงๆแล้ว งานวิจัยเชิงคุณภาพมีประโยชน์อย่างมากกับธุรกิจ โดยเฉพาะเมื่อ
- เข้าใจลึกซึ้งในสิ่งที่เรายังทราบไม่แน่ชัด เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย หรือ ตลาด หรือ คู่แข่ง
- หาโอกาสหรือไอเดียใหม่ๆที่คุณมองไม่เห็น เช่น การลงแข่งขันในตลาดใหม่ การออกแบบสินค้าใหม่ การออกแบบนวกรรมใหม่
- เมื่อคุณต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม มากกว่าแค่ประเมินพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย เช่น การขยายตลาดโดยการเข้าใจvalue และ motivation ของลูกค้าและคุ่แข่งเชิงลึก เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนยี่ห้อ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หรือซื้อ เป็นต้น
- เข้าใจลึกซึ้งในปัญหา เมื่อธุรกิจของคุณมีอุปสรรคทางการตลาดบางอย่าง ตั้งแต่เรื่องเบสิก เช่น ทำไมผู้บริโภคไม่ซื้อของคุณ? จนถึงเรื่องที่ค่อนข้าง complex เช่น การ redesign customer journey และ experience ในธุรกิจของคุณ
- เมื่อคุณยังไม่มีไอเดียในการต่อยอดธุรกิจ แต่อยากหา WOW ไอเดีย หรือยังไม่แน่ใจในโอกาสที่มองเห็น เช่น ทำ เพื่อสร้างความแตกต่างในวงการ แต่ไม่แน่ใจว่าจะไปอย่างไรต่อ เป็นต้น
ข้อจำกัดและกรณีที่ใช้ผิดบ่อยๆ
- การทำ Qualitative ต้องเป็นจ้างผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ไม่ใช่ใครจะทำก็ได้ เพราะมีทักษะเฉพาะที่ต้องถูกฝึกและพัฒนามานาน มี 3 ปัจจัย ที่ทำให้งานประเภทนี้ออกมาดีมีคุณภาพ คือ 1) การคัดเลือกคนที่มีคุณภาพ 2)การสัมภาษณ์โดย moderator มืออาชีพ 3) การวิเคราะห์โดย Analyst ที่มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ดังนั้นคุณต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย ในการเลือก Research Agency
3. Observation
คืออะไร
เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้การเข้าใจลูกค้าได้ลึกซึ้งขึ้น โดยใช้การสังเกตผู้บริโภคในบริบทชีวิตประจำวันหรือสถานการณ์จริง วิธีการสังเกตก็สามารถทำได้หลายแบบ ตั้งแต่การไปนั่งเฝ้าติดตาม สังเกตการณ์ด้วยตัวเอง หรือใช้การสังเกตผ่านอุปกรณ์ เช่น กล้องวงจรปิด หรือมีเทคโนโลยีมาช่วย เป็นต้น
ใช้เพื่ออะไร
การสังเกตการณ์ มีประโยชน์ที่เอื้อต่อการเข้าใจลูกค้าหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น
- การเข้าใจพฤติกรรมในสภาพแวดล้อมจริงที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้มีความเป็นธรรมชาติ หรือ เห็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆในสภาพแวดล้อมจริง เช่น การไปสังเกตการใช้เครื่องซักผ้าที่บ้าน การไปสังเกตการซื้อของชอปปิ้งในแผนกไอที พฤติกรรมคุณแม่ในการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้บางครั้งจะไม่พบในการสัมภาษณ์ในสถานที่ข้างนอก ซึ่งไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมนั้นจริง
- เพื่อเข้าใจชีวิตของลูกค้าในบริบทที่อธิบายเป็นคำพูดได้ยาก เช่น ชีวิตการเข้าสังคมและสังสรรค์ยามค่ำคืน ของผู้รักการดื่มไวน์ เป็นต้น
- Usability testing เป็นการสังเกตโดยใช้ระบบไอทีหรือเทคโนโลยี ช่วยจับพฤติกรรมการใช้งาน Application หรือ Software ต่างๆ
ขอบคุณข้อมูล :