เทคนิคการเลือกหัวข้อวิจัย

การเลือกหัวข้อวิจัย หรือ หัวข้อวิทยานิพนธ์

หัวข้อวิจัย หรือ หัวข้อวิทยานิพนธ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอันดับแรกของการทำวิจัย เนื่องจากเป็นประตูบานแรกที่จะทำให้ผู้อ่านงานวิจัยรับรู้ว่า งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์เรื่องนั้นๆ เป็นเรื่องที่ทำเกี่ยวกับอะไร มีความน่าสนใจ หรือ มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้อ่านต้องการหรือไม่ อย่างไร? หัวข้อวิจัย หรือหัวข้องานวิจัยประเภทอื่นๆ ทั้ง วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ ปัญหาพิเศษ หรือรายงานวิจัย  ที่ดีหรือน่าสนใจ จะต้องเป็นหัวข้อวิจัยหรือหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่มีความชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน หรือมีคำหลัก (Keyword) อยู่ในชื่อหัวข้อวิจัยมากจนเกินไป เนื้อหาในบทความนี้จะพูดถึงเทคนิคการเลือก หัวข้อวิจัย หรือ หัวข้อวิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับการเลือกหัวข้อวิจัยสำหรับการทำดุษฎีนิพนธ์ สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ ปัญหาพิเศษ ซึ่งมี 5 เทคนิคดังนี้ 1) เลือกหัวข้อวิจัยจากความสนใจของผู้ทำวิจัย  แม้ว่าหัวข้อที่จะทําการวิจัยนั้นมีความสำคัญมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม หรือเป็นเรื่องที่กําลังอยู่ในกระแสหรือความสนใจของสาธารณชนมากน้อยเพียงใด ถ้าหากผู้ที่จะทําวิจัยไม่มีความสนใจในหัวข้อหรือเรื่องนั้นๆ   ผู้วิจัยก็ไม่ควรที่จะทําวิจัยหัวข้อนั้น เนื่องจากมีรายงานวิจัย สถิติ และข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา พบว่า งานวิจัยจํานวนมากไม่สามารถลุล่วงไปได้ด้วยดีด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ ผู้วิจัยไม่มีความสนใจอย่างแท้จริง ความสนใจในเรื่องที่จะทําวิจัยมีความสําคัญมาก เพราะเป็นแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ผู้วิจัย เกิดการติดตามค้นคว้า เพื่อให้โครงการวิจัยได้บรรลุเป้าหมาย …

การเลือกหัวข้อวิจัย หรือ หัวข้อวิทยานิพนธ์ Read More »

5 เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์

เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย การกำหนดหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ การเลือกหัวข้อวิจัย เป็นบันไดขั้นแรก เป็นประตูบานแรก ของความสำเร็จสำหรับการทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ หรือ การทำดุษฎีนิพนธ์ หากนักวิจัยกำหนดหัวข้อวิจัยที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีความเป็นไปได้สูง ที่จะสามารถทำงานวิจัยในขั้นตอนของกระบวนการทำวิจัยต่อไป ให้สำเร็จลุล่วง มีประสิทธิภาพ และเสร็จตามกำหนดเวลา เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย ให้ประสบผลสำเร็จ ผ่านการอนุมัติ และเป็นหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย 5 ข้อ 1.เลือกหัวข้อวิจัย จากประสบการณ์ ความชอบ และความต้องการส่วนตัว สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนตั้งแต่ระดับมหาบัณฑิต(ปริญญาโท) และดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วระดับหนึ่ง  ย่อมมีไอเดียการหาหัวข้อวิจัยที่เป็นความต้องการส่วนตัว เช่น หากทำงานในธุรกิจสายการบิน โดยดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการสายการบิน  ว่าในทางทฤษฎีการบริหารจัดการ หรือ การตลาด  สามารถวัดระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินได้ด้วยแนวคิดอะไร หรือทฤษฎีของใคร และมีปัจจัย (variable)ใดบ้างที่คาดว่าจะมีผลกระทบหรือมีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสายการบินเป็นต้น สำหรับผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน หรือเป็นผู้ที่เรียนต่อในระดับปริญญาโทและเอกโดยที่ยังไม่เคยทำงานในองค์กรใดมาก่อน  อาจหาหัวข้อได้จากความชอบ ความสนใจส่วนตัว ซึ่งต้องมีความรู้พื้นฐานในด้านนั้นๆมาระดับหนึ่ง เช่น เป็นผู้ที่สนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้ ประเภทพันธบัตรทั้งพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ …

5 เทคนิค การเลือกหัวข้อวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ Read More »