การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และปริญญานิพนธ์

การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์

แนวคิดพื้นฐาน กระบวนการ นิยามและความหมาย ขั้นตอน การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และปริญญานิพนธ์อื่นๆ

การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ 

โครงร่างวิทยานิพนธ์ โครงร่างวิจัย ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

  1. ชื่อเรื่อง
  2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการทำวิทยานิพนธ์
  3. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
  4. คำถามของการทำวิจัย
  5. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  6. สมมติฐานและกรอบแนวคิดของงานวิจัย
  7. ขอบเขตของการทำวิจัย
  8. นิยามศัพท์ปฏิบัติการ นิยามศัพท์เฉพาะ
  9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำวิจัย
  10. ระเบียบวิธีวิจัย
  11. ระยะเวลาในการดำเนินการ
  12. งบประมาณที่ใช้ในการทำวิจัย
  13. บรรณานุกรม รายการอ้างอิง
  14. ภาคผนวก
  15. ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย
การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ โครงร่างวิจัย
การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ โครงร่างวิจัย

หัวข้อสำคัญที่ควรพิจารณาสำหรับโครงร่างวิทยานิพนธ์

1. หัวข้อวิทยานิพนธ์  (the title)
1.1 หัวข้อวิทยานิพนธ์ ควรเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ มีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน
1.2 ระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือ ต้องการผลอะไร
1.3 ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมองค์การและภาวะผู้นำของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนแห่งหนึ่ง

1.4 ในกรณีที่หัวข้อวิทยานิพนธ์ มีชื่อที่ยาวมาก ควรแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อ ในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น “ระดับการมีส่วนร่วมและภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การส่วนตำบล เพื่อส่งเสริมการร่วมอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลน : กรณีศึกษา พื้นที่ชายเลนในจังหวัดสมุทรสงคราม

การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ ขึ้นอยู่กับ
1. ความสนใจของนักวิจัย ควรเลือกเรื่องหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยสนใจและมีความถนัด และต้องไม่เป็นเรื่องที่มี่ความสลับซับซ้อนเกินความสามารถของผู้ทำวิจัย
2. ความสำคัญของหัวเรื่องวิทยานิพนธ์ที่จะทำ  ควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ นำไปใช้ปฏิบัติ หรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้
3. เป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ ที่สามารถทำวิจัยได้ ไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ ได้แก่ ด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการบริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย ซึ่งควรพิจารณาปัจจัยข้อจำกัดเหล่านี้ประกอบการตัดสินใจ
4. หัวข้อวิทยานิพนธ์ ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้ว  อย่างไรก็ตาม หัวข้อวิทยานิพนธ์ อาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือระเบียบวิธีของการวิจัย

2. การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale)
2.1  การเรียบเรียงที่มาที่ไป หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ
2.2 วิทยานิพนธ์ที่ดี จะต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้
2.3 ที่มาและความสำคัญ ควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา อย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง
2.4 ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับ เรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่อ
งานด้านนี้ ได้อย่างไร

3. การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย (objectives)
3.1 เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษา ในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย
3.2 ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ
3.3 โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และ เวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
3.3.1   วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด เช่น เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับน้ำตาลในเลือดกับการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน
3.3.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะท าอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดย การเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น
1) เพื่อศึกษาระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
2) เพื่อศึกษารูปแบบการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน
3)  เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายกับระดับน้ าตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน

4. การเขียนคำถามของการวิจัย (research question )

4.1 ผู้วิจัยต้องก าหนดปัญหาขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์
ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้
4.2  ถ้าตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
4.3  คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์กับเรื่องที่จะศึกษา เป็นคำถามหลัก (primary research question) เพื่อใช้ในการคำนวณขนาดของ ตัวอย่าง (sample size)
4.4  ผู้วิจัยอาจกำหนดให้มีคำถามรอง (secondary research question) ก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ มีความสำคัญรองลงมา แต่ผลของการวิจัยอาจไม่สามารถตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะการคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรอง

5.ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (review of related literatures)
5.1การทบทวนวรรณกรรม
5.2 เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ
5.3การทบทวนวรรณกรรมจะทำให้เห็นปัญหาที่จะทำผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษา

5.4 การเขียนการทบทวนวรรณกรรม โดยจัดล าดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็น พัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา
5.5  ผู้วิจัยควรสรุปการทบทวนวรรณกรรม เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธี การศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย

อ้างอิง :

 1. เทคนิคการทำวิจัย

2. เทคนิคการทำวิจัย

3. องค์ประกอบงานวิจัย

4. เทคนิคการทำวิจัยรัฐศาสตร์

5. ขั้นตอนการเขียนโครงร่างวิจัย

 

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์
 

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss บทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย