การเขียนบทนำ

การเขียนบทนำ บทนำงานวิจัย

แนวคิดพื้นฐาน เทคนิค วิธีการ การเขียนบทนำ การเขียนบทนำงานวิจัย

การเขียนบทนำ คือ การเขียนและเรียบเรียงเนื้อหา เพื่อเสนอประเด็นปัญหาการวิจัยและการตีกรอบปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน ประกอบด้วยความเป็นมาของปัญหาการวิจัยและความสำคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย ขอบเจตการวิจัย สมมุติฐานการวิจัย คำนิยามศัพท์เฉพาะและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 

การเขียนบทนำที่ดีนั้น เมื่อนักวิจัยได้ลงมือเขียนย่อหน้าแรกแล้ว จะต้องมีวิธีการเขียนเพื่อดึงดูดให้ผู้อ่านเข้าสู่ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอโดย จะเริ่มจากการเขียนเนื้อหาในเชิงกว้างหรือการฉายภาพใหญ่ เช่น การยกนโยบายระดับประเทศเพื่อนำสู่ปัญหาหรือที่มาของปัญหา แล้วโยงเข้าสู่ประเด็นย่อยที่เราต้องการเขียน โดยกล่าวถึงบริบทของเรื่องที่ศึกษา ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา

บทนำของรายงานวิจัยนับว่าเป็นส่วนที่ยากและท้าทายที่สุดในการเขียนรายงานนี้เลยก็ว่าได้ ความยาวของบทนำอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของงานวิจัยที่คุณกำลังเขียนนั้น บทนำควรจะบอกให้ทราบถึงหัวข้อของคุณ เนื้อหา และเหตุผลในการทำงานวิจัยของคุณ ก่อนที่จะเริ่มกล่าวถึงคำถามและสมมุติฐานในงานวิจัยของคุณ บทนำที่ดีจะบ่งบอกถึงลักษณะของงานเขียนนี้ ทำให้ผู้อ่านสนใจ และสื่อสารสมมุติฐานหรือใจความหลักได้

เทคนิคการเขียนบทนำงานวิจัย

1. บอกให้ทราบถึงเรื่องที่คุณทำวิจัย  คุณสามารถเริ่มบทนำของคุณด้วยประโยคสักสองสามประโยคบอกให้ทราบเรื่องที่คุณเขียนและชี้ให้เห็นถึงคำถามของงานวิจัยที่คุณจะถาม นี่เป็นวิธีที่ดีที่จะเกริ่นให้ผู้อ่านทราบถึงเรื่องที่คุณเขียนและดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้ 2 – 3 ประโยคแรกควรจะเป็นตัวชี้แนะให้ทราบถึงปัญหาอย่างกว้างที่คุณจะพูดถึงมากขึ้นในส่วนที่เหลือของบทนำ และพาไปสู่คำถามของงานวิจัยที่เจาะลึกลงไปของคุณ

  • ในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ บางครั้งก็เรียกว่า “สามเหลี่ยมคว่ำ” ที่เริ่มจากการเขียนถึงเรื่องทั่วไปอย่างกว้างขวางก่อนในต้อนต้น ก่อนจะค่อยๆ ขยายเจาะลึกเข้าไปเป็นเรื่องๆ เฉพาะ 
  • ประโยคที่ว่า “ตลอดเวลาที่ผ่านมาในศตวรรษที่ 20 มุมมองชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก” บอกให้ทราบถึงหัวข้อเรื่อง แต่เป็นเพียงการเกริ่นในเชิงกว้าง
  • มันช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวทางเนื้อหาที่บทความนี้จะกล่าวถึง และทำให้พวกเขาอยากอ่านต่อ
 2.พิจารณาการอ้างอิงถึงคำสำคัญ เวลาที่คุณเขียนงานวิจัยสำหรับตีพิมพ์ คุณจะต้องส่งงานเขียนนั้นพร้อมกับรายการคำสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจได้ถึงขอบเขตงานวิจัยที่คุณกำลังเขียนถึง คุณอาจจะมีคำสำคัญบางคำในหัวข้อเรื่องของคุณซึ่งคุณต้องการจะใช้และเน้นย้ำในบทนำของคุณ 

  • ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณกำลังเขียนเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของหนูเมื่อโดนสารชนิดหนึ่ง คุณอาจจะเขียนคำว่า “หนู” ลงไปด้วย และชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสารประกอบที่เกี่ยวข้องในประโยคแรก
  • ถ้าหากคุณต้องการเขียนงานเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีต่อความสัมพันธ์ด้านเพศในสหราชอาณาจักรอังกฤษ คุณควรจะกล่าวถึงคำสำคัญเหล่านั้นในสองสามบรรทัดแรกของคุณด้วย
3.อธิบายคำศัพท์ หรือแนวคิดสำคัญ  มันอาจเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะอธิบายคำศัพท์หรือแนวคิดสำคัญใดๆ แต่เนิ่นๆ ในบทนำของคุณ คุณจำเป็นต้องแสดงตัวตนของคุณให้ชัดเจนตลอดงานเขียนของคุณ หากคุณไม่อธิบายคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย หรือแนวคิดแปลกใหม่ที่คนไม่รู้จัก คุณอาจจะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจในการอภิปรายงานของคุณ 

  • นี่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากถ้าหากคุณพยายามที่จะพัฒนาความคิดรวบยอดใหม่ๆ ที่ใช้ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางที่ผู้อ่านของคุณอาจไม่คุ้นเคย
4.แนะนำเรื่องที่เขียนผ่านเรื่องราว หรือคำพูดอ้างอิง ถ้าหากคุณกำลังเขียนบทความมนุษยศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ คุณสามารถที่จะเขียนให้ออกมาแนวงานประพันธ์เพื่อเริ่มบทนำของคุณ และเกริ่นให้ทราบถึงหัวข้อของงานเขียนของคุณ เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะสำหรับบทความมนุษยศาสตร์ทั้งหลายที่จะเริ่มด้วยเรื่องราวหรือคำพูดอ้างอิงประกอบที่ชี้ให้เห็นถึงหัวข้อเรื่องของงานวิจัยนั้น นี่เป็นอีกหนึ่งรูปแบบความหลากหลายของเทคนิค “สามเหลี่ยมคว่ำ” และสามารถที่จะสร้างความสนใจให้แก่งานเขียนของคุณให้ดูมีจินตนาการมากขึ้น และแสดงสไตล์งานเขียนที่น่าค้นหา

  • ถ้าคุณใช้เรื่องราว ให้ทำให้สั้นๆ และเกี่ยวข้องมากที่สุดกับงานวิจัยของคุณ มันจะต้องทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับวิธีการเปิดบทนำแบบอื่นๆ นั่นคือ บอกผู้อ่านให้ทราบถึงหัวเรื่องของงานเขียนวิจัยของคุณ
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณกำลังเขียนเกี่ยวกับสังคมวิทยาเรื่องอัตราการทำผิดซ้ำในกลุ่มผู้กระทำผิดวัยรุ่น คุณอาจจะเล่าเรื่องสั้นๆ เกี่ยวกับคนๆ หนึ่งที่สะท้อนและแนะนำไปสู่เรื่องที่คุณเขียน
  • โดยปกติแล้ว วิธีการนี้จะไม่เหมาะสำหรับบทนำของงานเขียนที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์กายภาพมากนัก ซึ่งงานเขียนเหล่านี้จะมีวิธีการเขียนที่ต่างออกไป
5.กล่าวถึงคำถามงานวิจัยของคุณ เมื่อคุณได้พูดถึงทิศทางของงานวิจัยของคุณในสาขานั้นและเหตุผลทั่วไปที่คุณเขียนงานวิจัยแล้ว คุณสามารถที่จะระบุคำถามงานวิจัยที่พูดถึง การวิจารณ์งานเขียนและเหตุผลได้ร่างกรอบให้งานวิจัยของคุณและแนะนำคำถามงานวิจัยของคุณ ในการเกริ่นถึงคำถามนี้ควรจะให้ออกมาอย่างไหลลื่นจากส่วนแรกๆ ของบทนำ ไม่ใช่ออกมาเซอร์ไพรสผู้อ่าน

  • คำถามงานวิจัยโดยปกติแล้วจะปรากฏที่ช่วงท้ายของบทนำและควรมีลักษณะสั้นกระชับและมุ่งเน้นที่งาน
  • คำถามงานวิจัยอาจจะทำให้นึกถึงคำสำคัญที่สร้างขึ้นในสองสามประโยคแรก และในชื่อเรื่องของงานเขียนของคุณ
  • ตัวอย่างของคำถามงานวิจัยอาจจะเป็น “อะไรคือผลที่เกิดขึ้นตามมาจากข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือที่มีต่อเศรษฐกิจการส่งออกของเม็กซิโก?”
  • คุณอาจจะขยายเพิ่มเติมให้เฉพาะมากขึ้นโดยการอ้างถึงองค์ประกอบเฉพาะของข้อตกลงการค้าเสรี และผลกระทบกับอุตสาหกรรมบางอย่างในเม็กซิโก เช่น การผลิตผ้า
  • คำถามงานวิจัยที่ดีควรเกลาปัญหาไปสู่สมมุติฐานที่สามารถทดลองได้
6.ะบุสมมุติฐานของคุณ หลังจากที่คุณได้บอกถึงคำถามงานวิจัยไปแล้ว คุณจะต้องบอกสมมุติฐานต่อมาที่กระชับและชัดเจนหรือบอกหลักการของคุณได้ นี่จะเป็นคำพูดที่จะบ่งบอกว่าบทความของคุณจะมุ่งเน้นไปยังเฉพาะเรื่องและหาคำตอบที่ชัดเจนแทนที่จะไปพูดถึงเรื่องหัวข้อใหญ่ๆ แทนคุณควรจะอธิบายให้เข้าใจได้สั้นๆ ว่าคุณได้สมมุติฐานนี้มาได้อย่างไร โดยแสดงให้เห็นถึงการอภิปรายของคุณจากงานเขียนที่มีอยู่

  • ถ้าเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “สมมุติฐาน” แต่ให้ทำการบอกเป็นนัยแทนในการเขียนของคุณ นี่จะทำให้งานเขียนของคุณดูเป็นรูปแบบฟอร์มน้อยลง
  • ในงานเขียนวิทยาศาสตร์ การให้ภาพรวมหนึ่งประโยคที่ชัดเจนของผลลัพธ์ของคุณและความเกี่ยวข้องของผลลัพธ์กับสมมุติฐานจะทำให้ข้อมูลชัดเจนและเข้าถึงได้
  • ตัวอย่างของสมมุติฐานอาจจะเป็น”คาดว่าหนูที่สูญเสียอาหารในช่วงระยะเวลาการวิจัยนี้จะมีความเฉื่อยชามากกว่าพวกที่ได้รับอาหารเป็นปกติ”

7. ร่างโครงร่างของรายงานของคุณ. ในบางครั้งส่วนสุดท้ายของบทนำงานเขียนวิจัยอาจจะยาวสองสามบรรทัด ซึ่งบอกถึงภาพรวมของโครงสร้างส่วนเนื้อหาของงานเขียนนี้ จะช่วยให้ภาพโครงร่างว่าคุณได้จัดงานเขียนของคุณอย่างไรและมันถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ อย่างไร

  • นี่ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนี้เสมอ คุณควรให้ความใส่ใจในรูปแบบการเขียนงานในสาขาของคุณ
  • เช่น ในงานเขียนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มันจะมีโครงสร้างการเขียนที่ค่อนข้างเข้มงวดที่คุณจะต้องทำตาม
  • งานเขียนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์น่าจะเป็นด้านที่เปิดโอกาสมากที่สุดให้คุณสามารถเขียนโครงสร้างงานเขียนของคุณได้หลากหลายออกไป

ข้อความระวังสำหรับการเขียนบทนำงานวิจัย

  • หลีกเลี่ยงการเขียนบทความที่สะเทือนอารมณ์หรือทำให้เร้าใจ; มันอาจจะทำให้ผู้อ่านไม่เชื่อถือได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้สรรพนามในบทนำของคุณ เช่น “ฉัน”, “เรา”, “พวกเรา”, “ของฉัน” หรือ “ของพวกเรา”
  • อย่าพยายามครอบงำผู้อ่านด้วยการใช้ข้อมูลที่มากเกินความจำเป็น พยายามทำให้บทนำสั้นกระชับเท่าที่ทำได้ โดยการเก็บข้อมูลบางอย่างไว้สำหรับเขียนในส่วนเนื้อหาของงานเขียนของคุณ

อ้างอิง

  1. เทคนิคการสร้างแบบสอบถาม
  2. หลักการสร้างแบบสอบถามที่ดี
  3. สมมติฐานการวิจัย
  4. การตั้งสมมติฐาน
  5. How to

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย การสร้างแบบสอบถาม รับเก็บแบบสอบถาม

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำDissertation การเขียนบทนำ
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำDissertation การเขียนบทนำ