การทดสอบสมมติฐาน

การทดสอบสมมติฐาน

แนวคิดพื้นฐาน นิยาม ความหมาย การทดสอบสมมติฐาน สมมติฐานของงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ 

การทดสอบสมมติฐาน สำหรับการวิจัย หมายถึงการทดสอบหรือตรวจสอบว่าการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้า ของงานวิจัยนั้นเป็นจริงหรือไม่ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจริงหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Evidence) เพื่อนeมาทดสอบการคาดคะเนนั้น   ซึ่งหากข้อมูลจริงสอดคล้องกับการคะเน หรือ การคาดการณ์ที่ตั้งไว้ หมายความว่าสมมติฐานเป็นจริง โดยใช้วิธีการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ

สมมติฐานการวิจัย (Research Hypothesis) คือข้อความที่ระบุความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปร หรือ แนวคิด (concept) ซึ่งผู้วิจัยต้องทำการทดสอบว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยเป็นข้อความที่คาดคะเนคำตอบหรือทำนายไว้ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผลต่อปัญหาของการวิจัย ที่ต้องการศึกษาหาคำตอบ และเป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร หรือ ปัจจัย ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ข้อความนั้นๆ อาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ได้ จึงต้องมีการทดสอบหรือพิสูจน์ด้วยการอาศัยกระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

การทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย การทดสอบสมมติฐานค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่
น่าสนใจ และน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้
7.1 นิยาม
7.2 การทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว และแบบสองทาง
7.3 ขั้นตอนของการทดสอบสมมติฐานพารามิเตอร์
7.4 การทดสอบสมมติฐานค่าเฉลี่ยของหนึ่งประชากร
7.5 การทดสอบสมมติฐานสัดส่วนของหนึ่งประชากร
7.6 การทดสอบสมมติฐานความแปรปรวนของหนึ่งประชากร

7.1 นิยาม
สมมติฐานเชิงสถิติ (Statistical hypothesis) หมายถึง ข้อความเกี่ยวกับประชากรที่ต้องการศึกษา ซึ่งข้อความเกี่ยวกับประชากรนี้ อาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้
นิยาม : สมมติฐาน เขียนแทนด้วย มี 2 อย่าง ดังนี้
1. สมมติฐานที่จะทดสอบ เขียนแทนด้วย เรียกว่า สมมติฐานเพื่อการทดสอบหรือสมมติฐานหลัก (Null hypothesis)
2. สมมติฐานที่แย้งกับสมมติฐานหลัก เขียนแทนด้วย เรียกว่า สมมติฐานแย้งหรือสมมติฐานรอง (Alternative hypothesis)

การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis testing)
หมายถึง กฎเกณฑ์อย่างหนึ่งซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจว่า “ จะยอมรับ หรือ ปฏิเสธ” โดยอาศัยข้อมูลจากตัวอย่างสุ่ม
 ตัวสถิติที่คำนวณได้จากตัวอย่างสุ่ม ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่า ควรจะยอมรับหรือปฏิเสธ เรียกว่า “ตัวสถิติทดสอบ (Test statistic)” ซึ่งอาจเป็นตัวสถิติขึ้นอยู่กับสิ่งที่สนใจศึกษา
 การแจกแจงของตัวสถิติ จะแบ่งออกเป็น 2 บริเวณ ด้วย “ค่าวิกฤต(Critical value)” ได้แก่ บริเวณยอมรับ (Acceptance region) และบริเวณปฏิเสธ
(Rejection region) หรือบริเวณวิกฤต (Critical region)
 โดยที่ บริเวณยอมรับ (Acceptance region) เป็นบริเวณที่จะทำให้เกิดการยอมรับ H0 ส่วนบริเวณปฏิเสธ (Rejection region) หรือบริเวณวิกฤต (Critical
region) เป็นบริเวณที่จะเกิดการปฏิเสธ H0

ประเภทของความผิดพลาดของการทดสอบสมมติฐาน

เนื่องจากข้อความใน อาจเป็นจริงหรือเป็นเท็จก็ได้ และในการตัดสินใจที่จะยอมรับหรือปฏิเสธ จะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างสุ่ม ซึ่งมีความไม่แน่นอนจึงมีโอกาสเกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจได้ นั่นคือ เกิดความคลาดเคลื่อนอันเนื่องมาจากตัวอย่างสุ่ม ซึ่งความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมี 2 ประเภท

ความผิดพลาดแบบที่ 1 (Type I error)
เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากการปฏิเสธ ทั้งที่ เป็นจริง และความน่าจะเป็นที่ ความผิดพลาดชนิดนี้จะเกิดขึ้น เรียกว่า ระดับนัยส าคัญ (Level of significance) หรือ ขนาดของการทดสอบ หรือ การเสี่ยงแบบ 1 (Alpha risk) แทนด้วย
ความน่าจะเป็นที่เกิดความผิดพลาดแบบที่ 1
P (Type I error)
P (ปฏิเสธ เป็นจริง)

ความผิดพลาดแบบที่ 2 (Type II error)
เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากการยอมรับ ทั้งที่ เป็นเท็จ และความน่าจะเป็นที่ ความผิดพลาดชนิดนี้จะเกิดขึ้น เรียกว่า การเสี่ยงแบบ 2 (Beta risk) แทนด้วย
ความน่าจะเป็นที่เกิดความผิดพลาดแบบที่ 2
P (Type II error)
P (ยอมรับ เป็นเท็จ)

ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน

โดยทั่วไป การทดสอบสมมติฐานสำหรับการทำวิจัย รวมถึงวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ มีขั้นตอน ดังนี้
6.1 ตั้งสมมติฐาน H_0 และ H_1 เพื่อใช้ในการทดสอบ
6.2 กำหนดระดับนัยสำคัญ เช่น ∝ = 0.01, ∝ = 0.05
6.3 เลือกสถิติทดสอบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบที่เลือกนั้นและคำนวณค่าสถิติทดสอบ
6.4 หาจุดวิกฤต และบริเวณวิกฤต ซึ่งเป็นค่าที่แบ่งเขตการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานหลัก
6.5 สรุปผลการทดสอบ
โดยสรุป ความแตกต่างระหว่างการประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน คือการประมาณค่านั้น ผู้วิจัยไม่มีแนวคิดมาก่อนว่า ค่าพารามิเตอร์ของประชากรที่ผู้วิจัยประมาณนั้นจะมีค่าเป็นเท่าไรการประมาณค่า

อ้างอิง

  1. เทคนิคการสร้างแบบสอบถาม
  2. หลักการสร้างแบบสอบถามที่ดี
  3. สมมติฐานการวิจัย
  4. การตั้งสมมติฐาน

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย การสร้างแบบสอบถาม รับเก็บแบบสอบถาม

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำDissertation การทดสอบสมมติฐาน
รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำDissertation การทดสอบสมมติฐาน