การเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย (Conceptual Framework)

การเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย การสร้าง กรอบแนวคิดงานวิจัย  

กรอบแนวคิดการวิจัย คือ กรอบของการวิจัยที่เป็นผลสรุปจากการศึกษาและทดลองทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรและการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งผู้เสนอจะสรุปเป้นแนวคิดของตำเองสำหรับการดำเนินการวิจัยของตน ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยข้องกับปัญหา และมีมโนภาพ (Concept) ในเรื่องเหล่านั้น เพื่อนำมาประมวลเป็นกรอบการวิจัยเพื่อพัฒนาการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป  เทคนิค การเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย จึงเป็นการทำงานสำคัญขั้นตอนหนึ่งสำหรับการทำวิจัยที่มีคุณภาพ และประสบความสำเร็จ

การเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย เป็นสิ่งสำคัญของการทำวิจัย ขณะเดียวกันก็มักจะเป็นปัญหาสำหรับการทำวิจัยด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักวิจัยมือใหม่ นักวิจัยที่ยังไม่ตกผลึกหรือยังไม่เกิดความคิดรวบยอดในเนื้อหาสาระสำคัญของงานวิจัยที่ทำ  ทำให้การเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัยไม่ถูกต้อง หรือ ไม่สมบูรณ์ ทำให้ผู้อ่านหรือแม้แต่ตัวผู้ทำวิจัยเองมองไม่เห็นสาระสำคัญซึ่งเป็นแนวคิดรวบยอดสำหรับการทำวิจัยนั้น

การเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์
เทคนิค การเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย

เคล็ดลับ การเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย มีรายละเอียดที่สำคัญ

เทคคิดและเคล็ดลับของการเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย ที่ถูกต้อง สมบูรณ์แบบ จะต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจนิยามหรือความหมายของกรอบแนวคิดงานวิจัย เพื่อให้สามารถทำงานในขั้นตอนนี้ได้อย่างถูกต้อง

ความหมายของกรอบแนวคิดงานวิจัย

กรอบแนวคิดงานวิจัย คือ ขั้นตอนสำคัญของกระบวนการทำวิจัย ด้วยการนำตัวแปรซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาทำการเชื่อมโยงกับแนวคิด ทฤษฎี รวมไปถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Related Research) ในรูปของคำบรรยาย แบบจำลอง แผนภาพ หรือแม้แต่การผสมผสานระหว่างการวางตัวอักษรและรูปภาพ

ลักษณะที่ดีของกรอบแนวคิดงานวิจัย

กรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัยที่ดี จะต้องมีความกระชับ เข้าใจง่าย สามารถแสดงถึงทิศทางและความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ของปัจจัยหรือตัวแปรที่ต้องการที่จะทำวิจัยหรือต้องการศึกษา  โดยตัวแปรที่ต้องการจะทำวิจัยนั้น จะต้องสามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ได้  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการทำวิจัย รูปแบบการทำวิจัย รวมไปถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล

หลักสำคัญ การเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย

  1. ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) หรือตัวแปรต้น  จะต้องเขียนไว้ด้านซ้ายมือ และต้องมีการใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถจำแนกตัวแปรที่ต้องการทำวิจัยได้อย่างชัดเจน ไม่สับสน
  2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) จะต้องเขียนไว้ด้านขวามือ และเช่นเดียวกับตัวแปรอิสระ คือต้องมีการใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้เช่นกัน เพื่อให้สามารถจำแนกตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
  3. มีการเขียนลูกศรเชื่อมโยงจากตัวแปรอิสระแต่ละตัว มายังตัวแปรตาม โดยจะต้องมีการโยงลูกศรให้ครบทุกตัวแปร หรือตัวแปรทุกคู่ที่ศึกษา

ทั้งนี้  กรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย  จะเป็นผลสรุปจากการศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคำหลัก(Keyword) ที่อยู่ในชื่อเรื่องหรือหัวข้อวิจัย (Research Topic/Thesis Topic) ซึ่งนักวิจัยหรือนักศึกษาที่เสนอหัวข้อวิจัยและมีการทำโครงร่างหรือเค้าโครงที่สรุปเป็นแนวคิดของตนเองสำหรับการดำเนินการวิจัย  โดยทั่วไปก่อนที่จะมีการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยนี้  นักศึกษาหรือนักวิจัยจะต้องมีการทบทวน รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ แนวคิด หลักเกณฑ์ หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัยในอดีตที่เคยทำไว้และเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนทำ ว่ามีงานวิจัยและทฤษฎีใดบ้างที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการวางแผนการทำวิจัยของตน

นอกจากนี้ กำหนดกรอบแนวคิดวิจัยในส่วนของ เนื้อหาสาระซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  พร้อมทั้งการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสำหรับการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) ซึ่งกรอบแนวคิดในการวิจัยอาจมีเฉพาะการระบุเฉพาะตัวแปรเหล่านั้นว่ามีตัวแปรอะไรที่จะนำมาศึกษา กรอบแนวคิดดังกล่าว   จึงเปรียบเสมือนขอบเขตทางด้านเนื้อหาสาระของการวิจัย  สำหรับการวิจัยประเภทอธิบาย (Fxplanatory Research) กรอบแนวคิดของการวิจัยมีการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยกรอบแนวคิดคือการประมวลความคิดรวบยอดของงานวิจัย   ว่างานวิจัยที่กำลังทำอยู่นี้ มีตัวแปรอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาเป็นอย่างไร อะไรเป็นตัวแปรอิสระ อะไรเป็นตัวแปรตาม

แหล่งที่มาของกรอบแนวคิดการวิจัย

 1.    ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  สิ่งสำคัญที่สุด และมีความจำเป็นอย่างมาก หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการเขียนกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัยที่ถูกต้องและสมบูรณ์  จะต้องประกอบด้วยแนวคิดที่รัดกุม ชัดเจน มีเหตุมีผล  ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือคำหลัก (Keyword) ที่อยู่ในหัวข้อวิจัยทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยในสาขาใด แขนงใด  ไม่ว่าจะเป็นบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์  รัฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บริหารการศึกษา  หรือในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์ ตลอดจนวิจัยด้านสังคมศาสตร์อื่น ๆ ทั้งนี้เพราะไม่เพียงแต่จะได้ตัวแปรต่างๆ เท่านั้น ยังได้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างมีเนื้อหาสาระ คำอธิบายหรือข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์หรือสรุปผลจะได้มีความหนักแน่นในเชิงทฤษฎี ดังนั้นการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนอกจากจะชี้ให้เห็นถึงตัวแปรใดสำคัญและมีความสัมพันธ์กันอย่างไรแล้ว ยังทำให้กรอบแนวคิดในการวิจัยมีแนวทางที่ชัดเจนและมีเหตุผล

 2.    ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  หมายถึงงานวิจัยที่ผู้อื่นได้ทำมาแล้วมีประเด็นตรงกับประเด็นที่เราต้องการศึกษา หรือมีเนื้อหา หรือตัวแปรบางตัวที่ต้องการศึกษารวมอยู่ด้วย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นอาจจะไม่ได้อยู่ในสาขาทางการพยาบาลเท่านั้น แต่อาจจะอยู่ในสาขาอื่นๆ ด้วย ดังนั้นผู้วิจัยควรมุ่งศึกษาว่าผู้ที่ได้ทำวิจัยมาแล้วมองเห็นว่า ตัวแปรใดมีความสำคัญหรือไม่อย่างไรกับปรากฏการณ์หรือประเด็นที่เราต้องการศึกษา หรือบางตัวแปรอาจจะไม่เกี่ยวข้องแต่ผู้วิจัยไม่ควรตัดทิ้ง เพราะสามารถนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อยืนยันต่อไปว่า มีหรือไม่มีความสำคัญในกลุ่มประชากรที่ศึกษาอยู่

  3.   กรอบแนวคิดของผู้วิจัยเองที่สังเคราะห์ขึ้นเอง นอกจากการศึกษาผลงานวิจัยและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้ว กรอบแนวคิดยังจะได้มาจากความคิดและประสบการณ์การทำงานของผู้วิจัยเองอีกด้วย

หลักการเลือกและประโยชน์ของกรอบแนวคิดในการวิจัย

กรอบแนวคิดที่ดีควรจะเป็นกรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระตัวแปรที่ต้องการศึกษา  มีความสอดคล้องกับความสนใจในเรื่องที่วิจัย  มีความง่ายและไม่สลับซับซ้อนมาก  และควรมีประโยชน์ในเชิงนโยบายหรือการพัฒนาสังคม   กรอบแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการวิจัยจะมีประโยชน์ต่อการดำเนินการวิจัยขั้นต่อ ๆ ไป  โดยเฉพาะในขั้นการรวบรวมข้อมูล  ขั้นการออกแบบการวิจัย  ขั้นการวิเคราะห์  และการตีความหมายผลการวิเคราะห์

การนำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย

การนำเสนอกรอบแนวคิดงานวิจัย
การนำเสนอกรอบแนวคิดงานวิจัย

สำหรับการนำเสนอกรอบแนวคิดงานวิจัย  นักวิจัยอาจเลือกทำได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

1.     การนำเสนอกรอบแนวคิดงานวิจัยด้วยการเขียนบรรยาย  ด้วยการระบุตัวแปรที่ศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาวิจัย

2.     การนำเสนอด้วยการเขียนแบบจำลองหรือสัญลักษณ์และสมการ

3.     การเขียนแผนภาพ แสดงตัวแปรต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร

4.     การเขียนแบบผสมผสาน

หลักเกณฑ์ การเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย

1.     ตัวแปรแต่ละตัวที่เลือกมาศึกษา หรือที่นำเสนอไว้ในกรอบแนวคิดในการวิจัยต้องมีพื้นฐานเชิงทฤษฏีว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา

2.     มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม

3.    มีรูปแบบสอดคล้องกับความสนใจ หรือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย

4.    ระบุรายละเอียดของตัวแปรและหรือสามารถแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ชัดเจนด้วยสัญลักษณ์หรือแผนภาพ

หลักในการเลือกกรอบแนวคิด
การเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย
หลักในการเลือกกรอบแนวคิดงานวิจัย

หลักสำคัญในการเลือกกรอบแนวคิดในการวิจัยทางการพยาบาล มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ คือ

1.    ความตรงประเด็น กรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นของการวิจัย กล่าวคือ มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหา ซึ่งพิจารณาได้จากเนื้อหาของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม และระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย ในกรณีที่มีแนวคิดหลายๆ แนวตรงกับหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ผู้วิจัยควรเลือกแนวคิดที่ตนเองคิดว่าตรงกับประเด็นที่ต้องการศึกษามากที่สุด

2.    ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน กรอบแนวคิดที่ควรจะเลือกควรเป็นกรอบที่ง่ายแก่การเข้าใจ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากมีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่จะนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิด ผู้ที่ทำวิจัยควรเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุดที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาได้พอๆกัน

3.    ความสอดคล้องกับความสนใจ กรอบแนวคิดที่ใช้ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวแปร หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ที่จะทำการวิจัย

4.    ความมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติการการวิจัยนั้นควรมีกรอบแนวคิดสะท้อนถึงประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลด้วย

วิธีการสร้างกรอบแนวคิด

สำหรับเทคนิคการสร้างกรอบแนวคิดงานวิจัย ซึ่งเป็นกระบวนการในส่วนของการสรุปงานวิจัยในภาพรวม หรือเป็นการฉายภาพรวมของวิจัยที่กำลังทำนั้น   ซึ่งควรมีแนวคิดที่สำคัญ  และมีการเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง  มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทิศทางไหน เป็นต้น  โดยตัวผู้วิจัยต้องนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยจริงๆ สิ่งสำคัญคือ ผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาความรู้ในทฤษฎีนั้นๆ ให้มากพอ ทำความเข้าใจทั้งความหมายแนวคิดที่สำคัญของสมมติฐานจนสามารถเชื่อมโยงในเชิงเหตุผลให้เห็นเป็นกรอบได้อย่างชัดเจน การเชื่อมโยงของแนวคิดนี้ บางแห่งเรียกว่า รูปแบบ หรือตัวแบบ (model)

วิธีการสร้างกรอบแนวคิด

วิธีการสร้างกรอบแนวคิดสำหรับงานวิจัย รวมไปถึงงานวิจัยประเภท วิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์ หรือวิจัยปริญญาเอก สามารถทำได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

รูปแบบที่1 โดยการสรุปประเด็นต่างๆ จากข้อมูลที่ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้กระจ่าง

รูปแบบที่2  กำหนดจากกรอบทฤษฎีที่มีใช้ เป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิจัย ในขอบเขตของเอกสารและงานวิจัยที่ได้ศึกษา เช่น การนำทฤษฎีการพยาบาลของรอย โอเร็ม มาใช้เป็นกรอบการวิจัยในการวิจัยเชิงบรรยายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาตัวแปร กรอบแนว คิดมักจะเป็นในลักษณะที่ 1 คือการสรุปประเด็นข้อมูล ส่วนในการวิจัยทดลอง จะต้องมีพื้นฐานทฤษฎี หลักการของการวิจัยที่ชัดเจน การกำหนดกรอบแนวคิดมักจะเป็นลักษณะที่ 2

วิธีการเขียนกรอบแนวคิด

การเขียนกรอบแนวคิดให้ถูกต้องและสมบูรณ์นั้น   ผู้วิจัยจำเป็นต้องเขียนเพื่อแสดงทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในกรอบแนวคิดในการวิจัยของตนให้ชัดเจน  โดยอาศัยขอบเขตของเอกสารและงานวิจัยที่ศึกษา อาจเขียนไว้ท้ายก่อนหน้าส่วนของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(ท้ายบทที่ 1) หรือ ท้ายส่วนของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(ท้ายบทที่ 2) ก็ได้ รูปแบบการเขียนทำได้ 3 ลักษณะ คือ

1. เขียนแบบบรรยายต่อเนื่องกันโดยไม่แยกหัวข้อ ความยาวของการเขียนประมาณ 1 หน้ากระดาษ

2. เขียนเป็น แผนภูมิ แสดงความสัมพันธ์และทิศทางระหว่างตัวแปรที่ศึกษา หรือ

3. เขียนเป็นแผนภูมิประกอบคำบรรยายเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ถ้ามีตัวแปรหลายตัว หรือตัวแปรมีความสัมพันธ์สลับซับซ้อน

รูปแบบการนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย

ดังที่ได้ กล่าวมาแล้วในหัวข้อแรกๆ ว่า กรอบแนวคิดในการวิจัยห เป็นการระบุความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรชุดต่างๆ เป็นอย่างไร  ดังนั้น กรอบแนวคิดในการวิจัย จึงมีความแตกต่างจากขอบเขตของการวิจัย    ซึ่งผู้วิจัยจะพบเห็นการวางกรอบแนวคิดในการวิจัยไว้ หลายที่ด้วยกัน  วิทยานิพนธ์บางเล่มมีการนําเสนอกรอบแนวคิดในบทที่ 1  แต่การนําเสนอที่มีเหตุผลควรนําเสนอในบทที่ 2    เพราะกรอบแนวคิดในการวิจัยไม่ได้เกิดขึ้นจากคาดเดา การมโน หรือสูญญากาศ หรือ สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ หากแต่เกิดจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ รวมทั้งงานวิจัยที่มีมา

อ้างอิง :

1 / 2 / 3 / 4 / 5

รับทำวิจัย รับทำวิทยานิพนธ์ แบบที่ปรึกษา ผู้ช่วยทำวิจัย

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย รับวิเคราะห์SPSS รับวิเคราะห์แบบสอบถาม การสืบค้นงานวิจัย การสืบค้นข้อมูล รับสืบค้นงานวิจัย รับสืบค้นข้อมูลงานวิจัย รับเขียนกรอบแนวคิดงานวิจัย