รับทำวิจัย,รับทำวิทยานิพนธ์(ผู้ช่วย)และดุษฎีนิพนธ์ที่ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

รับทำวิจัย ให้คำปรึกษาการทำวิจัยปริญญาเอก ปรึกษาการทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิทยานิพนธ์แบบผู้ช่วยวิจัย ด้วยเทคนิคการทำวิจัยเชิงคุณภาพ

จากประสบการณ์  การทำวิจัยเชิงคุณภาพ  และ รับทำวิจัยเชิงคุณภาพ มามากกว่า 15 ปี ขอเสนอข้อคิดเห็น  รายละเอียด และประเด็นสำคัญบางประการเกี่ยวกับการทำวิจัยเชิงคุณภาพต่อไปนี้

เทคนิค การทำวิจัยเชิงคุณภาพ มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเกือบทั้งหมด จะใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ซึ่งโดยทั่วไป  แม้เราจะเป็นทีมที่ รับทำวิจัย หรือวิทยานิพน ธ์รวมไปถึง ดุษฎีนิพนธ์  แต่ ในแนวทางปฏิบัติขั้นตอน ของการรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์เชิงลึก เจ้าของงานวิจัย  จะต้องเป็นผู้ดำเนินการส่วนนี้เอง  โดยทีมจะให้คำแนะนำปรึกษา เกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือ และ การนำผลสัมภาษณ์ ที่ได้มาเรียบเรียงเนื้อหาอย่างไรบ้าง

งานวิจัย ที่ม่งเน้นผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือ และ มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้จริง สามารถ ใช้ผลการวิจัยเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น สำหรับ การกำหนดกลยุทธ์ การวางแผน และ การกำหนดนโยบายที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด  ควรทำการศึกษาวิจัยแบบผสม (Mixed  Research) ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative  Research) ควบคู่ กับ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  Research)

สำหรับบทความนี้จะอธิบายถึง เทคนิคการทำวิจัยเชิงคุณภาพ และ ประโยชน์ของการทำวิจัยเชิงคุณภาพ รวมไปถึงการอธิบายรายละเอียดที่ชัดเจนให้เห็นในแต่ละขั้นตอนของกาารทำวิจัยเชิงคุณภาพ

 การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  Research)

  • ความหมาย

การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็น  เทคนิคการวิจัย ในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ โดยใช้วิธีการศึกษา การรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่มีความหลากหลายและมีความยืดหยุ่น โดยเครื่องมือที่สำคัญที่สุดสำหรับการท่ำวิจัยเชิงคุณภาพคือตัวผู้วิจัยเอง

  • คุณลักษณะเด่นของการทำวิจัยเชิงคุณภาพ
  1. มุ่งเน้นการทำความเข้าใจต่อพฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมภายใต้บริบทต่างๆ
  2. มุ่งเน้นการทำความในมุมมองของผู้กระทำ
  3. เป็นการทำวิจัยที่ยอมรับอัตวิสัยของผู้ที่ถูกศึกษา
  4. วิเคราะห์เรื่องราวและชีวิตทางสังคมที่มีมนุษย์หรือตัวบุคคลเป็นผู้กระทำ  ตลอดจนเป็นผู้ที่ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขของสถานการณ์และเวลา
  • ประชากรและกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทำวิจัยเชิงคุณภาพ

การกำหนดประชากร สำหรับการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ไม่แตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณ แต่การทำวิจัยเชิงคุณภาพจะทำการกำหนด กลุ่มตัวอย่างที่มีความเฉพาะเจาะจง มากกว่าการทำวิจัยเชิงปริมาณ ยกตัวอย่าง หากทำวิจัยเรื่องแนวทางการเพิ่มรายได้ให้แก่ธุรกิจบริการผู้สูงอายุในเขตภาคเหนือ  ในส่วนของการทำวิจัยเชิงปริมาณเรามักจะออกแบบเครื่องมือหรือแบบสอบถามเพื่อใช้กับกลุ่มตัวอย่าง (sample) ที่เป็นผู้ใช้บริการ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นหลัก  แต่ในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ เราต้องการมุ่งเน้นผลการศึกษาที่หลากหลาย ลึกซึ้ง และครอบคลุมรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ให้มากที่สุด

การทำวิจัยเชิงคุณภาพ รับทำวิจัยเชิงคุณภาพ
รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำค้นคว้าอิสระ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ รับทำวิจัยเชิงคุณภาพ

ดังนั้นในการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัย เราจะเลือกกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งหากเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จะเรียกกลุ่มตัวอย่างที่เลือกว่า “กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก” หรือ Key Informants ซึ่งอาจจะเป็นทั้งผู้ใช้บริการคือผู้สูงอายุ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคือ ผู้ให้บริการสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงอายุ  และอีกกลุ่มที่ถูกเลือกคือ เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนส่งเสริมและสนับสุนคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นต้น

  • เทคนิคการรวบรวมข้อมูลสำหรับการทำวิจัยเชิงคุณภาพ

การรวบรวมข้อมูลสำหรับการทำวิจัยเชิงคุณภาพมี 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. การสัมภาษณ์
  2. การสังเกต
  3. การสนทนากลุ่ม
  4. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร

สำหรับเทคนิคการเก็บรวบรวม้อมูลจากเอกสาร  ผู้ทำวิจัยต้องทราบว่าข้อมูลที่ได้จะใช้ประโยชน์ทางด้านใด และต้องเป็นข้อมูลที่เผยแพร่โดยใคร เพราะมีผลต่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัย

  • การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview)  มี 3 รูปแบบคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง  และ สัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง  โดยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกมีดังนี้
  1. ควรมีความรู้ในเรื่องที่สัมภาษณ์ คือต้องทำความเข้าใจและหาความรู้ประเด็นนั้นๆ ก่อน
  2. ไม่ใช้คำถามนำเด็ดขาด
  3. ไม่ใช้อำนาจเหนือผู้ให้สัมภาษณ์
  4. ผู้สัมภาษณ์ควรทำตัวเหมือนไม่รู้รายละเอียดเชิงลึกมากเกินไป
  • การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)

การสนทนากลุ่มมีประเด็นที่ควรให้ความสำคัญคือ

  1. ใครเป็นคนนำการสนทนา
  2. ลักษณะของผู้นำสนทนาที่ดีควรเป็นอย่างไร
  • การนำเสนอข้อมูลหรือผลการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ
  1. Exploratory: เป็ำการนำเสนอสิ่งที่พบเห็นจากการสำรวจตรวจค้น
    เป็นการนำเสนอภาพเบื้องต้นจากการสำรวจ  ซึ่งอาจจะไม่ครบถ้วน
    ในทุกมิติ แต่สามารถช่วยให้เห็นภาพหรือเข้าใจเรื่องราวที่มีคน
    ศึกษาวิจัยเพิ่มขึ้นได้
  2. Descriptive : เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์แบบพรรณนาหรือเป็นการบรรยายอธิบายสิ่งที่ได้
    ศึกษาวิจัยมาโดยให้รายละเอียดที่ลึกและกว้าง
  3. Explanatory: นำเสนอำอธิบายให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ
    ในปรากฏการณ์ที่ไปศึกษา แสดงให้ภาพความสัมพันธ์ของข้อมูล

Professionaldatas ให้บริการรับทำวิจัย และ รับทำวิทยานิพนธ์(แบบผู้ช่วยวิจัย) มีประสบการณ์ ในการทำวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งส่วนใหญ่งานวิจัย  ที่ผ่านการตรวจสอบของคณะกรรมการ มักเป็นเทคนิคการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณืเชิงลึก และ การสนทนากลุ่ม และมักจะมีการเทคนิคการรวบรวมาเอกสารจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ประกอบไปด้วย  ซึ่งแหล่งข้อมูลที่อ้างอิง มีส่วนสำคัญมาก ต่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัย โดยหาก เป็นวารสารที่เผยแพร่ในระบบอินเทอร์เน็ต ควรเป็นแหล่ง ที่ได้รับการยอมรับสูงเช่น งานวิจัยตีพิมพ์ของศูนย์วิจัยขนาดใหญ่ หรืองานวิจัย หรือ ข้อมูล ของหน่วยงานรัฐ และ องค์กรเอกชน ที่ได้รับการยอมรับ และ เชื่อถือในวงการวิชาการ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ :

https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2017060214303218.pdf

https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2015112820040788.pdf