หัวข้อวิจัยบัญชี
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัยทางการบัญชี หัวข้อวิจัยบัญชี
การวิจัยทางการบัญชีเป็นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีการเงิน การบัญชี บริหาร การสอบบัญชี การภาษีอากร ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ธรรมาภิบาล และอื่นๆ เพื่อค้นหาหาข้อเท็จจริงด้วยระบบ อันมีระเบียบแบบแผนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการทางการบัญชี หัวข้อวิจัยบัญชี ที่ดี ต้องนำไปสู่การได้มาซึ่งความรู้หรือข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบหลักของการวิจัยทางการบัญชีจะต้องประกอบด้วย
- การกำหนดปัญหาในการทำวิจัย (Research question)
- วัตถุประสงค์ของงานวิจัย (Objective)
- การทบทวนวรรณกรรม (Literature review)
- ทฤษฎี (Theory)
- กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual framework)
- วิธีวิจัย (Research methods)
- การรายงานผลการวิจัย (Report and result)
- การให้ประโยชน์(Contribution) ข้อจำกัด และ
งานวิจัยในอนาคต (Limitation/ Future research)
สำหรับงานวิจัยทางด้านบัญชีในอดีตที่ผ่านมาถือได้ว่ายังมีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยด้านอื่นๆ ในสาขาบริหารธุรกิจ(นภดล ร่มโพธ์, 2554) การบัญชีเป็นศาสตร์ที่สามารถนำมาสู่กระบวนการวิจัยเพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ด้านการบัญชี พัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐบาล
และภาคเอกชน พัฒนาวิชาชีพบัญชีและบุคลากรในวิชาชีพบัญชี
ลักษณะ การทำวิจัยด้านบัญชี สามารถดำเนินการได้ในระดับ หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลวิชาชีพบัญชี หน่วยงานที่นำข้อมูลด้านการบัญชีไปใช้ สถานศึกษาที่มีหลักสูตรการบัญชี รวมทั้ง นักบัญชีและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการบัญชี ดังนั้น นักบัญชีและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจ ทั้งนี้ การวิจัยทางการบัญชีมีหลายลักษณะ เช่น การวิจัยเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทางการเงิน การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงทฤษฎีการวิจัยเชิงประจักษ์ และการวิจัยลักษณะอื่นๆ
ความหมายของการวิจัยทางการบัญชี
ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานขององค์กรต่างๆ ได้มีการสรุปผลในรูปของงบการเงินซึ่งมีประโยชน์เมื่อองค์กรนำมาวิเคราะห์หรือตีความผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงิน เพื่อใช้ในการวางแผนงานให้บรรลุเป้าหมายของการดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาในการดำเนินงานโดยมีงานบัญชีเข้าไปเกี่ยวข้องยังคงมีอยู่
การทำการวิจัยจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ที่นำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้และสามารถพัฒนาองค์ความรู้ทางการบัญชีได้อีกทางหนึ่ง งานวิจัยทางการบัญชีในปัจจุบันมีกระบวนการที่ชัดเจนเป็นระบบ และเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตามผู้วิจัยต้องเข้าใจความหมายของการวิจัยทางการบัญชีอย่างถ่องแท้และเป็นเข้มทิศชี้ทางในปัญหาที่มีงานปัญชีเข้าไปเกี่ยวข้อง สามารถได้ข้อสรุปในเหตุแห่งปัญหาและแนวทางการแก้ไข

5 เทคนิคการกำหนดหัวข้อวิจัยบัญชี
- เป็นหัวข้อวิจัยที่นักวิจัยมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดี พื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการทำวิจัย รวมทั้งวิจัยด้านบัญชี คือ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่เกี่ยวข้อง เช่น บัญชีต้นทุน บัญชีภาษีอากร บัญชีขั้นสูง ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ฯลฯ ผู้วิจัยต้องสำรวจตรวจสอบ พื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ ความถนัด และทักษะของตนในเบื้องต้นเสียก่อน ว่ามีความรู้พื้นฐานเพียงพอ ที่จะต่อยอดทำวิจัยในหัวข้อเหล่านี้ต่อไปจนสำเร็จหรือไม่
- หัวข้อวิจัยบัญชีนั้นมีความน่าสนใจ การทำวิจัยที่ดีควรเริ่มต้นจากความสนใจของตัวผู้วิจัยเอง เนื่องจากจะทำให้เจ้าของงานวิจัยมีความกระตือรือร้น ที่จะทำงานวิจัยนั้นให้สำเร็จ และมีความสนใจใคร่รู้เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้นๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์ น่าอ่าน และสามารถนำผลการวิจัย ไปต่อยอดในวงการวิชาการนั้นๆได้
- หัวข้อวิจัยบัญชีที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ การทำวิจัยด้านการบัญชี โดยทั่วไปจะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และใช้ข้อมูลประเภททุติยภูมิ (Secondary Data) หรือ ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series Data) ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ ข้อมูลด้านงบการเงินต่างๆ เช่น งบดุล (Balance Sheet) งบกำไรขาดทุน (Incomw Statement) และงบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) เป็นต้น ซึ่งการกำหนดหัวข้อวิจัยบัญชี จะแสดงถึงตัวแปรที่นักวิจัยต้องการศึกษาและวัดความสัมพันธ์ หากเราเลือกกรณีศึกษาหรือกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แม้ว่าจะผ่านกระบวนการทำวิจัยที่ดีและถูกต้องเพียงใด ก็ไม่สามารถทำต่อจนเสร็จได้ เนื่องจากไม่สามารถดึงหรือเข้าถึงข้อมูลที่นำมาใช้ได้
- ต้องเป็นหัวข้อวิจัยบัญชีที่ชัดเจน สั้น กระชับ หัวข้อวิจัยบัญชี หรือ หัวข้อวิจัยทั่วไป จะต้องแสดงถึงคำหลัก (Keyword) หรือ ตัวแปร (Variable) ที่ต้องการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านั้น และในบางครั้ง นักวิจัยจะแสดงถึงวิธีการทางสถิติ หรือ แบบจำลองที่ใช้ ปรากฎอยู่ในหัวข้อวิจัยบัญชีนั้นๆด้วย เช่น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงดุลภาพระยะยาว ระหว่างคุณภาพของกำไรและโครงสร้างเงินทุน จะเห็นว่า หัวข้อนี้มีตัวแปรที่นักวิจัยต้องการศึกษา คือ “คุณภาพของกำไร” และ “โครงสร้างเงินทุน” รวมทั้งมีการระบุวิธีการหรือแบบจำลองทางสถิติ/เศรษฐมิติ ไว้ด้วย คือ “การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว” หรือ Cointegration ซึ่งเป็นแบบจำลองเศรษฐมิติที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรรูปแบบหนึ่ง
- หัวข้อวิจัยบัญชีนั้นไม่ยากจนเกินไป ไม่ยากเกินไปในที่นี้คือนักวิจัยมีความรู้ในเรื่องนั้นๆเพียงพอ มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี มีความรู้ด้านสถิติแบบจำลองที่ใช้ เช่น OLS ARMA ARIMA GARCH ฯลฯ ซึ่งแบบจำลองหรือสถิติ/เศรษฐมิติ เหล่านี้มีความจำเป็นที่นักวิจัยจะต้องเข้าใจกระบวนการวิเคราะห์ ตัวแปร สัมประสิทธิ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ในสูตรที่ใช้เป็นอย่างดี รวมถึงการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ เช่น การใช้โปรแกรมSPSS การใช้โปรแกรมEVIEW หรือ ใช้โปรแกรมSTATA ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อความสำเร็จและคุณภาพของงานวิจัย
ลักษณะของการวิจัยทางการบัญชี
การวิจัยทางการบัญชีมุ่งเน้นการค้นหาข้อเท็จจริง เพิ่มพูนความรู้ใหม่ในสาขาวิชาอย่าง มีระบบ เพื่อให้ได้ข้อสรุปและการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องแม่นยำ การได้มาซึ่งงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัย และหลักวิชาการตามสาขาวิชาการบัญชีนั้น มีลักษณะของการวิจัยดังนี้
1. การวิจัยจะต้องนำไปสู่การแก้ปัญหา
2. การวิจัยควรเป็นการพัฒนาข้อสรุปทั้งที่เป็นนัยทั่วไป (Generalization) และทฤษฎี(Theory)
3. การวิจัยต้องอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่สามารถสังเกตได้ (Observable experience) หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical evidence)
4. การวิจัยต้องมีการสังเกตที่ถูกต้อง (Accurate observation) และต้องพรรณนาความได้ ซึ่งผู้วิจัยสามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการค้นหาคำตอบ
5. การวิจัยเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลใหม่ คือ เป็นการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วสำหรับวัตถุประสงค์เรื่องใหม่
นอกจากลักษณะของการวิจัยดังกล่าวแล้ว งานวิจัยยังจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ ความเพียร ซื่อสัตย์ ความมีระบบ มีเหตุผล มีเป้าหมาย ต้องมีเครื่องมือหรือเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งต้องมีการบันทึก และต้องเขียนรายงานวิจัยอย่างระมัดระวัง
ประเภทของการวิจัยทางการบัญชี
การวิจัยตามศาสตร์ของการบัญชี สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (สุนา สิทธิเลิศ ประสิทธิ์, 2554)
1. การวิจัยด้านการบัญชีการเงิน (Research of financial accounting) เป็นการวิจัยทางการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การรวบรวม การจำแนก และรายการข้อมูลทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นในอดีต โดยถือหลักการปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
2. การวิจัยด้านการบัญชีบริหาร (Research of managerial accounting) เป็นการวิจัยทางการบัญชี มุ่งให้ข้อมูลภายในองค์กรเพื่อนำมาใช้ในการวางแผน การสั่งการ การควบคุมและการตัดสินใจสำหรับการดำเนินงานภายในองค์กร รูปแบบรายงานด้านการบัญชีบริหารไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการข้อมูลของผู้บริหาร
ประเภทของการวิจัยทางการบัญชี นอกจากจะแบ่งเป็นการวิจัยด้านการบัญชีการเงินและการวิจัยด้านการบัญชีบริหารแล้วนั้น การวิจัยทางการบัญชี สามารถจัดทำได้ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยกำหนดไว้เป็น 8 ประเภท ดังนี้
1. การทำบัญชีเป็นงานเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล การรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดทำรายงานการเงิน
2. การสอบบัญชีเป็นการตรวจสอบเอกสารประกอบการลงบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีและสมุดบัญชีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงิน
3. การบัญชีบริหาร เป็นการจัดทำบัญชีรวมทั้งรายงานทางการเงินเพื่อใช้ในการวางแผนงาน การควบคุมและการตัดสินใจ โดยจะเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล
4. การวางระบบบัญชีเป็นการออกแบบแผนการปฏิบัติงานด้านการบัญชีเกี่ยวกับการใช้และการเก็บรักษา ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลทางด้านการเงิน การแยกประเภทบัญชีการบันทึกบัญชีและเอกสารและสมุดบัญชีต่างๆ
5. การบัญชีภาษีอากร เป็นการปรับหลักการบัญชีหรือมาตรฐานการบัญชีให้มีความสอดคล้องกับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง
6. การศึกษาและเทคโนโลยีบัญชีเป็นการประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการต่างๆโดยการนำศาสตร์ด้านการบัญชีมาจัดการเรียนการสอน
7. การกำหนดมาตรฐานบัญชีเป็นการกำหนดแนวคิดหรือวิธีการในการปฏิบัติงานด้านการบัญชีซึ่งเกิดจากนักบัญชีมีความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีจะต้องบันทึกเมื่อใด มีมูลค่าเท่าใดและจะทำการเสนอรายงานในงบการเงินอย่างไร ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
10 ไอเดีย หัวข้อวิจัยบัญชี สุดปัง
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลรายงานทางการเงิน กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET)
- นโยบายการจ่ายเงินปันผล ความสม่ำเสมอของผลกำไร และ โครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หมวดอสังหาริมทรัพย์
- การศึกษารายงานความยั่งยืนที่ส่งผลตอบแทนต่อผู้ลงทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- อัตราส่วนทางการเงิน และ ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค ที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในหมวดโรงแรมและที่พัก
- การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงาน ของผู้สอบบัญชี (CPA) และ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ในเขตกรุงเทพมหานคร
- คุณภาพข้อมูลทางบัญชีที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของเจ้าของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กในเขตภาคตะวันออก
- การศึกษาปัจจัยด้านประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีผ่านสื่อดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้สอบบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผู้ทำบัญชีจากการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่15 ในหมวดรายได้จากสัญญากับลูกค้า
- รูปแบบการปฏิบัติการทางบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพทางการเงิน ของบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง
- วามรู้ความเข้าใจและทัศนคติของผู้ทําบัญชีธุรกิจขนาดกลางและ. ขนาดย่อมในประเทศไทยเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับกิจการขนาดกลาง
ตัวอย่าง งานวิจัย วิทยานิพนธ์ สาขาการบัญชี