การเรียนปริญญาเอก ปริญญาเอกบริหารธุรกิจ การทำวิจัยปริญญาเอก บริหาร DBA PHD การทำวิจัย หลักสูตร DBA แตกต่างจาก PH.D หรือไม่ อย่างไร?
เคยสงสัยหรือไม่ เมื่อพูดถึง การเรียนปริญญาเอก ปริญญาเอกบริหารธุรกิจ การทำวิจัยปริญญาเอก บริหาร DBA ทำไมการเรียนระดับปริญญาเอก หรือการทำวิจัย ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ (Business Administration)จึงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
(1) DBA ย่อมาจาก Doctor of Business Administration. โดยกำหนดคุณสมบัติผู้เรียน/ผู้สมัครต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยภายในประเทศหรือต่างประเทศ ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยที่ไม่จำกัดสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท
(2) PH.D ย่อมาจาก Doctor of Philosophy (Business Administration): Ph.D. (Business Administration) ภาษาไทยคือ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารธุรกิจ): ปร.ด. (บริหารธุรกิจ) คุณสมบัติของผู้เข้าเรียนไม่แตกต่างจากข้อ (1)
ทั้งสองหลักสูตรเป็นการศึกษาระดับสูงสุดของคณะหรือสาขาบริหารธุรกิจ ซึ่งถือว่าทั้งสองหลักสูตรเป็นศาสตร์ที่มีความเท่าเทียมกันในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ปริญญาเอกทั้งสองโปรแกรมยังถูกมองว่าเป็นปริญญาเอกด้านการวิจัยที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณวุฒิทางการศึกษาสูงสุดในสาขาบริหารธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นทั้ง DBA และ Ph.D. โปรแกรมการศึกษาสายบริหารธุรกิจต้องการให้ผู้ศึกษามีความสามารถในการพัฒนางานวิจัยที่เป็นต้นฉบับอันนำไปสู่การป้องกันวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หรือ “ดุษฎีนิพนธ์” รวมไปถึงยังถูกมองว่าปริญญาเอกทั้งสอง เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถเป็นคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับในบางกรณี อาจมีความแตกต่าง ซึ่งเป็นเพียง ด้านการบริหารเท่านั้น (Harvard Business School ไม่ได้รับอนุญาต ให้ออกปริญญาเอกจนถึงปี 2018) ส่วนใน กรณีอื่น ๆ ความแตกต่างเป็นหนึ่ง ในการมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา ความรู้ทางวิชาการดั้งเดิม ในขณะที่ DBA เน้น การวิจัยประยุกต์ และเมื่อสำเร็จการศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา จากหลักสูตร PH.D โดยทั่วไป จะย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำในสถาบันการศึกษาในขณะที่โปรแกรม DBA กลับไปทำงานในแวดวงธุรกิจ และ อุตสาหกรรม ในฐานะนักวิจัย หรือ ผู้บริหารระดับสูง
กล่าวโดยสรุป ในแง่ศักดิ์และสิทธิ์ของทั้งสองโปรแกรม ถือได้ว่า ไม่แตกต่างกันมากนัก อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า สำหรับการเรียน DBA จะม่งเน้น ให้ผู้เรียนสามารถกลับไปทำงาน ในแวดวงธุรกิจ และ อุตสาหกรรม ขณะที่ PH.D สามารถกลับไปทำงาน ในตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัย ดังนั้น การทำดุษฎีนิพนธ์ อาจมีความแตกต่างกันด้วย กล่าวคือ สำหรับ DBA อาจไม่ได้มุ่งเน้น การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในแง่เนื้อหาวิชาการเหมือน PHD แต่น่าจะมุ่งเน้นการนำความรู้หรือผลการศึกษาที่ได้จากดุษฎี่นิพนธ์ไปประยุกต์ใช้กับองค์กรธุรกิจและแวดวงอุตสาหกรรม เช่น การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การสร้างผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน ให้กับองค์กรธุรกิจ เป็นต้น
ความแตกต่างที่สำคัญอีกประการ ที่คนทั่วไปอาจพบเห็น แต่ไม่ทราบคือ คนที่เรียนหลักสูตร PH.D เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว บางคนได้ PH.D นำหน้าชื่อ แต่ทำไมบางคนเป็น PH.D(candidate) ความแตกต่างนี้สำคัญมาก โดย PH.D คือผู้ที่สำเร็จการศึกษาแบบสมบูรณ์ทุกขั้นตอนคือทั้งส่วนของการเรียนเนื้อหาต่างๆ เช่นอาจจะ 60 เครดิต หรือผ่าน qualifying examination และอีกส่วนคือส่วนของการทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก(ดุษฎีนิพนธ์) อีก 60 เครดิล
ส่วนคนที่ได้ PH.D(candidate) คือผู้ที่สำเร็จการศึกษาแบบได้เรียนผ่านเนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้ คือ 60 เครดิต หรือผ่านส่วนของqualifying examination แต่ในส่วนของวิจัยหรือวิทยานพนธ์ปริญญาเอก เมืองไทยเรียก “ดุษฎีนิพนธ์” ไม่ผ่าน โดยอาจจะทำแล้วแต่ไม่ approve โดยกรรมการ นั่นเอง
การศึกษาปริญญาเอก ปริญญาเอกบริหารธุรกิจ การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก บริหาร DBA PHD มีความเหมือน ความแตกต่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งในการรับรู้ของบุคคลทั่วไปอาจไม่รู้สึกว่ามีความแตกต่างกัน หรือแม้แต่ผู้ที่เรียนระดับปริญญาเอกของแต่ละหลักสูตรดังกล่าวก็ไม่รู้สึกว่ามีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนปริญญาเอกบริหารธุรกิจในประเทศไทย