การทำวิจัยด้านบัญชี
การทำวิจัยด้านบัญชี เป็นการศึกษาวิจัยหาข้อเท็จจริงด้วยระบบอันมีระเบียบแบบแผน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้หรือข้อเท็จจริงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี โดยกระบวนการวิจัยทางด้านบัญชี เริ่มต้นจากการเลือก หัวข้อวิจัยบัญชี จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ในรูปแบบของรายงานการวิจัย การทำวิจัยบัญชี มีองค์ประกอบสำคัญ คือ ชื่อหัวเรื่อง ความสำคัญของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ขอบเขต ประโยชน์ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีวิจัย บุคลากรผู้ทำวิจัย งบประมาณ เอกสารอ้างอิงและภาคผนวก
การวิจัยด้านการบัญชีสามารถทำได้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การทำวิจัยบัญชี สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การวิจัยด้านการบัญชีการเงินและการวิจัยด้านการบัญชีบริหาร เริ่มจากการระบุหัวข้อวิจัย การกำหนดประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดกรอบแนวคิดการศึกษา และแตกแนวคิดย่อยๆ ออกมาในรูปของตัวแปรหรือสิ่งที่สนใจจะศึกษาค้นคว้าด้านการบัญชี
ความเหมือนและความแตกต่างของการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ทั่วไป และ การทำวิจัยด้านบัญชี
การบัญชีเป็นส่วนหนึ่งของสังคมศาสตร์ ดังนั้น การวิจัยบัญชีย่อมเป็นส่วนหนึ่งของ การทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ ทั่วไป กล่าวคือ เป็นกระบวนการหาข้อสรุปซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เพื่ออธิบายปรากฎการณ์นั้นด้วยระบบระเบียบแบบแผน การวิจัยทางบัญชี เป็นกระบวนการหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี โดยอาศัยองค์ประกอบที่เป็นศาสตร์ความรู้ที่พัฒนามาจากการพัฒนาทฤษฎีทางการบัญชี วิชาชีพบัญชี การพัฒนาองค์กรธุรกิจและบุลากรทางการบัญชี ซึ่งมีกระบวนการในการทำวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาวิชาชีพ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบัญชี หรือ การบัญชี เป็นศาสตร์ที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้น การทำวิจัยด้านบัญชี จึงมีความแตกต่างจากการทำวิจัยสังคมศาสตร์ทั่วไป ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้
- ความแตกต่างด้านการจัดประเภทการวิจัย การวิจัยทางการบัญชี สามารถจำแนกตามประเภทของการวิจัย ออกเป็นการวิจัยด้านบัญชีการเงิน และ บัญชีด้านการบัญชีบริหาร
- ความแตกต่างด้านขอบเขตของการวิจัย การวิจัยทางการบัญชี สามารถนำข้อมูลในงบการเงินเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ด้วยกระบวนการทางการบัญชี ตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือการจดบันทึก การจำแนกประเภทบัญชี การปรับปรุงรายการทางบัญชี และการจัดทำงบการเงิน (Finance Report) ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ภายใต้หลักการบัญชีที่ได้รับการรับรอง และกระบวนการทำวิจัยบัญชี จะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางการบัญชี ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
- ความแตกต่างด้านการกำหนดตัวแปร (Variable) เนื่องจากตัวแปรหรือปัจจัย เป็นสิ่งที่กำหนดมูลค่า หรือ จำนวนสำหรับการทำวิจัย โดยได้มาจากโครงสร้างของกรอบแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย โดยในการทำวิจัยบัญชีนั้น จะมีกรอบแนวคิดด้านนโยบายบัญชีที่ชัดเจนและรัดกุม เพื่อให้นักบัญชียึดถือปฏิบัติในการปฏิบัติงาน โดยกรอบแนวคิดนี้ สามารถนำมาใช้ในการกำหนดเป็นตัวแปรในการทำวิจัยได้ เช่น กรอบแนวคิดวัตถุประสงค์ของงบการเงิน ตัวแปรการวิจัยที่สามารถใช้เป็นข้อมูลแสดงถึงฐานะทางการเงิน ข้อมูลที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงาน โดยเฉพาะผลการดำเนินงานด้านบัญชีและการเงิน รวมไปถึง กรอบแนวคิดด้านนโยบายการบัญชี ซึ่งตัวแปรที่สามารถเลือกมาใช้ในกรอบแนวคิดสำหรับการทำวิจัยด้านบัญชี มักจะเกี่ยวข้องกับการรับรู้รายการสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รวมทั้ง รายได้และค่าใช้จ่าย เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่ปรากฎในงบการเงินทั้งสิ้น
- ความแตกต่างด้านลักษณะทางการบัญชี ข้อมูลทางการบัญชีมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลขและข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข แต่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นของผู้บริหารบริษัทหรือองค์กรธุรกิจ ข้อมูลทางการบัญชีมีประโยชน์ด้วยการเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสถานะทางการเงิน การดำเนินงาน ทำให้ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อการคาดการณ์และพยากรณ์ ถึงความอยู่รอดและแนวโน้มการประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งการวิจัยทางการบัญชีจะทำให้สามารถค้นพบปัญหา และนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพต่อไป
- ความแตกต่างด้านทฤษฎี เนื่องจากการบัญชี มีลักษณะของการปฏิบัติงานด้วยการจัดเก็บ จดบันทึก รวบรวมเอกสารหลักฐานทางการบัญชี การจำแนก การวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นตัวเลขหรือตัวเงิน โดยยึดหลักการในเรื่องของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ข้อมูลหรือรายงานทางการเงินโดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ นักลงทุน ตลอดจนประชาชนที่สนใจ สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการตัดสินใจในด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้องมากที่สุดจากข้อมูลเหล่านี้ ด้วยเหตุนี้ นักบัญชี หรือ ผู้ทำบัญชี ย่อมมีหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้วยการคำนึงถึงความถูกต้อง และประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ไม่เฉพาะแต่ในองค์กรธุรกิจของตนเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกด้วย ด้วยการปฏิบัติงานด้วยความเป็นมืออาชีพ คำนึงถึงประโยชน์ของทุกฝ่าย ทำหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย ด้วยการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง และมีความระมัดระวัง ซึ่งมีทฤษฎีทางการบัญชีที่เกี่ยวข้องและนำมาใช้เป็นหัวข้อสำหรับการทำวิจัยทางการบัญชีอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ทฤษฎีพิทักษ์ผลประโยชน์ (Stewardship Theory) ทฤษฎีการส่งสัญญาณ (Signaling Theory) ทฤษฎีบัญชีเชิงบวก (Positive Accounting Theory) และ ทฤษฎีตัวแทน (Agency Theory) เป็นต้น
จากความแตกต่างสำคัญทั้ง 5 ประการดังกล่าว จะเห็นว่า การทำวิจัยด้านบัญชี เป็นการศึกษาอย่างมีระบบแบบแผน เป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็น หลักการสำคัญของ การทำวิจัย กล่าวคือ มีการกำหนดข้อสมมติฐาน (Assumption) การเก็บรวบรวมข้อมูล และการสรุปผล โดยการวิจัยทางการบัญชี จะมีลักษณะเหมือนกับการทำวิจัยด้านสังคมศาสตร์ การวิจัยทางบัญชีสามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้ง การทำวิจัยเชิงปริมาณ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ และการทำวิจัยด้วยเทคนิคผสมผสาน อย่างไรก็ตาม นักวิจัยต้องมีคุณลักษณะที่ดี ตามข้อกำหนดเบื้องต้น เพื่อให้การดำเนินการวิจัยอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และหลักการทางวิชาการ
การทำวิจัยด้านบัญชี การทำวิจัยด้านบัญชี เทคนิคการทำวิจัยบัญชี
วัตถุประสงค์ของ การทำวิจัยด้านบัญชี
การดำเนินการวิจัยทางการบัญชี มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำ (สรชัย พิศาลบุตร,
2554; สุมินทร เบ้าธรรม, 2558) ดังนี้
1. เพื่อข้อค้นพบที่เกิดขึ้น จากงานวิจัยนำมาใช้ประโยชน์กับงานบัญชีทั้งในส่วนของ การวางแผน การตัดสินใจ การควบคุมและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
2. เพื่อให้มีการพัฒนา ความรู้ทางการบัญชี ทั้งใน ด้านทฤษฎี และ การปฏิบัติให้เกิดการขยายขอบเขตมากขึ้น
3. เพื่อเป็นแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานขององค์กร รวมทั้ง การประเมินปัญหา และ ผลกระทบต่างๆ ต่อสังคม
4. เพื่อศึกษากลยุทธ์ที่นำมาใช้ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตที่จะนำกลยุทธ์ ด้านการบัญชีบริหารมาใช้
5. เพื่อศึกษา การประยุกต์ใช้ การบัญชีบริหาร เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
6. เพื่อศึกษา สถานประกอบการ เกี่ยวกับความต้องการ ในการใช้ข้อมูลทางการบัญชีบริหาร
7. เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของข้อมูลทางธุรกิจกับวิธีการในการปฏิบัติเกี่ยวกับบัญชี ที่จะนำมาใช้ ในการบริหารภายในของธุรกิจ
8. เพื่อการพิสูจน์แนวคิดต่างๆ หรือเป็นการสร้างทฤษฎีโดยใช้เครื่องมือทางด้านสถิติ
ลักษณะของการทำวิจัยด้านบัญชี
การวิจัยทางการบัญชีมุ่งเน้นการค้นหาข้อเท็จจริง เพิ่มพูนความรู้ใหม่ในสาขาวิชาอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ข้อสรุป และ การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องแม่นยำ การได้มาซึ่งงานวิจัยที่มีคุณภาพ เป็นไปตามระเบียบวิธีวิจัย และ หลักวิชาการตามสาขาวิชาการบัญชีนั้น มีลักษณะของการวิจัย ดังนี้
1. การวิจัยจะต้องนำไปสู่การแก้ปัญหา
2. การวิจัยควรเป็นการพัฒนาข้อสรุปทั้งที่เป็นนัยทั่วไป (Generalization) และทฤษฎี
(Theory)
3. การวิจัยอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่สามารถสังเกตได้ (Observable Experience) หรือ หลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical Evidence)
4. การวิจัยต้องมีการสังเกตที่ถูกต้อง (Accurate observation) และต้องพรรณนาความได้ ซึ่งผู้วิจัยสามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมในการค้นหาคำตอบ
5. การวิจัยเกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลใหม่ คือ เป็นการใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วสำหรับ วัตถุประสงค์เรื่องใหม่
นอกจากลักษณะของการวิจัยดังกล่าวแล้ว การทำงานวิจัยด้านบัญชี ยังจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความ
ชำนาญ ความเพียร ซื่อสัตย์ ความมีระบบ มีเหตุผล มีเป้าหมาย ต้องมีเครื่องมือหรือเทคนิคใน การเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งต้องมีการบันทึก และ ต้องเขียนรายงานวิจัยอย่างระมัดระวัง
ประเภทของ การวิจัยด้านบัญชี
การวิจัยตามศาสตร์ของการบัญชี สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (สุนา สิทธิเลิศ
ประสิทธิ์, 2554)
1. การวิจัยด้านการบัญชีการเงิน (Research of financial accounting) เป็นการวิจัยทางการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การรวบรวม การจำแนก และรายการข้อมูลทาง ด้านการเงินที่เกิดขึ้นในอดีต โดยถือหลักการปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือเป็นไปตาม มาตรฐานการบัญชี
2. การวิจัยด้านการบัญชีบริหาร (Research of managerial accounting) เป็นการวิจัยทางการบัญชี มุ่งให้ข้อมูลภายในองค์กรเพื่อนำมาใช้ในการวางแผน การสั่งการ การควบคุม และ การตัดสินใจสำหรับการดำเนินงานภายในองค์กร รูปแบบรายงานด้านการบัญชีบริหารไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการข้อมูลของผู้บริหาร
ประเภทของการวิจัยทางการบัญชี นอกจากจะแบ่งเป็น การวิจัยด้านการบัญชีการเงิน และ การวิจัยด้านการบัญชีบริหารแล้วนั้น การวิจัยทางการบัญชี สามารถจัดทำได้ตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยกำหนดไว้เป็น 8 ประเภท ดังนี้
1. การทำบัญชีเป็นงานเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล การรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดทำรายงานการเงิน
2. การสอบบัญชีเป็นการตรวจสอบเอกสารประกอบการลงบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีและสมุดบัญชีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงิน
3. การบัญชีบริหาร เป็นการจัดทำบัญชีรวมทั้งรายงานทางการเงินเพื่อใช้ในการวางแผนงาน การควบคุมและการตัดสินใจ โดยจะเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล
4. การวางระบบบัญชีเป็นการออกแบบแผนการปฏิบัติงานด้านการบัญชีเกี่ยวกับการ ใช้และการเก็บรักษา ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลทางด้านการเงิน การแยกประเภทบัญชีการบันทึกบัญชีและเอกสารและสมุดบัญชีต่างๆ
5. การบัญชีภาษีอากร เป็นการปรับหลักการบัญชีหรือมาตรฐานการบัญชีให้มีความสอดคล้องกับประมวลรัษฎากรและกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง
6. การศึกษาและเทคโนโลยีบัญชีเป็นการประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการต่างๆโดยการนำศาสตร์ด้านการบัญชีมาจัดการเรียนการสอน
7. การกำหนดมาตรฐานบัญชีเป็นการกำหนดแนวคิดหรือวิธีการในการปฏิบัติงานด้านการบัญชีซึ่งเกิดจากนักบัญชีมีความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีจะต้องบันทึกเมื่อใด มีมูลค่าเท่าใดและจะทำการเสนอรายงานในงบการเงินอย่างไร ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
8. การพัฒนาวิชาชีพบัญชีคือ กระบวนการต่างๆ ในการพัฒนาความสามารถ(Capability) ส่งเสริมศักยภาพ (Potential) ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีให้มีสมรรถนะ(Competence) ด้านวิชาชีพบัญชีเพิ่มขึ้น
หัวข้อวิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี ที่ตีพิมพ์ในปี 2564-2565 สำหรับเป็นแนวทาง การทำวิจัยด้านบัญชี
ตัวอย่าง วิจัยด้านการบัญชี และ วิทยานิพนธ์ด้านบัญชี เหล่านี้ ผู้จัดทำได้นำมาจากฐานข้อมูลด้านวิจัยบัญชี ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ผู้สนใจสามารถใช้เนื้อหาเหล่านี้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเบื้องต้นสำหรับ การทำวิจัยด้านบัญชี ต่อไป
1 | การศึกษาเปรียบเทียบแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไทยกับหลักเกณฑ์ตามประมวลรัษฎากรของธุรกิจ SMEs By : รัชดาภรณ์ ลูณสาคร Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | |
2 | คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสำนักงานบัญชีคุณภาพ ในมุมมองของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี By : เกรียงจิตติ วิรัตน์ Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | |
3 | รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบแนวปฏิบัติทางบัญชีกับหลักเกณฑ์ทางภาษีอากรของกิจการขายผ่อนชำระ เช่าซื้อ และลิสซิ่ง By : สุรชัย เอมอักษร;จินตนา โสมโสดา;สุกัญญา วงษ์ละคร Date Create : Type : งานวิจัย/Research report Institute : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ | |
4 | ต้นทุนฐานกิจกรรมของกระบวนการประสานรายการยาแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลคามิลเลียน กรุงเทพมหานคร By : เกล็ดดาว ธิมา Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยนเรศวร | |
5 | การศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศตามกรอบงาน COBIT 5 By : ณัฐนันท์ เสริฐสุวรรณกุล Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | |
6 | ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ระบบกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติในงานบัญชี By : มงคล เฉียดผักแว่น Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | |
7 | การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการใช้ระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ By : สุธีกานต์ สุขโกมล Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | |
8 | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานระบบบัญชีออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งของสำนักงานบัญชี By : โอชิล เหิมขุนทด Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | |
9 | การวิเคราะห์ต้นทุนการเลี้ยงโค 3 สายพันธุ์ โดยใช้ต้นทุนตามฐานกิจกรรม By : ลัดดา ศรียอดแส Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | |
10 | ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระดับการผลิตสินค้าคงเหลือต่อผลตอบแทนหลักทรัพย์ By : วีรชัย เจริญรังสรรค์ Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
11 | ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารสนเทศทางการบัญชีบริหารกับผลการดำเนินงานขององค์กร By : วราภรณ์ เหลืองวิลัย Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
12 | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ของนักบัญชีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ น่าน By : เฉลียง วงค์จินดา Date Create : Type : งานวิจัย/Research report Institute : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ | |
13 | คุณภาพของข้อมูลทางบัญชีด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและต้นทุนของเงินทุน : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และ ดัชนี SET 100 By : ชนิดา จันทนฤมาน Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | |
14 | ผลกระทบของการบัญชีดิจิทัลที่มีต่อคุณภาพของรายงานการเงิน By : พิมพาภรณ์ พึ่งบุญพานิชย์;นภา นาคแย้ม Date Create : Type : งานวิจัย/Research report Institute : มหาวิทยาลัยคริสเตียน | |
15 | ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นและกำไรสุทธิต่อหุ้นวิธีมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุน:บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง By : รัชดาภรณ์ เสมาขันธ์ Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | |
16 | การพัฒนานวัตกรรมทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) By : สรารีย์ จิรังดา Date Create : Type : Article/Proceeding Institute : มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น | |
17 | การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมตามเกณฑ์เวลาของผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีหัตถการสวนหัวใจสำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ By : ชัชฎาภรณ์ นาคแก้ว;เสกสรร สุธรรมานนท์;อารีย์ ธีรภาพเสรี;ภาสุรี แสงศุภวานิช;สิริรัตน์ สุวัชรชัยติวงศ์;นิกร ศิริวงศ์ไพศาล Date Create : Type : บทความ/Article Institute : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | |
18 | การลดต้นทุนโลจิสติกสด้วยเทคนิคการบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรมของบริษัทเหมืองแร่หินปูน By : ฤทัยภัทร ศุกระศร;อภิชาต โสภาแดง Date Create : Type : บทความ/Article Institute : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | |
19 | การศึกษาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรม FINCIAL By : ภัทธิยะ วันธงชัย Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | |
20 | คุณสมบัติของสำนักงานบัญชีที่ส่งผลต่อการเลือกสำนักงานบัญชี By : Date Create : Type : วิทยานิพนธ์/Thesis Institute : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
การทำวิจัยด้านบัญชี ตัวอย่าง หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ด้านการบัญชี
- คุณภาพข้อมูลทางบัญชี ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และ ต้นทุนของเงินทุน : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI และ ดัชนี SET 100 (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี, 2563)
- ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบัญชีแบบลีนและผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย (THE FACTORS IMPACT ON LEAN ACCOUNTING AND PERFORMANCE OF THAI’S SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES) (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี, 2563)
- ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย THE CAUSAL RELATIONSHIP MODEL OF FACTORS INFLUENCING ON GROWTH OF SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES IN THAILAND (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี, 2562)
- การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการบัญชีภาษีอากรสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี The development of a training program to enhance tax accounting knowledge of professional accountants (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี, 2562)
เนื้อหาทั้งหมดข้างต้น รวมถึง หัวข้อ วิทยานิพนธ์บัญชี และ ดุษฎีนิพนธ์ หรือวิจัยปริญญาเอกสาขาการบัญชี สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น สำหรับการนำมาประยุกต์ใช้ ตั้งแต่การกำหนดหัวข้อวิจัย วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ทางการบัญชี การกำหนดตัวแปรในกรอบแนวคิด ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนผลวิทยานิพนธ์ ผลดุษฎีนิพนธ์ ที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิชาการระดับสูงได้เป็นอย่างดี
อ้างอิง
Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย
อ้างอิง :