เทคนิคหรือเคล็ดลับ การเขียนบทความวิจัย เพื่อให้สามารถตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ
บทความนี้ จะอธิบาย และ นำเสนอเกี่ยวกับ เทคนิคการเขียนบทความวิจัย ให้สามารถตีพิมพ์ในระดับชาติ และนานาชาติ
เทคนิคการเขียนบทความวิจัย ให้ประสบความสำเร็จ และสามารถได้รับการตีพิมพ์ในระดับชาติ เช่น TCI1 และในระดับนานาชาติ เช่น ISI หรือ SCOPUS มีเนื้อหาสาระที่ควรพิจารณาดังต่อไปนี้
- นิยาม ของบทความวิจัย
- เหตผลสำคัญ ของการตีพิมพ์งานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
- หลักเกณฑ์โดยทั่วไป สำหรับการอนุมัติการตีพิมพ์
- องค์ประกอบสำคัญ ของบทความวิจัย
- เคล็ดลับ การเขียนบทความวิจัย
- การเลือกวารสารสำหรับตีพิมพ์ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- ตัวอย่าง การเผยแพร่บทความวิจัย
ผู้เขียนขอนำเสนอรายละเอียดในแต่ละหัวข้อเรียงลำดับดังต่อไปนี้
- ความหมายของบทความวิจัย
บทความวิจัย หมายถึง บทความที่เป็นรายงานของผลการศึกษาวิจัยจากต้นฉบับ วิทยานิพนธ์ต้นฉบับ หรือดุษฎีนิพนธ์ต้นฉบับ โดยผู้เขียนบทความวิจัย ได้ทำการสกัด และทำการสรุปเนื้อหา ในส่วนสำคัญคือ “องค์ความรู้” ในศาสตร์หรือสาขาที่ทำวิจัยฉบับต้นนั้นๆ รวมทั้งได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ รวมทั้งวาสารวิชาการที่มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ทำการรับรอง
- ที่มาของการตีพิมพ์บทความวิจัย
สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักที่สำคัญหลายด้าน รวมทั้งพันธกิจ ด้านการวิจัย สถานศึกษาจึงมีการสนับสนุนและ ส่งเสริมให้นักศึกษา ตลอดจน บุคลากรของสถาบันให้มีการดำเนินการวิจัย เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ และสามารถนำไปใช้ ในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ ดังนั้น ผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จ ควรนำไปเผยแพร่ ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า การเขียนบทความวิจัย เพื่อเผยแพร่ผลงานอาจเผยแพร่ ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ นานาชาติ หรือการเผยแพร่ ในวารสารวิชาการ ที่ผ่านการประเมินวารสารตามเกณฑ์คุณภาพวารสาร ซึ่งเป็นการเผยแพร่ ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด โดยนำมาประมวลให้ครอบคลุมสาระตามกระบวนการวิจัย ซึ่งเกิดจากต้นทางของคุณภาพวิทยานิพนธ์ หรือผลงานวิจัย
- หลักเกณฑ์โดยทั่วไปสำหรับการอนุมัติการตีพิมพ์
โดยทั่วไปหลักเกณฑ์ สำหรับการเลือกพิจารณา แหล่งตีพิมพ์บทความวิจัย จะขึ้นอยู่กับ ประเด็นสำคัญต่างๆ เหล่านี้
ความใหม่ หรือ การตีพิมพ์บทความที่เป็นต้นฉบับ และมีองค์ความรู้ใหม่
- มีความถูกต้อง (Accuracy)
- มีความน่าสนใจ (Interesting)
- มีความเป็นไปได้ในการทำซ้ำ (Repeatability)
- มีการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ผ่านมา (Reference Citation)
- องค์ประกอบสำคัญของบทความวิจัย
บทความวิจัย จะมีการนำเสนอเนื้อหาที่สกัดมาจากวิจัยต้นฉบับ ซึ่งจะมีบางหัวข้อที่ปรากฎอยู่ใน การทำวิจัยต้นฉบับ และเป็นการนำเสนอเนื้อหาที่สำคัญและเป็นองค์ความรู้ของงานวิจัยชิ้นนั้น ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
- ชื่อเรื่อง
- ชื่อผู้แต่ง
- บทคัดย่อ
- คำสำคัญ
- คำนำ
- ระเบียบวิธีวิจัย
- ผลการศึกษา
- อภิปรายผล
- สรุปผลวิจัย
- คำขอบคุณ และ
- เอกสารอ้างอิง
- เคล็ดลับ สำหรับการเขียนบทความวิจัย (Writing Techniques)
5.1 ชื่อเรื่อง
– ชื่อเรื่องควรสอดคล้องกับเนื้อเรื่องหรือวิจัยต้นฉบับ
– ไม่ยาวเกินไป หรือไม่ควรเกิน 15 คำ
– เสนอหัวข้อหรือประเด็นที่สำคัญที่สุดเพียง 1 ประเด็น
– ไม่ควรใช้คำเยิ่นเย้อ หรือ ฟุ่มเฟือย มากเกินไป
– ควรมี “คำสำคัญ” ปรากฎอยู่ในชื่อเรื่องด้วย
5.2 ชื่อผู้แต่ง
– ระบุชื่อผู้แต่งบทความวิจัย รวมทั้ง คณะผู้เขียน หรือ ผู้ทำบทความวิจัย
– ควรยึดรูปแบบ หรือ Format อย่างเคร่งครัด
– ควรระบุที่อยู่ หรือ ช่องทางการติดต่อผู้เชียนบทความวิจัย เช่น สถานที่ทำงาน เป็นต้น
5.3 บทคัดย่อ
– สรุปประเด็นปัญหาสำคัญ
– ทำอะไร?—>วัตถุประสงค์
– ทำอย่างไร —> เทคนิค หรือ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้
– ผลที่ได้เป็นอย่างไร —> ผลที่ได้ + การเปรียบเทียบกับวิธีเดิม
– บทคัดย่อ โดยทั่วไปจะมีจำนวนคำอยู่ระหว่าง 300-400 คำ โดยประมาณ
แหล่งเรียนรู้และตัวอย่างบทความวิจัย
- วารสารรวมบทความวิจัย บริหารธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจผลิตภัณฑ์ ดูแลผิวหน้า สำหรับผู้ชาย
- ผลกระทบต่อสภาวะจิตครัวเรือน จากการย้ายถิ่นฐานของสมาชิกในครัวเรือน
- แหล่งดาวน์โหลด บทความวิจัย สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ตัวอย่าง บทความวิจัย ฉบับสมบูรณ์
- การเขียนบทความวิจัย
- รูปแบบ บทความวิจัย
- ตัวอย่าง การเขียน ต้นฉบับ บทความวิจัย
- การเตรียมบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับประเทศ
- ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข การจัดทำบทความวิจัย เพื่อการตีพิมพ์