การทำวิจัยด้านการสื่อสาร วิจัยสื่อสารมวลชน การทำวิทยานิพนธ์นิเทศ

เทคนิคการทำวิจัยด้านการสื่อสารมวลชน

การทำวิจัยด้านการสื่อสาร วิจัยสื่อสารมวลชน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์  เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างและหา “องค์ความรู้ใหม่” ในสาขาวิชาการสื่อสารและสื่อสารมวลชน  โดยอาศัยกระบวนการและวิธีการทางด้านวิทยาศาสตร์  ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้  ทฤษฎี หลักเกณฑ์ หลักการ แนวคิด พัฒนาการต่างๆด้านการสื่อสาร ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการสื่อสารและสื่อสารมวลชน  เพื่อนำมาสู่บทสรุป และข้อค้นพบในมิติ หรือ ประเด็นต่างๆ ที่สามารถใช้เป็นแนวทาง

รวมทั้ง สามารถใช้เป็นข้อมูล สำหรับประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น เพื่อการต่อยอดองค์ความรู้ในศาสตร์ ด้านการสื่อสารให้ลึกซึ้ง และกว้างขวางมากยิ่งขึ้น  ตลอดจน สามารถเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาวิชาชีพด้านการสื่อสารมวลชน และไม่จำกัดขอบเขตเพียงเฉพาะแต่กรอบของศาสตร์ด้านการสื่อสารเท่านั้น   หากแต่ ยังสามารถนำไปประยุกต็ใช้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างต่อสังคมและประเทศชาติได้ต่อไป

การกำหนดหัวข้อวิจัยด้านการสื่อสารมวลชน  การทำวิจัยด้านการสื่อสาร วิจัยสื่อสารมวลชน

การกำหนดหัวข้อสำหรับการทำวิจัยด้านสื่อสารมวลชน สามารถได้มาจาก :

(1) ควรมาจากความสนใจ รวมไปถึงประสบการณ์และภูมิหลังของผู้ทำวิจัยเอง

(2) สามารถศึกษาค้นคว้า เหตุการณ์ แนวคิด ตลอดจนทฤษฎีด้านการสื่อสารที่นักวิจัยสนใจ และต้องการทดสอบความสอดคล้องของทฤษฎีและแนวคิดนั้นกับข้อมูลจริงในปัจจุบัน

(3) กลั่นกรองจากข้อแนะนำและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ในแวดวงสื่อสารมวลชน

(4)  เป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายและในวงกว้างของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ที่ปรากฎบนสื่อต่างๆ  และ

(5) การได้หัวข้อวิจัยมาจากแหล่งที่ให้ทุนในการทำวิจัย หรือจากหน่วยงานต้นสังกัด ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

 การทำวิจัยด้านการสื่อสาร วิจัยสื่อสารมวลชน รับทำวิจัยสื่อสารมวลชน วิจัยนิเทศ
การทำวิจัยด้านการสื่อสาร วิจัยสื่อสารมวลชน รับทำวิจัยสื่อสารมวลชน วิจัยนิเทศ

ขั้นตอนของการนำไปสู่การทำวิจัยด้านการสื่อสารที่ประสบความสำเร็จ

  1. เริ่มจากความสนใจ

การกำหนดหัวข้อวิจัยด้านการสื่อสารและสื่อสารมวลชน สามารถนำมาจากความสนใจ ความชอบ หรือความถนัดของตัวผู้ทำวิจัยเองเป็นหลัก   รวมไปถึงภูมิหลัง  ความรู้ และทักษะของผู้ทำวิจัย เนื่องจากการได้มาจากปัจจัยต่างๆเหล่านี้ เป็นต้นทุนที่ได้มาด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด  กล่าวคือ เป็นต้นทุนจากความรู้ความเข้าใจในประเด็นและหัวข้อที่ต้องการที่จะศึกษาของผู้ทำวิจัยเอง  และผุ้วิจัยต้องดำเนินการทำวิจัยกับสิ่งเหล่านี้เป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน  ดังนั้น  การเลือกหัวข้อจากการให้ความสำคัญกับความสนใจ จึงเป็นการเลือกหัวข้อวิจัยที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในการทำวิจัยมากที่สุดวิธีหนึ่ง

  1. การเป็นคนตื่นรู้และทันเหตุการณ์

นักวิจัยที่ดีมีคุณสมบัติสำคัญและจำเป็นคือการเป็นคนตื่นรู้ ช่างสงสัย และต้องการที่จะเป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันต่อข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นรอบตัว   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะของการเป็นนักวิจัยด้านการสื่อสาร ซึ่งต้องมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องราวรอบตัว ข้อสงสัยต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชน เพื่อจะนำไปสู่การได้รับคำตอบใหม่ๆ

  1. การกำหนดประเด็นสำคัญของการศึกษา

ไม่เฉพาะแต่การทำวิจัยด้านการสื่อสารมวลชนเท่านั้น  การทำวิจัยโดยทั่วไปแล้ว  การกำหนดหัวข้อวิจัยหนึ่งๆ จะต้องมีความชัดเจน รัดกุม มีประเด็นสำคัญหรือประเด็นหลักเพียงหนึ่งหรือสองประเด็นเท่านั้น  ทั้งนี้เพราะการวิจัยคือกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเก่าและใหม่ในประเด็นต่างๆ เหล่านั้น  ซึ่งการที่จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่นั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ทำวิจัยจะต้องมีการศึกษาค้นคว้าอย่างถูกต้องและลึกซึ้งเพียงพอ  ด้วยเหตุนี้  ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องมีการระบุหรือกำหนดประเด็นสำคัญของปัญหา  วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย ตลอดจนตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการทำวิจัยนั้นให้ชัดเจน รัดกุม และสามารถนำไปสู่ข้อสรุปของการศึกษาตามหัวข้อที่กำหนดไว้ได้

  1. ลักษณะสำคัญของวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยด้านการสื่อสาร
  • ต้องเป็นการตั้งประเด็นเพื่อตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร
  • เป็นการตั้งประเด็นว่า “ทำไม” และคำตอบที่ได้จากคำถามจะเป็นอยู่ในหมวดหรือประเภท “อธิบาย” เป็นสาระสำคัญของศาสตร์ทั้งปวง
  • เป็นการตั้งประเด็นเพื่อการพยากรณ์หรือคาดการณ์ การตอบคำถามประเภท “อะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต”
  1. การกำหนดขอบเขตของการทำวิจัยด้านการสื่อสาร

สำหรับการกลั่นกรองหัวข้อวิจัยด้านการสื่อสารที่ดีและนำไปสู่การทำวิจัยได้ตลอดรอดฝั่งหรือประสบความสำเร็จได้ในระยะเวลาที่ควรจะเป็นแล้ว  ผู้ทำวิจัยจะต้องมีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาวิจัยซึ่งเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาวิจัยทางด้านนิเทศศาสตร์และการสื่อสารเป็นแนวทาง ดังนี้

  • การศึกษาด้วยแนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่ศึกษา

การทำวิจัยด้านการสื่อสารจะต้องมีเนื้อหาสาระของแนวคิดและทฤษฎีด้านการสื่อสารสำหรับใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัย และเป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  โดยผู้วิจัยอาจจะสามารถเลือกใช้เพียง 1 ทฤษฎี หรือมากกว่า 1 ทฤษฎี  สำหรับเป็นกรอบแนวคิดในการทำวิจัยด้านการสื่อสาร  โดยการศึกษาวิจัยควรเน้นไปที่ความสนใจแนวคิด  หรือ ทฤษฎี สาระสำคัญ ตลอดจนแบบจำลองและสมมติฐานทางทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องประกอบกันด้วย อันนำไปสู่การสร้างความเข้าใจ การอธิบาย การบรรยายหรือพรรณนา ตลอดจนสามารถพยากรณ์และคาดการณ์ประเด็นปัญหาหรือหัวข้อต่างๆ ที่อยู่ในงานวิจัยนั้น

  • การศึกษากระบวนการสื่อสาร
  • การศึกษาในแต่ละองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร เป็นการศึกษาวิจัยตามองค์ประกอบแห่งการสื่อสาร ประกอบด้วย  การศึกษาผู้ส่งสาร  การศึกษาสาร การศึกษาสื่อ การศึกษาผู้รับสาร การศึกษาผลย้อนกลับของการสื่อสาร ตลอดจนสภาพแวดล้อมของการสื่อสาร เป็นต้น
  • การศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญทั้งหมดของการสื่อสาร มุ่งเน้นไปที่การศึกษาในคราวเดียวกันทุกองค์ประกอบของการสื่อสารพร้อมกัน เช่น การศึกษารูปแบบของการประชาสัมพันธ์ของฝ่ายสื่อสารองค์กร  บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) โดยเป็นการศึกษาทั้งผู้ส่งสารคือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ศึกษาเนื้อหาสาระสำคัญของสาร ศึกษาการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ศึกษาคุณลักษณะสำคัญของผู้รับสาร ตลอดจนศึกษาผลย้อนกลับของการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ของ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) รวมทั้งศึกษาสภาพแวดล้อมของการสื่อสารคืออะไร เหล่านี้เป็นต้น
  • การศึกษางานวิชาชีพในการสื่อสาร
  • การศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้การสื่อสาร
  1. ทฤษฎีสาขานิเทศศาสตร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างหัวข้อวิจัย
  2. การทำความเข้าใจประเด็นขององค์ประกอบของตัวแปรจากการวิเคราะห์คุณลักษณะ
  3. การกำหนดวิธีการศึกษา
  4. ประเด็นวิจัยกับการนำไปประยุกต์ใช้

ให้คำปรึกษาการทำวิจัยสื่อสารมวลชน  การทำวิจัยด้านนิเทศศาสตร์  ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ การทำวิทยานิพนธ์ด้านสื่อสารมวลชน การทำค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์ สารนิพนธ์  ภาคนิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์สาขาสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์ การทำวิจัยด้านการสื่อสาร วิจัยสื่อสารมวลชน  โดยนักวิจัยมืออาชีพ สอบถาม พูดคุย ตรวจสอบความรู้ในด้านแนวคิดทฤษฎี และกระบวนการทำวิจัยได้ทุกขั้นตอน