เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ ในระดับชาติและนานาชาติ

 เทคนิคหรือเคล็ดลับ การเขียนบทความวิจัย เพื่อให้สามารถตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ

บทความนี้ จะอธิบาย และ นำเสนอเกี่ยวกับ เทคนิคการเขียนบทความวิจัย ให้สามารถตีพิมพ์ในระดับชาติ และนานาชาติ  

เทคนิคการเขียนบทความวิจัย ให้ประสบความสำเร็จ และสามารถได้รับการตีพิมพ์ในระดับชาติ เช่น TCI1 และในระดับนานาชาติ เช่น ISI หรือ SCOPUS มีเนื้อหาสาระที่ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

  • นิยาม ของบทความวิจัย
  • เหตผลสำคัญ ของการตีพิมพ์งานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
  • หลักเกณฑ์โดยทั่วไป สำหรับการอนุมัติการตีพิมพ์
  • องค์ประกอบสำคัญ ของบทความวิจัย
  • เคล็ดลับ การเขียนบทความวิจัย
  • การเลือกวารสารสำหรับตีพิมพ์ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  • ตัวอย่าง การเผยแพร่บทความวิจัย
 เทคนิคการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความ รับเขียนบทความ รับทำบทความวิจัย
เทคนิคการเขียนบทความวิจัย

ผู้เขียนขอนำเสนอรายละเอียดในแต่ละหัวข้อเรียงลำดับดังต่อไปนี้

  1. ความหมายของบทความวิจัย

บทความวิจัย หมายถึง บทความที่เป็นรายงานของผลการศึกษาวิจัยจากต้นฉบับ วิทยานิพนธ์ต้นฉบับ หรือดุษฎีนิพนธ์ต้นฉบับ โดยผู้เขียนบทความวิจัย ได้ทำการสกัด และทำการสรุปเนื้อหา ในส่วนสำคัญคือ “องค์ความรู้” ในศาสตร์หรือสาขาที่ทำวิจัยฉบับต้นนั้นๆ  รวมทั้งได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ รวมทั้งวาสารวิชาการที่มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ทำการรับรอง

  1. ที่มาของการตีพิมพ์บทความวิจัย

สถาบันอุดมศึกษามีพันธกิจหลักที่สำคัญหลายด้าน  รวมทั้งพันธกิจ ด้านการวิจัย สถานศึกษาจึงมีการสนับสนุนและ ส่งเสริมให้นักศึกษา ตลอดจน บุคลากรของสถาบันให้มีการดำเนินการวิจัย เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ และสามารถนำไปใช้ ในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ ดังนั้น ผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จ ควรนำไปเผยแพร่ ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า การเขียนบทความวิจัย เพื่อเผยแพร่ผลงานอาจเผยแพร่ ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ นานาชาติ หรือการเผยแพร่ ในวารสารวิชาการ ที่ผ่านการประเมินวารสารตามเกณฑ์คุณภาพวารสาร ซึ่งเป็นการเผยแพร่ ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด โดยนำมาประมวลให้ครอบคลุมสาระตามกระบวนการวิจัย ซึ่งเกิดจากต้นทางของคุณภาพวิทยานิพนธ์ หรือผลงานวิจัย

  1. หลักเกณฑ์โดยทั่วไปสำหรับการอนุมัติการตีพิมพ์

โดยทั่วไปหลักเกณฑ์ สำหรับการเลือกพิจารณา แหล่งตีพิมพ์บทความวิจัย จะขึ้นอยู่กับ ประเด็นสำคัญต่างๆ เหล่านี้

ความใหม่ หรือ การตีพิมพ์บทความที่เป็นต้นฉบับ และมีองค์ความรู้ใหม่

  • มีความถูกต้อง (Accuracy)
  • มีความน่าสนใจ (Interesting)
  • มีความเป็นไปได้ในการทำซ้ำ (Repeatability)
  • มีการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ผ่านมา (Reference Citation)
  1. องค์ประกอบสำคัญของบทความวิจัย

บทความวิจัย จะมีการนำเสนอเนื้อหาที่สกัดมาจากวิจัยต้นฉบับ ซึ่งจะมีบางหัวข้อที่ปรากฎอยู่ใน การทำวิจัยต้นฉบับ และเป็นการนำเสนอเนื้อหาที่สำคัญและเป็นองค์ความรู้ของงานวิจัยชิ้นนั้น  ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

  • ชื่อเรื่อง
  • ชื่อผู้แต่ง
  • บทคัดย่อ
  • คำสำคัญ
  • คำนำ
  • ระเบียบวิธีวิจัย
  • ผลการศึกษา
  • อภิปรายผล
  • สรุปผลวิจัย
  • คำขอบคุณ และ
  • เอกสารอ้างอิง
  1. เคล็ดลับ สำหรับการเขียนบทความวิจัย (Writing Techniques)

5.1 ชื่อเรื่อง

– ชื่อเรื่องควรสอดคล้องกับเนื้อเรื่องหรือวิจัยต้นฉบับ

– ไม่ยาวเกินไป หรือไม่ควรเกิน 15 คำ

– เสนอหัวข้อหรือประเด็นที่สำคัญที่สุดเพียง 1 ประเด็น

– ไม่ควรใช้คำเยิ่นเย้อ หรือ ฟุ่มเฟือย มากเกินไป

– ควรมี “คำสำคัญ” ปรากฎอยู่ในชื่อเรื่องด้วย

5.2 ชื่อผู้แต่ง

– ระบุชื่อผู้แต่งบทความวิจัย รวมทั้ง คณะผู้เขียน หรือ ผู้ทำบทความวิจัย

– ควรยึดรูปแบบ หรือ Format อย่างเคร่งครัด

– ควรระบุที่อยู่ หรือ ช่องทางการติดต่อผู้เชียนบทความวิจัย เช่น สถานที่ทำงาน เป็นต้น

5.3  บทคัดย่อ

– สรุปประเด็นปัญหาสำคัญ

– ทำอะไร?—>วัตถุประสงค์

– ทำอย่างไร —> เทคนิค หรือ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้

– ผลที่ได้เป็นอย่างไร —> ผลที่ได้ + การเปรียบเทียบกับวิธีเดิม

–  บทคัดย่อ โดยทั่วไปจะมีจำนวนคำอยู่ระหว่าง 300-400 คำ โดยประมาณ

แหล่งเรียนรู้และตัวอย่างบทความวิจัย

  1. วารสารรวมบทความวิจัย บริหารธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์
  2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจผลิตภัณฑ์ ดูแลผิวหน้า สำหรับผู้ชาย
  3. ผลกระทบต่อสภาวะจิตครัวเรือน จากการย้ายถิ่นฐานของสมาชิกในครัวเรือน
  4. แหล่งดาวน์โหลด บทความวิจัย สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  5. ตัวอย่าง บทความวิจัย ฉบับสมบูรณ์
  6. การเขียนบทความวิจัย
  7. รูปแบบ บทความวิจัย
  8. ตัวอย่าง การเขียน ต้นฉบับ บทความวิจัย
  9. การเตรียมบทความวิจัย เพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับประเทศ
  10. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข การจัดทำบทความวิจัย เพื่อการตีพิมพ์