รับแก้ไขบทความวิจัย

 บริการ เขียนบทความวิจัย   รับแก้ไขบทความวิจัย  รับตีพิมพ์บทความวิจัย ให้คำปรึกษาการแก้ไขบทความ สำหรับการตีพิมพ์บทความ วารสารวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติ

รับแก้ไขบทความวิจัย รับเขียนบทความวิจัย
รับแก้ไขบทความวิจัย รับเขียนบทความวิจัย

รับแก้ไขบทความวิจัย บริการให้คำปรึกษาการแก้ไขบทความ แก้ไขบทความวิจัย สำหรับบทความวิจัยที่ส่งตีพิมพ์และได้รับตอบรับและให้ดำเนินการแก้ไขบทความวิจัย

Professionaldatas มืออาชีพด้านการทำงานวิจัย รับตีพิมพ์บทความวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติทุกประเภท  รับแก้ไขบทความวิจัย รับเขียนบทความวิจัย ปรึกษาการแก้ไขบทความและการดำเนินการเพื่อตีพิมพ์บทความวิจัยทุกประเภท รับแก้ไขบทความวิจัยด้านบริหารธุรกิจ  การตลาด  การจัดการ  โลจิสติกส์  บทความวิจัยด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์  บริหารการศึกษา  รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และบทความวิจัยในสายสังคมศาสตร์ทุกสาขา รับเขียนบทความวิจัย รับเขียนบทความวิจัยการเงิน บทความวิชาการ ภาษาอังกฤษ บทความวิจัยภาษาไทย

รับแก้ไขบทความวิจัย รับแก้ไขบทความ ปรึกษาการทำบทความวิจัย
รับแก้ไขบทความวิจัย รับแก้ไขบทความ ปรึกษาการทำบทความวิจัย

As any researcher knows, writing a journal article takes a considerable amount of time and effort. Not only must it be clear, concise and free from errors but it much also be structured and referenced correctly. This part of the process can be challenging for anyone, especially for ESL authors submitting to international journals – but it needn’t be, with our help.

Professional and affordable journal article editing services can help you perfect your language for a greater chance of publication success. Our team of PHD and Master’s qualified editors hold an average 10 years of experience. Working collaboratively with you every step of the way, we offer an 100% language accuracy guarantee upon delivery.

เทคนิคการแก้ไขบทความวิจัย

เมื่อเจ้าของบทความวิจัยได้รับคำวิจารณ์ หรือ Comment กลับมา  โดยมากมักจะทิ้งช่วงเก็บข้อคิดเห็นไว้ในลิ้นชักระยะหนึ่ง  และรอให้ได้ย่อยความคิดและตกผลึกก่อน โดยเฉพาะผู้ที่ยังแยกความรู้สึกออกจากข้อ Comment ไม่ออก อารมณ์ความรู้สึกจะทำให้เราที่เป็นผู้เขียนที่แก้ไขงานไม่ได้ เหมือนมีอะไรมาบังตา เส้นผมบังภูเขา
พยายามคิดในแง่บวกเมื่อต้องแก้งาน บางอย่างที่ผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วนต้องอธิบายให้ Reviewers เข้าใจ เขียนบอกแก้ไข ปรับแก้ในบทความไว้เลย ดีกว่าปล่อยให้ความผิดพลาดหรือความไม่ชัดเจนนั้นๆ ไปปรากฏเมื่อมีการตีพิมพ์แล้ว ออกไปสู่ Community ซึ่งจะส่งผลเสียมากกว่าในวงกว้าง
รับแก้ไขบทความวิจัย การแก้ไขบทความวิจัย เทคนิคการแก้ไขบทความวิจัย
รับแก้ไขบทความวิจัย การแก้ไขบทความวิจัย เทคนิคการแก้ไขบทความวิจัย

สร้าง Mind Map สำหรับการแก้ไขบทความวิจัย

เมื่อมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ควรเริ่มอ่านข้อวิจารณ์อย่างระมัดระวัง ละเอียดรอบคอบ โดยอาจลองวาดเป็น Map หรือสร้างเป็น Mind Map ว่าต้องแก้ไขในประเด็นใดบ้าง และต้องการข้อมูลหรือคำอธิบายใดมาเพิ่มเติม ลองนั่งเขียนออกมาอย่างเป็นระบบ
โดยเฉพาะในกรณีที่เป็น Major Revision นำข้อคิดเห็นที่เขียนเป็นระบบแล้ว มานั่งดูว่าจะแก้ไขอะไรเพิ่มเติม ทำอะไรก่อนหลัง จัดลำดับความสำคัญ หาข้อมูล และทยอยแก้ไขไปเรื่อยๆ อย่าเร่งรีบเมื่อใกล้ถึง Deadline
ถ้าเป็น Minor Revision ให้รีบแก้ไขและส่งกลับให้เร็วที่สุด เพื่อทำให้บทความวิจัยตีพิมพ์ได้อย่างรวดเร็ว และยังป้องกันปัญหาที่จะได้ Reviewers ชุดใหม่ที่ผลการประเมินอาจจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็น Minor Revision ในส่วนของการเขียน Reply to comment ขอให้เขียนอย่างเป็นระบบ ชัดเจน ตรงประเด็นและมีรายละเอียดที่เพียงพอ อ้างถึงเลขหน้า Paragraph พร้อมทั้งอาจอ้างและเขียนประโยคที่เพิ่มเติมไปใหม่ในบทความ โดยเน้นย้ำให้เห็นง่ายและชัด
การเขียน Reply to comment
การเขียน Reply to comment เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากมาก   เจ้าของบทความวิจัยส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาเขียนมาก ซ้ำไปมาอย่างละเอียด ใช้ประมาณ 3-4 Draft แก้ไขและให้เพื่อนร่วมงานช่วยดู อีกทั้งยังส่งตรวจ Proofreading ทุกครั้งเพื่อความถูกต้องและมีความชัดเจนในการอธิบาย
ซึ่งหากมีประเด็นต้องแก้ไข ต้องมองในภาพรวมทั้งบทความ อย่าแก้ไขงานเพียงจุดใดจุดหนึ่ง พยายาม Integrate ให้การแก้ไขงาน Flow ไปทั้ง Paper
ตัวอย่างเช่น ถ้า Reviewer ให้แก้ไขในส่วน Theoretical Contribution ไม่ใช่ว่าเราจะแก้ไขในเฉพาะ Introduction และ Literature Review อย่างเดียว แต่ต้องแก้ไขทั้ง Paper ในส่วนต่างๆ ให้สะท้อน Theoretical Contributions มากที่สุด  ประเด็นนี้ต้องระวัง ทุ่มเทเวลาและใช้เวลาให้เต็มที่กับการ Revise Paper ให้คิดเสมอว่า งานของเราก้าวหน้าไปอีกขั้นและเข้าใกล้เส้นชัยมากยิ่งขึ้นแล้ว ยิ่งเราทุ่มเทเท่าไหร่ ก็จะมีโอกาสมากขึ้นเท่านั้นในการตีพิมพ์ ถ้าประเด็นไหนที่แก้ไขไม่ได้จริงๆ ก็พยายามเขียนอธิบายอย่างชัดเจน มีเหตุผล ไว้ใน Limitation และ Future Research ก็อาจสามารถทำได้ตามความเหมาะสม
สุดท้ายนี่คือเหตุผลของการที่ Academic Community ดำรงอยู่ เราในฐานะของสมาชิกใน Community นี้จะต้องเข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ จะต้องเปิดใจรับฟังความคิดเห็นได้ องค์ความรู้จะพัฒนาต้องอาศัยการช่วยเหลือกัน อ่านงานและช่วยกัน Comment งานของกันและกัน  พยายามเสริมสร้างให้งานวิจัยมีคุณภาพสูงเข้าสู่การตีพิมพ์ ยิ่งวารสารที่มีคุณภาพมากเท่าใด คุณภาพของข้อ Comment จาก Community นั้นก็ยิ่งจะมีคุณภาพ นำกลับมาพัฒนางานได้มากยิ่งขึ้น พอเป็นแบบนี้งานวิชาการก็จะก้าวหน้า ครั้งหน้าได้รับข้อ Comment จะเป็นอย่างไรให้คิดไว้ประมาณนี้
**ข้อเสนอ คือ ในการเขียน Paper และการ Revise Paper ควรใช้จอคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 จอ อาจมี 3 จอ (อาจใช้ 3 จอคอมพิวเตอร์ และ 1 จอ iPhone) เพื่อทำให้การเปิดข้อมูล การวิเคราะห์ผล และการเขียนสามารถทำในเวลาเดียวกันได้**