ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจ หรือ Doctor of Philosophy Program in Business Administration ตัวย่อ Ph.D. (Business Administration) ที่เปิดสอนในประเทศไทย
การเรียนต่อในระดับสูงสุดสาขาบริหารธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนใน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจ เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของผู้ที่มีศักยภาพในการเรียน ไม่เฉพาะแต่การเรียนในสาขาบริหารธุรกิจเท่านั้น ในสาขาอื่นๆ การเรียนในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ถือได้ว่าเป็นความใฝ่ฝันสูงสุดของการศึกษาในระดับสูง
สำหรับประเทศไทย มีการเปิดการเรียนการสอน โปรแกรมปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจ มามากกว่า 2 ทศวรรษ และมีการเปิดหลักสูตรนี้ก่อนหลักสูตร บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต Doctor of Business Administration หรือ D.B.A.
หลักสูตรนี้เปิดดำเนินการเรียนการสอนปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจ แห่งแรก คือหลักสูตร JDBA ซึ่งเป็น หลักสูตรบริหารธุรกิจในระดับปริญญาเอก ที่เป็นความร่วมมือกันของ NIDA ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจร่วม (JDBA) ซึ่งปัจจุบันหลักสูตรนี้ถูกยุบไปแล้ว
สำหรับผู้ที่ศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจ ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่มีเป้าหมายของการศึกษา เพื่อการทำงานในหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิในหน่วยงานราชการ ขณะที่ผู้เรียนหลักสูตร D.B.A โดยมากจะมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือ เพิ่มคุณวุฒิ สำหรับการทำงานในองค์กรธุรกิจ และ ภาคเอกชน
สำหรับในส่วนของการทำวิจัยปริญญาเอก ทั้งหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตแขนงวิชาบริหารธุรกิจ และ D.B.A ที่เปิดสอนในประเทศไทย มีความแตกต่างกันไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเชี่ยวชาญของคณะหรือผู้รับผิดชอบหลักสูตร
อย่างไรก็ตาม แนวทางการทำวิจัยปริญญาเอก หรือ การทำดุษฎีนิพนธ์ DISSERTATION ที่ได้รับการยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันสำหรับการเรียนในหลักสูตรปริญญาเอกสาขาบริหารธุรกิจ คือ การทำวิจัยด้วยเทคนิคการทำวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research Approach)
ปัจจุบัน เพื่อความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้สนใจ สามารถเข้าศึกษาได้โดยไม่มีปัญหาและอุปสรรคด้านเวลา หลักสูตรส่วนใหญ่จึงเป็นการเรียนนอกเวลา ทำให้ผู้เรียนที่มีอาชีพและต้องทำงานในเวลาปกติ ทั้งในหน่วยงานธุรกิจ ประกอบธุรกิจส่วนตัว อาชีพรับจ้าง รับราชการ หรือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถเข้าเรียนในหลักสูตรเหล่านี้ได้โดยไม่ทำให้ต้องลาออกจากการทำงานประจำ
ตัวอย่างการกำหนดคุณสมบัติ และ รายละเอียดของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งที่เปิดดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ผู้ต้องการเรียนในหลักสูตรดังกล่าว สามารถอ่านรายละเอียด สำรวจความพร้อม และประเมินศักยภาพของตัวเอง ก่อนที่จะสมัครเข้าศึกษาต่อ ทั้งด้านทุนทรัพย์ ด้านเวลา การเสียสละเวลาส่วนตัว ความสามารถในการศึกษาเล่าเรียนเนื้อหา รวมไปถึงทักษะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาให้จบหลักสูตร
เนื้อหาที่ศึกษาต่อในขั้นสูงสุดในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ไม่ยากหรือซับซ้อนมากเกินไปกว่าตอนเรียนระดับมหาบัณฑิต เท่าใดนัก แต่ในรายละเอียดของการทำวิจัยปริญญาเอก หรื การทำดุษฎีนิพนธ์ ถือได้ว่าในขั้นนี้มีความละเอียดลึกซึ้ง และยากกว่าการทำวิทยานิพนธ์ ในระดับปริญญาโทค่อนข้างมาก
ตัวอย่างรายละเอียเกี่ยวกับการเข้าศึกษาในหลักสูตร Doctor of Philosophy Program in Business Administration
คุณสมบัติและเอกสารการสมัคร
- ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตในสาขาบริหารธุรกิจหรือเกี่ยวข้อง และได้รับลำดับขั้นสะสมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.25 จากระบบ 4.00
- เกณฑ์ด้านภาษาอังกฤษ และ คะแนนด้านการคำนวณ หรือ GMAT ดังนี้
- แขนงวิชา การบัญชี การจัดการ และการตลาด
- CMU-TEGS คะแนนไม่ต่ำกว่า 65 หรือ
- IELTS คะแนนไม่ต่ำกว่า 5.5 หรือ
- TOEFL (ITP) คะแนนไม่ต่ำกว่า 523 หรือ TOEFL (Computer-Based) คะแนนไม่ต่ำกว่า 193 หรือ TOEFL (Internet-Based) คะแนนไม่ต่ำกว่า 69 คะแนน GMAT (ถ้ามี) เพื่อประกอบการพิจารณา
- แขนงวิชาเงิน
- CMU-TEGS คะแนนไม่ต่ำกว่า 80 หรือ
- IELTS คะแนนไม่ต่ำกว่า 6.0 หรือ
- TOEFL (ITP) คะแนนไม่ต่ำกว่า 550 หรือ TOEFL (Computer-Based) คะแนนไม่ต่ำกว่า 213 หรือ TOEFL (Internet-Based คะแนนไม่ต่ำกว่า 79 คะแนน GMAT (ถ้ามี) เพื่อประกอบการพิจารณา
- แขนงวิชา การบัญชี การจัดการ และการตลาด
- หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา
- หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน หรือประสบการณ์ด้านการสอนของผู้สมัคร
- แบบนำเสนอโครงร่างหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่สนใจเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1,000 คำ
- เป้าหมายอาชีพและวัตถุประสงค์การเรียน ความยาวไม่เกิน 500 คำ (ภาษาอังกฤษ)
หลักเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
- พิจารณาจากเอกสารการสมัครและสอบสัมภาษณ์
- สอบสัมภาษณ์ ในวันและเวลาที่สถาบันการศึกษา หรือ มหาวิทยาลัยนั้นๆกำหนด
การจัดการเรียนการสอน
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตเป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี
- มีระยะเวลาในการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
จำนวนนักศึกษาที่เข้ารับศึกษา
- ปีการศึกษาละ 8 คน
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมเป็นแบบเหมาจ่าย (package) ตลอดหลักสูตร จำนวน 750,000 บาท
- โดยแบ่งจ่ายเป็นรายภาคการศึกษา ดังนี้ ปีที่ 1 แบ่งจ่ายเป็น 2 ครั้งๆละ 187,500 บาท ปีที่ 2 ชำระสองครั้งเช่นกัน ครั้งละ 93,750 บาท ปีที่ 3 จ่ายค่าธรรมเนียม 2 ภาคการศึกษา ๆ ละ 93,750 บาท
ขอบคุณข้อมูลดีๆ
- http://www.nst.ru.ac.th/index.php/2013-09-02-04-22-06/2013-08-29-09-19-06
- https://www.cmubs.cmu.ac.th/th/as-p-h-d-2/
- https://gs.utcc.ac.th/doctoral-degree/
- https://www.grad.rmutt.ac.th/?page_id=5579
- https://www.mfu.ac.th/education/program/program-doctorate/doctor-management-school/doctor-management-program/phd-businessadministration.html
- http://www.kbs.kmitl.ac.th/uploads/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3.pdf
- https://grad.tbs.tu.ac.th/ph-d/
- https://www.acad.nu.ac.th/acad_v2.1/ACAD_AcademicDevelop/acadcd/StdManual_2558/files/cluster/soc/mis/56/%E0%B8%9B.%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%20%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88.pdf
- http://www.southeast.ac.th/2017/phd-lscba/
- https://grad.fms.psu.ac.th/curriculum/phd-management/